หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
     
หน่วยที่ 2 ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์  
บทที่ 6 แนวเลื่อนในประเทศไทย
             ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านการศึกษาทางด้านธรณีแปรสัณฐานของประเทศไทยและเอเชียตะวันอกเฉียงใต้ ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากเกี่ยวกับ ประวัติธรณีสัณฐานของประเทศไทย  มีการตรวจสอบหลักฐานได้ชัดเจนมากขึ้น ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับทั่วไปว่า ประเทศไทยประกอบด้วยจุลทวีปสองชุด ได้แก่ จุลทวีปฉาน – ไทย Shan –Thai และจุลทวีปอินโดจีน  Indochina โดยทั้งสองจุลทวีปนี้ เชื่อมติดต่อกันเนื่องจากการเคลื่อนที่ชนกัน ในช่วงหลังมหายุคพาลีโอโซอิก Paleozoic
 ในตอนช่วงกลาง ของมหายุคพาลีโอโซอิกโดยเฉพาะทางด้านตะวันตกของจุลทวีปฉาน – ไทย มีการสะสมตะกอนของกลุ่มหินทองผาภูมิ Thong pha phum Group และกลุ่มหินแม่เมย Mac Moei Groupประกอบด้วยหินดินดานสีดำมีแกรบโตไลต์ และหินเชิร์ต chert ซึ่งในบางบริเวณมีการแทรกสลับของหินทราย หินทรายแป้งและหินปูนก้อนกลม nodular limestone และมีตะกอนภูเขาไฟเล็กน้อย สำหรับทางด้าน ตะวันออกของจุลทวีปฉาน-ไทยมีการสะสมตัวของกลุ่มหินดอนชัย Don Chai Group ซึ่งประกอบด้วยชั้นหินหนาของหินเถ้าภูเขาไฟ หินดินดานและหินเชิร์ต โดยในบางบริเวณมีการถูกแปรสภาพก ลายเป็นหินชีสและ แคลซิลิเกต      
 
 
     
               จากการศึกษาทางด้านธรณีวิทยาเมื่อประมาณ 465 ล้านปีก่อนดินแดนประเทศไทยยังแยกตัวอยู่ใน 2 อนุทวีปคือ อนุทวีปฉานไทย ครอบคลุมบริเวณ ภาคเหนือลงไปถึงภาคตะวันออกและภาคใต้  และอนุทวีปอินโดจีนครอบคลุมบริเวณภาคอิสาน อนุทวีปทั้งสองขณะนั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของผืนดินกอนด์วานา
          ต่อมาประมาณ 400-300 ล้านปีก่อนดินแดนประเทศไทยทั้งส่วนอนุทวีปฉานไทยและอนุทวีปอินโดจีน ได้เคลื่อนที่แยกตัวออกจากผืนแผ่นดินกอนด์วานา แล้วหมุนตัวตามเข็มนาฬิกาขึ้นไปทางเหนือ
เมื่อประมาณ 220 ล้านปีก่อนอนุทวีปฉานไทยได้ชนกับอนุทวีปอินโดจีนรวม กันเป็นอนุทวีปที่เป็นปัจจุบันเรียกว่า คาบสมุทรมลายู แล้วไปรวมกับจีนตอนใต้รวมกันเป็นส่วนหนึ่งของทวีปเอเชีย จากนั้นประเทศไทยในคาบสมุทรมลายูได้เคลื่อนที่ มาอยู่ในตำแหน่งปัจจุบัน
          การที่แผ่นเปลือกโลกอินเดียเคลื่อนตัวเข้ามาชนกับแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียในช่วงยุคเทอร์เชียรีทำให้ชั้นหินของแนวสุโขทัย Sukhothai Fold Belt และชั้นหินแนวเลย-เพชรบูรณ์ Loei-Petchabun Fold Belt ซึ่งอยู่ระหว่างขอบรอยต่อ ของแผ่นเปลือกโลก ฉาน-ไทย และ อินโดจีน เกิดการคดโค้งตัว และพัฒนาเกิดแนวรอยเลื่อน  ที่สำคัญในประเทศไทยหลายแนวด้วยกัน อาทิ รอยเลื่อนตามแนวระดับ strike-slip fault ในทิศทางตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ เช่น รอยเลื่อนแม่ปิง รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ และในทิศทางตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้เช่น รอยเลื่อนอุตรดิตถ์-น่าน รอยเลื่อนระนอง ดังในแผ่นที่    
 
 
 
  1. อนุทวีปฉาน-ไทย อยู่ทางทิศตะวันตกของไทย ครอบคลุมด้านตะวันออกของพม่า ครอบคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคใต้ของไทย ครอบคลุ่มทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศลาว ทางตะวันตกเฉียงใต้ของยูนนาน บริเวณทางตะวันตกของคาบสมุทรมาเลย์ ประเทศมาเลเซีย และทางตะวันออกของเกาะสุมาตรา แต่มหายุคพรีแคมเบียน มหายุคพาลีโอโซอิก มหายุคมีโซโซอิกและ มหายุคซีโนโซอิก   
 
  2. อนุทวีปอินโดจีน อยู่ทางทิศตะวันออก ครอบคลุม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกของไทย ประเทศลาวและกัมพูชา เวียตนาม และพื้นที่ทางด้านตะวันออกของมเลเซีย รองรับด้วยหินมหายุคพาลีโอโซอิก มหายุคมีโซโซอิกและมหายุคซีโนโซอิกเป็นส่วนใหญ
 
   

Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th