หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
  1. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาข้อมูลทางภูมิศาสตร์ แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
    เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ประเภทให้ข้อมูล
    เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ประเภทใช้หาข้อมูล
  2. เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ประเภทให้ข้อมูลได้แก่    ลูกโลก  แผนที่  ข้อมูลสถิติ  กราฟและแผนภูมิ     แผนภาพ   ภาพถ่ายทางอากาศ ภาพจากดาวเทียม และอินเตอร์เน็ต
  3. เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ประเภทใช้หาข้อมูลได้แก่ เข็มทิศ เครื่องมือวัดพื้นที่ เทปวัดระยะทาง เครื่องย่อขยายแผนที่ กล้องวัดระดับ กล้องสามมิติ กล้องสามมิติแบบพกพา และเครื่องมือวัดลักษณะอากาศแบบต่างๆ เช่น เทอร์โมมิเตอร์ บาโรมิเตอร์ และเครื่องวัดน้ำฝน เป็นต้น
  4. ลูกโลก คือ หุ่นจำลองของโลก
  5. ลูกโลกแบ่งออกเป็น 2 แบบตามลักษณะการแสดง ได้แก่
    5.1 ลูกโลกที่แสดงลักษณะพื้นผิวโลก
    5.2 ลูกโลกที่แสดงลักษณะโครงสร้างภายในเปลือกโลก
  6. ข้อมูลสถิติทางภูมิศาสตร์ที่ใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงมีทั้งข้อมูลข้อความและตัวเลข นิยมแสดง 2 รูปแบบ ได้แก่
    6. 1. ตารางสถิติ  
    6. 2. กราฟและแผนภูมิ
  7. เครื่องมือประเภทอุปกรณ์ทางภูมิศาสตร์ หมายถึง อุปกรณ์ที่ใช่วัดหรือเก็บข้อมูลทางภูมิศาสตร์ในด้านต่างๆ เช่น ทิศระยะทาง ความสูง ตำแหน่งที่ตั้ง อุณหภูมิของอากาศ และปริมาณฝน เป็นต้น
  8. เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ใช้วัดลักษณะอากาศ ได้แก่
    8.1 เทอร์โมมิเตอร์ Thermometer คือ เครื่องมือสำหรับวัดอุณหภูมิ มีหน่วยวัดเป็น องศาเซลเซียส    องศาฟาเรนไฮด์   องศาสเคลวิน   องศาโรเมอร์
    8.2 เทอร์โมกราฟ Thermograph คือ เครื่องมือสำหรับวัดอุณหภูมิ แบบหนึ่ง แต่ปลายเข็มชี้ต่อเข้ากับปากกา สามารถขีดบนกระดาษกราฟที่หมุนด้วยลานนาฬิกาบันทึกการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิได้ตลอดเวลาด้วยเส้นกราฟอัตโนมัติ 8.3 บารอมิเตอร์ Barometer  คือ เครื่องมือสำหรับวัดความกดอากาศ
    8.4 บารอกราฟ barograph คือ เป็นแอนิรอยด์บารอมิเตอร์แบบหนึ่ง แต่ปลายเข็มชี้ต่อเข้ากับปากกา สามารถขีดบน กระดาษกราฟ ที่หมุนด้วยลานนาฬิกาบันทึกการเปลี่ยนแปลงความดันอากาศได้ตลอดเวลาด้วยเส้นกราฟอัตโนมัติ
    8.5 แอโรเวน Aerovane  คือ อุปกรณ์สำหรับวัดทิศทางและความเร็วของลม
    8.6 แอนนิโมมิเตอร์ (Anemometer) คือ เครื่องมือใช้วัดความเร็วของลม
    8.7 วินเวน Wind Vane  คือ เครื่องมือใช้วัดทิศทางของลม มีสัญลักษณ์เป็นรูปไก่หรือลูกศร
    8.8 ไฮโกรมิเตอร์  Hygrometer  คือ อุปกรณ์ใช้วัดความชื้นของอากาศ โดยมีเส้นผมเป็นอุปกรณ์สำคัญ ถ้าอากาศมีความชื้นสูงจะทำให้เส้นผมยืดตัว แต่ถ้ามีความชื้นน้อยเส้นผมจะหดตัว ทั้งนี้หน้าปัดจะแสดงค่าความชื้นบนกระดาษกราฟให้เห็น
    8.9 ไซโครมิเตอร์  Psychrometer คือ อุปกรณ์ใช้วัดความชื้นของอากาศอีกแบบหนึ่ง ประกอบด้วยเทอร์โมมิเตอร์ 2 อัน คือ เทอร์โมมิเตอร์ตุ้มแห้ง และ เทอร์โมมิเตอร์ตุ้มเปียก
    8.10 เครื่องวัดน้ำฝน Rain Gauge คือ เครื่องมือสำหรับตรวจวัดปริมาณฝนโดยวัดเป็นความสูงของน้ำที่ได้จากน้ำฟ้าที่ตกลงมา โดยสมมติให้น้ำนั้นแผ่กระจายไปบนพื้นราบที่ไม่มีการดูดซึมและไม่มี การระเหยเกิดขึ้น
  9. ความกดอากาศ คือ มวลของอากาศที่กดลงบนพื้นที่ 1 ตารางหน่วย
  10. มิลลิบาร์ millibar คือ หน่วยวัดความกดอากาศ  (1 มิลลิบาร์ = 1000 บาร์) หรือ (1 มิลลิบาร์ = 1,000 ไดน์ต่อตารางเซนติเมตร)
  11. ความกดอากาศ ณ ระดับน้ำทะเลปานกลาง   1013.341   มิลลิบาร์
  12. ไอโซบาร์ isobar  คือ เส้นความกดอากาศเท่า (เส้นที่ลากเชื่อมบริเวณที่มีความกดอากาศเท่ากัน)
  13. ไอโซเทอร์ม isotherm คือ เส้นที่ลากเชื่อมบริเวณที่มีอุณหภูมิเท่ากัน
  14. ไอโซไฮท์ isohyet คือ เส้นที่ลากเชื่อมบริเวณที่มีปริมาณน้ำฝนท่ากัน
  15. เครื่องมือประเภทอุปกรณ์ทางภูมิศาสตร์ ได้แก่
    15.1 เข็มทิศ compass คือ เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ใช้หาทิศทาง โดยเข็มทิศจะชี้ทิศเหนือแม่เหล็กโลกเสมอ โดยหน้าปัดของเข็มทิศจะบอกตำแหน่งทิศหรือค่ามุมที่กำหนด
    15.2 เครื่องมือวัดพื้นที่ planimeter คือ มีลักษณะคล้ายไม้บรรทัดทำด้วยโลหะยาวประมาณ 1 ฟุต     ใช้สำหรับวัดพื้นที่ในแผนที่ โดยเครื่องจะคำนวณให้ทราบค่าของพื้นที่แสดงค่าบนหน้าปัด
    15.3 กล้องสามมิติ หรือสเตริโอสโคป Stereoscope คือ อุปกรณ์ที่ใช้ดูรูปถ่ายทางอากาศ เพื่อพิจารณาความสูงต่ำของลักษณะภูมิประเทศ ในพื้นที่นั้นๆ
    15.4 กล้องวัดระดับ  Telescope คือ อุปกรณ์วัดระดับความสูงจากพื้นดิน เพื่อสำรวจพื้นที่สร้างถนน โดยจะช่วยกำหนดระดับแนวถนนได้ตามที่ต้องการ
    15.5 เครื่องย่อขยายแผนที่  patograph    คือ อุปกรณ์ที่ใช้จัดทำแผนที่ เพื่อย่อหรือขยายแผนที่ให้ได้ขนาดหรือมาตราส่วนตามที่ต้องการ  โดยทั่วไปนิยมใช้แบบโต๊ะไฟ ซึ่งมีแท่นวางแผนที่ต้นฉบับ และมีไฟส่องอยู่ใต้กระจก ทำให้เห็นแผนที่ต้นฉบับปรากฏเป็นเงาบนกระจกอย่างชัดเจน ทั้งนี้ ผู้จัดทำแผนที่ดังกล่าว จะต้องลอกลายเพื่อย่อหรือขยายแผนที่ด้วยมือของตนเอง
    15.6 เครื่องมือวัดระยะทางในแผนที่ map measurer คือ เป็นเครื่องมือวัดระยะทางจากรูปในแผนที่ ทำงานด้วยระบบอิเลคทรอนิคส์ มีหน่วยการแสดงผลการทำงานเป็นระบบตัวเลขตัวเครื่องมีลักษณะคล้ายปากกา เคลื่อนที่โดยใช้ลูกล้อ เคลื่อนไปตามเส้นทางที่ต้องการหาค่าระยะทาง
    15.7เทปวัดระยะทาง measuring tape คือ ใช้สำหรับวัดระยะทางของพื้นที่ เมื่อลงไปสำรวจหรือเก็บข้อมูลภาคสนาม เทปวัดระยะทางมี 3 ชนิด ได้แก่ เทปที่ทำด้วยผ้า เทปที่ทำด้วยโลหะ และเทปที่ทำด้วยโซ่
  16. รีโมทเซนซิง  Remote Sensing  (RS)  หมายถึง การรับรู้จากระยะไกล โดยใช้เทคโนโลยี ในการบันทึก คุณลักษณะของสิ่งต่าง ๆ บนพื้นโลก จากการสะท้อนหรือการแผ่รังสีพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า
  17. ระบบระบุตำแหน่งบนพื้นโลก Global Positioning System (GPS) หมายถึง การบอกตำแหน่งบนพื้นผิวโลก โดยการใช้คลื่นสัญาณวิทยุและรหัสจากดาวเทียมมาบอกพิกัดบนพื้นผิวโลก
  18. ดาวเทียมดวงแรกที่ประเทศไทยใช้เพื่อสำรวจทรัพยากรธรรมชาติมีชื่อว่า ดาวเทียมธีออส THEOS-Thai (Earth Observation System)
  19. ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นผิวโลก (GPS) จะต้องใช้ดาวเทียมอย่างน้อย 3 ดวง เพื่อคำนวณหาค่าพิกัดบนพื้นผิวโลก  ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นผิวโลก ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ดังนี้
    19.1 ส่วนอวกาศ  space segment ได้แก่   ดาวเทียม ซึ่งอยู่บนอวกาศทำหน้าที่ส่งสัญญาณ
    19.2 ส่วนสถานีควบคุม control segment ได้แก่ สถานีภาคพื้นดินที่กระจายอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของโลกทำหน้าที่ติดต่อสื่อสารกับดาวเทียม
    19.3 ส่วนผู้ใช้ user  segment ได้แก่ เครื่องรับสัญญาณ หรือเครื่องกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก  มีหลายขนาดสามารถพกพาไปได้ ทำหน้าที่แปลงสัญญาณและคำนวณหาพิกัดตำแหน่งบนพื้นผิวโลก
 

Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th