หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
  1. จากทฤษฎีของ อัลเฟรด เวเกเนอร์ Alfred Wegener กล่าวว่า เมื่อ 225 ล้านปี โลกเรามีแผ่นดินใหญ่เพียงแผ่นเดียว เรียกว่า          พันเจีย  Pangea       และเรียกมหาสมุทรทั้งหมดว่า    พันทาลัสซา Panthalassa
  2. เมื่อ 225 ล้านปี อัลเฟรด เวเกเนอร์ Alfred Wegener กล่าวว่า มีทะเล   เททิส Tethys Sea    อยู่ระว่าง ทวีป  ยูเรเชีย กับ ทวีปแอฟริกา
  3. ผืนแผ่นดินพันเจีย ได้แยกออกเป็น 2 ส่วน คือ
    3.1 แผ่นดินซีกโลกเหนือ เรียกว่า     ลอเรนเซีย               ( Laurasia )
    3.2 แผ่นดินซีกโลกใต้ เรียกว่า         กอนด์วานา                       (Gondwanaland)
  4. แผ่นดิน ลอเรเชีย  ( Laurasia ) ประกอบด้วย  ทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปยุโรป และ ทวีปเอเชีย
  5. แผ่นดิน กอนด์วานา (Gondwanaland) ประกอบด้วย ทวีป    ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปแอฟริกา อินเดีย ออสเตรเลีย และแอนตาร์กติกา
  6. แนวแบ่งเขตของเปลือกโลกมี 3 แนว คือ
    6.1 สันเขากลางมหาสมุทร                         (mid-oceanic ridge)
    6.2 บริเวณที่แผ่นเปลือกโลกชนกัน                (Covergent plate boundary)
    6.3 บริเวณที่แผ่นเปลือกโลกแยกออกจากกัน             (Divergent plate boundaries)  
  7. แนวสันเขากลางมหาสมุทร   คือ   mid-oceanic ridge บริเวณที่เปลือกโลกแยกออกจากกันทำให้หินละลายปะทุจากเปลือกโลกชั้นในขึ้นมาระหว่างเปลือกโลกใต้ท้องมหาสมุทร
  8. บริเวณที่แผ่นเปลือกโลกชนกันมี 3 ลักษณะ คือ
    8.1 แผ่นเปลือกโลกใต้มหาสมุทร 2 แผ่นมาชนกัน
    8.2 แผ่นเปลือกโลกใต้มหาสมุทรชนกับแผ่นทวีป.
    8.3 แผ่นทวีปชนกับแผ่นทวีป.
  9. นักธรณีวิทยาได้ศึกษาเปลือกโลก ซึ่งแผ่นเปลือกโลกจะประกอบด้วยแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่  6 แผ่นด้วยกันคือ
    9.1 แผ่นยูเรเซีย            เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับ        ทวีปเอเชียและทวีปยุโรป และพื้นน้ำบริเวณใกล้เคียง
    9.2 แผ่นอเมริกา           
    เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับ        ทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาใต้ และพื้นน้ำครึ่งซีกตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก
    9.3 แผ่นแปซิฟิก           
    เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับ        มหาสมุทรแปซิฟิก
    9.4 แผ่นออสเตรเลีย      
    เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับ        ทวีปออสเตรเลีย ประเทศอินเดีย และพื้นน้ำระหว่างประเทศออสเตรเลียกับประเทศอินเดีย
    9.5 แผ่นแอนตาร์กติก  
    เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับ        ทวีปแอนตาร์กติกา และพื้นน้ำโดยรอบ
    9.6 แผ่นแอฟริกา          
    เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับ        ทวีปแอฟริกา และพื้นน้ำรอบๆ
  10. เทือกเขาหิมาลัยเกิดจากแผ่นทวีปชนกันระหว่าง       แผ่นยูเรเซีย      กับ แผ่นอินเดีย
  11. เทือกเขาแอนดีสเกิดจากแผ่นธรณีชนกันระหว่าง       แผ่นแปซิฟิก    กับ แผ่นอเมริกาใต้ 
  12. ข้อสันนิษฐานทวีปเลื่อนในประเทศไทยว่า ประเทศไทยประกอบด้วยผืนจุลทวีป 2 ผืน คือ
    จุลทวีปฉาน-ไทย           Shan – Thai  Micro – Continental  Plate
    จุลทวีปอินโดจีน            Indo – Chaina Micro – Continental  Plate
  13. จุลทวีปฉาน-ไทย สันนิษฐานแยกมาจากทวีป กอนด์วานา
  14. จุลทวีปอินโดจีน สันนิษฐานแยกมาจากทวีป ลอเรเซีย     Laurasia
  15. ผืนแผนดิน จุลทวีปฉาน-ไทย ได้แก่ ดินแดน   บริเวณภาคใต้ ภาคกลาง ภาคตะวันตก ภาคตะวันออก และพื้นที่บางส่วนของภาคเหนือ รวมถึงพื้นที่รัฐฉานของพม่า บางส่วนของลาวและบริเวณตอนใต้ของจีน.
  16. ผืนแผนดิน จุลทวีปอินโดจีน ได้แก่ ดินแดน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เวียดนาม กัมพูชาและพื้นที่บางส่วนของลาว.
  17. อุทกภาค คือ  ส่วนที่เป็นพื้นน้ำที่ปกคลุมผิวโลก ทะเล มหาสมุทร รวมถึงน้ำในดิน น้ำใต้ดิน ไอน้ำในอากาศและน้ำที่เป็นน้ำแข็งบริเวณขั้วโลก .
  18. ปริมาณน้ำทั้งโลก ส่วนที่เป็น น้ำจืด คิดเป็นร้อยละ 3 ส่วนที่เป็นน้ำเค็ม ที่เป็นทะเลมหาสมุทร ร้อยละ 97
  19. น้ำจะลงต่ำสุด หรือ หรือที่เรียกว่าน้ำตายจะปรากฏ  2 ครั้งต่อเดือน ตรงกับ วันขึ้น 8 ค่ำและวันแรม 8 ค่ำ
  20. น้ำขึ้น-น้ำลงจะเกิดช้าลงวันละ 50 นาที
  21. น้ำขึ้นสูงสุดหรือที่เรียกว่า น้ำเกิด มี 2 ครั้งต่อเดือน ตรงกับ วันขึ้น  15 ค่ำและวันแรม  14 - 15 ค่ำ
  22. น้ำขึ้น-น้ำลงจะเกิดช้าลงเฉลี่ยวันละ 50 นาที ทั้งนี้เพราะดวงจันทร์โคจรทำมุมกับโลก 12 องศา 30 ลิปดา
  23. ปัจจัยที่ทำให้กระแสน้ำในมหาสมุทรไหลเวียน ได้แก่
    23.1 ลมประจำฤดู ลมประจำถิ่น ลมประจำปี
    23.2 ความหนาแน่นของน้ำในมหาสมุทร
    23.3 อุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทร
    23.4 ปรากฏการณ์แผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟระเบิดใต้มหาสมุทร
    23.5 การลดระดับและเพิ่มระดับของน้ำในมหาสมุทร
  24. กระแสน้ำในมหาสมุทรมี 2 ประเภท คือ
    24.1 กระแสน้ำอุ่น
    24.2 กระแสน้ำเย็น
  25. กระแสน้ำอุ่น หมายถึง      กระน้ำที่มีอุณหภูมิสูงกว่าน้ำโดยรอบ มักจะไหลจากบริเวณเขตละติจูดต่ำไปยังบริเวณละติจูดสูงหรือไหลจากเส้นศูนย์สูตรไปยังขั้วโลก
  26. กระแสน้ำเย็น หมายถึง กระน้ำที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าน้ำโดยรอบ มักจะไหลจากบริเวณเขตละติจูดสูงไปยังบริเวณละติจูดต่ำหรือไหลจากขั้วโลกเข้าหาเส้นศูนย์สูตร
  27. กระแสน้ำที่ไหลเรียบชายฝั่งตะวันตกของทวีปแอฟริกาบริเวณทะเลทรายกาลาฮารี ประเทศนามิเบีย คือ กระแสน้ำเย็นเบงเก-ลา
  28. กระแสน้ำที่ไหลเรียบชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกาบริเวณทะเลทรายสะฮาร่า คือ กระแสน้ำเย็นคานารี
  29. กระแสน้ำที่ไหลเรียบชายฝั่งตะวันตกของประเทศออสเตรเลีย  คือ กระแสน้ำเย็นออสเตรเลียตะวันตก.
  30. กระแสน้ำที่ไหลเรียบชายฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้บริเวณทะเลทราย อะตากามา ประเทศเปรูและประเทศชิลี คือ  กระแสน้ำเย็นเปรู หรือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลด์
  31. กระแสน้ำที่ไหลเลียบชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกาและตะวันตกของเม็กซิโกทวีปอเมริกาเหนือ คือ         กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย.
  32. กระแสน้ำที่ ไหลเลียบชายฝั่งคาบสมุทรแลบราดอร์และเกาะนิวฟันด์แลนด์ ในประเทศแคนาดา คือ กระแสน้ำเย็นแลบราดอร์
  33. กระแสน้ำที่ไหลเรียบชายฝั่งตะวันตกของประเทศนอร์เวย์  คือ กระแสน้ำอุ่นนอร์เวย์.
  34. กระแสน้ำที่ไหลเรียบชายฝั่งตะวันออกของประเทศออสเตรเลีย  คือ กระแสน้ำอุ่นออสเตรเลียตะวันออก.
  35. กระแสน้ำที่ไหลเรียบชายฝั่งตะวันออกของประเทศสหรัฐอเมริกา  คือ กระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีม
  36. กระแสน้ำที่ไหลเรียบชายฝั่งตะวันออกของประเทศบราซิล  คือ กระแสน้ำอุ่นบราซิล.
  37. กระแสน้ำที่ไหลเรียบชายฝั่งตะวันออกของประเทศญี่ปุ่น  คือ กระแสน้ำอุ่นกุโรชิโว.
  38. กระแสน้ำทีไหลข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกจากทวีปอเมริกาเหนือมาสู่ทวีปยุโรปคือ  . กระแสน้ำอุ่นแอตแลนติกเหนือ       (North Atlantic Drift) 
  39. กระแสน้ำทีไหลข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกจากทวีปเอเชียไปสู่ทวีปอเมริกาเหนือคือ . กระแสน้ำอุ่นแปซิฟิกเหนือ                     (North Pacific Drift) 
  40. บริเวณที่กระน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีมไหลมาบรรจบกับกระแสน้ำเย็นแลบราดอร์ ทำให้เกิดแหล่งปลาชุมเรียกว่า   แกรนด์แบงค์ Grand Bank  หรือนิวฟันด์แลนด์แบงค์ Newfoundland  Bank. ..

    1. กระแสน้ำ     อุ่นแคริบเบียน
    2. กระแสน้ำ     อุ่น กัลฟ์สตรีม                                             
    3. กระแสน้ำ     อุ่น แอตแลนติกเหนือ
    4. กระแสน้ำ     อุ่น นอร์เวย์
    5. กระแสน้ำ     เย็น คานารี
    6. กระแสน้ำ     อุ่น บราซิล
    7. กระแสน้ำ     เย็นเบงเก-ลา
    8. กระแสน้ำ     เย็น ลมตะวันตก
    9. กระแสน้ำ     เย็น ออสเตรเลียตะวันตก
    10. กระแสน้ำ     อุ่นมาดากัสการ์.
    11. กระแสน้ำ     อุ่น โมซัมบิก
    12. กระแสน้ำ     อุ่น ออสเตรเลียตะวันออก
    13. กระแสน้ำ     อุ่น กุโรชิโว
    14. กระแสน้ำ     เย็น โอยาชิโว
    15. กระแสน้ำ     เย็น ชามชัตกา
    16. กระแสน้ำ     เย็น ฮัมโบลด์ (เย็นเปรู).
    17. กระแสน้ำ     เย็น แคลิฟอร์เนีย
    18. กระแสน้ำ     อุ่น อลาสกา
    19. กระแสน้ำ     เย็น ลาบราดอร์
    20. กระแสน้ำ     เย็น กรีนแลนด์ตะวันออก
    21. กระแสน้ำ     อุ่น แปซิฟิกเหนือ (North Pacific Drift) 

  41. บรรยากาศ (atmosphere) หมายถึง อากาศที่ห่อหุ้มโลกเราอยู่ มีส่วนประกอบของก๊าซชนิดต่างๆ ไอน้ำ ฝุ่นละออง แรงดึงดูดของโลกเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้บรรยากาศมีความกดดันและมีความหนาแน่นสูง เมื่อสูงขึ้นไปความกดดัน และความหนาแน่นของบรรยากาศจะลดลงตามลำดับ
  42. การกำหนดชั้นของบรรยากาศของโลกตามแนวดิ่ง vertical layers จำแนกได้ดังนี้
    42.1 โทรโพสเฟียร์                                  (troposphere)
    42.2 สตราโตสเฟียร์                                (stratosphere)
    42.3 มีโซสเฟียร์                                     (mesosphere)
    42.4 เทอร์โมสเฟียร์                                (thermosphere)
    42.5 เอกโซสเฟียร์                                  (exosphere)
  43. ชั้นบรรยากาศที่มีอากาศหนาแน่นและ มีไอน้ำมาก มีการเคลื่อนที่ของอากาศทั้งแนวระดับและแนวดิ่ง       คือ    บรรยากาศชั้น  โทรโพสเฟียร์.
  44. ชั้นบรรยากาศที่มีลักษณะของ ลมฟ้าอากาศต่าง ๆ เช่น มีหมอก เมฆ ฝน ลม พายุ เป็นบรรยากาศชั้นนี้มีความสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา คือบรรยากาศชั้น  โทรโพสเฟียร์
  45. บรรยากาศชั้นที่มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไอโอโนเฟียร์ (Ionosphere) คือ บรรยากาศชั้น เทอร์โมสเฟียร์
  46. บรรยากาศชั้นที่สามารถสะท้อนคลื่นวิทยุได้ดี  คือ บรรยากาศชั้น เทอร์โมสเฟียร์ (Thermosphere)
  47. ปรากกฏการณ์ ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า ฝนฟ้าคะนองจะเกิดขึ้นในบรรยากาศชั้น โทรโพสเฟียร์ (Troposhere).
  48. วัตถุนอกโลกที่ถูกแรงโน้มถ่วงของโลกดึงดูดเข้าสู่บรรยากาศของโลกจะถูกเผาไหม้ในบรรยากาศชั้น  เมโซสเฟียร์ (Mesosphere)          
  49. บรรยากาศชั้นที่มีความเหมาะสมต่อการบิน โดยเฉพาะเครื่องบินพาณิชย์ คือ บรรยากาศชั้น สตราโตสเฟียร์ (Stratophere)
  50. บรรยากาศในชั้นที่เกิดปรากฏการณ์ แสงออโรราเหนือ(aurora borealis) แสงออโรราใต้(aurora australis) คือบรรยากาศชั้น    เทอร์โมสเฟียร์ (Thermosphere).
  51. บรรยากาศชั้นที่มีปรากฏการณ์ของหยาดน้ำฟ้า (Precipitation) คือ บรรยากาศชั้น  โทรโพสเฟียร์ (Troposhere)
  52. ชั้นโอโซนมีความสัมพันธ์กับชั้นบรรยากาศชั้น สตราโตสเฟียร์ (Stratophere).
  53. ชั้นบรรยากาศที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ คือบรรยากาศชั้น โทรโพสเฟียร์ (Troposhere)
  54. โทรโพสเฟียร์ (troposphere) คือ  ชั้นบรรยากาศที่เราอาศัยอยู่  มีระยะความสูงจากผิวโลกขึ้นไปไม่เกิน  10 กิโลเมตร
  55. โทรโพสเฟียร์ (troposphere) คือ  ชั้นบรรยากาศที่เราอาศัยอยู่  อุณหภูมิของบรรยากาศชั้นนี้จะค่อย ๆ ลดลงตามระดับความสูงโดยเฉลี่ยอุณหภูมิจะลดลงประมาณ  6.5 องศาเซลเซียส ต่อ ความสูง 1 กิโลเมตร  
 
     

Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th