หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
     
หน่วยที่ 5 แนวการพัฒนาประเทศไทย  
บทที่ 14 วิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย  
     
   วิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อม เป็นคำที่ไม่ระบุ ความหมายไว้เป็นการเฉพาะแต่มีการให้ความหมายของคำ  ที่เกี่ยวข้องไว้ 2 คำดังนี้
1 คำว่า “วิกฤตการณ์” หมายถึง  เหตุการณ์ที่อยู่ในขั้นอันตราย เป็นช่วงหัวเลียวหัวต่อถึงขั้นแตกหัก
2 คำว่า “สิ่งแวดล้อม” หมายถึง  สิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเราทั้งที่ธรรมชาติสร้างและมนุษย์สร้าง       
          สรุปได้ว่า “วิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อม” หมายถึง  เหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอยู่ในขั้นน่าเป็นห่วงและอันตราย การลดน้อยลงของปริมาณทรัพยากรธรรมชาติอาจถึงขั้นขาดแคลนจนก่อให้เกิดวิกฤต
 
     
  มลพิษแบ่งออกตามสถานะจะมีอยู่ 3 กลุ่ม คือ
1. สารมลพิษที่อยู่ในสถานะก๊าซ  เช่น  ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์  คาร์บอนไดออกไซด์ ของธาตุกำมะถัน  ไนโตรเจน และคลอรีน  เป็นต้น
2.  สารมลพิษที่อยู่ในสถานะของเหลว  เช่น  ละอองน้ำกรดต่าง ๆ ของธาตุกำมะถัน ไนโตรเจนที่ละลายอยู่ในน้ำฝน หรือละลายอยู่ในน้ำใต้ดิน หรืออยู่ในน้ำเสียจากน้ำทิ้งตามบ้านเรือน และจากโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ  เมื่อไหลลงสู่แม่น้ำลำคลองก็จะทำให้น้ำเสีย  ทำให้พืชและสัตว์น้ำบางชนิดตายและสูญพันธุ์ 
3. สารมลพิษที่อยู่ในสถานะของแข็ง  เช่น  เขม่าควัน  สารสังเคราะห์บางอย่างที่ใช้แล้วสลายตัวยาก อาทิ  ถุงพลาสติก  โฟม และไฟเบอร์  เป็นต้น 
 
     
  อิทธิพลของลมประจำถิ่นทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย  
  ลมประจำฤดูที่พัดผ่านประเทศไทยมี 2 ชนิดคือ
1 ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ      หรือ    ลมมรสุมฤดูหนาว
2 ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้            หรือ    ลมมรสุมฤดูร้อน
คำว่า “มรสุม” หรือ monsoon มาจากคำว่า mausim ในภาษาอาหรับ แปลว่า ฤดูกาล (season) 
อิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ทั่วทุกภาคของประเทศไทยมีอากาศ หนาวเย็นและแห้งแล้ง
ยกเว้นภาคใต้ฝั่งตะวันออก จะมีฝนตก
ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจะพัดผ่านประเทศไทยประมาณปลายเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์
อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้ทั่วทุกภาคของประเทศไทยเป็นฤดู ฝน
ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะพัดผ่านประเทศไทยประมาณปลายเดือนพฤษภาคมถึงต้นเดือนตุลาคม
 
     
  ลมตะเภา คือ ลมที่พัดจาก อ่าวไทยเข้าสู่ภาคกลางตอนล่าง ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน
ลมพัทธยา  คือ  ลมที่พัดจาก ตอนบนของภาคกลางไปตามลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาจนถึงปากอ่าวไทย   ในช่วงเดือน ตุลาคม ถึงเดือน พฤศจิกายน
 
     
  ลมทะเล (Sea Breeze) เกิดในช่วงเวลา กลางวัน ซึ่งเป็นลมที่พัดจาก ทะเลเข้ามาสู่พื้นดิน
ลมบก (Land Breeze) เกิดในช่วงเวลากลางคืน ซึ่งเป็นลมที่พัดจาก พื้นดินไปสู่ทะเล
 
     
  ลมหุบเขา (Valley Breeze) เกิดขึ้นในเวลากลางวัน ซึ่งเป็นลมที่พัดจาก ลมหุบเขาสู่ ยอดเขา
ลมภูเขา (Mountain Breeze) เป็นลมที่เกิดในเวลากลางคืน ซึ่งเป็นลมที่พัดจาก ยอดเขาสู่ ลมหุบเขา
 
     
     
     
     
Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th