อุปราคา
หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ําผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ

หน่วยที่ 2 ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์  
บทที่ 7 ความสัมพันธ์ของโลก ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์  
  อุปราคา  
                             อุปราคา Eclipse เกิดจาก ตําแหน่งการโคจรของโลกและดวงจันทร์ มาอยู่ในระนาบเดียวกัน ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ เพราะระนาบการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ กับ ระนาบการโคจรของดวงจันทร์รอบโลก ไมได้เป็นระนาบเดียวกัน แต่ถ้าระนาบการโคจรของโลกและระนาบการโคจรของดวงจันทร์ เคลื่อนที่มาตัดกัน ก็จะเกิด อุปราคา
                             อุปราคา มี 2 ประเภท คือ
                             1. จันทรุปราคา
                             2. สุริยุปราคา
                              
1. จันทรุปราคา เกิดในเวลากลางคืน ในวันขึ้น 15 ค่ํา เมื่อ ดวงจันทร์โคจรมาอยู่ ภายในเงา ของโลก นั่นคือ ตําแหน่งที่ดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ โคจรมาอยู่ในระนาบเดียวกัน
          จันทรุปราคาไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ เนื่องจากระนาบการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์และระนาบการโคจรของดวงจันทร์รอบโลกทํามุมกัน 5 องศา ในการเกิดจันทรุปราคา ดวงจันทร์จะต้องอยู่บริเวณจุดตัดของระนาบวงโคจรทั้งสอง และต้องอยู่ใกล้จุดตัดนั้นมากๆ จึงจะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงหรือจันทรุปราคาบางส่วนได้
ระยะห่างระหว่างโลกและดวงจันทร์มีผลต่อความเข้มของจันทรุปราคาด้วย นอกจากนี้ หากดวงจันทร์อยู่ในตําแหน่งที่ห่างจากโลกมากที่สุด
apogee จะทําให้ระยะเวลาในการเกิดจันทรุปราคานานขึ้น ด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ
          1.  ดวงจันทร์จะเคลื่อนที่อย่างช้าๆ เพราะตําแหน่งนี้เป็นตําแหน่งที่ดวงจันทร์เคลื่อนที่ช้าที่สุดตลอดการโคจรรอบโลก
          2.  ดวงจันทร์ที่มองเห็นจากโลกจะมีขนาดเล็ก จะเคลื่อนที่ผ่านเงาของโลกไปทีละน้อย ทําให้อยู่ในเงามืดนานขึ้น
ในทุกๆ ปีจะมีจันทรุปราคาเกิดขึ้นอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง หากเก็บสถิติการเกิดจันทรุปราคาแล้ว จะสามารถทํานายวันเวลาในการเกิดจันทรุปราคาครั้งต่อไปได้
          
                               
2. สุริยุุปราคา เกิดในเวลากลางวัน ในวันแรม 15 ค่ํา เมื่อ ดวงจันทร์โคจรมาอยู่ ระหว่างดวงอาทิตย์ กับโลก ทําให้เงาของดวงจันทร์ทอดยาวมาบังโลก นั่นคือ ตําแหน่งที่ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก โคจรมาอยู่ในระนาบเดียวกัน 
 
           วงโคจรของดวงจันทร์รอบโลกเป็นวงรีลักษณะเดียวกันกับวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ขนาดที่เรามองเห็นดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์จึงไม่คงที่ อัตราส่วนระหว่างขนาดปรากฏของดวงจันทร์ต่อดวงอาทิตย์ขณะเกิดคราสเป็นสิ่งที่บ่งบอกได้ว่าสุริยุปราคาอาจเป็นชนิดใด ถ้าคราสเกิดขึ้นระหว่างที่ดวงจันทร์อยู่บริเวณจุดใกล้โลกที่สุด perigee อาจทําให้เป็นสุริยุปราคาเต็มดวง เพราะดวงจันทร์จะมีขนาดปรากฏใหญ่มากพอที่จะบดบังผิวสว่างของดวงอาทิตย์ที่เรียกว่า “โฟโตสเฟียร์” Photosphere ได้ทั้งหมด ตัวเลขอัตราส่วนนี้จึงมากกว่า 1 แต่ในทางกลับกัน หากเกิดคราสขณะที่ดวงจันทร์อยู่บริเวณจุดไกลโลกที่สุด apogee คราสครั้งนั้นอาจเป็นสุริยุปราคาวงแหวน เพราะดวงจันทร์จะมีขนาดปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์ อัตราส่วนนี้จึงมีค่าน้อยกว่า 1 สุริยุปราคาวงแหวนเกิดได้บ่อยกว่าสุริยุปราคาเต็มดวง เพราะโดยเฉลี่ยแล้วดวงจันทร์อยู่ห่างจากโลกมากเกินกว่าจะบดบังดวงอาทิตย์ได้ทั้งหมด
          
สุริยุปราคามี 4 ประเภท ได้แก่       
  1. สุริยุปราคาเต็มดวง total eclipse ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์หมดทั้งดวง เป็นตําแหน่งที่ ดวงจันทร์ โคจรมาอยู่ใกล้โลกมากที่สุด perigee
  2. สุริยุปราคาบางส่วน partial eclipse มีเพียงบางส่วนของดวงอาทิตย์เท่านั้นที่ถูกบัง
  3. สุริยุปราคาวงแหวน annular eclipse: ดวงอาทิตย์มีลักษณะเป็นวงแหวน เกิดเมื่อดวงจันทร์อยู่ในตําแหน่งที่ห่างไกลจากโลก ดวงจันทร์จึงปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์ เป็นตําแหน่งที่ ดวงจันทร์ โคจรมาอยู่ไกล้โลกมากที่สุด apogee
  4. สุริยุปราคาผสม hybrid eclipse ความโค้งของโลกทําให้สุริยุปราคาคราวเดียวกันกลายเป็นแบบผสมได้ คือ บางส่วนของแนวคราสเห็นสุริยุปราคาเต็มดวง ที่เหลือเห็นสุริยุปราคาวงแหวน บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงเป็นส่วนที่อยู่ใกล้ดวงจันทร์มากกว่า
          
 Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Klongtoei Klongtoei Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile