หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
     
หน่วยที่ 5 แนวการพัฒนาประเทศไทย  
บทที่ 13 ภูมิศาสตร์ประเทศไทย  
     
  ประเทศไทยมีพื้นที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ใจกลางคาบสมุทรอินโดจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ทวีปเอเชีย  
  ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  มี 11 ประเทศ เรียงตามขนาดพื้นที่ดังนี้  
  1. ประเทศอินโดนีเซีย หรือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย  
 

2. ประเทศพม่า หรือ สหภาพพม่า

 
  3. ประเทศไทย หรือ ราชอาณาจักรไทย  
  4. ประเทศเวียดนาม หรือ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม  
  5. ประเทศมาเลเซีย หรือ สหพันธรัฐมาเลเซีย  
  6. ประเทศฟิลิปปินส์ หรือ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์  
  7. ประเทศลาว หรือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  
  8. ประเทศกัมพูชา หรือ ราชอาณาจักรกัมพูชา  
  9. ประเทศติมอร์ตะวันออก หรือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต  
  10. ประเทศบรูไน หรือ รัฐบรูไนดารุสซาลาม  
  11. ประเทศสิงคโปร์ หรือ สาธารณรัฐสิงคโปร์  
 
 
  ที่ตั้งและอาณาเขต  
  พิกัดภูมิศาสตร์
ประเทศไทยตั้งอยู่ในช่วงพิกัดละติจูด 5°37′N - 20°27′N และลองจิจูด 97°22′E - 105°37′E
 
     
  ทิศเหนือสุด         ละติจูด 20 องศา 37 ลิปดา 30 พิลิปดา เหนือ ที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
ทิศใต้สุด             ละติจูด 5 องศา 37 ลิปดา ที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ทิศตะวันออกสุด  ลองจิจูด 105 องศา 37 ลิปดา 30 พิลิปดา ที่อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี
ทิศตะวันตกสุด    ลองจิจูด 97 องศา 22 ลิปดา ตะวันออก ที่อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
 
     
  ที่ตั้งสัมพันธ์ - อาณาเขต         
  ทิศเหนือ            มีอาณาเขตติดต่อกับ ประเทศพม่า และ ประเทศลาว
ทิศตะวันออก     มีอาณาเขตติดต่อกับ ประเทศกัมพูชา
ทิศใต้               มีอาณาเขตติดต่อกับ ประเทศมาเลเซีย
ทิศตะวันตก      มีอาณาเขตติดต่อกับ ประเทศพม่า
 
 
 
  พรมแดนที่ใช้กั้นเขตแดนระหว่างไทยกับพม่า จากภาคเหนือ ไปภาคตะวันตกลงไปภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัด เชียงราย เชี่ยงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพรและระนอง ตามลำดับ  
  โดยมีทิวเขาแดนลาว กั้นรัฐฉานไว้ทางเหนือ ทิวเขาถนนธงชัย กั้นแคว้นกะเหรี่ยงของพม่าไว้ทางตะวันตก  
            เริ่มต้นจากใช้แม่น้ำรวก แม่น้ำสาย มีความยาว ประมาณ 59 กิโลเมตร กั้นเขตแดนบริเวณจังหวัดเชียงราย จากนั้นใช้เทือกเขาแดนลาว เทือกเขาเขาถนนธงชัยเหนือ เทือกเขาถนนธงชัยตะวันตก กั้นเขตแดน บริเวณจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน มีระยะทางประมาณ 632 กิโลเมตร จากนั้นใช้แม่น้ำสาละวิน ความยาว 127 กั้นเขตแดน บริเวณจังหวัด แม่ฮ่องสอน แล้วใช้แม่น้ำเมย ยาว 345 กิโลเมตร ห้วยวาเลย์ ยาว 44 กิโลเมตร กั้นเขตแดนบริวณจังหวัดตาก แล้วใช้สันปันน้ำเทือกเขาถนนธงชัยกลาง ระยะทาง 127 กิโลเมตร กั้นบริเวณจังหวัดตาก แล้วใช้แนวเส้นตรง 63 กิโลเมตรบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี แล้วใช้สันปันน้ำเทือกเขาตะนาวศรีระยะทาง 865กั้นเขตแดนบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมมพรและระนอง และใช้ร่องน้ำลึก คลองกระ แม่น้ำกระบุรี ยาว    139 กิโลเมตร  กั้น เขตแดนบริเวณจังหวัดระนอง รวมระยะทาง 2,401 กิโลเมตร
 
     
  พรมแดนที่ใช้กั้นเขตแดนระหว่างไทยกับลาว จากภาคเหนือ ไปทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่จังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหารอำนาจเจริญ และ อุบลราชธานี ตามลำดับ  
             เริ่มต้นจากใช้ร่องน้ำลึก แม่น้ำโขง บริเวณจังหวัดเชียงราย ความยาว 97 กิโลเมตร จากนั้นใช้สันปันน้ำเทือกเขาเขาหลวงพระบาง ระยะทาง 505 กิโลเมตร เรียบชายแดนจังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก แล้วต่อด้วย ร่องน้ำลึกแม่น้ำเหืองงา ความยาว 19 กิโลเมตร ต่อด้วยร่องน้ำลึก แม่น้ำเหือง ความยาว 134 กิโลเมตร จากนั้นใช้ร่อน้ำลึกแม่น้ำโขง ความยาว 585 กิโลเมตร เรียบชายแดนจังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และ อุบลราชธานี ตามลำดับและใช้สันปันน้ำ ของเทือกเขาพนมดงรัก ระยะทาง 197 กิโลเมตร จังหวัดสุดท้ายที่อุบลราชธานี รวมระยะทาง 1,810 กิโลเมตร  
     
  พรมแดนที่ใช้กั้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา จากจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ สระแก้ว จันทบุรี และตราด  
            เริ่มต้นจากใช้สันปันน้ำเทือกเขาพนมดงรัก จากจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ระยะทาง 364 กิโลเมตร ต่อด้วยแม่น้ำสายต่างๆ คลองบะอาว คลองแผง   แนวเส้นตรง   คลองละลมละสือ คลองลึก คลองพรมโหด คลองด่าน   แนวเส้นตรง คลองโป่งน้ำร้อน คลองตะเคียน ต่อด้วย สันปันน้ำ เทือกเขาพนมคอสวาย ห้วยสวาย และ แม่น้ำไพลิน รวมระยะทาง 216 กิโลเมตร จากนั้นใช้สันปันน้ำเทือกเขาบรรทัด 160 กิโลเมตรและ แนวเส้นตรง 1 กิโลเมตร รวมระยะทางทั้งสิ้น 798 กิโลเมตร  
     
  พรมแดนที่ใช้กั้นเขตแดนระหว่างไทยกับมาเลเซีย จากจังหวัดนราธิวาส  ยะลา  สงขลาและสตูล ตามลำดับ  
             เริ่มต้นจากการใช้ร่องน้ำลึก แม่น้ำโก-ลก ความยาว 95 กิโลเมตร จังหวัด นราธิวาส ต่อด้วยสันปันน้ำเทือกเขาสันกาลาคีรี จังหวัดฯราธิวาส ยะลา สงขลาและสตูลตามลำดับระยะทาง 552 กิโลเมตร รวมระยะทางทั้งสิ้น 647 กิโลเมตร  
     
     
Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th