หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
หน่วยที่ 4 การเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  
บทที่ 12 การอนุรักษ์และการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก  
 

 

 
  การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ conservation  
  การอนุรักษ์ หมายถึง การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างฉลาด โดยใช้ให้น้อย ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยคำนึงถึง ระยะเวลาในการใช้ให้ยาวนาน และ ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด รวมทั้ง ต้องมีการกระจายการใช้ ทรัพยากรธรรมชาติอย่างทั่วถึง
 
     
            การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม natural resources and environmental conservation หมายถึง การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างฉลาดโดยใช้ให้น้อย ยาวนาน และเกิดประโยชน์ต่อมหาชนสูงสุด จําเป็น ต้องมีการพัฒนาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องเพื่อรุ่นต่อไปได้ใช้อย่างยั่งยืน  
            
          องค์การสหประชาชาติได้เห็นความสำคัญของปัญหาการใช้ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม  จึงจัดให้มีการประชุมเรียกว่า การประชุมสหประชาชาติเรื่องสิ่งแวดล้อม UN Conference on the Human Environment ณ กรุงสตอกโฮม ประเทศสวีเดน โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อร่วมพิจารณาหามาตรการในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ต่างๆ ที่แต่ละประเทศสมาชิกกำลังประสบอยู่อย่างเร่งด่วน ซึ่งประเด็นสำคัญในการหารือก็คือ ทุกๆ ประเทศสมาชิกต่างต้องสรรหาวิธีการดูแลแก้ไขปัญหา และให้ความตื่นตัวเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมของทุกภูมิภาคทั่วโลกอย่างจริงจัง ภายใต้การกำกับดูแลของ องค์การสหประชาชาติ United Nations  และได้สถาปนาวันสิ่งแวดล้อมขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2515  องค์การสหประชาชาติจึงกำหนดให้ 5 มิถุนายน ของทุกปี ถือเป็น "วันสิ่งแวดล้อมโลก"    World Environment Day 
 
            
               โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา ทวีปแอฟริกา โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ UNEP มีหน้าที่หลัก 3 อย่าง ได้แก่
1.        ประเมินสภาพและแนวโน้มของสิ่งแวดล้อมในระดับชาติและระดับภูมิภาค
2.        พัฒนาเอกสารด้านสิ่งแวดล้อมระดับชาติและระหว่างประเทศ
3.        เสริมสร้างสถาบันต่างๆ เพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างชาญฉลาด
 
            
            ยุทธศาสตร์ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติมีอยู่สามประการคือ 
1.      อนุรักษ์อย่างยั่งยืน จัดการและใช้ทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะอากาศ ดิน น้ำ และระบบนิเวศ มิให้เกิดผลเสียตามมา
2.      ลดและป้องกันมลพิษโดยวิธีชำระ บำบัดของเสีย การนำของใช้แล้วมาทำประโยชน์  
3.      ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการลงนามให้สัตยาบรรณเพื่อดำเนินการตามข้อมตกลงต่างๆ เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เช่น ข้อตกลง ณ เมืองมอนทรีออล (Montreal) และบาเซิล (Basel) เรื่องเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ
 
            
  หลักการ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  สามารถปฏิบัติได้ทั้งในระดับ บุคคล องค์กรและระดับประเทศ ที่สำคัญ คือ       
 

            1. การใช้อย่างประหยัด คือ การใช้เท่าที่มีความจำเป็น เพื่อให้มีทรัพยากรไว้ใช้ได้นานและเกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่ามากที่สุด

 
            
 

            2. การบูรณซ่อมแซม สิ่งของบางอย่างเมื่อใช้เป็นเวลานานอาจเกิดการชำรุดได้ เพราะฉะนั้นถ้ามีการบูรณะซ่อมแซม ทำให้สามารถยืดอายุการใช้งานต่อไปได้อีก

 
            
 

            3. การนำกลับมาใช้ซ้ำอีก สิ่งของบางอย่างเมื่อมีการใช้แล้วครั้งหนึ่งสามารถที่จะนำมาใช้ซ้ำได้อีก เช่น ถุงพลาสติก กระดาษ เป็นต้น หรือสามารถที่จะนำมาใช้ได้ใหม่โดยผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น การนำกระดาษที่ใช้แล้วไป

 
            
 

            4. การใช้สิ่งอื่นทดแทน เป็นวิธีการที่จะช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติน้อยลงและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก การใช้ใบตองแทนโฟม การใช้พลังงานแสงแดดแทนแร่เชื้อเพลิง การใช้ปุ๋ยชีวภาพแทนปุ๋ยเคมี เป็นต้น

 
            
 

           5. การบำบัดและการฟื้นฟู เป็นวิธีการที่จะช่วยลดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรด้วยการบำบัดก่อน เช่น การบำบัดน้ำเสียจากบ้านเรือนหรือโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ก่อนที่จะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ ส่วนการฟื้นฟูเป็นการรื้อฟื้นธรรมชาติให้กลับสู่สภาพเดิม เช่น การปลูกป่าชายเลน เพื่อฟื้นฟูความสมดุลของป่าชายเลนให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ เป็นต้น

 
            
             6. การเฝ้าระวังดูแลและป้องกัน เป็นวิธีการที่จะไม่ให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย เช่น การเฝ้าระวังการทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูลลงแม่น้ำ คูคลอง การจัดทำแนวป้องกันไฟป่า เป็นต้น                                                
            
 


 
Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th