หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
  1. สารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ Geographic Information System : GIS หมายถึง กระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วย ระบบคอมพิวเตอร์ ที่ใช้กำหนดข้อมูลและสารสนเทศ ที่มีความ สัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่หรือจะกล่าวอย่างง่ายๆก็ได้ว่าเป็นการจัดการฐานข้อมูลเชิงพื้นที่
  2. สารสนเทศภูมิศาสตร์ GIS ( Components of GIS ) มีองค์ประกอบ 5 ส่วนดังนี้
    2. 1. อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Hardware) 
    2. 2. โปรแกรม (Software)    
    2. 3.ขั้นตอนการทำงาน (Methods)     
    2. 4. ข้อมูล (Data) และ   
    2. 5. บุคลากร (People)
  3. หน้าที่ของสารสนเทศภูมิศาสตร์ GIS ( How GIS Works ) มีดังนี้
    3.1 การนำเข้าข้อมูล (Input)
    3.2 การปรับแต่งข้อมูล (Manipulation)
    3.3 การบริหารข้อมูล (Management)
    3.4 การเรียกค้นและวิเคราะห์ข้อมูล (Query and Analysis)
    3.5 การนำเสนอข้อมูล (Visualization)
  4. ลักษณะข้อมูลภูมิศาสตร์ (Gcographic Features) มีดังนี้
    4.1 สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ
    4.2 สภาพแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น
  5. ข้อมูลเชิงพื้นที่ มีดังนี้
    5.1 ข้อมูลเชิงภาพ (Graphic data) สามารถแทนได้ด้วย 2 รูปแบบพื้นฐาน
    1. ข้อมูลแบบเวกเตอร์ (Vector format)
    2. ข้อมูลแบบแรสเตอร์ (Rastor format)
    5.2 ข้อมูลอรรถธิบาย (Attribute data)
    คือข้อมูลเชิงลักษณะเป็นข้อความอธิบายที่มีความสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงภาพเหล่านั้น เช่น ชื่อถนน, ลักษณะ พื้นผิว และจำนวนช่องทางวิ่งของเส้นถนนแต่ละเส้น เป็นต้น

  6. ลักษณะข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ มีดังนี้
    การเก็บข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ต้องเปลี่ยนปรากฏการณ์บน ผิวโลกจัดเก็บในรูปของตัวเลขเชิงรหัส (digital form) โดยแทนปรากฏการณ์เหล่านั้นด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เรียกว่า Feature
    มี 3 ประเภท คือ จุด (Point) เส้น (Arc)  พื้นที่ (Polygon)
  7. เทคนิคและวิธีการนำเข้าข้อมูล มีดังนี้
    การนำเข้าข้อมูล (Input data) เป็นกระบวนการบันทึกข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ สำหรับขั้นตอนการนำเข้าข้อมูลเชิงพื้นที่อาจทำได้หลายวิธี แต่ที่นิยมทำกันในปัจจุบันได้แก่ การดิจิไทซ์ (Digitize) และการกวาดตรวจ (Scan)
  8. เครื่องมือสารสนเทศ หมายถึง อุปกรณ์หรือสิ่งที่นำมาใช้แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลของสิ่งนั้น ๆ เพื่อเป็นสื่อกลางสร้างความเข้าใจให้กับผู้ที่ใช้หรือศึกษาเกี่ยวกับข้อมูลดังกล่าว
  9. เทคโนโลยี technology หมายถึง วิธีการนำเอาหลักการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ประดิษฐ์หรือปรับปรุงพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ เพื่อให้บริการความตองการของมนุษย์
  10. ภาพถ่ายทางอากาศ หมายถึง ภาพที่ได้จากการบันทึกด้วยกล้องถ่ายรูปที่ติดตั้งไว้ที่เครื่องบินหรือบอลลูน เมื่อถ่ายภาพได้แล้วก็นำฟิล์มมาล้างแล้วอัดขยายเป็นภาพ
  11. ภาพจากดาวเทียม หมายถึง ภาพที่ได้จากการบันทึกสัญญาณข้อมูลด้วยเครื่องวัดการสะท้อนคลื่นแสงซึ่งเป็นพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า
  12. ฟิล์มที่ใช้ในการถ่ายภาพแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
    12.1 ฟิล์มขาวดำ
    12.2 ฟิล์มสี
  13. ฟิล์มถ่ายภาพชนิดขาวดำแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่
    13.1 ฟิล์มถ่ายภาพชนิด ฟิล์มออร์โทโครเมติค    orthochromatic film
    13.2 ฟิล์มถ่ายภาพชนิด ฟิล์มขาวดำธรรมดา          pancromatic film
    13.3 ฟิล์มถ่ายภาพชนิด ฟิล์มขาวดำอินฟราเรด     black  and  white  infrared film
  14. ฟิล์มถ่ายภาพชนิด ฟิล์มออร์โทโครเมติค orthochromatic film คือ ฟิล์มที่มีความไวต่อช่วงแสงเหนือม่วง น้ำเงิน และเขียว แต่จะไม่ไวต่อแสงสีแดง
  15. ฟิล์มถ่ายภาพชนิด ฟิล์มขาวดำธรรมดา pancromatic film คือ ฟิล์มที่มีความไวต่อช่วงแสงในช่วงคลื่นแสงที่ตามองเห็นได้
  16. ฟิล์มถ่ายภาพชนิด ฟิล์มขาวดำอินฟราเรด black  and  white  infrared film คือ ฟิล์มที่มีความไวต่อช่วงแสงในช่วงเหมือนที่ตามองเห็นรวมไปถึงช่วงคลื่นอินฟราเรดที่ตามองไม่เห็น
  17. ฟิล์มสีมี 2 ชนิด ได้แก่
    17.1 ฟิล์มสีธรรมชาติ   color film
    17.2 ฟิล์มสีผิดธรรมชาติ   flash color film
  18. ฟิล์มสีชนิด ฟิล์มสีธรรมชาติ color film คือ ฟิล์มที่มีความไวต่อแสงในทุกช่วงคลื่นที่ตามองเห็นได
  19. ฟิล์มสีชนิด ฟิล์มสีผิดธรรมชาติ flash color film คือ ฟิล์มที่มีความไวต่อแสงในช่วงคลื่นสีเขียว แดงและช่วงแสงอินฟราเรด
  20. ช่วงคลื่นที่เอื้อต่อการสำรวจข้อมูล โดยใช้หลักรีโมทเซนซิง คลื่นแสงจะมีความยาวคลื่นตั้งแต่ 0.34 – 14 ไมโครเมตร
  21. ช่วงคลื่นตั้งแต่ 0.4 – 0.7 ไมโครเมตร เป็นช่วงคลื่นที่ตอบสนองต่อสายตามนุษย์ แบ่งได้เป็น 3 ช่วงสีคือ สีน้ำเงิน  สีเขียว และสีแดง
  22. ช่วงคลื่นตั้งแต่  0.7 – 14 ไมโครเมตร เป็นช่วงคลื่น อินฟราเรด ต้องใช้อุปกรณ์เครื่องรับแถบคลื่น
  23. ช่วงคลื่นที่เห็นได้ด้วยตาเปล่าคลอโรฟิลด์ของใบพืชจะดูดกลืนพลังงานที่ช่วงความยาวคลื่น 0.45 ไมโครเมตร และ  0.65 ไมโครเมตร แต่จะสะท้อนพลังงานที่ช่วงความยาวคลื่น  0.5 ไมโครเมตร
  24. ตาของมนุษย์สามารถมองเห็นใบพืชสีเขียว เพราะ คลอโรฟิลด์ของใบไม้ดูดกลืนพลังงานคลื่นแสงช่วง 0.45 ไมโครเมตร และพลังงานคลื่นแสงช่วง 0.65 ไมโครเมตรซึ่งเป็นช่วงของ แสงสีน้ำเงินและสีแดงแต่สะท้อนแสงสีเขียว ซึ่งเป็นพลังงานคลื่นแสงช่วง 0.5 ไมโครเมตร
  25. เหตุที่ RS สามารถจำแนกชนิดของพืชได้เพราะ ใบพืชที่มีโครงสร้างภายในที่ต่างกันจะสะท้อนพลังงาน
    คลื่นอินฟราเรดใกล้แตกต่างกัน
  26. ช่วงคลื่นอินฟาเรดใกล้ มีค่าประมาณ 0.7 – 1.3 ไมโครเมตร
  27. พืชจะดูดกลืนพลังงานในช่วงคลื่นที่มีความยาวคลื่นมากกว่า 1.3 ไมโครเมตร
  28. การแปลความหมายหรือการวิเคราะห์ข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียม สามารถทำได้ 2 วิธี ได้แก่
    28.1 การตีความด้วยสายตา    visual  interpretation
    28.2  การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์  image  processing  and  classification
  29. ผู้ที่แปลความหมายภาพถ่ายจากดาวเทียม จะต้องเข้าใจองค์ประกอบหลักที่สำคัญ
    29.1  ความเข้มของสีและสี   tone / color
    29.2 ขนาด  size
    29.3 รูปร่าง  shape
    29.4 ความละเอียดหรือความหยาบของเนื้อภาพ  texture
    29.5 รูปแบบ   pattern
    29.6 ที่ตั้ง   site
    29.7 ความเกี่ยวพันกับสิ่งแวดล้อมรอบข้าง association
  30. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสะท้อนพลังงานของดินคือ ความชื้นในดิน เนื้อดิน ความขรุขระของพื้นที่ ปริมาณออกไซด์ในดินและอินทรียวัตถุในดิน



Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th