หน้าแรก | โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ |
|
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
|
||
สารบัญ | ||
หน่วยที่ 2 | ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ | |
บทที่ 6 | ส่วนประกอบของบรรยากาศ | |
ชั้นบรรยากาศ Atmosphere คือ อากาศที่ล้อมรอบโลก ด้วยชั้นบรรยากาศบางๆ อากาศมีสถานะเป็นแก๊สจึงมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชั้นบรรยากาศ ได้แก่ พลังงานจากดวงอาทิตย์ วงโคจรของโลก การหมุนรอบตัวเองของโลก ผืนแผ่นดินและพื้นน้ำ รวมทั้งสิ่งมีชีวิต ในทำนองกลับกันบรรยากาศก็ส่งอิทธิพลและผลกระทบต่อโลก รวมทั้งสิ่งมีชีวิตบนโลกด้วย ชั้นของอากาศที่ล้อมรอบโลกและด้วยแรงดึงดูดของโลกทำให้บรรยากาศคง สภาพอยู่ได้ |
||
บรรยากาศ ของโลกเราประกอบด้วย ไนโตรเจน 78.08% ออกซิเจน 20.95% และก๊าซเฉื่อยอื่นๆ เช่น อาร์กอน 0.93% คาร์บอนไดออกไซด์ 0.03% ที่เหลือคือ ก๊าซอื่นๆ อาทิ ก๊าซนีออน ฮีเลี่ยม ซีนอน ไฮโดรเจน มีเทน ไนตรัสออกไซต์ รวมฝุ่นละออง ควันและไอน้ำ |
||
ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) เป็นก๊าซที่ไม่มีสีและกลิ่น ละลายน้ำได้เล็กน้อย มีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ หรือเกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิงต่างๆ อุตสาหกรรมบางชนิด เป็นต้น ก๊าซนี้มีผลต่อระบบการมองเห็นและผู้ที่มีอาการหอบหืดหรือ โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ |
||
ออกซิเจน (Oxygenเป็นก๊าซที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของทั้งพืชและสัตว์รวมถึงมนุษย์ด้วยเพราะถ้าร่างกายขาดออกซิเจนเพียงไม่กี่นาทีก็เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ออกซิเจนเป็นธาตุที่สัญลักษณ์ คือ O มีเลขอะตอมเท่ากับ 8 มีความหนาแน่น 1.43 กรัม/ลิตร หนักกว่าอากาศเล็กน้อย เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ และมีปริมาณเป็นอันดับ 2 ในส่วนประกอบของบรรยากาศโลก อากาศที่เราหายใจจะมีออกซิเจนประมาณ 21% รองมาจากก๊าซไนโตรเจนที่มีอยู่ประมาณ 78% ออกซิเจนนอกจากจะอยู่ในอากาศแล้วยังพบอยู่รวมกับธาตุชนิดอื่นๆ รอบตัวเราอีกด้วย เช่น น้ำ (H2O) ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในสภาวะปกติออกซิเจนจะอยู่ในสถานะก๊าซ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรสชาติ ละลายน้ำได้ ไม่ติดไฟ แต่ทว่าออกซิเจนเป็นสารที่ช่วยให้ติดไฟ นั่นคือถ้าไม่มีออกซิเจนก็จะไม่สามารถติดไฟได้ |
||
ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) เป็นก๊าซที่ไม่มีสี หรืออาจมีสีเหลืองอ่อนๆ มีรสและกลิ่นที่ระดับความเข้มข้นสูง เกิดจากธรรมชาติและการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่มีกำมะถัน (ซัลเฟอร์) เป็นส่วนประกอบ สามารถละลายน้ำได้ดี สามารถรวมตัวกับสารมลพิษอื่นแล้วก่อตัวเป็นอนุภาคฝุ่นขนาดเล็กได้ ก๊าซนี้มีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพ ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุตา ผิวหนัง และระบบทางเดินหายใจ หากได้รับเป็นเวลานาน ๆ จะทำให้เป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังได้้ |
||
ก๊าซโอโซน (O3) เป็นก๊าซที่ไม่มีสีหรือมีสีฟ้าอ่อน มีกลิ่นฉุน ละลายน้ำได้เล็กน้อย เกิดขึ้นได้ทั้งในระดับบรรยากาศชั้นที่สูงจากผิวโลก และระดับชั้นบรรยากาศผิวโลกที่ใกล้พื้นดิน ก๊าซโอโซนที่เป็นสารมลพิษทางอากาศคือก๊าซโอโซนในชั้นบรรยากาศผิวโลก เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน และสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย โดยมีแสงแดดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา มีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยก่อให้เกิดการระคายเคืองตาและระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจและเยื่อบุต่างๆ ความสามารถในการทำงานของปอดลดลง เหนื่อยเร็ว โดยเฉพาะในเด็ก คนชรา และคนที่เป็นโรคปอดเรื้อรัง |
||
ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) เป็นก๊าซที่ไม่มีสี กลิ่น และรส เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเชื้อเพลิงที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ ก๊าซนี้สามารถสะสมอยู่ในร่างกายได้โดยจะไปรวมตัวกับฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงได้ดีกว่าออกซิเจนประมาณ 200-250 เท่า เมื่อหายใจเข้าไปทำให้ก๊าซชนิดนี้จะไปแย่งจับกับฮีโมโกลบินในเลือด เกิดเป็นคาร์บอกซีฮีโมโกลบิน (CoHb) ทำให้การลำเลียงออกซิเจนไปสู่เซลล์ต่างๆ ของร่างกายลดน้อยลง ส่งผลให้ร่างกายเกิดอาการอ่อนเพลีย และหัวใจทำงานหนักขึ้น |
||
ปรากฏการณ์การเคลื่อนตัวของเปลือกโลกและกระบวนการทางชีววิทยา ก่อให้เกิดการหมุนเวียนของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ปัจจุบันมีคาร์บอนไดออกไซด์คงเหลือในบรรยากาศจำนวนเล็กน้อย แต่ก็ยังความสำคัญมาก เพราะมันเป็นตัวควบคุมอุณหภูมิของพื้นโลก โดยอาศัย สภาวะเรือนกระจก เพิ่มอุณหภูมิพื้นผิวให้สูงขึ้นโดยเฉลี่ย 35 องศาเซลเซียส ถ้าไม่มีสภาวะเรือนกระจกจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว น้ำในมหาสมุทรจะแข็งตัว จนสิ่งมีชีวิตไม่สามารถดำรงอยู่ได้ | ||
การดำรงอยู่ของออกซิเจนเป็นสิ่งน่าทึ่งมาก เพราะตามปกติออกซิเจนจะไม่อยู่เพียงลำพัง มันเป็นธาตุที่ไวมาก จะทำปฏิกิริยาและผสมกับธาตุอื่น ๆ ที่อยู่แวดล้อมเสมอ ออกซิเจนในบรรยากาศของโลกดำรงอยู่ได้ โดยกระบวนการผลิตและรักษาทางชีวภาพ ถ้าไม่มีสิ่งชีวิตแล้ว ออกซิเจนในบรรยากาศก็ไม่สามารถดำรงอยู่ได้ แรงดึงดูดโต้ตอบ (interaction) ระหว่างโลกกับดวงจันทร์ ทำให้โลกหมุนช้าลงประมาณ 1/500 วินาทีต่อศตวรรษ จากการวิจัยพบว่า เมื่อ 900 ล้านปีมาแล้ว หนึ่งปีมี 481 วัน และหนึ่งวันมี 18 ชั่วโมง สนามแม่เหล็กของโลกไม่มีความรุนแรง มันกำเนิดจากกระแสไฟในแกนโลก เมื่อสนามแม่เหล็กของโลกปะทะกับลมสุริยะ บริเวณบรรยากาศชั้นบน ทำให้เกิดปรากฏการณ์แสงเหนือแสงใต้ หรือ ออโรร่า ลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นโดยมีปัจจัยที่ ขั้วแม่เหล็กโลก เคลื่อนที่สัมพัทธ์กับพื้นผิว ขั้วเหนือแม่เหล็กในปัจจุบันอยู่ทางตอนเหนือของประเทศแคนาดา |
||
Copyright By : Chalengsak
Chuaorrawan Sainampeung School 186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com Tel; 089-200-7752 mobile |
|
http://www.sainampeung.ac.th |