หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
ศาสนากับสังคม
ศาสนากับการศึกษา

          มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีศักยภาพในการเรียนรู้ได้อย่างยอดเยี่ยม เนื่องจากสมองของมนุษย์มีโครงสร้างที่ดีที่สุดในบรรดาสัตว์ทั้งปวง   มนุษย์สามารถเรียนให้บรรลุ เรียนให้รู้ความจริง เรียนให้รู้ความงาม เรียนให้รู้ความดีหรือความถูกต้อง เรียนให้ได้ตามความปรารถนา และเรียนรู้ให้บรรลุความสุข
          ปัจจุบันมนุษย์เรียนรู้โดยมีสถานบันทางการศึกษาเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบการเรียนรู้ของมนุษย์ซึ่งสถาบันต่าง ๆ มักมุ่งสอนเฉพาะวิชาหรือศาสตร์ของแต่ละสถาบันที่รับผิดชอบ  โดยแยกส่วนความรู้หรือหลักในการดำเนินชีวิตออกจากกัน            เมื่อเรียนจบก็จะได้ปริญญาบัตรเพื่อรับรองว่าจบหรือมีความรู้ตามศาสตร์หรือสาขาวิชาเฉพาะทางที่ผู้เรียนปรารถนาหรือสังคมต้องการ เพื่อใช้เป็นอาวุธในการแย่งชิงความได้เปรียบทางวัตถุ  จึงมีการแข่งขันกันอย่างมากในสังคมโลกว่าใครจะรู้วิทยาศาสตร์มากกว่ากัน  แต่ไม่ได้หาความสันติสุขของสังคมโลก
การศึกษาตามหลักคำสอนด้านพระพุทธศาสนามิได้สอนวิทยาศาสตร์แยกออกจากชีวิต  “ศาสตร์” ที่เป็นวิทยาศาสตร์สามารถวัดหรือประเมินค่าได้อย่างแม่นยำตามหลักการทางวิทยาศาสตร์แต่ชีวิตหรือการดำเนินชีวิตเป็นนามธรรมประกอบด้วยสองส่วนคือ รูปธรรมและนามธรรม
ส่วนที่เป็นรูปธรรมคือ กายหรือรูป สามารถจับต้องได้มองเห็นได้ วัดได้ด้วยหลักทางวิทยาศาสตร์อีกส่วนหนึ่งคือจิต ซึ่งเป็นนามธรรม ไม่สามารถวัดค่าได้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
ตามหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา มนุษย์ต้องประกอบด้วย ขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งต้องดำเนินไปด้วยกันทั้ง รูปและนาม จึงจะเป็นชีวิต  การดำเนินชีวิตจะเกิดสันติสุขหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการศึกษาหรือการเรียนรู้ การศึกษาตามหลักของพระพุทธศาสนานั้นกายกับจิตนั้นต้องไปด้วยกัน อาทิ การเรียนรู้ทางตา คือการมองเห็น ทางพุทธศาสนาเรียกว่า จักษุวิญญาณ
ถ้ารู้ทางอื่นก็เป็นวิญญาณอื่น ๆ เช่น โสตวิญญาณ ก็คือการรู้ทางหู คือการได้ยินเสียง
จมูก ที่ดมกลิ่นสารพัดทั้งปวงเรียกว่า ฆานวิญญาณ
ลิ้น ที่รับรสทุก ๆ อย่างที่มาสัมผัส เรียกว่า ชิวหาวิญญาณ
กาย ที่ถูกสัมผัสเย็นร้อนอ่อนแข็งอันจะรู้ได้ทางกาย เรียกว่า กายวิญญาณ
ใจ ความรู้สึกนึกคิดในอารมณ์นั้น ๆ เรียกว่า มโนวิญญาณ
          การเรียนรู้นี้มีเหตุปัจจัยจากภายในและภายนอกมาประกอบกัน คือ ตาเห็นรูป ตาเป็นอวัยวะส่วนที่เป็น กาย ภายในตัวเรา รูปเป็นสิ่งภายนอก เมื่อรูปกระทบตา เกิดการรับรู้เป็นจักขุวิญญาณ แล้วส่งต่อไปเป็นความรู้สึกว่าชอบหรือไม่ชอบรูปนั้น เรียกว่า เวทนา แล้วเอาไปบันทึกไว้เป็นความจำ เรียก สัญญา แล้วเกิดการปรุงแต่งจิต เรียก สังขาร มีเจตจำนงทำอะไรกับรูป เสียง กลิ่น นั้น เช่นชอบหรือไม่ชอบ เข้าไปหาหรือเดินหนี หรือ หรือ เข้าไปสัมผัส หรือ ดูนาน ๆ
          ชีวิตของมนุษย์จะดำเนินไปได้ด้วยดีต้องเรียนรู้ทั้งกายภาพหรือวิทยาศาสตร์และจิต  ฉะนั้นชีวิตก็คือการศึกษา ต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับวิทยาศาสตร์ได้อย่างสันติสุข  คำว่า “ศึกษา” เป็นภาษา สันสกฤต ส่วนภาษาบาลี ใช้คำว่า “สิกขา”  ดังนั้นการศึกษาในทางพระพุทธศาสนา คือ ไตรสิกขา อันได้แก่ ศีลสิขา สมาธิสิกขา ปัญญาสิกขา หรือ เรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา

Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoeay Khlongtoeay Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th