หน้าแรก | โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ |
|
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
|
||
สารบัญ | ||
หน่วยที่ 5 | แนวการพัฒนาประเทศไทย | |
บทที่ 14 | วิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย | |
วิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อม เป็นคำที่ไม่ระบุ ความหมายไว้เป็นการเฉพาะแต่มีการให้ความหมายของคำ ที่เกี่ยวข้องไว้ 2 คำดังนี้ 1 คำว่า “วิกฤตการณ์” หมายถึง เหตุการณ์ที่อยู่ในขั้นอันตราย เป็นช่วงหัวเลียวหัวต่อถึงขั้นแตกหัก 2 คำว่า “สิ่งแวดล้อม” หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเราทั้งที่ธรรมชาติสร้างและมนุษย์สร้าง สรุปได้ว่า “วิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อม” หมายถึง เหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอยู่ในขั้นน่าเป็นห่วงและอันตราย การลดน้อยลงของปริมาณทรัพยากรธรรมชาติอาจถึงขั้นขาดแคลนจนก่อให้เกิดวิกฤต |
||
สถานการณ์ทรัพยากรดินในประเทศไทย | ||
วิกฤติการณ์ทรัพยากรดิน ประเทศไทยมีเนื้อที่ดินปัญหา 55,923,057 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 17.44 ของพื้นที่ประเทศไทย โดยดินปัญหาที่มีเนื้อที่มากที่สุด ได้แก่ ดินตื้น มีเนื้อที่ประมาณ 34,039,375 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 10.61 ของเนื้อที่ประเทศ รองลงมา คือ ดินทรายจัด มีเนื้อที่ประมาณ 11,756,733 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 3.66 ของเนื้อที่ประเทศ ดินเปรี้ยวจัด มีเนื้อที่ประมาณ 5,565,347 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.74 ของพื้นที่ประเทศ ดินเค็ม มีเนื้อที่ประมาณ 4,217,319 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.32 ของเนื้อที่ประเทศ และดินอินทรีย์ มีเนื้อที่ประมาณ 344,283 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.11 ของเนื้อที่ประเทศ ตามลำดับ | ||
วิกฤติการณ์ทรัพยากรดิน ประเทศไทยเกิดจากการพังทลายหน้าดินและการสูญเสียหน้าดินโดยธรรมชาติ เช่น การชะล้าง การกัดเซาะของน้ำและลม เป็นต้น และที่สำคัญคือ ปัญหาจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การทำลายป่า เผาป่า การเพาะปลูกผิดวิธี เป็นต้น ก่อให้เกิดการสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ของดิน ทำให้ใช้ประโยชน์จากที่ดินได้ลดน้อยลงปัญหาการใช้ที่ดินไม่เหมาะสมกับสมรรถนะของที่ดิน และไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมอย่างไม่ถูกหลักวิชาการ ขาดการบำรุงรักษาดิน การปล่อยให้ผิวดินปราศจาก พืชปกคลุม ทำให้สูญเสียความชุ่มชื้นในดิน การเพาะปลูกที่ทำให้ดินเสีย การใช้ปุ๋ยเคมีและยากำจัดศัตรูพืช เพื่อเร่งผลิตผล ทำให้ดินเสื่อมคุณภาพ และสารพิษตกค้างอยู่ในดิน การบุกรุกเข้าไปใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าไม้บนพื้นที่มีความลาดชันสูง รวมทั้งปัญหาการขยายตัวของเมืองที่รุกล้ำเข้าไปในที่ดินไว้เพื่อการเก็งกำไร โดยมิได้มีการนำมาใช้ประโยชน์แต่อย่างใด | ||
1. ปัญหาความเสื่อมโทรมของดินจากการพังทลายของดิน ประเทศไทย่พบปัญหาได้บริเวณที่หน้าดินไม่มีพืชปกคลุม ทำให้ขาดความอุดมสมบูรณ์ในพื้นที่ ที่มีความลาดชัน เนื้อดินเกาะกันไม่แน่ ซึ่งไม่มีต้นไม้ปกคลุมหรือยึดเกาะหน้าดิน เมื่อเกิดฝนตกต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน จนกระทั่งดินเกิดการอิ่มตัว ไม่สามารถรับน้ำได้จึงเกิดการพังทลาย ของหน้าดินลงมา วิกฤตการณ์เช่นนี้ มักเกิดขึ้นทางภาคเหนือและภาคตะวันตกของไทย เนื่องจากเป็นเขตลาดชันซึ่งเกิดการทำลายผังดินบนที่สูงเป็นจำนวนมาก ทำให้ผิวหน้าดินหรือ ดินชั้นบนขาดความอุดมสมบูรณ์ เพราะถูกน้ำกัดเซาะแร่ธาตุอาหารของพืชในดินจนหมด ไม่สามารถทำการเกษตรได้ดี มีผลผลิตต่ำ นอกจากนี้ยังมีสาเหตุมาจากภัยธรรมชาติ ต่างๆ อาทิ แผ่นดินไหว น้ำท่วม หรือเกิดจากการกระทำของฝีมือมนุษย์ จากการตัดไม้ทำลายไปของประชาชน ทำให้ไม่มีป่าไม้ ยึดหน้าดิน เมื่อฝนตกลงมาทำให้เกิดปัญหาดินถล่มได้ พบในเขตพื้นที่เชิงเขาในภาคเหนือ ภาคตะวันตกและภาคใต้ ซึ่งปัจจุบันเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศ ประชาชนในภาคดังกล่าวได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ซึ่งล่าสุดเกิดเมื่อเดือนตุลาคม 2549 ที่เกิดปัญหาโคลนถล่มหมู่บ้านหลายแห่งในภาคเหนือและภาคตะวันตก สร้างความเสียหายเป็นอย่างมาก หรือเกิดจากการเพาะปลูกผิดวิธีตามแนวลาดชันของพื้นที่ เมื่อเกิดฝนตกทำให้ดินพังทะลาย |
||
2. ปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งทะเล | ||
ประเทศไทยมีจังหวัดที่ติดชายฝั่งทะเล 23 จังหวัด แบ่งเป็น ชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย ภาคตะวันออกได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรีและตราด ภาคกลาง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ภาคตะวันตก ได้แก่ เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ภาคใต้ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานีและนราธิวาส ภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน ได้แก่ ระนอง กระบี่ พังงา สตูล ตรังและภูเก็ต กำลังเผชิญกับภัยจากการกัดเซาะประมาณ 705 กิโลเมตร หรือคิดเป็น 22% ของชายฝั่งทะเลรวมกันทั้งหมดประมาณ 3,151 กิโลเมตร โดยมีสาเหตุทั้งจากธรรมชาติและจากกิจกรรมของมนุษย์ |
||
3. ปัญหาดินเค็ม saline soils คือ ดินที่มีปริมาณของเกลือแกง Sodium Chloride (โซเดียม คลอไรด์ )ปะปนอยู่ในเนื้อดินสูง จนทำให้พื้นที่บริเวณนั้นไม่สามารถใช้เพราะปลูกได้ หรือพืชผลเสียหายจากภาวะดินเค็ม ส่วนใหญ่จะพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และในเขตภาคกลางประสบกับภาวะดินเค็ม เนื่องจากการเลี้ยงกุ้งกุลาดำทำให้ความเค็มทำลายพื้นที่นาข้าวเป็นจำนวนมาก และในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำบางปะกงในภาคตะวันออกที่จะได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากน้ำทะเลหนุนเป็นประจำ | ||
4. ปัญหาดินเปรี้ยว acid soils หมายถึง ดินที่มีค่า pH ต่ำว่า 6.6 ทำให้ดินมีคุณสมบัติเป็นกรด ซึ่งมีผลต่กการเจริญเติบโตของพืช ดินที่มีความความเป็นกรดสูง จะมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ขาดธาตุ จำพวก ฟอสเฟส phosphate ไนโตรเจน nitrogenปัญหานี้จะพบในเขตที่มีน้ำขังเป็นเวลานาน จนเกิดกระบวนการเป็นกรด ดินเปรี้ยวที่ไม่สามารถนำมาใช้ในการเกษตรให้ได้ผลผลิตสูง เป็นปัญหาของเกษตรกรในภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้เป็นพื้นที่ของดินพรุที่มีน้ำขังตลอดทั้งปีทำให้ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ | ||
โครงการแกล้งดิน | ||
พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เกี่ยวกับการแก้ปัญหาดินเปรี้ยว หรือ ดินเป็นกรด โดยมีการขังน้ำไว้ในพื้นที่จนกระทั่งเกิดปฏิกิริยาเคมีทำให้ดินเปรี้ยวจัด จนถึงที่สุด แล้วจึงระบายน้ำออกและปรับสภาพฟื้นฟูดินด้วยปูนขาว จนกระทั่งดินมีสภาพดีพอที่จะใช้ในการเพาะปลูกได้หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จ ฯไปทรงเยี่ยมราษฎรในเขตจังหวัดนราธิวาส ในปี พ.ศ. 2542 ทรงพบว่าหลังจากมีการชักน้ำออกจาก พื้นที่พรุ เพื่อจะได้มีพื้นที่ใช้ทำการเกษตรและเป็นการบรรเทาอุทกภัยนั้น ปรากฎว่าดินในพื้นที่พรุ แ ปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด ทำให้เพาะปลูกไม่ได้ผล จึงมีพระราชดำริให้ส่วนราชการต่าง ๆ พิจารณาหาแนวทางในการปรับปรุงพื้นที่พรุ ที่มีน้ำแช่ขังตลอดปี ให้เกิดประโยชน์ในทางการเกษตรมากที่สุดและให้คำนึงถึง ผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ ด้วย การแปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด เนื่องจากดินมีลักษณะเป็นเศษอินทรีย์วัตถุหรือซากพืชเน่าเปื่อยอยู่ข้างบนและมีระดับความลึก 1-2 เมตร เป็นดินเลนสีเทาปนน้ำเงิน ซึ่งมีสารประกอบ กำมะถัน ที่เรียกว่า สารประกอบไพไรท์ (pyrite : FeS2) อยู่มาก ดังนั้น เมื่อดินแห้ง สารไพไรท์จะทำปฏิกิริยากับอากาศปลดปล่อยกรดกำมะถันออกมา ทำให้ดินแปรสภาพเป็นดินกรดจัดหรือเปรี้ยวจัด "ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง"อันเนื่อง มาจากพระราชดำริ จึงได้ดำเนินการสนองพระราชดำริโครงการ "แกล้งดิน” |
||
อย่างไรก็ตาม "โครงการแกล้งดิน" มิได้หยุดลงเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง แต่จะต้องดำเนินการต่อไป "…งานปรับปรุงดินเปรี้ยวควรดำเนินการต่อไป ทั้งในแง่การศึกษาทดลองและการขยายผล…" ซึ่งปัจจุบันได้นำผลการศึกษาทดลอง ไปขยายผลแก่ราษฎรในเขตจังหวัดนราธิวาส และจังหวัดอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขณะนี้จะมีการนำผลของการ "แกล้งดิน” นำไปใช้ในพื้นที่จังหวัดนครนายก และจังหวัดนครศรีธรรมราชอีกด้วย | ||
Copyright By : Chalengsak
Chuaorrawan Sainampeung School 186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com Tel; 089-200-7752 mobile |
|
http://www.sainampeung.ac.th |