- การเคลื่อนที่ของโลกมี 2 ลักษณะ ได้แก่
- การหมุนรอบตัวเอง
- การโคจรรอบดวงอาทิตย์
- โลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ ใช้เวลาประมาณ 24 ชั่วโมง หรือ 1 วัน
- เมื่อโลกหมุนรอบตัวเองตำแหน่งบนพื้นผิวโลกที่เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วมากที่สุดคือ บริเวณเส้นศูนย์สูตร
- การหมุนรอบตัวเองของโลกบริเวณ ตามแนวเส้นศูนย์สูตร จะมีอัตราเร็วเท่ากับ 1,670 กิโลเมตร/ชั่วโมง
- เมื่อโลกหมุนรอบตัวเองตำแหน่งบนพื้นผิวโลกที่ไม่มีการเคลื่อนที่เลย ได้แก่
- ขั้วโลกเหนือ
- ขั้วโลกใต้
- เมื่อโลกหมุนรอบตัวเองด้วยอัตราเร็ว 1,670 กิโลเมตร/ชั่วโมง แต่เราไม่รู้สึกต่อความเร็วโนการหมุนของโลก เพราะ ขณะที่โลกหมุนรอบตัวเองอยู่นั้น โลกหอบเอาบรรยากาศที่หุ้มห่อโลกพร้อมกับตัวเราและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเราบนพื้นผิวโลกไปด้วย
- การที่โลกเคลื่อนที่ไปรอบ ๆ ดวงอาทิตย์ เรียกว่า การโคจร (revolution)
- โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครบหนึ่งรอบใช้เวลาประมาณ 1 ปี หรือ 365 วัน 6 ชั่วโมง
- โดยปกติ 1 ปีจะมี 365 วัน ในปีที่มี 366 วัน เราเรียกปีนั้นว่า ปีอธิกสุรทิน (leap)
- วันที่เพิ่มขึ้น 1 วัน ทุก ๆ 4 ปีจะนำไปเพิ่มในเดือน กุมภาพันธ์
- เดือนกุมภาพันธ์ ปีศักราชที่มี 29 วันคือ คริสต์ศักราชที่นำเลข 4 ไปหารแล้วลงตัวไม่มีเศษหรือเศษเป็น 0
- ถ้าเราอยู่ที่ดาวเหนือจะมองเห็นโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ในทิศทาง ทวนเข็มนาฬิกา หรือจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก
- ถ้าเราอยู่ที่ดาวเหนือจะมองเห็นโลกหมุนรอบตัวเองในทิศทาง ทวนเข็มนาฬิกา หรือจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก
- เหตุที่โลกของเรามีการเปลี่ยนฤดูกาลเพราะ โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์
- เมื่อโลกหมุนรอบตัวเอง จะทำให้เกิดปรากฏการณ์ กลางวันและกลางคืน
- แกนของโลกทำมุมเอียงกับเส้นตั้งฉากของระนาบการโคจรของโลกเท่ากับ 23องศาครึ่ง และทำมุมเอียงกับระนาบการโคจรของโลกเป็นมุม 66 องศาครึ่ง
- สาเหตุที่ซีกโลกเหนือมีระยะเวลากลางวันมากกว่ากลางคืนเพราะ แกนของโลกหันขั้วเหนือเข้าหาดวงอาทิตย์
- สาเหตุที่ซีกโลกใต้มีระยะเวลากลางวันมากกว่ากลางคืนเพราะ แกนของโลกหันขั้วใต้เข้าหาดวงอาทิตย์
- ซีกโลกใต้เริ่มมีระยะเวลากลางวันมากกว่ากลางคืนตั้งแต่ วันที่ 22 กันยายน ถึง วันที่ 21 มีนาคม
- ซีกโลกเหนือเริ่มมีระยะเวลากลางวันมากกว่ากลางคืนตั้งแต่ วันที่ 21 มีนาคม ถึง วันที่ 22 กันยายน
- โลกของเราจะมีระยะเวลาของภาคกลางวันและภาคกลางคืนยาวเท่ากันเรียกว่า วิษุวัต (equinox)
- โลกของเราจะมีระยะเวลาของภาคกลางวันและภาคกลางคืนยาวเท่ากันจะตรงกับวันที่ 21 มีนาคม และวันที่ 22 กันยายน
- วันเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิของเขตอบอุ่นในซีกโลกเหนือเรียกว่า วสันตวิษุวัติ (vernal equinox) จะตรงกับวันที่ 21 มีนาคม
- วันเริ่มต้นฤดูใบไม้ร่วงของเขตอบอุ่นในซีกโลกเหนือเรียกว่า ศารทวิษุวัติ (autumnal equinox) จะตรงกับวันที่ 22 กันยายน
- วันเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิของเขตอบอุ่นในซีกโลกใต้เรียกว่า วสันตวิษุวัติ (vernal equinox) จะตรงกับวันที่ 22 กันยายน
- วันเริ่มต้นฤดูใบไม้ร่วงของเขตอบอุ่นในซีกโลกใต้เรียกว่า ศารทวิษุวัติ (autumnal equinox) จะตรงกับวันที่ 21 มีนาคม
- แสงอาทิตย์จะส่องตั้งฉาก บริเวณทรอปิกออฟแคนเซอร์ ณ วันที่ 21 มิถุนายน ถือว่าเป็นวันเริ่มต้นฤดูร้อนของเขตอบอุ่นในซีกโลกเหนือ เรียกว่า ครีษมายัน หรือ อุตรายัน( summer solstice)
- แสงอาทิตย์จะส่องตั้งฉาก บริเวณทรอปิกออฟทรอปิคอร์น ณ วันที่ 22 ธันวาคม ถือว่าเป็นวันเริ่มต้นฤดูหนาว ของเขตอบอุ่นในซีกโลกเหนือ เรียกว่า เหมายัน หรือ ทักษิณายัน( winter solstice)
- แสงอาทิตย์จะส่องตั้งฉาก บริเวณทรอปิกออฟทรอปิคอร์น ณ วันที่ 22 ธันวาคม ถือว่าเป็นวันเริ่มต้นฤดูร้อน ของเขตอบอุ่นในซีกโลกใต้ เรียกว่า ครีษมายัน หรือ อุตรายัน( summer solstice)
- แสงอาทิตย์จะส่องตั้งฉาก บริเวณทรอปิกออฟแคนเซอร์ ณ วันที่ 21 มิถุนายน ถือว่าเป็นวันเริ่มต้นฤดูหนาว ของเขตอบอุ่นในซีกโลกใต้ เรียกว่า เหมายัน หรือ ทักษิณายัน( winter solstice)
- บริเวณที่สามารถเห็นดวงอาทิตย์เที่ยงคืนได้แก่
- ในซีกโลกเหนือตั้งแต่ เส้นอาร์กติกเซอร์เคิล ถึง ขั้วโลกเหนือ
- ในซีกโลกใต้ตั้งแต่ เส้นแอนตาร์กติกเซอร์เคิล ถึง ขั้วโลกใต้
- The LAND of Midnight Sun ในซีกโลกเหนือ จะเห็นดวงอาทิตย์อยู่สูงจากขอบฟ้ามากที่สุด เวลา 24.00 นาฬิกา ณ วันที่ 21 มิถุนายน
- The LAND of Midnight Sun ในซีกโลกใต้ จะเห็นดวงอาทิตย์อยู่สูงจากขอบฟ้ามากที่สุด เวลา 24.00 นาฬิกา ณ วันที่ 22 ธันวาคม
- พหุสงกรานต์เหนือ(perihelion) คือ ตำแหน่งที่โลกโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด
- โลกจะโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ประมาณ วันที่ 3 มกราคมของทุกปี
- พหุสงกรานต์ใต้ (aphelion) คือ ตำแหน่งที่โลกโคจรอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากที่สุด
- โลกจะโคจรออกห่างจากดวงอาทิตย์มากที่สุด ประมาณ วันที่ 4 กรกฎาคมของทุกปี
- เขตละติจูดกลางของซีกโลกเหนือ หมายถึง บริเวณตั้งแต่ ทรอปิกออฟแคนเซอร์ ถึง อาร์กติกเซอร์เคิล
- เขตละติจูดกลางของซีกโลกใต้ หมายถึงบริเวณตั้งแต่ ทรอปิกออฟแคบริคอร์น ถึง แอนตาร์กติกเซอร์เคิล
- เขตละติจูดต่ำ หมายถึง บริเวณตั้งแต่ ทรอปิกออฟแคนเซอร์ ถึง ทรอปิกออฟแคบริคอร์น
- ดวงจันทร์ไม่มีแสงในตัวเองแต่เราจึงมองเห็นดวงจันทร์ได้เพราะ ดวงจันทร์สะท้อนแสงอาทิตย์มายังโลก
- ดวงจันทร์โคจรรอบโลก 1 รอบ กินเวลานาน 29 วัน
- เมื่อดวงจันทร์โคจรรอบโลกทำให้เกิดปรากฏการณ์ ข้างขึ้น ข้างแรม น้ำขึ้น น้ำลง
- วันเดือนดับ ตรงกับวัน แรม 14 -15 ค่ำ
- เราจึงเห็นดวงจันทร์เพียงด้านเดียวเพราะ ดวงจันทร์หมุนรอบตัวเองหนึ่งรอบเท่ากับโคจรรอบโลกหนึ่งรอบ
- การเกิดข้างขึ้นข้างแรมหนึ่งรอบใช้เวลานาน 29 วัน
- ถ้าวันนี้เป็นวันพระกลางเดือนวันพระครั้งต่อไปจะตรงกับ วันแรม 8 ค่ำ
- ถ้าวันนี้เกิดปรากฏการณ์น้ำตายอีก 15 วันจะเกิดปรากฏการณ์อย่างนี้อีก
- วันที่ 12 ตรงกับวันแรม 4 ค่ำ วันที่ 16 จะเกิดน้ำตายอีกครั้ง
- จันทรุปราคาเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในเวลา กลางคืน อันเนื่องจากดวงอาทิตย์ โลกและดวงจันทร์โคจะมาอยู่ในแนวเดียวกันจะเกิดในช่วงวันขึ้น 14-15 ค่ำและวันแรม 1 ค่ำ
|