หน้าแรก | โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ |
|
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
|
||
สารบัญ | ||
หน่วยที่ 2 | ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ | |
บทที่ 6 | น้ำขึ้น-น้ำลง,น้ำเกิด-น้ำตาย | |
น้ำขึ้น-น้ำลง tide เกิดขึ้นเนื่องจากอิทธิพลดึงดูดระหว่างโลกกับดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ อิทธิพลของดวงอาทิตย์มีน้อยกว่าดวงจันทร์ประมาณครึ่งหนึ่ง เนื่องจากดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกมากกว่าดวงอาทิตย์ ฉะนั้นการเกิดปรากฏการณ์ของน้ำขึ้น น้ำลง จึงมีความสัมพันธ์กับ ข้างขึ้นข้างแรม | ||
น้ำขึ้น เกิดใน 2 ส่วนของโลกคือ ส่วนที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์ หรือ ดวงจันทร์ และส่วนที่อยู่ห่างจากซีกโลกด้านตรงข้าม และเกิดน้ำขึ้นน้ำลงสูงสุด หรือน้ำเกิด Spring tide เมื่อโลก ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ อยู่ในแนวเดียวกันหรือ ทุก ๆ 2 สัปดาห์ โดยประมาณ ตรงตรงกับ วันขึ้น 15 ค่ำ และ วันแรม 14 ค่ำ และระดับน้ำขึ้นน้ำลงจะเปลี่ยนแปลงน้อย กรณีน้ำตาย Neap tide กรณีน้ำตาย เป็นปรากฏการณ์ที่น้ำลดลงต่ำสุด เมื่อดวงอาทิตย์ โลก ดวงจันทร์ อยู่ในแนวตั้งฉาก ตรงกับ วันขึ้น 8 ค่ำ และ แรม 8 ค่ำ โดยประมาณ | ||
การเคลื่อนที่ขึ้นลงของน้ำบริเวณชายฝั่งทะเลก่อให้เกิดกระแสน้ำขึ้น - น้ำลง tidal current ซึ่งอาจมีความเร็ว 7-8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง การเกิดน้ำขึ้นแต่ละครั้งจะไม่ห่างกัน 12 ชั่วโมงพอดี เพราะต้องพิจารณา การเคลื่อนที่ของดวงจันทร์ด้วย เนื่องจากขณะที่โลกหมุนรอบตัวเอง และดวงจันทร์ก็โคจรรอบโลก แต่อัตราการโคจรของดวงจันทร์ ช้ากว่าที่โลกหมุนรอบตัวเอง ทำให้เราเห็นดวงจันทร์ ขึ้นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออก ช้าลงประมาณวันละ 50 นาที tidal day จึงยาวนานกว่า solar day ประมาณ 50 นาที | ||
ดังนัน ผลจากการเคลื่อนที สัมพัทธ์ ระหว่าง โลกและดวงจัทร์ เราจึงมองเห็นดวงจันทร์ โคจรรอบโลก ครบ 1 รอบ ใช้เวลาประมาณ 24 ชั่วโมง 50 นาที วัฏจักรการเกิดน้ำขึ้น-น้ำลง จึงเป็นไปตามการโคจรกับการหมุนของโลก รอบดวงอาทิตย์และการโคจรของดวงจันทร์รอบโลก ซึ่งดวงจันทร์โครจรรอบโลก 1 รอบ ใช้เวลา ประมาณ 24 ชั่วโมง 50 นาที the tidal day โดยน้ำขึ้นแต่ละครั้งจะใช้เวลาห่างกัน 12 ชั่วโมง 25 นาที half a tidal lunar day เช่น วันนี้น้ำขึ้นสูงสุดวลา 12:00 น. น้ำจะขึ้นสูงสุดครั้งต่อไปเวลา 12 : 25 น. |
||
เวลาน้ำขึ้นกระแสน้ำที่ไหลท่วมชายฝั่งต่ำหรือท่วมลำน้ำสายเล็ก ๆ นั้นเรียกว่า น้ำท่วมฝั่ง flood tides และช่วงกระแสน้ำลดต่ำลง จนบริเวณที่ถูกน้ำท่วมโผล่ขึ้นมาอีกเรียกกระแสน้ำนั้นว่า น้ำหนีฝั่ง ebb tide เราเรียกบริเวณที่ราบต่ำที่น้ำทะเลท่วมถึง ซึ่งอาจเป็นดินทรายหรือดินโคลนก็ได้ ถ้าเป็นดินทราย เรียก หาดทราย beach เป็นดินโคลนว่า หาดโคลน tidal flat หรือ mud flat หาดโคลนที่ประกอบด้วยดินโคลนมักมีพืชที่ทนต่อน้ำเค็มขึ้นปกคลุมอยู่เรียกที่ว่า ป่าชายเลน หรือ ป่าเลนน้ำเค็ม เป็นที่ลุ่มดินเค็ม salt marsh หาดโคลนบางแห่ง อาจมีสภาวะเหมาะสมจนเป็นแหล่งอาศัยที่สำคัญของสัตว์น้ำ หรือ ต้นกำเนิดของสัตว์ทะเลก็ได้ อาทิ ปลาตีน หอยหลอด ปูทะเล แมงดาทะเล ฯลฯ | ||
|
||
|
||
Copyright By : Chalengsak
Chuaorrawan Sainampeung School 186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com Tel; 089-200-7752 mobile |
|
http://www.sainampeung.ac.th |