การโคจรของโลก
หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ

หน่วยที่ 2
ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์
บทที่ 7 ความสัมพันธ์ของโลก ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์
           การโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์  
           การโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ทำให้เกิดฤดูกาลต่างๆ นักปราชญ์ในสมัยโบราณ ได้กำหนดให้การโคจรของดวงอาทิตย์บนระนาบเส้นสุริยวิถี ซึ่งโคจรผ่านกลุ่มดาวฤกษ์ต่างๆ ออกเป็น 12 กลุ่ม โดยใช้การโคจรของดวงอาทิตย์ในรอบ 1 ปี เป็นเกณฑ์ในการคำนวณ โดยกำหนดว่า ดวงอาทิตย์โคจร 1 ปี 365 วัน ผ่านกลุ่มดาวฤกษ์ 12 กลุ่ม แต่ละกลุ่มใช้เวลาโคจรประมาณ 1 เดือน และกำหนด 1 กลุ่มดาวฤกษ์ เรียกว่า 1 ราศี รวมทั้งหมดเป็น 12 เดือน 12 ราศี เรียกว่า จักรราศี แต่ละราศีมีอาณาเขตประมาณ 30 องศา  
 

                            

 
 


 
           การโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์  
          

          สุริยวิถี คือ ระนาบทางเรขาคณิตที่เป็นระนาบวงโคจรของโลก ดาวเคราะห์ส่วนใหญ่ในระบบสุริยะมีระนาบวงโคจรใกล้เคียงกับระนาบนี้ เมื่อมองจากโลก เป็นวงกลมใหญ่บนทรงกลมฟ้า ที่แทนเส้นทางการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ตลอดทั้งปีท่ามกลางดาวฤกษ์ที่เป็นฉากหลัง ระนาบนี้ ทำมุมเอียงกับเส้นศูนย์สูตรฟ้าเป็นมุม ประมาณ 23 องศาครึ่ง ซึ่งเป็นผลจากความเอียงของแกนหมุนของโลก ระนาบวงโคจรของดวงจันทร์เอียงกับระนาบสุริยวิถีเป็นมุมประมาณ 5 องศา
          เนื่องจากดวงอาทิตย์ปรากฏเคลื่อนที่ไปตามสุริยวิถีเป็นมุม 360 องศา ครบรอบพอดี ใช้เวลาประมาณ 365 วัน 6 ชั่วโมง หรือ 1 ปี ดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ด้วยด้วยความเร็วประมาณ 1องศา ต่อวัน โดยมีทิศทางการเคลื่อนที่จากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก เมื่อมองจากโลก

 
                                      

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 
                     สุริยวิถีกับเส้นศูนย์สูตรฟ้าตัดกันที่จุด 2 จุด ซึ่งอยู่ตรงข้ามกัน คือ จุดวสันตวิษุวัต (วะ-สัน-ตะ-วิ-ษุ-วัด) (vernal equinox)และจุดศารทวิษุวัต(สาด-ทะ-วิ-สุ-วัด) (autumnal equinox) เมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนมาถึง 2 ตำแหน่งนี้ กลางวันกับกลางคืนจะยาวนานเท่ากันสำหรับผู้สังเกตบนผิวโลก
***(อย่างน้อยก็ในทางทฤษฎี เพราะมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อความยาวนานของกลางวัน-กลางคืน เช่น บรรยากาศโลก)
 
              
                      จุดที่สุริยวิถีอยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรฟ้ามากที่สุดขึ้นไปทางเหนือ เรียกว่า จุดครีษมายัน (คฺรีด-สะ-มา-ยัน) หรือ จุดอุตรายัน (อุด-ตฺรา-ยัน) (Summer Solstice) และลงไปทางใต้เรียกว่า จุดเหมายัน (เห-มา-ยัน) (Winter Solstice)  
              
                     ถ้าดวงจันทร์ผ่านแนวสุริยวิถีขณะจันทร์เพ็ญหรือจันทร์ดับ จะมีโอกาสเกิดอุปราคาขึ้นได้    วิษุวัต equinox เส้นสุริยวิถี  (Ecliptic)  และเส้นศูนย์สูตรฟ้า (Celestial Equator) จะตัดกัน 2 จุด และจุดทั้งสองนี้จะอยู่ ตรงข้ามกัน พอดี ถ้าโลกโคจรมาถึงจุดนี้ จากการมองเห็นด้วยตาเปล่า เราจะเห็นดวงอาทิตย์โคจรมาถึงจุดนี้ จะมีปรากฏการณ์พิเศษบนพื้นโลก คือ ในวันนี้ ถ้าเราอยู่ที่เส้นศูนย์สูตรโลก เวลากลางวันจะเท่ากับเวลากลางคืนพอดี
 
              
                     จุดตัดทั้งสองนี้ เรียกว่า จุด วิษุวัต หรือ Equinox
จุดวิษุวัตซึ่งดวงอาทิตย์โคจรผ่านแล้ว ดวงอาทิตย์จะปัดไปทางทิศเหนือของเส้นศูนย์สูตรฟ้า เรียกว่า อุตราวิษุวัต vernal equinox เมื่อดวงอาทิตย์โคจรมาถึงจุดนี้ ดวงอาทิตย์จะอยู่ที่เส้นศูนย์ฟ้าพอดี นั่นหมายความว่า ดวงอาทิตย์ขึ้นตรงทิศตะวันออกพอดี ไม่ปัดไปทางเหนือหรือทางใต้ ถ้าเราอยู่ที่เส้นศูนย์สูตรโลก Equator ในเวลาเที่ยงวัน ดวงอาทิตย์จะอยู่ตรงกับ ศีรษะของเราพอดี ซึ่งตรงกับ วันที่ 21 มีนาคม ของทุก ๆ ปี ดวงอาทิตย์มี กรันติ (declination = 0 องศา) ต่อจากวันนี้ไป ดวงอาทิตย์จะค่อย ๆ เคลื่อนไปทางทิศเหนือของเส้นศูนย์สูตรท้องฟ้าวันละเล็กวันละน้อยประมาณ 1 องศาต่อวัน
 
              
                    จุดวิษุวัตเมื่อดวงอาทิตย์โคจรผ่านแล้ว ดวงอาทิตย์จะปัดไปทางทิศใต้ของเส้นศูนย์สูตรฟ้า เรียกว่า ทักษิณาวิษุวัต autumnal equinox เมื่อดวงอาทิตย์โคจรมาถึงจุดนี้ ดวงอาทิตย์จะอยู่ที่เส้นศูนย์สูตรฟ้าพอดี คือ ไม่ปัดไปทางไหนอีก ถ้าเราอยู่ที่เส้นศูนย์สูตรโลก ในเวลาเที่ยงวันของวันนี้ ดวงอาทิตย์จะอยู่ตรงศีรษะของเราพอดี ในวันนี้ดวงอาทิตย์มี declination = 0 องศา คือวันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นตรงทิศตะวันออกพอดีและตกตรงทิศตะวันตกพอดี ต่อจากวันนี้ไป  
              
                    ดวงอาทิตย์จะค่อยๆปัดไปทางทิศใต้ของเส้นศูนย์สูตรท้องฟ้าวันละเล็กวันละน้อย ตำแหน่งของดวงอาทิตย์ในวันนี้ จะตรงกับประมาณวันที่ 22 กันยายนของทุกปี ตามปฏิทินดาราศาสตร์ในระบบนิรายนะ ดวงอาทิตย์จะอยู่ในราศีกันย์ประมาณ 6 องศา 37 ลิปดา กรันติของดวงอาทิตย์ = 0 องศา ในวันนี้ดวงอาทิตย์จะโคจรวันละประมาณ 58 ลิปดา 44 ฟิลิปดา  
              
                    เส้นสุริยวิถีและเส้นศูนย์สูตรฟ้า มีระนาบต่างกัน โดยทำมุมเอียงประมาณ 23 องศาครึ่ง จุดบนเส้นสุริยวิถีที่อยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรฟ้ามีอยู่ 2 จุด เรียกว่า มหากรันติ solstice จุด 2 จุดนี้ จะอยู่ตรงข้ามกันพอดี และต่างก็อยู่ห่างจากจุดวิษุวัต 90 องศาพอดี ถ้าดวงอาทิตย์โคจรมาถึงจุดทั้งสองนี้ เราจะเห็นดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรฟ้ามากที่สุด  
              
                    จุดบนเส้นสุริยวิถีที่ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรฟ้าไปทางทิศเหนือมากที่สุด เรียกว่า อุตรายัน summer solstice ณ จุดนี้จะมีปรากฏการณ์พิเศษเกิดขึ้นบนพื้นโลก คือ เวลาในภาคกลางวันจะมากกว่าเวลาในภาคกลางคืนมากที่สุด (เป็นวันที่มีเวลากลางวันนานที่สุด และเวลากลางคืนน้อยที่สุดเฉพาะซีกโลกเหนือ) จะตรงกับวันที่ 21 มิถุนายน ของทุกๆ ปี ดวงอาทิตย์โคจรผ่านจุดอุตรายัน ฤดูกาลในเมืองไทยเราจะเริ่มเข้าฤดูฝน  
              
                     จุดบนเส้นสุริยวิถีที่ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรฟ้าไปทางทิศใต้มากที่สุด เรียกว่า ทักษิณายัน winter solstice ณ จุดนี้จะมีปรากฏการณ์เกิดขึ้น คือ เวลาในภาคกลางคืนจะยาวนานมากกว่าในภาคกลางวันมากที่สุด เฉพาะบริเวณประเทศที่ตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือ ในทางตรงกันข้าม ประเทศที่ตั้งอยู่ในซีกโกลใต้ เป็นวันที่มีเวลากลางวันนานที่สุด และเวลากลางคืนน้อย ฤดูนี้คนที่อาศัยอยู่ในซีกโลกเหนือจะเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ และตกทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ เรียกว่า "ตะวันอ้อมข้าว" จะตรงกับวันที่ 22 ธันวาคม ของทุก ๆ ปี ดวงอาทิตย์โคจรผ่านจุดทักษิณายัน เป็นวันเริ่มต้นฤดูหนาวของซีกโลกเหนือและเป็นวันเริ่มต้นฤดูร้อนของซีกโลกใต้  
              
                    *** การหมุนรอบตัวเองของโลกทำให้เกิดกลางวันและกลางคืน ความจริงแล้วโลกหมุนรอบตัวเองหนึ่งรอบใช้เวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมง แต่ใช้เวลาประมาณ 23 ชั่วโมง 56 นาที 4 วินาที
 
          
 
                      อนาเล็มมา analemma  เกิดจากแกนเอียงของโลกและวงโคจรที่มีความรีมาก ถ้าแกนโลกไม่เอียงและวงโคจรเป็นวงกลม  โลกจะโคจรรอบดวงอาทิตย์ จะมาถึงจุดเดิมในเวลาเดียวกัน หรือที่เก่าเวลาเดิมทุกวัน  แต่เพราะแกนหมุนของโลกเอียงไป 23.5 องศา ทางเดินปรากฏของดวงอาทิตย์บนท้องฟ้าหรือสุริยวิถี ecliptic เทียบกับเส้นศูนย์สูตรท้องฟ้าที่ solstice (โซลสติช) เดือนมิถุนายนหรือ summer solstice (ซัมเมอร์โซลสติช)  ดวงอาทิตย์อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร 23.5 องศา และเดือนธันวาคมหรือ winter solstice (วินเทอร์โซลสติช) ดวงอาทิตย์อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตรไป 23.5 องศา    การเดินทางของดวงอาทิตย์ที่ไปทางเหนือและใต้ของเส้นศูนย์สูตรอธิบายความยาวของรูปแบบอนาเลมมาได้ว่า
          วงโคจรของโลกมีความรีไม่เป็นวงกลม  ระยะทางที่โลกห่างจากดวงอาทิตย์เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาทั้งปี
โลกเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดต้นมกราคมและอยู่ไกลที่สุดต้นกรกฎาคม
          ดังนั้นคนที่ซีกโลกเหนือ เห็นดวงอาทิตย์ปรากฏเคลื่อนที่ตามสุริยวิถีได้เร็วกว่าค่าเฉลี่ยในฤดูหนาวแต่ช้ากว่าค่าเฉลี่ยในฤดูร้อน   เกิดความไม่สมมาตร   บ่วงทางใต้ในฤดูหนาวจะกว้างและเป็นบ่วงแคบในฤดูร้อนทางซีกเหนือ ดังแสดงจากภาพ ด้านล่าง
            เนื่องจากดวงอาทิตย์ไม่ได้เดินข้ามท้องฟ้าด้วยอัตราเร็วคงที่ตลอดทั้งปี  มันมาถึงเมอริเดียน(ครึ่งวงกลมสมมุติที่ผ่านทิศเหนือและใต้และจุดเหนือศีรษะ) ในเวลาเที่ยงวันท้องถิ่นไม่ตรงทุกวันคือไม่ตรงกับค่าเฉลี่ย   ฤดูใบไม้ร่วงของซีกโลกเหนือ ดวงอาทิตย์ปรากฏเดินเร็ว นั่นคือมันข้ามเมอริเดียนหลายนาทีก่อนถึงเวลาเที่ยงท้องถิ่นค่าเฉลี่ย  ในฤดูหนาวดวงอาทิตย์ปรากฏเคลื่อนที่ช้าหรือมาล่าช้ากว่าค่าเฉลี่ย    ความแตกต่างระหว่างเวลาเที่ยงวันท้องถิ่นเฉลี่ยและเวลาที่ดวงอาทิตย์ผ่านเมอริเดียนเรียกว่า สมการของเวลา ที่ผู้ใช้นาฬิกาแดดเข้าใจดี
 
 Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Klongtoei Klongtoei Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile