|
|
|
การเคลื่อนที่ของโลกมี 2 ลักษณะ ได้แก่ การหมุนรอบตัวเองและการโคจรรอบดวงอาทิตย์
1. โลกหมุนรอบตัวเองจากทิศตะวันตกมาทิศตะวันออก หรือการหมุนทวนเข็มนาฬิกา ขณะที่โลกหมุนแกนของโลกเอียงทำมุมกับระนาบการโคจรของโลก 66องศาครึ่ง หรือเอียงจากแนวดิ่ง 23องศาครึ่ง การหมมุนรอบตัวเองของโลกรอบหนึ่งๆ กินเวลา 1 วัน หรือ 23 ชั่วโมง 56 นาที 4.09 วินาที เป็นเหตุทำให้เกิดกลางวันและกลางคืน โดยด้านที่ได้รับแสงจากกวงอาทิตย์จะเป็นเวลากลางวัน ส่วนด้านไม่ได้รับแสงจะเป็นเวลากลางคืน ซึ่งตำแหน่งต่างๆ บนพื้นผิวโลกจะมี ระยะเวลาที่เป็นกลางวันและกลางคืนยาวไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับ ตำแหน่งที่โลกโคจรรอบดวงอาทิย์ไปอยู่ที่ใด ตามฤดูกาลใน 1ปี จะมีเพียง 2 วันเท่านั้น ที่ตำแหน่งต่างๆ บนพื้นผิวโลก จะมีระยะเวลากลางวัน 12 ชั่วโมงและกลางคืน 12 ชั่วโมง (เวลากลางวันเท่ากับกลางคืน) คือ ตำแหน่งที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ไปอยู่ ณ ตำแหน่ง ที่เรียกว่า วิษุวัต equinox มี 2 ตำแหน่ง คือ วสันตวิษุวัต vernal equinox ตรงกับวันที่ 21 มีนาคมและตำแหน่ง ศารทวิษุวัต autumnal equinox ตรงกับวันที่ 22 กันยายน ซึ่งทั้งสองตำแหน่งดังกล่าว เป็นตำแหน่งที่ แสงดวงอาทิตย์ ส่องตั้งฉากกับพื้นผิวโลก บริเวณเส้นศูนย์สูตร (ละติจูด 0 องศา)
|
|
|
|
|
|
2. โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ มีลักษณะเป็นวงรีในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา หมุนรอบหนึ่งๆ กินเวลา 1 ปี(365 วัน 5ชั่วโมง 48 นาที) ทำให้เกิดฤดูกาลต่างๆ ขึ้น ในขณะที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์แกนโลกเอียง 23 องศา ครึ่ง มิได้ตั้งฉากกับทางโคจรของโลกจึงทำให้โลกทุกส่วนได้รับแสงอาทิตย์ไม่เท่ากันดังนี้ |
|
|
|
1. เมื่อโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ไปอยู่ ณ ตำแหน่ง วสันตวิษุวัต vernal equinox ณ วันที่ 21 มีนาคม แสงอาทิตย์ส่องตั้งฉาก บริเวณ ละติจูด 0 องศา โลกของเราจะมี ระยะเวลา กลางวัน เท่ากับ กลางคืน ทั้งซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ เมื่อโลกโคจรต่อไป แสงอาทิตย์ จะส่องตั้งฉาก บริเวณละติจูด ที่ต่ำลงมา ตามระยะเวลาการโคจร และ เมื่อโลกโคจรมาถึงตำแหน่ง 2 |
|
|
|
|
|
|
|
2. เมื่อโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ไปอยู่ ณ ตำแหน่ง อุตรายัน หรือ ครีษมายัน summer solstice ณ วันที่ 21 มิถุนายน แสงอาทิตย์ส่องตั้งฉาก บริเวณเส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ ละติจูด 23 องศาครึ่งเหนือ ทำให้บริเวณตั้งแต่ละติจูด 66องศาครึ่งเหนือ ไปจนถึงข้วโลกเหนือมีระยะเวลากลางวัน 24 ชั่วโมง นั่นหมายความว่า เป็นเวลากลางวันตลอดเวลา จะเกิดปรากฏการณ์ พระอาทิตย์เที่ยงคืน midnight sun บริเวณ ดังกล่าว (ตั้งแต่เส้นอาร์กติกเซอร์เคิลไปจนถึงขั้วโลกเหนือ) ในบริเวณตรงกันข้ามตั้งแต่ ละติจูด 66 องศาครึ่งใต้ ไปจนถึงข้วโลกใต้ มีระยะเวลากลางคืน 24 ชั่วโมง นั่นหมายความว่า เป็นเวลากลางคืนตลอดเวลา ส่วนบริเวณอื่นๆ จะมีระยะเวลากลางวันและกลางคืนแตกต่างกันไป อาทิ บริเวณละติจูด 23 องศาครึ่งเหนือ จะมีระยะเวลากลางวันนาน 13 ชั่วโมง 27 นาที ระยะเวลากลางคืนนาน 10 ชั่วโมง 33 นาที เป็นต้น
เมื่อโลกโคจรต่อไป แสงอาทิตย์ จะส่องตั้งฉาก บริเวณละติจูด 0 องศาอีกครั้ง ณ ตำแหน่งที่ 3 |
|
|
|
|
|
|
|
3. เมื่อโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ไปอยู่ ณ ตำแหน่งศารทวิษุวัต autumnal equinox ณ วันที่ 22 กันยายน แสงอาทิตย์ส่องตั้งฉาก บริเวณ ละติจูด 0 องศา โลกของเราจะมี ระยะเวลา กลางวัน เท่ากับ กลางคืน อีกครั้งทั้งซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ เมื่อโลกโคจรต่อไป แสงอาทิตย์ จะส่องตั้งฉากในซีกโลกใต้ บริเวณละติจูด ที่สูงขึ้นไป ตามระยะเวลาการโคจร และ เมื่อโลกโคจรมาถึงตำแหน่ง 4 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
4. เมื่อโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ไปอยู่ ณ ตำแหน่ง เหมายัน หรือ ทักษิณายัน winter solstice ณ วันที่ 22 ธันวาคม แสงอาทิตย์ส่องตั้งฉาก บริเวณเส้นทรอปิกออฟแคบริคอร์น ละติจูด 23 องศาครึ่งใต้ ทำให้บริเวณตั้งแต่ละติจูด 66องศาครึ่งใต้ ไปจนถึงข้วโลกใต้มีระยะเวลากลางวัน 24 ชั่วโมง นั่นหมายความว่า เป็นเวลากลางวันตลอดเวลา จะเกิดปรากฏการณ์ พระอาทิตย์เที่ยงคืน midnight sun บริเวณ ดังกล่าว (ตั้งแต่เส้นแอนตาร์กติกเซอร์เคิลไปจนถึงขั้วโลกใต้) ในบริเวณตรงกันข้ามตั้งแต่ ละติจูด 66 องศาครึ่งเหนือ ไปจนถึงข้วโลกเหนือ มีระยะเวลากลางคืน 24 ชั่วโมง นั่นหมายความว่า เป็นเวลากลางคืนตลอดเวลา ส่วนบริเวณอื่นๆ จะมีระยะเวลากลางวันและกลางคืนแตกต่างกันไป อาทิ บริเวณละติจูด 23 องศาครึ่งใต้ จะมีระยะเวลากลางวันนาน 13 ชั่วโมง 27 นาที ระยะเวลากลางคืนนาน 10 ชั่วโมง 33 นาที เป็นต้น |
|
|
|
|
|
|