ข้างขึ้นข้างแรม
หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ

หน่วยที่ 2
ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์
 
บทที่ 7 ความสัมพันธ์ของโลก ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์  
  การเกิดข้างขึ้นข้างแรม  
                                                
          
          ข้างขึ้นข้างแรม The Moon’s Phases เกิดขึ้นเนื่องจากดวงจันทร์มีรูปร่างเป็นทรงกลม ไม่มีแสงในตัวเอง เป็นดาวเคราะห์เหมือนกับโลก ดวงจันทร์เป็นบริวารของโลก ดวงจันทร์โคจรรอบโลก และโคจรรอบดวงอาทิตย์ไปพร้อมกับโลก ทำให้มุมระหว่างดวงอาทิตย์-ดวงจันทร์-โลก เปลี่ยน เปลี่ยนแปลงไปวันละ 12 องศา  เมื่อมองดูดวงจันทร์จากโลก เราจึงมองเห็นเสี้ยวของดวงจันทร์มีขนาดเปลี่ยนไปเป็นวงรอบ  ดังภาพที่ 1 ใช้เวลาประมาณ 30 วัน ด้านสว่างได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ แต่ด้านตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ถูกบังด้วยเงาของตัวเอง ดวงจันทร์โคจรรอบโลก 1 รอบ ใช้เวลาเท่ากับ การหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ ทำให้ เรา เห็นดวงจันทร์ เพียงด้านเดียว
                                                                                                                                                           
          การนับวันทางจันทรคติตามหลักของปฏิทินราชการ (ซึ่งแตกต่างจากหลักของปฏิทินจันทรคติปักขคณนา) ได้กำหนดให้ เริ่มนับวันขึ้น 1 ค่ำ จนถึงขึ้น 15 ค่ำ แล้วจึงนับ วันแรม 1 ค่ำ ถึง วันแรม 14 ค่ำ ในเดือนคี่ และวันแรม 15 ค่ำ ในเดือนคู่  จึงทำให้เดือนคี่มี 29 วัน เดือนคู่มี 30 วัน ในเดือนที่ 7 จะมีวันแรม 15 ค่ำ ฉะนั้นเดือน 7 จะมี 30 วัน การนับเดือนทางจันทรคติ เริ่มต้นนับเดือนที่ 1 เรียกว่า เดือนอ้าย จะตรงกับเดือนสุริยคติประมาณเดือนธันวาคม เดือนที่ 2 เรียกว่า เดือนยี่ ประมาณเดือน มกราคม และนับเดือน 3 เดือน 4 ไปจนถึงเดือน 12 ประมาณเดือนพฤศจิกายน
                                                                                                                                                           
          การนับปีทางจันทรคติ นับตามเวลาการโคจรของดวงจันทร์รอบโลก 1 รอบ ใช้เวลา 29 วันครึ่งในเวลา 1 เดือน ถ้านับ 29 วัน เวลาจะขาดไป 12 ชั่วโมง แต่ถ้านับ 30 วัน เวลาจะเกินไป 12 ชั่วโมง จึงต้องนับ 59 วัน เป็น 2 เดือน โดยให้นับเดือนคี่มี 29 วัน และเดือนคู่มี 30 วัน ยกเว้นเดือน 7 มี 30 วัน โดยเดือนคี่เป็น เดือนต้น เดือนคู่เป็นเดือนรองถัดไป สลับจนครบ 12 เดือน แล้วเริ่มต้นใหม่ ถ้านับวันปีทางจันทรคติ จะมีเพียง 355 วัน ซึ่งมีวันน้อยกว่าปีทางสุริยคติถึง 10 วันต่อปี เมื่อรวม 3 ปี จะได้ 30 วัน ดังนั้นในทุกๆ 3 ปีทางจันทรคติ จะมีเดือน 8 สองหน คือจะมี 13 เดือน ใน 1 ปี เราเรียกปีนั้นว่า ปีอธิกมาส
                   
            การอ่านวันตามแบบจันทรคติจะอ่านเป็นตัวเลขโดยเริ่มที่วันอาทิตย์เป็นหนึ่ง และนับต่อไปตามลำดับจนถึงวันเสาร์นับเป็นเจ็ด และมีการกำหนดดิถีดวงจันทร์ และ ตัวเลขเดือน กำกับอย่างย่อ โดยใช้สัญลักษณ์เป็นตัวเลข  ตัวอย่าง   อ่านว่า  วันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗  อ่านว่า  วันอาทิตย์ แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ยี่
          
          เมื่อเราขึ้นไปอยู่บนดวงจันทร์ แล้วมองมายังโลก
 Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Klongtoei Klongtoei Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile