พายุหมุน
หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
     
หน่วยที่ 4 การเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  
วิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมโลก  
  พายุหมุน  
 

พายุ  Storms คือ อากาศที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง เกิดขึ้นเมื่อเกิดศูนย์กลางของแรงดันในอากาศต่ำลงมากกว่าในบริเวณรอบๆ พื้นที่หนึ่ง พร้อมกับมีแรงดันอากาศสูงเกิดขึ้นรอบ ๆ พื้นที่นั้น การเคลื่อนที่ของอากาศจากความกดอากาศสูงเข้าสู่ความกดอากาศต่ำ ก่อให้เกิดลม อันส่งผลให้เกิด การเคลื่อนตัวของพายุ

 
     
  พายุหมุน Cyclonic Storm หมายถึง พายุที่มีขนาดใหญ่ เป็นลมที่พัดหมุนเวียนเป็นก้นหอยเข้าสู่ศูนย์กลางพายุ บริเวณศูนย์กลางของพายุเรียกว่า "ตาพายุ" พายุหมุน เริ่มก่อตัวและมีกำลังแรงขึ้นจากบริเวณศูนย์กลางความกดอากาศต่ำ ลมพัดเวียนเข้าหาศูนย์กลาง บริเวณซีกโลกเหนือลมจะพัดเวียนเข้าหาศูนย์กลางในลักษณะทวนเข็มนาฬิกา ส่วนบริเวณซีกโลกใต้ ลมจะพัดเวียนเข้าหาศูนย์กลางในลักษณะตามเข็มนาฬิกา 
 
     
                 
     
  พายุหมุน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ พายุหมุนเขตร้อน  และ พายุหมุนนอกเขตร้อน
พายุที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์และทรัพย์สินของมนุษย์มากที่สุดคือ พายุหมุนเขตร้อน 
พายุที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์และทรัพย์สินของมนุษย์ในเขตละติจูดสูงในเขตอากาศหนาวเย็นคือ พายุหิมะ          ที่พัดจากขั้วโลกลงมา
 
     
 

 

 
  พายุหมุนเขตร้อน แบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามความเร็วสูงสุดใกล้จุดศูนย์กลางดังนี้
1. พายุดีเปรสชัน  depression       มีความเร็วลมน้อยกว่า     62 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
2. พายุโซนร้อน   tropical strom   มีความเร็วลม         63-117  กิโลเมตรต่อชั่วโมง
3. พายุดีไต้ฝุ่น     typhoon            มีความเร็วลมมากกว่า    117 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
 
 
 
  พายุหมุนที่มีความเร็วลมใกล้จุดศูนย์กลางมากกว่า 117 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีชื่อเรียกแตกต่างกันตามสถานที่เกิด ดังนี้
1. บริเวณทะเลจีนใต้                    เรียกว่า พายุไต้ฝุ่น     typhoon
2. บริเวณมหาสมุทรอินเดีย          เรียกว่า พายุไซโคลน  cyclone
3. บริเวณทะเลแคริบเบียน           เรียกว่า พายุเฮอริเคน  hurricane
4. บริเวณทะเลติมอร์                    เรียกว่า พายุวิลลี-วิลลี willy willy
 
 
 
 

ประเทศไทย ตั้งอยู่ในโซนมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกตอนบน และทะเลจีนใต้ ร่วมกับสมาชิกประเทศอื่นๆ ได้แก่กัมพูชา, จีน, เกาหลีเหนือ-ใต้, ฮ่องกง, ญี่ปุ่น, ลาว, มาเก๊า, มาเลเซีย ไมโครนีเซีย (รัฐอิสระอยู่บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือหมู่เกาะอินโดนีเซีย) ฟิลิปปินส์, สหรัฐฯ และเวียดนาม

 
     
 

          ทั้งนี้ชื่อพายุจะแบ่งเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 28 ชื่อ ชื่อพายุแต่ละชื่อ จะเรียงตามชื่อประเทศของลำดับตัวอักษรภาษาอังกฤษ เริ่มจากกัมพูชา เรื่อยไปจนถึงเวียดนามซึ่งเป็นอันดับสุดท้าย โดย ประเทศไทย อยู่อันดับที่ 12 เมื่อใช้หมด 1 กลุ่มก็จะขึ้นชื่อแรกในกลุ่มที่ 2 เรียงกันเรื่อยไปจนครบทุกกลุ่ม แล้วจึงกลับมาใช้ชื่อแรกของกลุ่มที่ 1 ใหม่อีกครั้ง

 
     
               ด้วยเหตุนี้ ทางกรมอุตุนิยมวิทยาจึงได้ตั้ง คณะกรรมการพิจารณารายชื่อ และความหมายของชื่อขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนเสนอชื่อพายุใน ภาษาไทย ที่ประชุมของ ศูนย์เตือนภัยพายุไต้ฝุ่นร่วม หรือ เจทีดับบลิวซี (Joint Typhoon Warning Center (JTWC)) ซึ่งตั้งอยู่ที่เกาะกวม ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก โดยมีสมาชิกอีก 14 ประเทศ ในโซนเดียวกันมาร่วมประชุม จนได้ชื่อพายุของไทยตามลำดับได้แก่ พระพิรุณ, ทุเรียน, วิภา, รามสูร, เมขลา, มรกต, นิดา, ชบา, กุหลาบ และขนุน  
     
     
 
ตารางแสดงรายชื่อพายุไต้ฝุ่นบริเวณทะเลจีนใต้
 
     
 

No.

Column 1

Column 2

Column 3

Column 4

Column 5

1
กัมพูชา

DAMREY
ดอมเรย

KONG-REY
กองเรย

NAKRI
นากรี

KROVANH
กรอวาญ

SARIKA
สาริกา

2
จีน

HAIKUI
ไห่คุ้ย

YUTU
ยู่ทู่

FENGSHEN
ฟงเฉิน

DUJUAN
ตู้เจี้ยน

HAIMA
ไหหม่า

3
เกาหลีเหนือ

KIROGI
ไคโรจ)

TORAJI
โทราจิ

KALMAEGI
คัลเมจิ

MUJIGAE
มูจีแก

MEARI
มิอะริ

4
ฮ่องกง

KAI-TAK
ไคตั๊ก

MAN-YI
มานหยี่

FUNG-WONG
ฟองวอง

CHOI-WAN
ฉอยหวั่น

MA-ON
หมาง้อน

5
ญี่ปุ่น

TEMBIN
เทมบิง

USAGI
อุซางิ

KAMMURI
คัมมุริ

KOPPU
คอบปุ

TOKAGE
โทะคาเงะ

6
ลาว

BOLAVEN
โบลาเวน

PABUK
ปาบึก

PHANFONE
พันฝน

CHAMPI
จำปี

NOCK-TEN
นกเตน

7
มาเก๊า

SANBA
ซันปา

WUTIP
หวู่ติ๊บ

VONGFONG หว่องฟง

IN-FA
อินฟา

MUIFA
หมุ่ยฟ้า

8
มาเลเซีย

JELAWAT
เจอลาวัต

SEPAT
เซอปัต

NURI
นูรี

MELOR
เมอโลร์

MERBOK
เมอร์บุก

9
ไมรโคนีเซีย

EWINIAR
เอวิเนียร์

FITOW
ฟิโทว์

SINLAKU
ซินลากอ

NEPARTAK
เนพาร์ตัก

NANMADOL
นันมาดอล

10
ฟิลิปปินส์

MALIKSI
มาลิกซี

DANAS
ดานัส

HAGUPIT
ฮากุปิต

LUPIT
ลูปีต

TALAS
ตาลัส

11
เกาหลีใต้

GAEMI
แกมี

NARI
นารี

JANGMI
ชังมี

MIRINAE
มิรีแน

NORU
โนรู

12
ไทย

PRAPIROON
พระพิรุณ

WIPHA
วิภา

MEKKHALA
เมขลา

NIDA
นิดา

KULAP
กุหลาบ

13
สหรัฐ

MARIA
มาเรีย

FRANCISCO ฟรานซิสโก

HIGOS
ฮีโกส

OMAIS
โอไมส์

ROKE
โรคี

14
เวียดนาม

SON TINH
เซินตินห์

LEKIMA
เลกีมา

BAVI
บาหวี่

CONSON
โกนเซิน

SONCA
เซินกา

15
กัมพูชา

BOPHA
โบพา

KROSA
กรอซา

MAYSAK
ไม้สัก

CHANTHU
จันทู

NESAT
เนสาด

16
จีน

WUKONG
หวู่คง

HAIYAN
ไห่เยี่ยน

HAISHEN
ไห่เฉิน

DIANMU
เตี้ยนหมู่

HAITANG
ไห่ถาง

17
เกาหลีเหนือ

SONAMU
โซนามุ

PODUL
โพดอล

NOUL
นูล

MINDULLE
มินดอนเล

NALGAE
นาลแก

18
ฮ่องกง

SHANSHAN
ซานซาน

LINGLING
เหล่งเหลง

DOLPHIN
ดอลฟิน

LIONROCK
ไลออนร็อก

BANYAN
บันยัน

19
ญี่ปุ่น

YAGI
ยางิ

KAJIKI
คะจิกิ

KUJIRA
คุจิระ

KOMPASU
คอมปาซุ

WASHI
วาชิ

20
ลาว

LEEPI
หลี่ผี

FAXAI
ฟ้าใส

CHAN-HOM
จันหอม

NAMTHEUN
น้ำเทิน

PAKHAR
ปาข่า

21
มาเก๊า

BEBINCA
เบบินคา

PEIPAH
เพผ่า

LINFA
หลิ่นฟ้า

MALOU
หม่าโหล

SANVU
ซันหวู่

22
มาเลเซีย

RUMBIA
รุมเบีย

TAPAH
ตาปาห์

NANGKA
นังกา

MERANTI
เมอรันตี

MAWAR
มาวาร์

23
ไมรโคนีเซีย

SOULIK
ซูลิก

MITAG
มิแทก

SOUDELOR
เซาเดโลร์

FANAPI
ฟานาปี

GUCHOL
กูโชล

24
ฟิลิปปินส์

CIMARON
ซิมารอน

HAGIBIS
ฮากิบิส

MOLAVE
โมลาเว

MALAKAS
มาลากัส

TALIM
ตาลิม

25
เกาหลีใต้

JEBI
เชบี

NEOGURI
นิวกูรี

GONI
โกนี

MEGI
เมกี

DOKSURI
ด็อกซูหริ

26
ไทย

MANGKHUT
มังคุด

RAMMASUN
รามสูร

ATSANI
อัสนี

CHABA
ชบา

KHANUN
ขนุน

27
สหรัฐ

UTOR
อูตอร์

MATMO
แมตโม

ETAU
เอตาว

AERE
แอรี

VICENTE
วีเซนเต

28
เวียดนาม

TRAMI
จ่ามี

HALONG
หะลอง

VAMCO
หว่ามก๋อ

SONGDA
ซงด่า

SAOLA
ซาวลา

 

 Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Klongtoei Klongtoei Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile