หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
  1. ปรากฏการณ์แผ่นดินไหวและภูเขาไฟประทุ เป็นภัยธรรมชาติที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของ แผ่นเปลือกโลก 6 แผ่นใหญ่ๆ ได้แก่
    1.1 แผ่นยูเรเซีย                เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับ        ทวีปเอเชียและทวีปยุโรป และพื้นน้ำบริเวณใกล้เคียง
    1.2 แผ่นอเมริกา             
      เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับ        ทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาใต้ และพื้นน้ำครึ่งซีกตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก
    1.3 แผ่นแปซิฟิก             
      เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับ         มหาสมุทรแปซิฟิก
    1.4 แผ่นออสเตรเลีย
             เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับ        ทวีปออสเตรเลีย ประเทศอินเดีย และพื้นน้ำระหว่างประเทศออสเตรเลียกับประเทศอินเดีย
    1.5 แผ่นแอนตาร์กติก       
    เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับ        ทวีปแอนตาร์กติก และพื้นน้ำโดยรอบ
    1.6 แผ่นแอฟริกา    
             เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับ        ทวีปแอฟริกา และพื้นน้ำรอบๆ
  2. แผ่นดินไหว earthquakes ตามพจนานุกรมศัพท์อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม 1 (2523 หน้า 273) อธิบายความไว้ว่า “แผ่นดินไหว : การสั่นสะเทือกนของแผ่นดินที่รู้สึกได้ในจุดใดจุหนึ่งบนผิวโลก”
  3. กระบวนการเกิดแผ่นดินไหว แบ่งได้ออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
    3.1 กระบวนการเกิดแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
    3.2 กระบวนการเกิดแผ่นดินไหวที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์
  4. กระบวนการเกิดแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ได้แก่
    4.1 การเคลื่อนตัวของเปลือกโลก
    4.2 การระเบิดของภูเขาไฟ
    4.3 การกระทำจากภายนอกโลก (อุกาบาตตกใส่โลก)
  5. การเคลื่อนตัวของเปลือกโลกมีสาเหตุมาจากชั้นเนื้อโลกได้รับพลังงานความร้อนจากชั้น แก่นโลก จนเปลือกโลกไม่สามารถทนแรงอัดได้ก็จะแตกหักหรือมีการเคลื่อนไหวโดยฉับพลันแผ่นเปลือกโลกที่สะสมพลังงานไว้มากๆก็จะดีดตัวกลับเพื่อรักษาความสมดุลของเปลือกโลก การดีดกลับดังกล่าว จะทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนขึ้นกระจายออกไปด้านข้าง จุดเริ่มของการสั่นสะเทือน ซึ่งเรียกว่า ศูนย์กำเนิด focus และจุดที่คลื่นแผ่นดินไหวเคลื่อนที่ไปตั้งฉากกับผิวโลก เรียกว่า จุดเหนือศูนย์กำเนิด epicentre
  6. บริเวณที่ได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหวมากที่สุด คือ  จุดเหนือศูนย์กำเนิด epicentre
  7. แผ่นดินไหวอันเนื่องมาจากการระเบิดของภูเขาไฟเป็นผลสืบเนื่องมาจากการเคลื่อนตัวของ หินหนืด Magma  ที่อยู่ใต้เปลือกโลกเคลื่อนตัวออกมาจากรอยแยกของเปลือกโลก
  8. การวัดระดับความรุนแรงของการเกิดแผ่นไหวมี 2 ลักษณะคือ
    8.1 วัดด้วยขนาดของแผ่นดินไหว
    8.2 วัดด้วยระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหว
  9. ขนาดของแผ่นดินไหว Magnitude คือ พลังงานที่พื้นโลกปลดปล่อยออกมาในรูปของการสั่นสะเทือน ซึ่งคำนวณได้จากการตรวจวัดความสูงของกราฟ ที่แสดงให้เห็นถึง ความสูงของแผ่นดินไหว amplitude
  10. เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัดแผ่นดินไหว เรียกว่า ไซโมกราฟ seismograph
  11.  ความรุนแรงของแผ่นดินไหว intensity หมายถึง การวัดปริมาณของแผ่นไหวจากปรากการณ์ที่เกิดขึ้น ขณะที่เกิดและหลังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยพิจารณาจากความรู้สึกของคน การสั่นไหวของวัตถุ หรือความเสียหายอาคารบ้านเรือน
  12. ประเทศไทยบริเวณที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวคือ ภาคตะวันตก  และ  ภาคเหนือ ภาคที่ไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  13. ภูเขาไฟ เกิดจาก หินหนืดที่อยู่ในชั้นเมนเทิล ถูกแรงอัดให้แทรกออกมาตามรอยแตกขึ้นสู่ผิวโลก ด้วยวิธีการปะทุ หรือ ไหลออกมา ถ้าออกมาพ้นเปลือกโลก เรียกว่า ลาวาหลาก lava flow แต่ถ้ายังอยู่ใต้เปลือกโลก เรียกว่า แมกมา magma  
  14. ปรากฏการณ์ภูเขาไฟปะทุในโลก ส่วนใหญ่เกิดตามแนวชนกันของแผ่นเปลือกโลกที่ทอดตัวอยู่รอบมหาสมุทรแปซิฟิก ที่เรียกว่า วงแหวนไฟ ring of fire
  15. ภูเขาไปแบ่งตามรูปร่างออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
    15.1 ภูเขาไฟแบบกรวยสูง (Steep cone)
    15.2 กรวยภูเขาไฟสลับชั้น (Composite Cone Volcano)
    15.3 ภูเขาไฟรูปโล่ (Shield Volcano)
    15.4 กรวยกรวดภูเขาไฟ (Cinder Cone)
  16. ภูเขาไฟแบบกรวยสูง (Steep cone) เกิดจากลาวาที่มีความเป็นกรด หรือ Acid lava cone รูปกรวยคว่ำของภูเขาไฟเกิดจากการทับถมของลาวาที่เป็นกรด เพราะประกอบด้วยธาตุซิลิกอนมากกว่าธาตุอื่นๆ ลาวามีความข้นและเหนียว จึงไหลและเคลื่อนตัวไปอย่างช้าๆ แต่จะแข็งตัวเร็ว ทำให้ไหล่เขาชันมาก ภูเขาไฟแบบนี้จะเกิดการระเบิดอย่างรุนแรง
  17. กรวยภูเขาไฟสลับชั้น (Composite Cone Volcano) เกิดจากการสลับหมุนเวียนของชั้นลาวา และเศษหิน ภูเขาไฟชนิดนี้อาจจะดันลาวาไหลออกมาเป็นเวลานาน และจะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการประทุอย่างกะทันหัน
  18. ภูเขาไฟรูปโล่ (Shield Volcano) เกิดจาก ลาวาชนิด บะซอลท์ที่ไหลด้วยความหนืดต่ำ ลาวาที่ไหลมาจากปล่องกลาง และไม่กองสูงชัน เหมือนภูเขาไฟชนิดกรวยสลับชั้นภูเขาไฟชนิดนี้มักจะเป็นภูเขาไฟขนาดใหญ
  19. กรวยกรวดภูเขาไฟ (Cinder Cone) ภูเขาไฟชนิดนี้จะสูงชันมาก และเกิดจากลาวาที่พุ่งออกมาทับถมกัน ลาวาจะมีความหนืดสูง การไหลไม่ต่อเนื่อง และมีลักษณะเป็นลาวาลูกกลมๆ ที่พุ่งออกมาจากปล่องเดี่ยว และทับถมกันบริเวณรอบปล่อง
  20. สึนามิ Tsunami มาจากภาษาญี่ปุ่น แปล่า คลื่นท่าเรือ harbor wave
  21. สึนามิ Tsunami มีสาเหตุการเกิด 4 ประการ คือ
    21.1 การปะทุของภูเขาไฟใต้มหาสมุทรอย่างรุ่นแรง
    21.2 แผ่นดินไหวที่มีศูนย์กลางอยู่ลึกลงไฟใต้มหาสมุทร
    21.3 การเกิดดินถล่มใต้พื้นมหาสมุทรโดยฉับพลัน
    21.4การตกของดาวหางหรืออุกาบาตขนาดใหญ่ลงสู่พื้นทะเลหรือมหาสมุทร
  22. ประเทศไทยเคยได้รับความเสียหายจาก สึนามิ ครั้งร้ายแรง ที่เกิดขึ้นบริเวณ ทะเลอันดามัน ในมหาสมุทร อินเดีย เมื่อ วันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม 2547 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบคือ ระนอง พังงา ภูเก็ต ตรังและสตูล
  23. ดินถล่ม (Landslide or Mass movement) คือการเคลื่อนที่ของมวลดิน หรือหิน ลงมาตามลาดเขาด้วยอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงของโลก
  24. ประเภทของดินถล่มจำแนกตามลักษณะการเคลื่อนที่ของวัตถุที่พังทลายลงมา ได้แก่
    24.1 การร่วงหล่น ( Falls) เป็นการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วลงมาตามลาดเขาหรือหน้าผาสูงชัน โดยอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงของโลก อาจเกิดการตกอย่างอิสระ หรือมีการกลิ้งลงมาตามลาดเขาร่วมด้วย
    24.2 การล้มคว่ำ ( Topples) เป็นการเคลื่อนที่โดยมีการหมุน หรือล้มคว่ำลงมาตาม ลาดเขา มักพบว่าเกิดเชิงหน้าผาดินหรือหินที่มีรอยแตกรอยแยกมาก โดยกระบวนการเกิดดินถล่มมีน้ำเข้ามาเกี่ยวข้องน้อย หรือไม่มีน้ำเข้ามาเกี่ยวข้อง
    24.3การลื่นไถล ( Slides) คือ การเกิดดินถล่มชนิดนี้มีน้ำเข้ามาเกี่ยวข้องเสมอเป็นการเคลื่อนที่ตามระนาบของโครงสร้างทางธรณีวิทยาหรือเป็นการลื่นไถล ของวัตถุลงมาตามระนาบของการเคลื่อนที่ที่มีลักษณะโค้งครึ่งวงกลมคล้ายช้อน ( Spoon-shaped ) ทำให้มีการหมุนตัวของวัตถุขณะเคลื่อนที่ 
    24.4 การไหล (Flows) กระบวนการเกิดดินถล่มมีน้ำเข้ามาเกี่ยวข้องมากที่สุด น้ำทำให้ ตะกอน มีลักษณะเป็นของไหลและเคลื่อนที่ไปบนพื้นระนาบลาดเขา ลงไปกองทับถมกันที่ช่วงล่างของลาดเขาหรือเชิงเขา
  25. หลุมยุบ  Sinkhole คือ  ธรณีพิบัติภัยประเภทหนึ่ง ที่มีลักษณะพื้นผิวพังทลายเป็นหลุม ซึ่งเกิดจากหินตะกอนที่มีองค์ประกอบทางเคมีจำพวกคาร์บอเนต เช่น หินปูน ชั้นเกลือ หรือ หินตามธรรมชาติที่สามารถถูกละลายด้วยน้ำ   ซึ่งเมื่อเกิดการไหลเวียนของน้ำใต้ดิน จะทำให้หินใต้ดินดังกล่าวละลาย      เกิดช่องว่างใต้ดินขึ้น บริเวณพื้นผิวมีน้ำหนักมากเกินไป จะทำให้เกิดการถล่ม เกิดเป็นหลุมยุบ

 

 
 

Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th