หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
  1. วิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อม เป็นคำที่ไม่ระบุ ความหมายไว้เป็นการเฉพาะแต่มีการให้ความหมายของคำ ที่เกี่ยวข้องไว้ 2 คำดังนี้
    1.1 คำว่า “วิกฤตการณ์” หมายถึง  เหตุการณ์ที่อยู่ในขั้นอันตราย เป็นช่วงหัวเลียวหัวต่อถึงขั้นแตกหัก
    1.2 คำว่า “สิ่งแวดล้อม” หมายถึง  สิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเราทั้งที่ธรรมชาติสร้างและมนุษย์สร้าง       
    1.3 สรุปได้ว่า “วิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อม” หมายถึง  เหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอยู่ในขั้นน่าเป็นห่วงและอันตราย อาทิ การลดน้อยลงของปริมาณทรัพยากรธรรมชาติอาจถึงขั้นขาดแคลน
  2. พายุ  Storms คือ อากาศที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง เกิดขึ้นเมื่อเกิดศูนย์กลางของแรงดันในอากาศต่ำลงมากกว่าในบริเวณรอบๆ พื้นที่หนึ่ง พร้อมกับมีแรงดันอากาศสูงเกิดขึ้นรอบ ๆ พื้นที่นั้น การเคลื่อนที่ของอากาศจากความกดอากาศสูงเข้าสู่ความกดอากาศต่ำ ก่อให้เกิดลม อันส่งผลให้เกิด การเคลื่อนตัวของพายุ
  3. พายุหมุน (Cyclonic Storm) หมายถึง พายุที่มีขนาดใหญ่ เริ่มก่อตัวและมีกำลังแรงขึ้นจากบริเวณศูนย์กลางความกดอากาศต่ำ ลมพัดเวียนเข้าหาศูนย์กลาง บริเวณซีกโลกเหนือลมจะพัดเวียนเข้าหาศูนย์กลางในลักษณะทวนเข็มนาฬิกา ส่วนบริเวณซีกโลกใต้ ลมจะพัดเวียนเข้าหาศูนย์กลางในลักษณะตามเข็มนาฬิกา 
  4. พายุหมุน เป็นลมที่พัดหมุนเวียนเป็นก้นหอยเข้าสู่ศูนย์กลางพายุ บริเวณศูนย์กลางของพายุเรียกว่า      ตาพายุ
  5. พายุหมุน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ พายุหมุนเขตร้อน  และ พายุหมุนนอกเขตร้อน
  6. พายุที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์และทรัพย์สินของมนุษย์มากที่สุดคือ พายุหมุนเขต ร้อน 
  7. พายุที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์และทรัพย์สินของมนุษย์ในเขตละติจูดสูงในเขตอากาศหนาวเย็นคือ    พายุหิมะ          ที่พัดจากขั้วโลกลงมา
  8. พายุหมุนเขตร้อน แบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามความเร็วสูงสุดใกล้จุดศูนย์กลางดังนี้
    8.1 พายุดีเปรสชัน  depression                 มีความเร็วลมน้อยกว่า     62 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
    8.2 พายุโซนร้อน   tropical strom    มีความเร็วลม              63-117  กิโลเมตรต่อชั่วโมง
    8.3 พายุดีไต้ฝุ่น     typhoon                    มีความเร็วลมมากกว่า     117 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  9. พายุหมุนที่มีความเร็วลมใกล้จุดศูนย์กลางมากกว่า 117 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีชื่อเรียกแตกต่างกันตามสถานที่เกิด ดังนี้
    9.1 บริเวณทะเลจีนใต้                               เรียกว่า พายุไต้ฝุ่น          typhoon
    9.2 บริเวณมหาสมุทรอินเดีย                      เรียกว่า พายุไซโคลน      cyclone
    9.3 บริเวณทะเลแคริบเบียน                       เรียกว่า พายุเฮอริเคน      hurricane
    9.4 บริเวณทะเลติมอร์                                เรียกว่า พายุวิลลี-วิลลี     willy willy
  10. เอลนีโญ El Ninoเป็นภาษาสเปน  แปลว่า            “เด็กชาย”        หรือ     “พระกุมารพระเยซู”
  11. ปรากฏการณ์เอลนีโญ El Nino มีชื่อเรียกเป็นทางการว่า El Nino – Southern Oscillation             หรือเรียกสั้นๆว่า     ENSO   ซึ่งหมายถึง  การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบริเวณมหาสมุทรแปรซิฟิกตอนใต้
  12. ลานีญา La Nina เป็นภาษาสเปน   แปลว่า                    “เด็กผู้หญิงตัวเล็กๆ”
  13. สารมลพิษ หมายถึง สารต่าง ๆ ที่มีอยู่ในดิน  ในน้ำ และในอากาศ  มีปริมาณมากกว่าปกติ  ทำให้เกิดผลกระทบต่อการดำรงชีพของมนุษย์  พืชและสัตว์ 
  14. ปรากฏการณ์เอลนีโญ ทำให้ฝนตกหนักบริเวณ ชายฝั่งตะวันตกทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้          และก่อให้เกิดความแห้งแล้งในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตอนเหนือของออสเตรเลีย
  15. ปรากฏการณ์ลานิญา ทำให้ฝนตกหนักบริเวณ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตอนเหนือของออสเตรเลีย และก่อให้เกิดความแห้งแล้งบริเวณ ชายฝั่งตะวันตกของเม็กซิโก อเมริกากลางและทางตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้          
  16. ปรากฏการณ์เรือนกระจก หมายถึง ภาวะที่ชั้นบรรยากาศสะสมแก๊สเรือนกระจกไว้เป็นจำนวนมากทำให้กั้นรังสีความร้อนไว้ไม่ให้สะท้อนออกจากโลก ส่งผลให้บรรยากาศของโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น
  17. แก๊สเรือนกระจก ได้แก่ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์  แก๊สมีเทน แก๊สไนตรัสออกไซด์ แก๊สที่มีส่วนประกอบคลอโรฟลู-ออโรคาร์บอน
  18. สารมลพิษแบ่งออกตามสถานะจะมีอยู่ 3 กลุ่ม คือ
    18.1 สารมลพิษที่อยู่ในสถานะก๊าซ  เช่น  ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์  คาร์บอนไดออกไซด์ ของธาตุกำมะถัน  ไนโตรเจน และคลอรีน  เป็นต้น
    18.2  สารมลพิษที่อยู่ในสถานะของเหลว  เช่น  ละอองน้ำกรดต่าง ๆ ของธาตุกำมะถัน ไนโตรเจนที่ละลายอยู่ในน้ำฝน หรือละลายอยู่ในน้ำใต้ดิน หรืออยู่ในน้ำเสียจากน้ำทิ้งตามบ้านเรือน และจากโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ  เมื่อไหลลงสู่แม่น้ำลำคลองก็จะทำให้น้ำเสีย  ทำให้พืชและสัตว์น้ำบางชนิดตายและสูญพันธุ์ 
    18.3 สารมลพิษที่อยู่ในสถานะของแข็ง  เช่น  เขม่าควัน  สารสังเคราะห์บางอย่างที่ใช้แล้วสลายตัวยาก  เช่น  ถุงพลาสติก  โฟม และไฟเบอร์  เป็นต้น  ทำให้มีขยะปะปนอยู่ในน้ำและในดินอยู่ทั่วไป
  19. ปรากฏการณ์ช่องโหว่ของแก๊สโอโซน หมายถึง ภาวะที่สารที่เป็นส่วนประกอบของสารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน ทำปฏิกิริยากับแก๊สโอโซน จนปริมาณแก๊สโอโซนในชั้นบรรยากาศสเตรโตสเฟียร์ลดลงหรือเกิดรูรั่วในชั้นโอโซน
  20. อุปกรณ์เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันที่มีส่วนประกอบของแก๊สฟลูออโรคาร์บอน ได้แก่ โฟม กระป๋องสเปรย์ เครื่องทำความเย็น
 
 

Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th