- ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ หมายถึง สภาวการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับเปลือกโลกและบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลก โดยสภาวการณ์นั้นมีอิทธิพลและผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในทางตรงหรือทางอ้อม
- การศึกษาปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับโลกอาจแบ่งออกเป็น 4 ส่วนดังนี้
- ธรณีภาค ( lithosphers )
- อุทกภาค ( hydrosphere )
- บรรยากาศ ( atmosphere )
- ชีวภาค ( biosphere )
- ธรณีภาค ( lithosphers ) หมายถึง ชั้นเนื้อโลกส่วนบนกับชั้นเปลือกโลกรวมกัน ชั้นธรณีภาคมีความหนา ประมาณ 100 กิโลเมตรนับจากผิวโลกลงไป
- อุทกภาค (hydrosphere ) หมายถึง ส่วนที่เป็นของเหลวหรือพื้นน้ำที่ปกคลุมผิวโลก เช่น ทะเล มหาสมุทร รวมถึงน้ำใต้ดิน ไอน้ำในอากาศและน้ำที่เป็นน้ำแข็งขั้วโลกด้วย
- บรรยากาศ ( atmosphere ) หมายถึง อากาศทั้งหมดที่อยู่รอบตัวเราและห่อหุ้มโลกเราไว้ โดยอยู่ในช่วง 800 - 960 กิโลเมตรจากผิวโลก ประกอบด้วย ก๊าซต่างๆ ฝุ่น ละออง เขม่า ควันไฟ เชื้อโรค รวมถึงไอน้ำในอากาศด้วย
- ชีวภาค ( biosphere ) หมายถึง สิ่งมีชีวิตบนพื้นผิวโลกทั้งบนบก ในดิน ในน้ำ และในอากาศ เช่น มนุษย์ สัตว์ พืช
- โครงสร้างของโลก สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนดังนี้
- ชั้นเปลือกโลก ( crust )
- ชั้นเนื้อโลก ( mantle )
- ชั้นแกนโลก (core )
- เปลือกโลก ( crust ) หมายถึง ผิวโลกชั้นนอกสุดของโลกเป็นแผ่นพิภพที่มีความหนาประมาณ 6-35 กิโลเมตร
- เปลือกโลก ( crust ) แบ่งย่อยได้ 2 ชั้นดังนี้
- ชั้นไซอัล ( Sial layer)
- ชั้นไซมา ( Sima layer )
- เปลือกโลก ชั้นไซอัล ( Sial layer) หมายถึง เปลือกโลกส่วนบน (Upper crust)เป็นผิวของเปลือกโลก ประกอบด้วย แร่ซิลิกาเป็นส่วนใหญ่และมีอะลูมิเนียมเป็นส่วนประกอบ มีความหนาแน่นน้อย ความหนาไม่เท่ากันทั่วโลก ผิวโลกบางแห่งมีไซอัลอยู่เฉพาะตัวทวีปหรือภูเขา ส่วนที่เป็นมหาสมุทรอาจไม่มีชั้นไซอัล ตัวอย่างของเปลือกโลกชั้นไซอัล ได้แก่ หินแกรนิต
- เปลือกโลก ชั้นไซมา ( Sima layer) หมายถึง เปลือกโลก ส่วนล่าง (Lower crust) มีความหนาแน่นมากกว่าส่วนบน ประกอบด้วยแมกนีเซียม เหล็ก แคลเซียม และซิลิเกตเป็นส่วนใหญ่
- แนวแบ่งเขตเปลือกโลก ชั้นไซมา ( Sima layer) กับชั้นเนื้อโลก ( mantle ) คือ มอฮอรอวีชีช ( Mohorovicic Discontinuity ) เรียกย่อๆ ว่าแนวแบ่งเขต มอฮอ( Moho )
- ชั้นเนื้อโลก ( mantle ) หมายถึง เป็นชั้นที่อยู่ระหว่างเปลือกโลกกับแก่นโลก มีความหนาประมาณ 2,900 กิโลเมตร มีส่วนประกอบของแมกนีเซียมและเหล็กเป็นส่วนใหญ่ แมนเทิลเกือบทั้งหมดเป็นของ แข็ง
- ชั้นเนื้อโลก ( mantle ) บางครั้งเรียกเปลือกโลกชั้นนี้ว่า ชั้นหินหนืด แมกมา ( magma )
- แก่นโลก (core ) หมายถึง โครงสร้างชั้นในสุดของโลกที่มีความหนาแน่นมากบางครั้ง เรียกว่า “แกนโลก” มีรัศมียาวประมาณ 3,486 กิโลเมตร ประกอบด้วยโลหะผสมระหว่างเหล็กและนิกเกิล
- แก่นโลก (core ) แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
แก่นโลกชั้นนอก ( outer core )
แก่นโลกชั้นใน ( inner core )
- แก่นโลกชั้นนอก ( outer core ) คือ ชั้นหินหลอมเหลว หรือ แมกมา ( magma ) แกนโลกชั้นนอก (outer core) มีสถานะเป็นของเหลวเนื่องจากอุณหภูมิที่สะสมเพื่อหลอมโลหะผสมเหล็กนิเกิล
- แก่นโลกชั้นใน ( inner core ) คือ ส่วนที่อยู่ใจกลางของโลก มีองค์ประกอบหลักเป็นเหล็ก และนิเกิล มีสถานะเป็นของแข็งถึงแม้ว่าจะมีอุณหภูมิที่สูงกว่าแกนโลกชั้นนอกแต่เนื่องจากความกดดันที่สูงมากจากน้ำหนักของหินที่ปิดทับอยู่ด้านบนที่มากพอที่จะทำให้อะตอมมีการจับตัวกันอย่างแน่นหนาทำให้ไม่เกิดสถานะของเหลว
- หิน คือ ของแข็งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นสารผสมที่เกิดจากการเกาะตัวกันแน่นของแร่ ตั้งแต่ 1 ชนิดขึ้นไป หรือ เป็นสารผสมของแร่กับแก้วภูเขาไฟ หรือ แร่กับซากดึกดำบรรพ์ หรือของแข็งอื่น ๆ
- หินจำแนกตามลักษณะการเกิด ได้ 3 ประเภทคือ
หินอัคนี ( igneous rock )
หินตะกอน หรือ หินชั้น ( sedimentary rock )
หินแปร ( metamorphic rock )
- หินอัคนี igneous rock หมายถึง หินที่เกิดจากการแข็งตัวของหินหนืด (magma) ใต้เปลือกโลก ไม่ว่าจะแข็งตัวอยู่ภายในเปลือกโลก หรือ พุพ้นเปลือกโลกออกมาแข็งตัวอยู่บนผิวเปลือกโลก
- หินชั้น หรือ หินตะกอน sedimentary rock หมายถึง หินที่เกิดจากกระบวนการผุกร่อนในธรรมชาติของหินเก่าชนิดต่างๆ ที่ถูกกระแสน้ำ ธารน้ำแข็งหรือลมพัดพามาทับถมกันในบริเวณหนึ่งทับถมกันเป็นเวลานานแล้วมีตัวประสานเข้าไปแทรกเกิดการตกผลึกประสานเศษหิน หรือตะกอนเข้าด้วยกันเกิดเป็นหินตะกอน
- หินแปร metamorphic rock หมายถึง หินที่เกิดจากการแปรสภาพจากหินอัคนีหรือหินตะกอน เมื่อได้รับอิทธิพลของความดันและอุณหภูมิที่สูงมากทำให้องค์ประกอบดั้งเดิมของหินเหล่านี้ จะถูกหลอมผสมเข้าด้วยกันใหม่ แล้วเกิดการตกผลึกกลายเป็นหินชนิดใหม่
- หินอัคนี แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
หินอัคนีพุ หรือ หินภูเขาไฟ หรือ หินอัคนีภายนอก extrusive igneous rock
หินอัคนีแทรกซอน หินอัคนีภายใน intrusive igneous rock
- หินอัคนีพุ หมายถึง หินที่เกิดจากลาวาบนพื้นผิวโลกเย็นตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้ผลึกมีขนาดเล็ก และเนื้อละเอียด
- หินอัคนีแทรกซอน หมายถึง หินที่เกิดจากหินหนืดที่เย็นตัวลงภายในเปลือกโลกอย่างช้าๆ ทำให้ผลึกแร่มีขนาดใหญ่ และเนื้อหยาบ เช่น หินแกรนิต หินไดออไรต์ และหินแกบโบร
- หินอัคนีพุ ได้แก่ หินบะซอลต์ (Basalt) หินไรออไรต์ (Rhyolite) หินแอนดีไซต์ (Andesite) หินเพอร์ไลต์ (Perlite) หินบอมบ์ภูเขาไฟ (Volcanic Bomb) หินบอมบ์ภูเขาไฟ (Volcanic Bomb)หินออบซิเดียน (Obsedian
- หินอัคนีแทรกซอน ได้แก่ หินแกรนิต (Granite) หินแกรนิต สีชมพู (Pink Granite) หินเพกมาไทต์ (Pegmatite) หินไดออไรต์ (Diorite)
- หินแปรอาจแบ่งตามต้นกำเนิดหรือหินที่เปลี่ยนแปรมา ได้ 2 ประเภท ได้แก่
หินอัคนี ( igneous rock )
หินตะกอน หรือ หินชั้น ( sedimentary rock )
- ให้นักเรียนยกตัวอย่าง หินแปรที่มีต้นกำเนิดมาจากหินอัคนี ได้แก่
หินไนส์ (gneiss) เป็นหินที่แปรสภาพมาจากหินแกรนิต(อัคนีภายใน)
- ให้นักเรียนยกตัวอย่าง หินแปรที่มีต้นกำเนิดมาจากหินตะกอน ได้แก่
หินควอร์ตไซต์ (Quartzite) เป็นหินที่แปรสภาพมาจาก หินทราย (Sand stone)
หินอ่อน (Marble) เป็นหินที่แปรสภาพมาจาก หินปูน (Limestone)
หินชนวน (Slate) เป็นหินที่แปรสภาพมาจากหินดินดาน(Shale)
- หินแปรแบ่งตามลักษณะโครงสร้างและเนื้อหินได้ 2 ประเภท ได้แก่
หินแปรที่มีริ้วขนาน foliation
หินแปรที่ไม่มีริ้วขนาน nonfoliation
- ให้นักเรียนยกตัวอย่างหินแปรที่มีริ้วขนาน foliation ได้แก่ หินชีสต์ (Schist)
- ให้นักเรียนยกตัวอย่างหินแปรที่ไม่มีริ้วขนาน nonfoliation ได้แก่ หินนควอร์ตไซต์ (Quartzite) หินอ่อน (Marble)
- หินชนวน (slate) มีต้นกำเนิดมาจาก หินดินดาน
- หินอ่อน (marble) มีต้นกำเนิดมาจาก หินปูน (Limestone)
- หินฟิลไลต์ (phyllite) มีต้นกำเนิดมาจาก หินชนวน (Slate)
- หินชีสต์ (schist) มีต้นกำเนิดมาจาก หินตะกอน(หินชนวน) หินอัคนี และหินแปร ที่ถูกสภาวะแปรสภาพด้วยความกดดัน และความร้อนสูง
- หินควอร์ตไซต์(quartzite) มีต้นกำเนิดมาจาก หินทราย (Sand stone)
- ให้นักเรียนเขียนวัฏจักรของหิน (rock cycle)
|