หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
     
หน่วยที่ 4 การเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  
บทที่ 12 การการอนุรักษ์และการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก  
     
  อนุสัญญาเวียนนา Vienna Convention และพิธีสารมอนทรีออล   Montreal Protocol  
 

เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่สืบเนื่องมาจากความวิตกเกี่ยวกับปัญหาโอโซนของโลกถูกทำลายซึ่งเป็นผลมาจาก การใช้สารที่มีตัวทำลายโอโซน ในกิจกรรมต่างๆ

 
 
 
           พิธีสารมอนทรีออลว่าด้วยสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน Montreal Protocol on Substances That Deplete the Ozone Layer สนธิสัญญาสากลที่กำหนดขึ้นเพื่อควบคุมยับยั้งและรณรงค์ให้ลดการผลิตและการใช้สารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน เพื่อรักษาชั้นบรรยากาศโอโซนที่เริ่มจะสูญสลายไปเนื่องจากสารต่างๆ เหล่านี้ อาทิ  คลอโรฟลูออโรคาร์บอน ฮาลอน คาร์บอนเตตระคลอไรด์ เมทิลคลอโรฟอร์ม และเมทิลโบรไมด์
 
 

          จากความวิตกเกี่ยวกับปัญหาโอโซนของโลกถูกทำลายซึ่งเป็นผลมาจาก การใช้สารที่มีตัวทำลายโอโซน ทําให้เกิดช่องว่างในชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ ชั้นโอโซนมีความสําคัญเนื่องจากเป็นเสมือนเกราะป้องกันไมให้รังสีอุลตร้าไวโอเลต UV ซึ่งเป็นอันตรายต่อ สิ่งมีชีวิตบนโลกตกลงมาในบรรยากาศโลกได้ ประกอบกบมีการค้นพบรูรั่วของชั้นโอโซนของคณะสำรวจชาวอังกฤษ โดยมี ดร. โจ ฟาร์แมน เป็นหัวหน้าคณะสำรวจทวีปแอนตาร์คติก การสำรวจของคณะนี้  ได้รายงานเปิดเผยถึง ปริมาณโอโซนที่ลดลงอย่างน่าวิตก จนเกิดลักษณะ ที่เรียกว่า “หลุมโอโซน” Ozone Hole ขึ้น เหนือทวีปแอนตาร์กติก ซึ่งลักษณะการเกิดหลุมโอโซนดังกล่าวนี้ ได้ถูกตรวจพบ โดยดาวเทียมสำรวจของประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2523 แต่มิได้มีการนำข้อมูลมาพิจารณา   
          เนื่องจากความเข้าใจผิดว่า ข้อมูลที่พบโดยบังเอิญนั้น เกิดจากความผิดพลาดของเครื่องมือและอุปกรณ์ แม้ในขณะนั้นสาเหตุของการเกิดหลุมโอโซนยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่ก็ได้มีการตั้งข้อสงสัยว่าสาร CFC อาจเป็นต้นเหตุของการเกิดหลุมโอโซนทําให้หลายส่วนตระหนักถึงภัยของปัญหานี้ และเห็นว่าจําเป็นต้องมีมาตรการลดการใช้สาร ทําลายโอโซนอย่างเข็มงวดขึ้น ในปีเดียวกันนี้จึงได้เกิดอนุสัญญาเวียนนา Vienna Convention ซึ่งเป็น อนุสัญญาที่ว่าด้วยเรื่องการป้องกัน"ปัญหาโอโซน" ในชั้นบรรยากาศ โดยโครงการสิ่ งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ หลังจากนั้นอีก 2 ปีพิธีสารมอนทรีออลจึงถูกจัดทําขึ้น เมื่อ 16 กันยายน พ.ศ. 2530

 
     
            พิธีสารมอนทรีออลมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2532 หลังจากนั้นได้มีการปรับแก้มาตรการควบคุมการใช้สารทำลายโอโซนอีก 5 ครั้งได้แก่ ในการประชุมที่ลอนดอน พ.ศ. 2533 โคเปนเฮเก้น ปี พ.ศ. 2535 เวียนนา ปีพ.ศ. 2538 มอนทรีออล ปีพ.ศ. 2540 และที่ปักกิ่ง ปีพ.ศ. 2542 สําหรับประเทศไทยได้ ร่วมลงนามเป็นสมาชิกอนุสัญญาเวียนนาและพิธีสารมอนทรีออลไปตั้งแต่ปีพ.ศ. 2535  
     
     
Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th