หน้าแรก | โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ |
||
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
|
|||
สารบัญ | |||
หน่วยที่ 2 | ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ | ||
บทที่ 6 | กระแสน้ำในมหาสมุทร | ||
กระแสน้ำในมหาสมุทร Currents ทวีปเอเชีย กระแสน้ำในมหาสมุทร มีน้ำเย็นโอยาชิโว ไหลผ่านชายฝั่งตะวันตกของประเทศญี่ปุ่น และชายฝั่งตะวันออกของประเทศ มีกระแสน้ำอุ่นกุโรชิโวไหลผ่าน อิทธิพลของกระแสน้ำ ทั้งสอง ทำให้ชายฝั่งตะวันออกของญี่ปุ่นมีอากาศอบอุ่นกว่าชายฝั่งตะวันตก กระแน้ำน้ำสองสายไหลมาปะทะกันทำให้เกิดแหล่งปลาชุกชุมเป็นแหล่งปลาชุม ที่เรียกว่า คูริลแบงค์ เนื่องจากกระแสน้ำพาแพลงตอน phankton มาตกบริเวณนี้ |
|||
ทวีปแอฟริกา 1.กระแสน้ำอุ่นโมซัมบิก ไหลเลียบชายฝั่งทางด้านตะวันออกของทวีปแอฟริกา ทำให้อากาศอบอุ่นและชุ่มชื้น 2. กระแสน้ำเย็นคานารี ไหลเลียบชายฝั่งทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของแอฟริกา ทำให้อากาศเย็นและแห้งแล้ง 3. กระแสน้ำอุ่นกินี ไหลเลียบชายฝั่งทางด้านตะวันตกของทวีปแอฟริกา ทำให้มีอากาศอบอุ่นและชุ่มชื้น 4. กระแสน้ำเย็นเบงเก-ลา ไหลเลียบชายฝั่งทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปแอฟริกา ทำให้มีอากาศเย็นและแห้งแล้ง |
|||
ทวีปอเมริกาเหนือ กระแสน้ำในมหาสมุทร 1. กระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีม ไหลเรียบชายฝั่งทางด้านตะวันออกของสหรัฐเมริกา ทำให้ภูมิอากาศอบอุ่นชุ่มชื้น 2. กระแสน้ำอุ่นอลาสกา ไหลเรียบชายฝั่งตะวันตกของแคนาดาและรัฐอลาสกา ทำให้อากาศอบอุ่นชุ่มชื้น 3. กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย ไหลเรียบชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา ตะวันตกของเม็กซิโก ทำให้อากาศหนาวเย็นและแห้งแล้ง 4. กระแสน้ำเย็นกรีนแลนด์ตะวันออก กระแสน้ำเย็นกรีนแลนด์ตะวันตก กระแสน้ำเย็นลาบราดอร์ ไหลเรียบชายฝั่ง ทางตะวันออกของแคนาดา 5. นอกจากนี้ยังมีกระแสน้ำอุ่นเม็กซิโก กระแสน้ำอุ่นแคริบเบรียน ไหลบริเวณอ่าวเม็กซิโกและทะเลแคริบเบรียน |
|||
ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปอเมริกาใต้ได้รับอิทธิพลของกระแสน้ำในมหาสมุทรดังนี้ 1 กระแสน้ำอุ่นแคริบเบียน ไหลเลียบชายฝั่งด้านตะวันออกเฉียงเหนือของทวีป ผ่านบริเวณประเทศสุรินาเม เฟรนซ์กิอานา กายอานา 2 กระแสน้ำอุ่นบราซิล ไหลเลียบชายฝั่งทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศบราซิล 3 กระแสน้ำเย็นเปรูหรือกระแสน้ำเย็นฮัมโบลด์ ไหลเลียบชายฝั่งทางด้านตะวันตกของทวีป ผ่านบริเวณประเทศชิลี ประเทศเปรู 4 กระแสน้ำเย็นฟอร์กแลนด์ ไหลเลียบชายฝั่งทางด้านตะวันออกของประเทศอาร์เจนตินา |
|||
ทวีปยุโรป กระแสน้ำในมหาสมุทร ทวีปยุโรปได้รับอิทธิพลของกระแสน้ำอุ่นแอตแลนติกเหนือทำให้ชายฝั่งทางด้านตะวันตกของทวีปมีอากาศอบอุ่นชุ่มชื้น เมื่อกระแสน้ำอุ่นแอตแลนติกเหนือไหลมาปะทะกับกระแสน้ำเย็นกรีนแลนด์ตะวันออก ทำให้เกิดหมอกมากบริเวณ ทะเลเหนือ และเป็นแหล่งปลาชุม ที่เรียกว่า ด็อกเกอร์แบงค์ เนื่องจากกระแสน้ำพาแพลงค์ตอน phankton มาตกบริเวณนี้ เมื่อกระแสน้ำอุ่นแอตแลนติกเหนือไหลผ่านเรียบชายฝั่งประเทศนอร์เวย์ เรียกว่า กระแสน้ำอุ่นนอร์เวย์ ทำให้ชายฝั่งตะวันตกมีอากาศอบอุ่นชุ่มชื้น |
|||
ทวีปออสเตรเลีย มีกระแสน้ำเย็นออสเตรเลียตะวันตกซึ่งเป็นกระแสน้ำเย็นแถบขั้วโลกใต้ไหลเลียบชายฝั่งตะวันตกของออสเตรเลียขึ้นมาด้านเหนือ ทำให้ชายฝั่งแถบนี้มีอุณหภูมิและความชื้นลดต่ำลงกว่าปกติ ขณะที่ชายฝั่งด้านเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือมีกระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตรใต้ และด้านชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้มีกระเสน้ำอุ่นออสเตรเลียตะวันออกไหลเลียบชายฝั่งทำให้มีอุณหภูมิและความชื้นเพิ่มขึ้น |
|||
1. กระแสน้ำอุ่นแคริบเบียน 2. กระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีม 3. กระแสน้ำอุ่นแอตแลนติกเหนือ 4. กระแสน้ำอุ่นนอร์เวย์ 5. กระแสน้ำเย็นคานารี 6. กระแสน้ำอุ่นบราซิล 7. กระแสน้ำเย็นเบงเก-ลา 8. กระแสน้ำเย็นลมตะวันตก 9. กระแสน้ำเย็นออสเตรเลียตะวันตก 10. กระแสน้ำอุ่นมาดากัสการ์
|
11. กระแสน้ำอุ่นโมซัมบิก 12. กระแสน้ำอุ่นออสเตรเลียตะวันออก 13. กระแสน้ำอุ่นกุโรชิโว 14. กระแสน้ำเย็นโอยาชิโว 15. กระแสน้ำเย็นชามชัตกา 16. กระแสน้ำเย็นฮัมโบลด์ (เย็นเปรู) 17. กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย 18. กระแสน้ำอุ่นอลาสกา 19. กระแสน้ำเย็นลาบราดอร์ 20. กระแสน้ำเย็นกรีนแลนด์ตะวันออก 21. กระแสน้ำอุ่นแปซิฟิกเหนือ |
||
อิทธิพลของกระแสน้ำในมหาสมุทร | |||
1. กระแสน้ำในมหาสมุทรมีอิทธิพลต่ออุณหภูมิบนพื้นโลก โดยกระแสน้ำจะช่วยในการถ่ายเทความร้อน จากละติจูดต่ำไปสู่ละติจูดกลางและละติจูดสูง กระแสน้ำอุ่นแอตแลนติกเหนือ ช่วยเพิ่มระดับอุณหภูมิบริเวณชายฝั่งในเขตละติจูดสูงให้สูงขึ้น เช่น ทำให้ชายฝั่งประเทศสหราชอาณาจักรมีอุณหภูมิไม่ลดลงต่ำมาก กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย ช่วยลดระดับอุณหภูมิบริเวณชายฝั่งในเขตละติจูดต่ำให้เย็นลง เช่น ทำให้บริเวณช่ายฝั่งแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา มีอุณหภูมิไม่สูงมากนัก ทั้งๆที่เป็นฤดูร้อน เป็นต้น |
|||
2. กระแสน้ำต่างชนิดกัน ถึงแม้ว้าจะไหลผ่านในละติจูดเดียวกัน อาจก่อให้เกิดภูมิอากาศที่แตกต่างกัน เช่น ในทวีปแอฟริกา มีกระแสน้ำเย็นไหลผ่านทางด้านตะวันตกของทวีป ส่งผลให้มีภูมิอากาศแห้งแล้งแบบทะเลทราย เช่น ทะเลทรายคาลาฮาลี ในประเทศนามิเบีย ส่วนทางด้านตะวันออกของทวีป มีกระแสน้ำอุ่นไหลผ่าน ส่งผลให้มีภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา ซึ่งมีความชุ่มชื้นมากกว่าด้านตะวันตกของทวีป เป็นต้น | |||
3. บริเวณที่มีกระแสน้ำเย็นและกระแสน้ำอุ่นไหลมาปะทะกัน จะมีแพลงค์ตอน phankton ซึ่งเป็นอาหารของปลาอยู่เป็นจำนวนมาก จึงเป็นแหล่งปลาชุกชุม มีประโยชน์ทางด้านการประมง เช่น บริเวณคูริลแบงค์ Kuril Bank ประเทศญี่ปุ่น เป็นบริเวณที่กระแสน้ำอุ่นกุโรชิโวและกระแสน้ำเย็นโอยาชิโว ไหลมาปะทะกัน แหล่งปลาชุมบริเวณทะเลเหนือ ดอกเกอร์แบงค์ Dogger Bank เป็นบริเวณที่กระแสน้ำอุ่นแอตแลนติกเหนือและกระแสน้ำเย็นเย็นกรีนแลนด์ตะวันออก ไหลมาปะทะกัน แหล่งปลาชุมบริเวณ กระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีม ไหลมาปะทะกับ กระแสน้ำเย็นลาบราดอร์ บริเวณเกาะนิวฟันด์แลนด์ เรียก แกรนแบงค์ Grand Bank | |||
Copyright By : Chalengsak
Chuaorrawan Sainampeung School 186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com Tel; 089-200-7752 mobile |
|
http://www.sainampeung.ac.th |