หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
  1. พลังงานที่เป็นปัจจัยที่ทำให้ภูมิประเทศและโครงสร้างทางธรณีวิทยาเกิดการเปลี่ยนแปลงมีพลังงานอยู่ 2 ประการคือ ปัจจัยที่สืบเนื่องมาจากพลังงานที่เกิดขึ้นภายในโลก และ ปัจจัยที่สืบเนื่องมาจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่กระทำต่อพื้นผิวโลก
  2. กระบวนการที่เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้พื้นผิวโลกและเปลือกโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงมี 3 ประการคือ
    กระบวนการแปรสัณฐาน  tectonic  process                             
    กระบวนการปรับระดับผิวแผ่นดิน  gradation  process
    กระบวนการจากภายนอกโลก  extraterrestrial  process
  3. กระบวนการแปรสัณฐาน  tectonic  process  เกิดขึ้นจาก การเคลื่อนไหวของเปลือกโลกที่เกิดจากแรงภายในอันเนื่องมากจากความยืดหยุ่นของหินหนืดที่อยู่ภายใต้ความกดดันและอุณหภูมิที่สูงส่งผลให้เกิดรูปแบบภูมิประเทศที่แตกต่างกัน
  4. กระบวนการแปรสัณฐาน  tectonic  process  ส่งผลให้โครงสร้างของหินที่ประกอบอยู่ในเปลือกโลกแปรสภาพไปจากเดิมแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดคือ
    การแปรสัณฐานเปลือกโลก diastrophism 
    ปรากฏการณ์ภูเขาไฟ vulcanism
  5. การแปรสัณฐานเปลือกโลก diastrophism  ส่งผลให้เกิดรูปแบบภูมิประเทศที่แตกต่างกัน 4 ประเภทได้แก่
    การเกิดรอยคดโค้งของหินหรือชั้นหินคดโค้ง  fold
    การเกิดรอยเลื่อนตามแนวของเปลือกโลก 
    fault
    การเกิดแผ่นดินโก่งตัวของเปลือกโลก 
    warping
    การเกิดแนวแตกของเนื้อหิน  
     joint
  6. กระบวนการปรับระดับผิวแผ่นดิน  gradation  procress หมายถึง กระบวนการที่ทำให้เปลือกโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ ทำให้เปลือกโลกสูงขึ้นหรือลดต่ำลงอันเนื่องมาจากแรงน้ำไหล แรงจากน้ำใต้ดิน แรงลม ธารน้ำแข็ง คลื่นและกระแสน้ำในมหาสมุทร
  7. กระบวนการปรับระดับผิวแผ่นดิน  แบ่งออกเป็น 2 ชนิดได้แก่
    การลดระดับแผ่นดิน degradation
    การเพิ่มระดับแผ่นดิน aggradation
  8. การลดระดับแผ่นดิน หมายถึง กระบวนการเกลี่ยผิวดินหรือหินให้ลดระดับลงอันเนื่องมาจากการผุพังอยู่กับที่ (weathering) และการกร่อน (erosion)แล้วถูกนำพาลงสู่ที่ต่ำ
  9. การเพิ่มระดับแผ่นดิน หมายถึง กระบวนการที่สะสมเพิ่มพูนผิวโลกบริเวณที่ต่ำให้สูงขึ้นจากการทับถมของตะกอนที่เกิดจากพัดพามาของ น้ำ ธารน้ำแข็ง ลมและกระแสน้ำ
  10. กระบวนการจากภายนอกโลก  extraterrestrial  procress  หมายถึง กระบวนการที่เกิดจากการกระทำของวัตถุภายนอก เช่นอุกาบาต meteorite ที่ตกลงมาสู่พื้นผิวโลก
  11. ภูมิประเทศ topography หมายถึง  ลักษณะทางกายภาพและทางธรรมชาติของแผ่นดิน รวมถึงความสูงต่ำของผิวโลก  
  12. ภูมิประเทศของโลกแบ่งออกได้ 4 รูปแบบ ได้แก่
    ที่ราบ  plain
    ที่ราบสูง plateau
    เนินเขา  hill
    ภูเขา   mountain
  13. ที่ราบ   หมายถึง ภูมิประเทศที่ราบเรียบหรือเป็นลูกคลื่นลอนราบที่มีความต่างระดับกันไม่เกิน 100 เมตรอาจมีเนินเขาเตี้ยๆ ปรากฏอยู่บ้างก็ได้
  14. ที่ราบสูง หมายถึง  พื้นที่ที่มีความต่างระดับไม่เกิน 150 เมตร  แต่สูงกว่าบริเวณใกล้เคียงมากกว่า 300 เมตร  และจะมีขอบสูงชันอย่างน้อย 1 ด้าน
  15. เนินเขา  หมายถึง พื้นที่ที่มีระดับสูงขึ้นจากบริเวณรอบๆแต่ไม่สูงมากเท่าภูเขามีความแตกต่างของพื้นที่ประมาณ150-600เมตร
  16. ภูเขา  หมายถึง ภูมิประเทศที่มีความสูงจากพื้นบริเวณรอบๆคล้ายเนินเขาแต่มีความแตกต่างของพื้นที่ตั้งแต่600เมตรขึ้นไป
  17. ที่ราบแบ่งตามลักษณะการเกิดออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่
    ที่ราบโครงสร้างเปลือกโลกต่ำ  (Structural  plain)
    ที่ราบที่เกิดจากการทับถม (Deposition  plain)
    ที่ราบที่เกิดจากการสึกกร่อน (Erosional  plain)
  18. ที่ราบสูงแบ่งตามการผันแปรของเปลือกโลกแบบเสริมสร้าง(Tectonic process) เป็น 3 ลักษณะได้แก่
    ที่ราบสูงเชิงเขา  (piedmont plateau)
    ที่ราบสูงระหว่างภูเขา (intermontane plateau)
    ที่ราบสูงในทวีป (continental plateau)
  19. ทางธรณีวิทยาสามารถจำแนกเนินเขาตามกระบวนการเกิดออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
    เนินเขาที่เกิดจากการทับถม depositional hill
    เนินเขาที่เกิดจากการกร่อน  erosion hill
    เนินเขาที่เกิดจากการแปรสัณฐาน tectonic hill
  20. ภูเขาสามารถจำแนกตามลักษณะการเกิดออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
    ภูเขาหินคดโค้ง  folded mountain
    ภูเขาบล็อก  block mountain
    ภูเขาไฟ  volcano
    ภูเขาถิ่นเดิมหรือภูเขาที่เหลือจากการสึกกร่อน residual mountain
  21. ที่ราบที่เกิดจากการทับถม (Deposition  plain)  แบ่งตามลักษณะการเกิดออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่
    ที่ราบน้ำท่วมถึง  (Flood  plain)
    ที่ราบดินดอนสามเหลี่ยม (Deltaic  plain)
    ที่ราบรูปพัด (alluvial  plain)
  22. ตัวการทางธรรมชาติที่ทำให้เกิดภูมิประเทศ ที่ราบดินเลิสส์ (loess  plain) ทางตะวันตกและภาคกลางของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนคือ ลม win
  23. ตัวการทางธรรมชาติที่ทำให้เกิดภูมิประเทศ ที่ราบในเขตทุ่งหญ้าปัมปา (pampa) ในประเทศอาร์เจนตินาคือ  ลม
  24. ที่ราบใหญ่ Great Plains ในประเทศสหรัฐอเมริกา ตามลักษณะการเกิดจัดเป็นที่ราบประเภท  ที่ราบโครงสร้างเปลือกโลกต่ำ
  25. ที่ราบต่ำรัสเซีย Russian Lowlandในไซบีเรีย ประเทศรัสเซีย ตามลักษณะการเกิดจัดเป็นที่ราบประเภท  ที่ราบโครงสร้างเปลือกโลกต่ำ
  26. ที่ราบต่ำตอนกลาง Central Lowlands ในประเทศออสเตรเลีย ตามลักษณะการเกิดจัดเป็นที่ราบประเภท  ที่ราบโครงสร้างเปลือกโลกต่ำ
  27. ที่ราบสูงปาตาโกเนีย ในเขตประเทศชิลีและอาร์เจนตินา ตามลักษณะการเกิดจัดเป็นที่ราบสูงประเภท ที่ราบสูงเชิงเขา  
  28. ที่ราบสูงธิเบต ในทวีปเอเชีย ตามลักษณะการเกิดจัดเป็นที่ราบสูงประเภท ที่ราบสูงระหว่างภูเขา  
  29. ที่ราบสูงเกรตเบซิน ในประเทศสหรัฐอเมริกา ตามลักษณะการเกิดจัดเป็นที่ราบสูงประเภท ที่ราบสูงระหว่างภูเขา  
  30. ที่ราบสูงบริติช โคลัมเบีย ในประเทศแคนาดา ตามลักษณะการเกิดจัดเป็นที่ราบสูงประเภท ที่ราบสูงระหว่างภูเขา  
  31. ที่ราบสูงเม็กซิโก ในประเทศเม็กซิโก ตามลักษณะการเกิดจัดเป็นที่ราบสูงประเภท ที่ราบสูงระหว่างภูเขา
  32. ที่ราบสูงแอลติพลาโน  (Altiplano) ในประเทศโบลิเวีย ตามลักษณะการเกิดจัดเป็นที่ราบสูงประเภท ที่ราบสูงระหว่างภูเขา  
  33. ที่ราบสูงในทวีป (continental plateau) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ที่ราบสูงรูปโต๊ะ (tableland)
  34. ที่ราบสูงเดกกัน (Deccan) ในประเทศอินเดีย ตามลักษณะการเกิดจัดเป็นที่ราบสูงประเภท ที่ราบสูงในทวีป  
  35. ที่ราบสูงไฮเวลด์ (Highveld) ทางตอนเหนือของประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้  ตามลักษณะการเกิดจัดเป็นที่ราบสูงประเภท ที่ราบสูงในทวีป  
 

Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th