หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
ศาสนากับสังคม
อารยธรรม
          อารยธรรม หมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเป็นรูปธรรมหรือนามธรรม ที่เจริญถึงจุดสูงสุด แล้วแผ่ขยายจากจุดกำเนิด ไปยังบริเวณที่มีความเจริญน้อยกว่า แต่เดิมคำว่า อารยะ หรือ อริยะ หรืออารยัน หมายถึง ชนชาติโบราณ เดิมมีภูมิลำเนาอยู่ราวตอนกลางทวีปเอเชีย แล้วเคลื่อนย้ายลงมาทางอินเดียและเปอร์เซีย เป็นชนชาติที่มีความเจริญสูงกว่าชนเหล่าอื่น ชาวอารยันเป็นกลุ่มชนที่เป็นต้นกำเนิดของ ลัทธิและภาษาในอินเดียและเปอร์เซีย เมื่อนำ คำว่า อารยะ มาประสมกับคำว่า ธรรม กลายเป็น อารยธรรม
         อารยธรรม มีขอบเขตแค่ไหน สุดแล้วแต่นักวิชาการจะให้ความหมายไว้ อาทิ นักปรัชญาชาวเยอรมันชื่อ ออสวอลด์ สเปงก์เลอร์ Oswald Spengler ได้นิยามไว้ว่า อารยธรรมคือ ลักษณะทางสังคมหรือความเจริญทางปัญญาของชนชาติใดชาติหนึ่งที่เจริญถึงขั้นสุดยอดและอยู่ในสภาวะหยุดนิ่งอยู่กับที่ ส่วนนักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ ชื่อ อาร์โนลด์ เจ. ทอย์นบี Arnold J. Toynbee ให้นิยามไว้ว่า อารยธรรม คือ วัฒนธรรมดั้งเดิมที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเรื่อย ๆ จนถึงขั้นสุดยอด
         หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา เป็นคำสอนที่ส่งเสริมทางด้านจิตใจที่มีความเจริญสูงสุด ที่กำเนิดขึ้นบริเวณประเทศอินดียโบราณและได้แผ่กระจายไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก บนพื้นฐานความเชื่อที่ตั้งอยู่ในเหตุผลสามารถพิจารณาให้เห็นจริงได้ ทั้งนี้เพราะศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่ใช้ปัญญาในทางสร้างสรรค์ นอกจากพระพุทธศาสนาจะเป็นอารยธรรมทางด้านจิตใจที่เจริญสูงสุดแล้วยังได้ส่งเสริมให้อารยธรรมทางด้านวัตถุและ อารยธรรมทางด้านนามธรรมด้านอื่น ๆ อีกมาก อาทิ ด้านการศึกษา ด้านการเมืองการปกครอง ด้านสังคม ด้านขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นต้น
 
Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoeay Khlongtoeay Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th