หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
  1. ลมประจำฤดูที่พัดผ่านประเทศไทยมี 2 ชนิดคือ
    1.1 ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ      หรือ    ลมมรสุมฤดูหนาว
    1.2 ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้           
    หรือ    ลมมรสุมฤดูร้อน
  2. คำว่า “มรสุม” หรือ monsoon มาจากคำว่า mausim ในภาษาอาหรับ แปลว่า ฤดูกาล (season) 
  3. อิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ทั่วทุกภาคของประเทศไทยมีอากาศ หนาวเย็นและแห้งแล้ง
    ยกเว้นภาคใต้ฝั่งตะวันออก จะมีฝนตก
  4. ประเทศไทยจะได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือประมาณปลายเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์
  5. ประเทศไทยจะได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ประมาณปลายเดือนพฤษภาคมถึงต้นเดือนตุลาคม
  6. อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้ทั่วทุกภาคของประเทศไทยเป็นฤดู ฝน
  7. ลมตะเภา คือ ลมที่พัดจาก อ่าวไทยเข้าสู่ภาคกลางตอนล่าง ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน
  8. ลมพัทธยา  คือ  ลมที่พัดจาก ตอนบนของภาคกลางไปตามลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาจนถึงปากอ่าวไทย     ในช่วงเดือน ตุลาคม ถึงเดือน พฤศจิกายน
  9. ลมทะเล (Sea Breeze) เกิดในช่วงเวลา กลางวัน ซึ่งเป็นลมที่พัดจาก ทะเลเข้ามาสู่พื้นดิน
  10. ลมบก (Land Breeze) เกิดในช่วงเวลากลางคืน ซึ่งเป็นลมที่พัดจาก พื้นดินไปสู่ทะเล
  11. ลมหุบเขา (Valley Breeze) เกิดขึ้นในเวลากลางวัน ซึ่งเป็นลมที่พัดจาก ลมหุบเขาสู่ ยอดเขา
  12. ลมภูเขา (Mountain Breeze) เป็นลมที่เกิดในเวลากลางคืน ซึ่งเป็นลมที่พัดจาก ยอดเขาสู่ ลมหุบเขา
  13. ทรัพยากรธรรมชาติ Natural resource หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและมนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตได้
  14. ทรัพยากรธรรมชาติ Natural resource แบ่งออกเป็น 3 ประเภทได้แก่
    14.1 ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป                                       non exhausting natural  resource
    14.2
    ทรัพยากรที่ใช้แล้วเกิดทดแทนได้                             exhausting natural  resource
    14.3 ทรัพยากรที่ใช้แล้วไม่หมดไปแต่มีการหมุนเวียน         flow renewable resource
  15. ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป          ได้แก่   แร่  ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันปิโตรเลียม ถ่านหิน 
  16. ทรัพยากรที่ใช้แล้วเกิดทดแทนได้   ได้แก่      ป่าไม้  สัตว์ป่า      ดิน(ความอุดมสมบูรณ์ของดิน)
  17. ทรัพยากรที่ใช้แล้วไม่หมดไปแต่มีการหมุนเวียน ได้แก่  น้ำ อากาศ               
  18. สิ่งแวดล้อม Environment หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเรา รวมถึงตัวมนุษย์ด้วย
  19. สิ่งแวดล้อม Environment แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
    19.1 สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ                                        natural environment
    19.2 สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น                                     man-made environment
  20. สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ  คือ ทรัพยากรธรรมชาติ
  21. สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น คือ สิ่งต่างๆที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อใช้ประโยชน์ในการดำรงชีพ
  22. ป่าไม้ forest  ตามพจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน  หมายถึง  บริเวณที่ปกคลุมไปด้วยพรรณไม้
  23. ป่าไม้ในประเทศไทยแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
    23.1       ป่าไม้ไม่ผลัดใบ             evergreen forest
    23.2       ป่าไม้ผลัดใบ             deciduous forest
  24. ป่าไม่ผลัดใบ evergreen forest หมายถึง ป่าไม้ที่มีใบไม้เขียวชอุ่มตลอดทั้งปี
  25. ป่าไม่ผลัดใบ evergreen forest  ได้แก่       ป่าดิบชื้น  ป่าดิบแล้ง  ป่าดิบเขา  ป่าสนเขา  ป่าพรุหรือป่าบึง ป่าชายหาดหรือป่าเลนน้ำเค็ม
  26. ป่าผลัดใบ    deciduous forest หมายถึง    ป่าไม้ที่ที่พืชส่วนใหญ่มีการผลัดใบเป็นระยะเวลายาวนานในช่วงฤดูแล้ง
  27. ป่าผลัดใบ    deciduous forestได้แก่ ป่าเบญจพรรณ  ป่าเต็งรัง  ป่าโคก ป่าแพะ ป่าแดง
  28. ดิน soil  ตามความหมายทางปฐพีศาสตร์  หมายถึง  เทหวัตถุธรรมชาตที่ปกคลุมพื้นผิวโลกอยู่เป็นชั้นบางๆ เกิดจากการสลายตัวของหินและแร่ผสมคลุกเคล้ากับอินทรีย์วัตถุ
  29. ดินเค็ม saline soil หมายถึง  ดินที่มีปริมาณเกลือคลอไรด์  แมกนีเวียมซัลเฟตและโพแทสเซียมปะปนอยู่ในเนื้อดินสูง จนทำให้ดินบริเวณนั้นไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้
  30. ดินเปรี้ยว  acid soil  หมายถึง  ดินที่มีค่า pH ต่ำกว่า 6.6 เป็นดิยที่มีคุณสมบัติเป็นกรด ซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช
 
 

Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th