บรรยากาศ
หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
     
หน่วยที่ 2 ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์  
บทที่ 6 ชั้นบรรยากาศ Atmosphere  
     
  ชั้นบรรยากาศ  Atmosphereคือ อากาศที่ล้อมรอบโลก ด้วยชั้นบรรยากาศบางๆ อากาศมีสถานะเป็นแก๊ส จึงมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชั้นบรรยากาศ ได้แก่ พลังงานจากดวงอาทิตย์ วงโคจรของโลก การหมุนรอบตัวเองของโลก ผืนแผ่นดินและพื้นน้ำ รวมทั้งสิ่งมีชีวิต ในทำนองกลับกันบรรยากาศก็ส่งอิทธิพลและผลกระทบต่อโลก รวมทั้งสิ่งมีชีวิตบนโลกด้วย ชั้นของอากาศที่ล้อมรอบโลกและด้วยแรงดึงดูดของโลกทำให้บรรยากาศคง สภาพอยู่ได้ นักภูมิศาสตร์ แบ่งบรรยากาศ ออกเป็น 4 ชั้นตามอุณหภูมิ  
     
             โลกเป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวที่มีน้ำในสถานะของเหลว อยู่บนพื้นผิว แม้ว่าอาจมีอีเทนหรือมีเทนเหลวบนพื้นผิวของไททัน (Titan) หรือ น้ำในสถานะของเหลวใต้พื้นผิวของ ยูโรปา (Europa)
น้ำเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต น้ำในมหาสมุทรมีความสามารถในการเก็บความร้อน ช่วยรักษาอุณหภูมิของโลกให้คงที่ น้ำระเหยตัวขึ้นกลายเป็นเมฆ และกลั่นตัวกลับเป็นฝนตกลงมาสู่พื้นทวีป กระบวนการเช่นนี้มีแต่บนโลกของเราเท่านั้น ไม่มีบนดาวเคราะห์ดวงอื่น (แม้ว่ามันอาจเคยเกิดขึ้นบนดาวอังคารในอดีต) พื้นผิวโลกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่เป็นพื้นดิน มี 29 เปอร์เซนต์ เราเรียกว่า
ทวีป ส่วนพื้นผิวของโลกถูกปกคลุมด้วยน้ำ 71 เปอร์เซนต์
เราเรียกว่า
มหาสมุทร ดังนี้
 
     
  ทวีป
1. ทวีปเอเชีย
2. ทวีปแอฟริกา
3. ทวีปอเมริกาเหนือ
4. ทวีปอเมริกาใต้
5. ทวีปแอนตาร์กติกา
6. ทวีปยุโรป
7. ทวีปออสเตรเลีย
 
       
  มหาสมุทร
1. มหาสมุทรแปซิฟิก

2. มหาสมุทรแอตแลนติก
3. มหาสมุทรอินเดีย
4. มหาสมุทรอาร์กติก
5. มหาสมุทรแอนตาร์กติก
 
 

บรรยากาศ คือ ชั้น ของ อากาศที่ล้อมรอบโลกและด้วยแรงดึงดูดของโลกทำให้บรรยากาศคง สภาพอยู่ได้   บรรยากาศ มีความหนา 310 ไมล์ แบ่งออกเป็น 4 ชั้นตามอุณหภูมิ

  1. บรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์  Thermosphere
  2.  บรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ Stratosphere
  3. บรรยากาศชั้นเมโสสเฟียร์ Mesosphere
  4. บรรยากาศชั้นเทอร์โมสเฟียร์ Thermosphere
 

 

    exosphere                สูงมากกว่า500 ก.ม.
4. Thermosphere                    400-500 ก.ม.
 
3. Mesosphere                          80 ก.ม.
 
2. Stratosphere                         50 ก.ม
1. Troposphere                         10-12 ก.ม.
 
           อากาศในบรรยากาศแต่ละชั้นจะ แตกต่างกันแต่ในทุก ๆ ชั้นล้วนเป็นส่วนสำคัญ ของสิ่งแวดล้อมของโลกบรรยากาศ
           
           1. โทรโพสเฟียร์ troposphere เป็นชั้นบรรยากาศที่มีลักษณะดังนี้
           1.1  เริ่มตั้งแต่ผิวโลกขึ้นไปถึงระยะ 10 กิโลเมตร
           1.2  อุณหภูมิจะเปลี่ยนไปตามระดับความสูง โดยระดับอุณหภูมิจะลดลงตามระดับความสูง โดยทั่วไปจะลดลงประมาณ 6.5 องศาเซลเซียสต่อความสูงหนึ่งกิโลเมตร และมีลักษณะเฉพาะ คือ บริเวณที่อยู่เหนือภาคพื้นทวีปในฤดูร้อน บริเวณที่อยู่เหนือภาคพื้นมหาสมุทรในฤดูหนาว อุณหภูมิจะลดลงตามความสูงอย่างรวดเร็ว
           1.3  ในส่วนของโทรโพสเฟียร์ที่เป็นส่วนแคบๆ จะเกิดการผันกลับของอุณหภูมิ โดยอุณหภูมิจะลดลงตามระดับความสูง การผันกลับของอุณหภูมิจะเกิดขึ้นเหนือภาคพื้นทวีปในฤดูหนาวและเหนือมหาสมุทรในฤดูร้อน เนื่องจากการเย็นตัวของผิวดินด้วยการแผ่รังสี หรือจากการที่อากาศที่มีอุณหภูมิสูงสัมผัสกับผิวดินที่เย็นกว่า
           1.4  มีปรากฏการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นในบรรยากาศชั้นนี้ เช่น ลมพายุ ฝนฟ้าคะนอง ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า เป็นต้น
  
 
           2. สตราโทสเฟียร์ stratosphere เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่สูงถัดจากบรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์ขึ้นไปอีก 50 กิโลเมตร มีลักษณะเฉพาะที่ชัดเจน เช่น
           2.1 จะมีอุณหภูมิคงที่ในส่วนที่อยู่ติดกับชั้นโทรโพสเฟียร์ขึ้นไป 20 กิโลเมตร ถัดจากความสูง 20 กิโลเมตรนี้ไปอีก 10-15 กิโลเมตร หรือที่ความสูงจากชั้นโทรโพสเฟียร์ขึ้นไป 30-35 กิโลเมตรอุณหภูมิจะเพิ่มสูงขึ้น และต่อจากนั้นอุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยอัตรา 0.5 องศาเซลเซียสต่อความสูง 1 กิโลเมตร
           2.2  สตราโทสเฟียร์เป็นชั้นบรรยากาศที่มีความชื้นในระดับ ต่ำมาก มีปริมาณของฝุ่นละอองน้อย
           2.3  เป็นชั้นบรรยกาาศที่มีปริมาณก๊าซโอโซน (O3) เข้มข้นมาก
    
          3. มีโซสเฟียร์ mesophere เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่ถัดจากสตราโทสเฟียร์ขึ้นไปอีกเป็นระยะความสูงประมาณ 80 กิโลเมตร มีลักษณะเฉพาะก็คืออุณหภูมิของชั้นบรรยากาศ จะลดลงตามระดับของความสูงที่เพิ่มขึ้น มีโซสเฟียร์ Mesosphere สูงจากพื้นดิน 50 - 80 กิโลเมตรเหนือชั้นโอโซน อุณหภูมิจะลดลงตามความสูงที่เพิ่มขึ้น
โดยอาจต่ำได้ถึง  83 องศาเซลเซียส อุกกาบาตหรือชิ้นส่วนหินจากอวกาศที่ตกลงมามักถูกเผาไหม้ในชั้นนี้
การส่งคลื่นวิทยุทั่วๆ ไปก็ส่งในชั้นนี้เช่นกัน โดยอุณหภูมิจะลดลงตามความสูง มีอากาศเบาบางมาก แต่ก็มากพอที่จะทำให้ดาวตกเกิดการเผาไหม้ได้
 
    
          4. เทอร์โมสเฟียร์ thermosphere เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่ถัดจากมีโซสเฟียร์ขึ้นไปเป็นระยะความสูง 400-500 กิโลเมตร บางครั้งเรียกบรรยากาศชั้นนี้ว่า ไอโอโนสเฟียร์ Ionosphere มีลักษณะเฉพาะ มีสิ่งที่สำคัญคือ อิออน  มีอากาศเบาบางมากกว่าชั้นมีโซสเฟียร์ แต่เป็นชั้นหลักที่ช่วยดูดซับรังสี UV จากดวงอาทิตย์ ทำให้มีอุณหภูมิในชั้นนี้มากถึง 2,000 องศาเซลเซียส ที่ระดับความสูง 700 กม. อนุภาคในชั้นนี้เป็นอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าที่เรียกว่า "อิออน" ที่เกิดจากการแตกตัว เมื่ออนุภาคในสภาวะปกติถูกกระตุ้นด้วยรังสี อัลตราไวโอเลต หรือ รังสียูวี Ultraviolet หรือในชื่อภาษาไทยว่า  รังสีเหนือม่วง   UV จากดวงอาทิตย์ อิออน เหล่านี้จะมีคุณสมบัติสะท้อนคลื่นวิทยุได้ จึงเป็นชั้นที่ใช้ส่งสัญญาณวิทยุสื่อสาร รวมถึงการเกิดแสงเหนือและแสงใต้ หรือ "ออโรรา" Aurora ลักษณะเด่นของบรรยากาศชั้นนี้คือ
           4.1 ในระยะความสูง 100 กิโลเมตรแรก ระดับอุณหภูมิของชั้นบรรยากาศนี้จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และถัดจาก 100 กิโลเมตรแรกขึ้นไปอีกระดับ อุณหภูมิของชั้นบรรยากาศจะลดลงตามความสูงที่เพิ่มขึ้น
           4.2  ระดับอุณหภูมิของบรรยากาศชั้นนี้จะร้อนมาก โดยจะมีระดับอุณหภูมิสูงถึง 227-1,727 องศาเซลเซียส
           4.3  ปริมาณของอนุภาคต่างๆ มีความหนาแน่นน้อยมาก
           4.4  บรรยากาศชั้นนี้จะเป็นบริเวณที่บรรยากาศเปลี่ยนไปเป็นก๊าซระหว่างดวงดาวที่มีความเบาบางมาก ซึ่งเรียก เอกโซสเฟียร์ exosphere
    
             บรรยากาศของโลกเราประกอบด้วย ไนโตรเจน 77% ออกซิเจน 21% และก๊าซเฉื่อย เช่น อาร์กอน คาร์บอนไดออกไซด์และไอน้ำ ปรากฏการณ์การเคลื่อนตัวของเปลือกโลกและกระบวนการทางชีววิทยา ก่อให้เกิดการหมุนเวียนของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ปัจจุบันมีคาร์บอนไดออกไซด์คงเหลือในบรรยากาศจำนวนเล็กน้อย แต่ก็ยังความสำคัญมาก เพราะมันเป็นตัวควบคุมอุณหภูมิของพื้นโลก โดยอาศัย สภาวะเรือนกระจก เพิ่มอุณหภูมิพื้นผิวให้สูงขึ้นโดยเฉลี่ย 35 องศาเซลเซียส ถ้าไม่มีสภาวะเรือนกระจกจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว น้ำในมหาสมุทรจะแข็งตัว จนสิ่งมีชีวิตไม่สามารถดำรงอยู่ได้
การดำรงอยู่ของออกซิเจนเป็นสิ่งน่าทึ่งมาก เพราะตามปกติออกซิเจนจะไม่อยู่เพียงลำพัง มันเป็นธาตุที่ไวมาก จะทำปฏิกิริยาและผสมกับธาตุอื่น ๆ ที่อยู่แวดล้อมเสมอ ออกซิเจนในบรรยากาศของโลกดำรงอยู่ได้ โดยกระบวนการผลิตและรักษาทางชีวภาพ ถ้าไม่มีสิ่งชีวิตแล้ว ออกซิเจนในบรรยากาศก็ไม่สามารถดำรงอยู่ได้ แรงดึงดูดโต้ตอบ (interaction) ระหว่างโลกกับดวงจันทร์ ทำให้โลกหมุนช้าลงประมาณ 1/500 วินาทีต่อศตวรรษ จากการวิจัยพบว่า เมื่อ 900 ล้านปีมาแล้ว หนึ่งปีมี 481 วัน และหนึ่งวันมี 18 ชั่วโมง
    
 

สนามแม่เหล็กของโลกไม่มีความรุนแรง มันกำเนิดจากกระแสไฟในแกนโลก เมื่อสนามแม่เหล็กของโลกปะทะกับลมสุริยะ บริเวณบรรยากาศชั้นบน ทำให้เกิดปรากฏการณ์แสงเหนือแสงใต้ หรือ
Aurora ออโรร่า ลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นโดยมีปัจจัยที่ ขั้วแม่เหล็กโลก เคลื่อนที่สัมพัทธ์กับพื้นผิว ขั้วเหนือแม่เหล็กในปัจจุบันอยู่ทางตอนเหนือของประเทศแคนาดา
 Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Klongtoei Klongtoei Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile