หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
  1. โลก (Earth)   มีเส้นผ่าศูนย์กลางบริเวณศูนย์สูตรยาว                 12,756       กิโลเมตร
  2. โลก (Earth)   มีเส้นผ่าศูนย์กลางจากขั้วโลกเหนือถึงขั้วโลกใต้      12,713       กิโลเมตร
  3. เส้นศูนย์สูตร (Equator)  คือ เส้นที่ลากในแนวนอนไปรอบโลก โดยระนาบของวงกลมผ่านจุดศูนย์กลางของวงกลม แล้วเส้นรอบวงจะแบ่งโลกออกเป็นสองส่วนเท่ากันคือซีกโลกเหนือและซีกโลกใต
  4. เส้นวงกลมใหญ่  (Great Circle)  คือ   เส้นรอบวงที่เราลากไปรอบผิวโลกโดยให้ระนาบของวงกลมผ่านจุดศูนย์กลางวงกลม
  5. เส้นวงกลมเล็ก  (Small Circle) คือ   เส้นที่เราลากไปรอบผิวโลกโดยระนาบของวงกลมไม่ผ่านจุดศูนย์กลางวงกลม แล้วบรรจบมาเป็นวงกลม 
  6. เส้นเมริเดียน (Meridians) คือ   เส้นที่ลากเชื่อมตำแหน่งบนพื้นผิวโลกที่มีค่าลองจิจูดเดียวกัน
  7. เส้นเมริเดียนปฐม (Prime Meridian) คือ   เส้นเมริเดียนเส้นแรกที่ลากจากขั้วโลกเหนือลงสู่ขั้วโลกใต้ โดยลากผ่านหอดูดาว ณ ตำบลกรีนิช กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
  8. เส้นขนาน (Parallels)  คือ   เส้นที่ลากเชื่อมตำแหน่งบนพื้นผิวโลกที่มีค่าละติจูดเดียวกัน
  9. ละติจูด (Latitude) คือ   ตำแหน่งบนพื้นผิวโลกที่เกิดจากการวัดค่ามุมจากใจกลางโลกเป็นมุมยกขึ้นหรือกดลงจากแนวระนาบของศูนย์สูตร ถ้าวัดเป็นมุมยกขึ้นมีหน่วยเป็นองศาเหนือวัดเป็นมุมกดลงมีหน่วยเป็นองศาใต้
  10. ลองจิจูด (Longitude) คือ   ระยะทางเชิงมุมที่วัดจากใจกลางโลกออกจากแนวระนาบของเมริเดียนปฐมซึ่งมีตำแหน่งอยู่ที่ 0 องศา ณ ตำบลกรีนิชเป็นหลัก วัดไปทางตะวันออก  180 องศาตะวันออก และทางตะวันตก 180 องศาตะวันตก
  11. เส้นโครงแผนที่ คือ   ระบบของเส้นที่สร้างขึ้นในพื้นที่แบนราบ เพื่อแสดงลักษณะของเส้นขนานและเส้นเมริเดียน โดยถ่ายทอดเส้นเหล่านั้นจากผิวโลก ซึ่งเป็นทรงกลมลงบนพื้นที่แบนราบ  
  12. ระบบพิกัดที่ใช้อ้างอิงกำหนดตำแหน่งบนแผนที่ที่นิยมใช้กับแผนที่ในปัจจุบัน มีอยู่ด้วยกัน 2 ระบบ คือ        
    24.1 พิกัดภูมิศาสตร์  geographic coordinate
    24.2 พิกัดกริด       grid coordinate

  13. การสร้างเส้นโครงแผนที่ อาศัยหลักการฉายเส้นเมริเดียนและเส้นขนานจากพื้นผิวลูกโลกลงบนแผ่นกระดาษ โดยการใช้พื้นผิวรูปทรงเรขาคณิต 3 ชนิดได้แก่ รูประนาบ (Plane)
    รูปทรงกรวย (Cone)   และรูปทรงกระบอก (Cylinder)  

  14. โปรเจคชั่นของแผนที่  คือ ระบบการเขียนแนวเส้นที่แทนเส้นเมริเดียนและเส้นขนาน (Meridians and Parallels)  ของพิภพทั้งหมด หรือ ส่วนใดส่วนหนึ่งลงบนพื้นแบนราบตามมาตราส่วน
  15. ทิศเหนือจริง (True North) คือแนวที่นับจากตำบลใด ๆ บนพิภพไปยังขั้วโลกเหนือจะเห็นว่าเส้น Longitude ทุกเส้น  ก็คือแนวทิศเหนือจริง ตามปกติใช้สัญลักษณ์รูปดาวแทนทิศเหนือจริง
    โดยทั่วโปจะไม่ใช้ทิศเหนือจริงในการอ่านแผนท

  16. ทิศเหนือกริด  (Grid North) คือ แนวเส้นทางตั้งตามเส้นตารางของระบบเส้นตารางในแผนที่ แนวทิศเหนือกริดอาจจะเบนไปจากแนวทิศเหนือจริงหรือแนวทิศเหนือแม่เหล็กก็ได้

  17. ทิศเหนือแม่เหล็ก ( Magnetic North) คือ แนวทิศตามปลายลูกศรที่แสดงทิศเหนือของเข็มทิศ ซึ่งโดยปกติเข็มทิศจะชี้ไปทางขั้วเหนือของแม่เหล็กโลก
  18. อะซิมุท ( Azimuth)  คือ การบอกทิศทาง โดยการวัดขนาดของมุมในทางราบที่วัดจากแนวทิศเหนือหลักเวียนตามเข็มนาฬิกา มาบรรจบกับแนวเป้าหมายที่ต้องการ มุมทิศอะซิมุท  จะมีค่าตั้งแต่ 0 - 360 องศา และเมื่อวัดมุมจากเส้นฐานทิศเหนือหลักชนิดใด ก็จะเรียกตามทิศเหนือหลักนั้น เช่น อะซิมุทจริง  อะซิมุทกริด อะซิมุทแม่เหล็ก
  19. แผนที่  คือ สิ่งที่แสดงลักษณะของผิวโลก ทั้งที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยแสดงลงบนวัสดุแบนราบ อาศัยการย่อส่วนให้เล็กลงตามตราส่วนที่ต้องการและใช้เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์แทนสิ่งที่ปรากฏอยู่ บนผิวโลก
  20. ชื่อภูมิศาสตร์ Geographic  name ภายในขอบระวางของแผนที่ เป็นตัวอักษรที่แจ้งให้ทราบสถานที
    ตามปกติถ้าเป็นอักษรไทยจะใช้สี แดง Red  อักษรภาษาอังกฤษใช้สี ดำ Black
  21. แผนผังเดคลิเนชั่น หรือ มุมเยื้อง  (Decclination Diagram) ปรากฎที่ขอบระวางตอนล่างแสดงความสัมพันธ์ระหว่างทิศเหนือ  3  ทิศ คือ
    ทิศเหนือจริง (True North)   ใช้สัญลักษณ์  คือ รูปดาว
    ทิศเหนือกริด  (Grid North)   ใช้สัญลักษณ์  คือ  GN
    ทิศเหนือแม่เหล็ก ( Magnetic North)  ใช้สัญลักษณ์ คือ รูปลูกศรครึ่งซีก
    มาตราส่วนของแผนที่  คือ อัตราส่วนระหว่างระยะในแผนที่กับระยะจริงบนพื้นโลก
  22. ศัพทานุกรม  (Grossary) คือ สิ่งที่อธิบายเพื่อบอกให้ทราบว่าแผนที่นี้ จัดทำขึ้น2  ภาษา คือ  ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  คำบางคำจำเป็นต้องให้ทับศัพท์ เพื่อให้ผู้ใช้ได้ทราบความหมายของคำทับศัพท์นั้น 
  23. แผนที่ที่สมบูรณ์จะต้องมีองค์ประกอบดังนี้
    1. ชื่อแผนที่ ( map  name )
    2. ขอบระวางแผนที่    ( border )
    3. ทิศทาง       ( direction )
    4. พิกัด           ( coordinate )
    5. มาตราส่วน     ( map  scale )
    6. ชื่อภูมิศาสตร์    ( geographic  name )
    7. สัญลักษณ์       ( symbol )
    8. คำอธิบายสัญลักษณ์ ( legend )
    9. ศัพทานุกรม   ( glossary )
  24. มาตราส่วนของแผนที่  คือ อัตราส่วนระหว่างระยะในแผนที่กับระยะจริงบนพื้นโลก
  25. มาตราส่วนที่นิยมใช้มี 3 ชนิดดังนี้
    1. มาตราส่วนคำพูด   ( verbal  scale )
    2. มาตราส่วนเส้น, มาตราส่วนรูปแท่ง  ( graphic  scale , bar scale)
    3. มาตราส่วนเศษส่วน ( representative  fraction )
  26. สัญลักษณ์ที่ใช้ในแผนที่แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
    1. สัญลักษณ์ที่เป็นจุด  ( point  symbol )
    2. สัญลักษณ์ที่เป็นเส้น ( line  symbol )
    3. สั้ญลักษณ์ที่เป็นพื้นที่ , รูปหลายเหลี่ยม ( area  symbol, polygon )
  27. สี  color ที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ มาตรฐานในแผนที่ มี 5 สี ดังนี้
    4.1 สีดำ        black ใช้แทน สิ่งต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น หมู่บ้าน  วัด โรงเรียน เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้สีดำแทนเส้นกริดและเลขกำกับเส้นกริด
    4.2 สีแดง      red     ใช้แทน ถนนและรายละเอียดพิเศษอื่น ๆ
    4.3 สีน้ำเงิน   blue   ใช้แทน บริเวณที่เป็นน้ำ เช่นแม่น้ำ  ลำคลอง บึง ทะเล ทะเลสาบมหาสมุทร
    4.4 สีน้ำตาล  brownใช้แทน ความสูง เช้นเส้นชั้นความสูง เลขกำกับเส้นชั้นความสูง
    4.5 สีเขียว     green  ใช้แทน พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่การเกษตร
  28. การบอกระดับความสูงของภูมิประเทศ ( topography) ใช้ระดับน้ำทะเลปานกลาง หรือ รทก. (msl) เป็นเกณฑ์กำหนดความสูง แผนที่แสดงระดับความสูงนิยมแสดงแตกต่างกัน 4 รูปแบบดังนี้
    28.1 เส้นชั้นความสูง  contour  line คือ เส้นที่ลากผ่านภูมิประเทศบริเวณที่มีระดับความสูงเท่ากันและมีตัวเลขกำกับค่าของเส้นชั้นความสูงนั้น ๆ
    28.2 แถบสีแสดงความสูง layer-tinting คือ การใช้แถบสีจำแนกความแตกต่างของลักษณะภูมิประเทศ ทั้งพื้นดินและพื้นน้ำ
    28.3 เส้นลายขวานสับ หรือเส้นลาดเขา  hachure  คือ เส้นขีดสั้น ๆ เรียงกันตามทิศทางลาดของพื้นดิน เพื่อแสดงรูปทรงของภูมิประเทศนั้น ถ้าเป็นภูมิประเทศที่ลาดชัน สัญลักษณ์ ในแผนที่ภูมิประเทศ จะแสดงด้วยเส้นขีดสั้น หนาและชิดกัน แต่ถ้าเป็นพื้นที่ลาดเทจะแสดงด้วยเส้นขีดยาว บางและห่างกัน
    28.4 การแรเงา  shading คือ เป็นการแสดงความสูงของพื้นที่หยาบ ๆ โดยเขียนหรือแรเงาพื้นที่ให้มีลักษณะเป็นภาพสามมิติหรือมีทรวดทรง
  29. ภูมิประเทศเป็นพื้นดิน ใช้สีเป็นสัญลักษณ์ดังนี้
    29.1 ที่ราบต่ำ สีที่ใช้ คือ เขียวแก่ สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 0 – 200 เมตร
    29.2 ที่ราบสูง สีที่ใช้ คือ เขียวอ่อน สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 200 – 500 เมตร
    29.3 ที่สูง เนินเขา สีที่ใช้ คือ เหลือง สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 500 – 1,000 เมตร
    29.4 ภูเขา        สีที่ใช้ คือ เหลืองแก่  สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,000 – 2,000 เมตร
    29.5 ภูเขาสูง   สีที่ใช้ คือ น้ำตาล  สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 2,000 – 3,000 เมตร
    29.6 ภูเขาสูงมาก สีที่ใช้ คือ ม่วง สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 3,000 – 200 เมตร
    29.7 ภูเขามีหิมะปกคลุม สีที่ใช้ คือ ขาว สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง มากกว่า5,000 เมตร
  30. ภูมิประเทศเป็นพื้นน้ำ ใช้สีเป็นสัญลักษณ์ดังนี้
    30.1 ไหล่ทวีป สีที่ใช้ คือ     ฟ้าอ่อน           ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง     0 – 200 เมตร
    30.2 ทะเล       สีที่ใช้ คือ    ฟ้าแก่            ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 200 – 4,000 เมตร
    30.3 ทะเลลึก สีที่ใช้ คือ     น้ำเงินอ่อน      ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 4,000 – 6,000 เมตร
    30.4 มหาสมุทร สีที่ใช้ คือ  น้ำเงินแก่        ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง มากกว่า 6,000 เมตร

ให้นักเรียนแสดงวิธีทำหาค่าในคำถาม

  1. แผนที่กำหนดมาตราส่วน 1 : 250,000      ถ้านักเรียนต้องการวัดระยะทางให้ได้ 18 ก.ม.  ระยะทาง   ในแผนที่ ยาวเท่าไร

  มาตราส่วน 1 : 250,000    เท่ากับ  ระยะทางในแผนที่ 1 ซ.ม. ต่อ ระยะทางจริงบนพื้นโลก 2.5 ก.ม.
  ระยะทางบนพื้นโลก 2.5 ก.ม.   เท่ากับ  ระยะทางในแผนที่      =     1                   เซนติเมตร
  ระยะทางบนพื้นโลก   1 ก.ม.   เท่ากับ  ระยะทางในแผนที่      =     1 ÷ 2.5           เซนติเมตร
  ระยะทางบนพื้นโลก  18 ก.ม.   เท่ากับ  ระยะทางในแผนที่      =     1 ÷ 2.5  × 18  เซนติเมตร  
                                                                                         =     7.2               เซนติเมตร  

       2. สมชายเดินทางโดยรถยนต์จากตำบล  ก. ไปยังอำเภอ  ข. หน้าปัดรถยนต์บอกระยะทางได้ 40 ไมล์ สมชายต้องเขียน ระทาง จากตำบล  ก. ไปยังอำเภอ  ข. ลงในแผนที่โดยใช้มาตราส่วน 1 ซ.ม. ต่อ 2 ก.ม. ระยะทางในแผนที่ตำบล  ก.   ไปยังอำเภอ  ข. จะยาวเท่าไร

การเปลี่ยนระยะทางจากระบบอังกฤษเป็นระบบเมตริก         5  ไมล์  =  8              กิโลเมตร
ระยะทาง                                                          40 ไมล์   =  8 ÷ 5 × 40 กิโลเมตร
สมชายเดินทางโดยรถยนต์จากตำบล  ก. ไปยังอำเภอ  ข.                 =  64            กิโลเมตร
ใช้มาตราส่วน 1 ซ.ม. ต่อ 2 ก.ม.
ระยะทางในแผนที่ตำบล  ก.  ไปยังอำเภอ  ข. ในแผนที่จะยาว           =  1 ÷ 2 × 64
                                                                               =  32            เซนติเมตร

      3.ให้นักเรียนเขียนเส้นทางทางเมือง ก. ไปยังเมือง ข. โดยใช้มาตราส่วน  1: 100000 โดยที่นักเรียนอยู่ที่เมือง ก. มองเห็นเมือง ข. มีค่า อะซิมุท 135 องศา ระยะทางจากเมือง ก. ห่างจากเมือง ข. เท่ากับ        8 กิโลเมตร

   

 


Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th