หน้าแรก | โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ |
|
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
|
||
สารบัญ | ||
หน่วยที่ 2 | ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ | |
บทที่ 6 | อุทกภาค Hydrosphere | |
บนโลกของเราส่วนที่เป็นพื้นน้ำมีอยู่ประมาณร้อยละ 71 ของพื้นที่ทั้งหมด ส่วนที่เป็นพื้นดินร้อยละ 29 ปริมาณน้ำทั้งหมดส่วนใหญ่เป็นน้ำเค็ม ร้อยละ 97 ส่วนที่เหลือเป็นน้ำจืด ร้อยละ 3 ปริมาณน้ำเค็มคือส่วนที่เป็นทะเลและมหาสมุทรมีอยู่ประมาณ 1.36 พันล้านลูกบาศก์กิโลเมตร น้ำเค็มส่วนใหญ่จะล้อมรอบทวีปต่างๆ ส่วนที่อยู่ขอบๆของมหาสมุทร เรียกว่า ทะเล sea ผิวหน้าของทะเลและมหาสมุทรมีลักษณะโค้งตามเปลือกโลก แบ่งมหาสมุทรออกเป็น 5 มหาสมุทรดังนี้ | ||
1. มหาสมุทรแปซิฟิก มีเนื้อที่ประมาณ 64.0 ล้านตารางไมล์ 2. มหาสมุทรแอตแลนติก มีเนื้อที่ประมาณ 28.4 ล้านตารางไมล์ 3. มหาสมุทรอินเดีย มีเนื้อที่ประมาณ 28.4 ล้านตารางไมล์ 4. มหาสมุทรแอนตาร์กติก มีเนื้อที่ประมาณ 12.5 ล้านตารางไมล์ 5. มหาสมุทรอาร์ติก มีเนื้อที่ประมาณ 5.4 ล้านตารางไมล์ เมื่อเปรียบเทียบกับส่วนที่เป็นทวีปหรือส่วนที่เป็นพื้นดินทั้งหมดบนโลก มีเนื้อที่ประมาณ 57.5 ล้านตารางไมล์ จะเห็นได้ว่าพื้นดินทั้งหมดยังน้อยกว่า มหาสมุทรแปซิฟิกเสียอีก |
||
บางคนอาจคิดว่ามหาสมุทรอาร์กติก เป็นทะเลขั้วโลก POLAR SEA ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิกและแอตแลนติก เพราะมีความลึกไม่มาก ความลึกของมมหาสมุทรแต่ละมมหาสมุทรก็แตกต่างกันมาก 1. มหาสมุทรแปซิฟิก มีความลึกประมาณ 14,000 ฟุต หรือ 4,280 เมตร จุดที่ลึกที่สุดของมหาสมุทรแปซิฟิก 10,911 เมตร 2. มหาสมุทรแอตแลนติก มีความลึกประมาณ 11,960 ฟุต หรือ 3,646 เมตร จุดที่ลึกที่สุดของมหาสมุทรแอตแลนติก 8,486 เมตร 3. มหาสมุทรอินเดีย มีความลึกประมาณ 12,270 ฟุต หรือ 3,741 เมตร จุดที่ลึกที่สุดของมหาสมุทรอินเดีย 7,906 เมตร 4. มหาสมุทรแอนตาร์กติก มีความลึกประมาณ 12,000 ฟุต หรือ 4,280 เมตร จุดที่ลึกที่สุดของมหาสมุทรใต้คือ 7,236 เมตร 5. มหาสมุทรอาร์ติก มีความลึกประมาณ 3,410 ฟุต หรือ 1,038 เมตร จุดที่ลึกที่สุดของมหาสมุทรอาร์กติกคือ 5,450 เมตร |
||
แหล่งน้ำผิวดิน แหล่งน้ำที่เรารู้จักและใช้ประโยชน์กันมากที่สุดคือ "น้ำผิวดิน" Surface water น้ำผิวดินมีทั้งน้ำเค็มและน้ำจืด แหล่งน้ำผิวดินที่เป็นน้ำจืดได้แก่ ทะเลสาบน้ำจืด แม่น้ำ ลำธาร ห้วย หนอง คลอง บึง เนื่องจากภูมิประเทศของพื้นผิวโลกไม่ราบเรียบเสมอกัน พื้นผิวของโลกแต่ละแห่งมีความแข็งแรงทนทานไม่เหมือนกัน แรงโน้มถ่วงทำให้น้ำไหลจากที่สูงลงที่ต่ำ น้ำมีสมบัติเป็นตัวทำละลายที่ดีจึงสามารถกัดเซาะพื้นผิวโลกให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิประเทศ |
||
การกัดเซาะของน้ำอย่างต่อเนื่อง ทำให้ร่องน้ำเปลี่ยนแปลงขนาด รูปร่าง และทิศทางการไหล เมื่อฝนตก หยดน้ำจะรวมตัวกันแล้วไหลทำให้เกิดร่องน้ำ ร่องน้ำเล็กๆ ไหลมารวมกันเป็น "ธารน้ำ" Stream เมื่อกระแสน้ำในธารน้ำไหลอย่างต่อเนื่องก็จะกัดเซาะพื้นผิวและพัดพาตะกอนขนาดต่างๆ ไปกับกระแสน้ำ ธารน้ำมีขนาดลึกและแตกต่างกัน ร่องน้ำเล็กๆ ที่ไหลไปรวมกันเป็นร่องน้ำขนาดใหญ่ เรียกว่า “แควสาขา” distributaries หลายๆ แควสาขาไหลมารวมกันมีขนาดใหญ่และยาวขึ้นจนกลายเป็น แม่น้ำ River แม่น้ำและแควสาขาทั้งหมดเรียกว่า ระบบแม่น้ำ river system | ||
ฉะนั้นพื้นที่ตั้งแต่ต้นน้ำ ธารน้ำ แควสาขา แม่น้ำไปจนถึงปากแม่น้ำ เรียกว่า “พื้นที่ลุ่มน้ำ” drainage basin ความเร็วของกระแสน้ำขึ้นอยู่กับความลาดชันของพื้นที่ ถ้าพื้นที่มีความลาดชันมากกระแสน้ำจะเคลื่อนที่เร็ว แต่ถ้าหากพื้นที่มีความลาดชันน้อยกระแสน้ำก็จะเคลื่อนที่ช้า นอกจากนั้นความเร็วของกระแสน้ำยังขึ้นอยู่กับพื้นที่หน้าตัด เข่น เมื่อกระแสน้ำไหลผ่านช่องเขาแคบๆ ก็จะเคลื่อนที่เร็ว เมื่อกระแสน้ำไหลมาถึงบริเวณที่ราบกว้างใหญ่ อาจเป็นบึง กระแสน้ำจะหยุดนิ่งทำให้ตะกอนที่น้ำพัดพามาก็จะตกทับถมใต้ท้องน้ำ ดังเราจะพบว่า อ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนที่มีอายุมากมักมีความตื้นเขินและเก็บกักน้ำได้น้อยลง อย่างไรก็ตามปริมาณของน้ำผิวดินขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิอากาศ ภูมิประเทศ ปริมาณน้ำฝน เนื้อดิน การใช้ประโยชน์ที่ดินและทรัพยากรน้ำ |
||
หนองน้ำ บึง และทะเลสาบ เป็นบริเวณแอ่งแผ่นดิน ที่มีน้ำขังอยู่ แอ่งแผ่นดินอาจเกิดจากการยุบตัวของเปลือกโลก หรือ น้ำขังบริเวณปากปล่องภูเขาไฟ ที่เรียกว่าทะเลสาบแคลดีรา caldera หรือ ทะเลสาบ ที่เกิดจากส่วนโค้งตวัดของแม่น้ำตัดขาดออกจากลำน้ำกลายเป็นทะเลสาบรูปแอก oxbow lake |
||
|
||
ธารน้ำแข็ง glacier เกิดจากการที่หิมะตกลงมาแล้วสะสมกันจนหนา 45-60 เมตร แล้วเกิดการเคลื่อนตัวลงมาอย่างช้า ๆ ซึ่งมักจะเกิดบริเวณที่ลาดชันหรือตามไหล่เขา การเคลื่อนตัวลงมาตามไหล่เขาอย่างช้า ๆ ทำให้เกิดการสึกกร่อนลึกลงไปเพราะความหนักของหิมะที่สะสมกันจนเป็นน้ำแข็ง ธารน้ำแข็งที่เคลื่อนตัวไปในหุบเขาจะทำให้พื้นดินที่รองรับเกิดร่องลึกและกว้างเพราะมีน้ำหนักของน้ำแข็งกดทับ ธารน้ำแข็งจะค่อย ๆ ครูดบริเวณที่รองรับจนเกิดหุบเขาตัดขวางรูปตัวยู เมื่อธารน้ำแข็งไหลไปถึงตอนล่างธารน้ำแข็งก็จะค่อย ๆ แตกออกแล้วก็จะค่อย ๆ ละลายกลายเป็นลำธาร ธารน้ำแข็งที่ถูกตัดขาดและแตกออกไหลลงทะเลเรียกว่า "ภูเขาน้ำแข็ง" iceberg รูปร่างของธารน้ำแข็งบนบกมักจะยกตัวสูงและมีความแตกต่างจาก น้ำแข็งในทะเล sea ice ที่มีขนาดบางมากและน้ำแข็งในทะเลสาบซึ่งรูปทรงของมันจะอยู่บนพื้นผิวของแผ่นน้ำ | ||
ธารน้ำแข็ง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ |
||
1. ธารน้ำแข็งหุบเขา valley glacier เป็นธารน้ำแข็งที่เกิดสะสมอยู่ในบริเวณหุบเขา จะเคลื่อนที่จากที่สูงลงสู่ ที่ต่ำ รูปร่างของธารน้ำแข็งจะเปลี่ยนแปลงไปตามหุบเขาที่เคลื่อนที่ผ่าน | ||
2. ธารน้ำแข็งภาคพื้นทวีป continental glacier เป็นธารน้ำแข็งที่บพอยู่บนภาคื้นทวีป ในเขตละติจูดสูง อาทิ ทวีปแอนตาร์กติกา บริเวณเกาะกรีนแลนด์ มีลักษณะเป็นพืดน้ำแข็ง ice sheet มีความหนาแตกต่างกัน บางพื้นที่อาจหนาถึง 3 กิโลเมตร รน้ำแข็งนี้อาจแผ่ขยายปกคลุมไปถึงชายฝั่งทะเล ทำให้เกิดเป็น "หิ้งน้ำแข็ง" ice shelf เมื่อ ธารน้ำแข็ง แตกออก แล้วไหลลงสู่ทะเล ล่องลอยไปตามกระแสน้ำ ในมหาสมุทร เราเรียกว่า "ภูเขาน้ำแข็ง" iceberg |
||
แหล่งน้ำในดิน บริเวณที่มีน้ำสะสมตัวอยู่เป็นปริมาณมาก โดยแหล่งน้ำในดินที่ดีควรจะเป็นชั้นหินที่มีโพรกตัวสูง ได้แก่ ชั้นกรวดทรายที่มีการทับถมกันใหม่ ๆ ยังไม่กลายเป็นหิน หินทรายที่มีความโพรกตัว หินปูนที่มีรอยร้าวและมีโพรงในหิน เราเรียกว่า “หินน้ำซึม” Aquifer |
||
น้ำในดินเกิดจากน้ำฝนที่ตกลงมาบางส่วนไหลหรือขังอยู่บนพื้นผิวโลก บางส่วนไหลซึมลงสู่ชั้นดินตามแรงโน้มถ่วงของโลก น้ำที่ซึมลงในดินหรือใต้ดินจะง่ายหรือยากขึ้นอยู่กับขนาดของช่องว่าระหว่านดินและหินหรือช่องว่างระหว่างอนุภาคที่เชื่อมต่อกัน ถ้าเป็นดินทรายหรือกรวดน้ำก็จะซึมผ่านได้ง่ายแทรกซึมอยู่ในชั้นดิน หรือหินตามช่องว่างจนเต็ม ถ้าเป็นชั้นดิน เรีกยกว่า ชั้นดินอิ่มน้ำ ถ้าเป็นชั้นหินใต้ดินหรือหินตะกอน เรียกว่า ชั้นหินอุ้มน้ำ aquifers บริเวณตอนบนสุดของชั้นดินอิ่มน้ำหรือชั้นหินอุ้มน้ำคือ ระดับน้ำใต้ดิน water table |
||
น้ำใต้ดินมี 2 ลักษณะ คือ | ||
1. น้ำใต้ดินระดับตื้น เป็นเขตที่มีปริมาณน้ำเปลี่ยนแปลตามฤดูกาลถ้าเป็นฤดูฝนระดับน้ำจะอยู่ตื้นเพราะจำมีน้ำเติมอยู่ตลอดเมื่อมีฝนตก น้ำจะซึมลงสู่ในดินทำให้ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น พอถึงฤดูแล้งระดับน้ำจะอยู่ลึกลงไป แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ |
||
1.1 เขตความชื้นในดิน เป็นเขตที่ ต้นไม้สามารถใช้รากดูดน้ำขึ้นมาใช้ในการเจริญเติมโตได้ | ||
1.2 เขตชั้นกลาง อยู่ถัดลงไปจากเขตความชื้นในดิน น้ำในเขตนี้เกาะดินด้วยแรงดึงดูดระหว่างอนุภาค | ||
มีการเคลื่อนไหวของน้ำน้อยและเป็นทางผ่านของน้ำไปยังเขตที่ลึกกว่า | ||
1.3 เขตน้ำซึม เป็นเขตที่รับน้ำมาจากเขตน้ำอิ่มตัวมีความหนาได้ถึง 3 เมตรมีปริมาณน้ำเต็มทุกช่องว่างในดินหรือหิน เรียกว่า น้ำบาดาล | ||
2. น้ำใต้ดินระดับลึก เขตน้ำอิ่มตัว เป็นเขตที่มีน้ำสะสมอยู่ในชั้นดินอิ่มน้ำหรือชั้นหินอุ้มน้ำมีปริมาณน้ำเต็มทุกช่องว่างในดินหรือหิน เรียกว่า น้ำบาดาล สำหรับการนำน้ำบาดาลมาใช้มี 3 ลักษณะ คือ | ||
บ่อน้ำบาดาล Deep Wells เป็นบ่อที่มีระดับความลึกมาก ๆ ในทางวิศวกรรมไม่สามารถกำหนดระดับความลึกได้แน่ชัด การนำน้ำขึ้นมาใช้ต้องใช้เครื่องมือช่วยขุด บางแห่งเมื่อขุดลงไป อาจมีปริมาณน้ำมากในช่วงแรกเท่านั้น เราไม่เรียกว่า "บ่อบาดาล" เรียกว่า "บ่อบาดาลปลอม" บ่อบาดาลควรมีปริมาณการให้น้ำตลอดเวลา เนื่องมาจากน้ำใต้ดินบริเวณรอบ ๆ บ่อจะไหลเข้ามาแทนที่ตลอดเวลา |
||
บ่อน้ำตื้น Shallow Wells เป็นบ่อที่ขุดขึ้นโดยไม่ลึกมากนัก โดยระดับความลึกแค่ผิวดินขึ้นบนเท่านั้น สามารถขุดเจาะได้เอง การขุดบ่อน้ำตื้นควรมีระยะห่างจากส้วมซึมประมาณ 20 เมตร เป็นอย่างต่ำ บ่อน้ำตื้น จะมีปริมาณน้ำเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาลและสภาพภูมิประเทศบริเวณนั้น |
||
ทางน้ำซับ Inflitration Galleries มีลักษณะเป็นน้ำใต้ดินที่ไหลซึมผ่านชั้นดินตามแนวดิ่งไปสะสมตัวในชั้นหิน |
||
Copyright By : Chalengsak
Chuaorrawan Sainampeung School 186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com Tel; 089-200-7752 mobile |
|
http://www.sainampeung.ac.th |