หน้าแรก | โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ |
||
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
|
|||
สารบัญ | |||
หน่วยที่ 2 | ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ | ||
บทที่ 5 | กระบวนการเกิดภูมิประเทศ | ||
กระบวนการที่ทำให้เกิดลักษณะภูมิประเทศ | |||
โลกของเรามีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีการปรับระดับของเปลือกโลก จากการศึกษาลักษณะของเปลือกโลกและทฤษฎีต่างๆ พบว่า ปัจจัยที่ทำให้เปลือกโลกเปลี่ยนแปลงมี 3 ประการ คือ ปัจจัยที่สืบเนื่องมาจากกระบวนการจากภายนอกโลก extraterrestrial ปัจจัยที่สืบเนื่องมาจากพลังงานที่เกิดขึ้นภายในโลก tectonic process process และกระบวนการปรับระดับพื้นผิวโลก gradation process ทำให้เกิดลักษณะภูมิประเทศแบบต่างๆ ลักษณะภูมิประเทศแต่ละแบบนอกจากจะส่งผลโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงทางสภาพแวดล้อมแล้ว ยังส่งผลและมีปฏิสัมพันธ์ต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์อีกด้วย ดังนี้ 1. ความสัมพันธ์ต่อวิถีชีวิตของมนุษย์ ลักษณะภูมิประเทศที่เป็นปัจจัยส่งเสริม อาทิ บริเวณที่เป็นที่ราบมนุษย์จะตั้งถิ่นฐานอยู่อย่างหนาแน่น ส่วนที่เป็นอุปสรรค อาทิ ที่ราบสูงหรือภูเขามนุษย์จะตั้งถิ่นฐานอยู่เบาบาง 2. ความสัมพันธ์ต่อสภาพแวดล้อม ลักษณะภูมิประเทศมีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมใน 2 ลักษณะ ดังนี้ 2.1 ความสัมพันธ์ของสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติ อาทิ ภูมิประเทศแบบภูเขามักจะเป็นแหล่งที่มีทรัพยากรแร่ธาตุ มีป่าไม้ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า เป็นต้นกำเหนิดของแม่น้ำลำธาร 2.2 ความสัมพันธ์ของสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศ อาทิ ที่ยอดเขามีระดับอุณหภูมิต่ำกว่าเชิงเขา บริเวณขั้วโลกจะมีภูมิอากาศหนาวเย็น บริเวณศูนย์สูตรมักมีภูมิกากาศร้อนชื้น |
|||
กระบวนการสำคัญที่ส่งผลให้เกิดลักษณะภูมิประเทศของโลกทำให้พื้นผิวโลกและเปลือกโลกเปลี่ยนแปลงมีอยู่ 3 กลุ่ม ดังนี้ | |||
1. ปัจจัยที่สืบเนื่องมาจากกระบวนการจากภายนอกโลก extraterrestrial | |||
2. ปัจจัยที่สืบเนื่องมาจากพลังงานที่เกิดขึ้นภายในโลก tectonic process process | |||
3.กระบวนการปรับระดับพื้นผิวโลก gradation process | |||
3.กระบวนการปรับระดับพื้นผิวโลก gradation process | |||
กระบวนการปรับระดับผิวแผ่นดิน กระบวนการปรับระดับผิวแผ่นดินเป็นการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกอย่างช้า ๆ ทำให้ระดับพื้นผิวโลกมีระดับราบ หรือลาดสม่ำเสมอ อันเนื่องมาจากตัวการทางธรรมชาติที่สำคัญ เช่น น้ำไหล ลม ธารน้ำแข็ง คลื่น และกระแสน้ำ |
|||
3.1 การลดระดับ Degradation เป็นกระบวนการที่ปรับส่วนที่เป็นผิวโลกให้มีระดับต่ำลง โดยมีสาเหตุใหญ่ ๆ อยู่ 3 ประการ คือ |
|||
3.1.1. กระบวนการผุพังอยู่กับที่ Weathering Process เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดการทำลายน้ำทางกายภาพ ชีวภาพ กระบวนทางเคมีของลมฟ้าอากาศและน้ำฝน รวมทั้งการกระทำของต้นไม้และแบคทีเรีย ทำให้หินแร่ต่าง ๆ มีขนาดเล็กลง บางส่วนก็กลายเป็นดิน กระบวนการนี้จะเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ การผุพังอยู่กับที่เกิดขึ้นได้ 3 ประเภท คือ |
|||
1. การผุพังทางกายภาพ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสมบัติทางเคมีของหิน เช่น การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ 2. การผุพังทางเคมี เป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของแร่ประกอบหินที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมี ซึ่งเกิดขึ้นได้หลายแบบ เช่น การละลาย (solution) ออกซิเจนทำปฏิกิริยากับแร่ oxidation 3. การผุพังทางชีวะ เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นจากสิ่งมีชีวิต เช่น รากของพืชที่ซอกซอนรอยแยกของหินทำให้หินแตกออกมา |
|||
3.1.2. กระบวนการกัดกร่อนชะล้าง Erosion เป็นกระบวนการแตกสลายของชิ้นส่วนที่เกิดจาการผุพังอยู่กับที่ ซึ่งจะมีการถูกนำพาไปโดยตัวกลาง เช่น ทางน้ำไหล น้ำใต้ดิน ลม ธารน้ำแข็ง ฯลฯ |
|||
3.13. การถล่มของมวลสาร Mass Wasting เป็นกระบวนการที่ทำให้ชิ้นส่วนของหินที่เกิดอยู่กับที่เคลื่อนย้ายหรือถล่มไปตามความลาดเอียง ซึ่งอาศัยแรงดึงดูดของโลก ไม่ต้องอาศัยตัวกลางนำพา |
|||
3.2 การเพิ่มระดับ Aggradation เป็นกระบวนการปรับระดับของผิวโลกให้สูงขึ้น อาจจะเกิดจากการทับถมของตะกอนที่ถูกตัวกลางนำพามา เช่น ทางน้ำไหล คลื่น ลม ธารน้ำแข็ง ฯลฯ หรืออาจรวมถึงอิทธิพลของสิ่งมีชีวิตที่มีการทำให้เกิดการเพิ่มระดับ |
|||
กระบวนการที่ทำให้เกิดการปรับระดับผิวแผ่นดิน | |||
1. การผุพัง Weathering คือ การที่หินผุพังทำลายลงอยู่กับที่ มีตัวกระทำ จากลมฟ้าอากาศ สารละลาย และรวมทั้งการกระทำของต้นไม้ แบคทีเรีย ตลอดจนการแตกตัวทางกลศาสตร์ มีการเพิ่มอุณหภูมิและลดอุณหภูมิสลับกัน | |||
2. การกร่อน Erosion หมายถึง กระบวนการที่ทำให้สารเปลือกโลกหลุด ละลายไป หรือกร่อนไป โดยมีการเคลื่อนที่กระจัดกระจายไปจากที่เดิม ต้นเหตุ คือ ตัวการธรรมชาติ ซึ่งได้แก่ ลมฟ้าอากาศ กระแสน้ำ ธารน้ำแข็ง การครูดถู ภายใต้อิทธิพลของแรงโน้มถ่วง | |||
3. การพัดพา Transportation หมายถึง การเคลื่อนที่ของมวลหิน ดิน ทราย โดยกระแสน้ำ กระแสลม หรือธารน้ำแข็ง พัดพาวัตถุไป ภายใต้แรงดึงดูดของโลก อนุภาคขนาดเล็กจะถูกพัดพาให้เคลื่อนที่ไปได้ไกลกว่าอนุภาคขนาดใหญ่ | |||
4. การทับถม Deposit เกิดขึ้นเมื่อตัวกลางซึ่งทำให้เกิดการพัดพา เช่น กระแสน้ำ กระแสลม หรือธารน้ำแข็ง อ่อนกำลังลงและยุติลง ตะกอนที่ถูกพัดพาจะสะสมตัวทับถมกันเป็นชั้นๆ ทำให้ภูมิประเทศสูงขึ้น เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอุณหภูมิ ความกดดัน ปฏิกิริยาเคมี และเกิดการตกผลึก ตะกอนที่อยู่ชั้นล่างจะมีความหนาแน่นสูงและมีเนื้อละเอียดกว่าชั้นบน เนื่องจากแรงกดดันซึ่งเกิดขึ้นจากน้ำหนักตัวทับถมกัน | |||
3.2.1 ลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากการปรับระดับผิวแผ่นดิน | |||
1. ลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากการกระทำของน้ำและแม่น้ำ | |||
การกร่อน การพัดพา และการทับถม เป็นกระบวนการของแม่น้ำที่มีผลต่อลักษณะภูมิประเทศ โดยวิลเลียมเอ็ม. เดวิส William M. Davis นักธรณีวิทยาชาวอเมริกันได้อธิบายการเปลี่ยนแปลงของลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากการกระทำของแม่น้ำไว้ ดังนี้ | |||
1. แม่น้ำระยะเริ่มแรกหรือวัยอ่อน young age ลักษณะภูมิประเทศร่องน้ำจะมีความชันมาก มีหุบเขาลักษณะเป็นหน้าผาสูงชันมาก เป็นรูปตัววี V- shape valley น้ำจะไหลแรง จากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ ตามโครงสร้างลักษณะภูมิประเทศของหินเปลือกโลก บริเวณท้องน้ำจะขรุขระมีเกาะแก่งมาก อาจมีน้ำตก waterfallถ้าภูมิประเทศมีความต่างระดับกัน เพราะเป็นหน้าผา ภูมิประเทศจากการกระทำของแม่น้ำในวัยนี้ม่ปรากฏที่ราบน้ำท่วมถึง | |||
2. แม่น้ำวัยหนุ่ม mature age น้ำเริ่มไหลช้าลงและมีลักษณะคดเคี้ยว แม่น้ำจะกัดเซาะบริเวณตลิ่งมากขึ้น เริ่มปรากฏที่ราบน้ำท่วมถึงในบริเวณนี้ เมื่อระยะเวลาผ่านไป ความแรงของกระแสน้ำที่กัดเซาะตลิ่ง ทำให้หุบเขาขยายตัวออกทางด้านข้าง ความลาดชันลดลง เริ่มมีการตกตะกอนของเศษหินตามท้องน้ำ หุบเขาจากรูปตัววี V- shape valley ของแม่น้ำ เริ่มกลายไปรูปตัวยู U - shape valley แม่น้ำจะไหลคดเคี้ยว เริ่มปรากฏที่ราบน้ำท่วมถึง Flood plain ในบางบริเวณ | |||
3.แม่น้ำวัยชรา old age น้ำไหลช้ากว่าวัยหนุ่มและเกิดที่ราบน้ำท่วมถึงเป็นบริเวณกว้างจากการขยายตัวของแม่น้ำ แม่น้ำจะไหลโค้งมากขึ้น มีการตกตะกอนของวัตถุทำให้ท้องน้ำตื้น เกิดพื้นที่ราบน้ำท่วมถึง Flood plain บางส่วนของแม่น้ำเกิดการไหลเปลี่ยนทิศทาง ตัดตรง ทำให้เกิดภูมิประเทศ เป็นที่ราบบริเวณกว้าง ส่วนเส้นทางน้ำเดิมที่ถูกตัดขาด กลายเป็น ทะเลสาบรูปแอก oxbow lake บริเวณที่เป็นที่ราบน้ำท่วมถึง ในระยะสุดท้ายของลุ่มน้ำจะกลายเป็นที่ราบหรืออาจมีเนินเขาสลับกับที่ราบ บางบริเวณอาจมีภูเขาเหลืออยู่ เรียกว่า เขาโดด monadnock | |||
จากการกระทำของน้ำหรือแม่น้ำให้เกิดลักษณะภูมิประเทศต่างๆ ดังนี้ | |||
1. แก่ง rapids คือ ลักษณะของธารน้ำหรือแหล่งน้ำที่มีโขดหินหินก้อนเล็ก ก้อนใหญ่ กระจายโผล่ขึ้นมากลางแหล่งน้ำ ขวางกั้นตามท้องน้ำโดยที่ลักษณะฃองหินที่โผล่ขึ้นมากลางแหล่งน้ำจะมีลักษณะแตกต่างกัน ในบางครั้งทำให้กีดขวางการจราจรทางน้ำ | |||
2. น้ำตก waterfall ลักษณะภูมประเทศที่เกิดจากลำธาร ไหลผ่านบริเวณที่มีความลาดชัน มีการเปลี่ยนระดับ หรือ เกิดความแตกต่างของระดับธารน้ำ ทำให้ลักษณะการไหลของลำน้ำเปลี่ยนแปลงไป น้ำตกอาจไหลตกลงมาจากที่สูงหรือไหลลดหลั่นเป็นชั้น ๆ ก็ได้ | |||
3. หุบผาชัน canyon เกิดจากการกัดเซาะของน้ำบริเวณท้องน้ำอย่างรวดเร็วจนเป็นร่องลึก เหลือหน้าผาสูงชันทั้งสองด้าน | |||
4. ถ้ำ cave มักพบมากในบริเวณที่ภูเขามีลักษณะเป็นหินปูน ซึ่งน้ำใต้ดินและน้ำฝนที่มีคุณสมบัติเป็นกรดอ่อนจะค่อย ๆ กัดกร่อนหินปูนให้กลายเป็นช่องหรือโพรงขนาดใหญ่ และพัฒนามาเป็นถ้ำ และในถ้ำยังพบหินงอก stalagmite และหินย้อย stalactite | |||
5. ที่ราบน้ำท่วมถึง Flood plain เป็นที่ราบลุ่มที่อยู่ตามฝั่งของแม่น้ำในระยะวัยหนุ่มและวัยชรา เกิดจากการทับถมของตะกอนในช่วงน้ำหลาก ทำให้น้ำตื้นเขินเกิดเป็นที่ราบ | |||
6. ตะกอนน้ำพารูปพัด alluvial fan เกิดจากการสะสมตัวของตะกอน จากทางน้ำที่ไหลจากหุบเขาชันลงสู่พื้นราบ เมื่อความเร็วของกระแสน้ำลดลงจนไม่สามารถนำพาตะกอนบางส่วนต่อไปได้ ตะกอนดังกล่าวจึงตกสะสมบริเวณใกล้กับเนินเขาในลักษณะที่กระจายออกไปรอบข้างเป็นรูปพัด ตะกอนประกอบด้วยชั้นทรายสลับกับชั้นกรวดและดินเคลย์ ที่แยกกระจายออกไปรอบข้างเป็นรูปพัด ถ้าตะกอนสะสมตัวพูนสูงขึ้นจนเป็นรูปกรวยผ่าครึ่งตามยาว เรียกว่า เนินตะกอนน้ำพารูปกรวย ถ้าตะกอนส่วนใหญ่มีเนื้อหยาบ เรียกว่า เนินตะกอนหยาบรูปกรวย | |||
7. ดินดอนสามเหลี่ยม delta หรือ ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ river delta จะเกิดกับแม่น้ำที่พัดพาเอาตะกอนขนาดเล็ก ๆ จำพวกทรายละเอียดและโคลนมากับลำน้ำเป็นปริมาณมาก แล้วมาตกตะกอนทับถมกันบริเวณปากแม่น้ำ เมื่อแม่น้ำไหลลงสู่ทะเลหรือทะเลสาบ ความเร็วของน้ำในแม่น้ำจะลดลงและตะกอนที่แม่น้ำพัดมาจะค่อย ๆ สะสมตัวบริเวณดังกล่าว ในกรณีที่กระแสน้ำขึ้นลงไม่ส่งอิทธิพลรุนแรง แม่น้ำก็จะพัดพาเอาตะกอนมาสะสมอยู่เรื่อย ๆ โดยทรายหยาบจะตกตะกอนลงเป็นพวกแรกและนาน ๆ เข้าก็จะปรากฏเป็นสันทรายบริเวณปากแม่น้ำ ในที่สุดแม่น้ำก็จะแตกแขนงออกเป็นสองสาขาในเวลาต่อมา แม่น้ำทั้งสองสาขาก็จะถูกปิดกั้นด้วยสันทราย ทำให้สาขาแม่น้ำแตกออกเป็นสาขาลำน้ำย่อยลงไปอีก ดินดอนโดยทั่วไปมักมีสาขาของลำน้ำที่แตกแขนงจากแม่น้ำใหญ่ โดยปกติแล้วแม่น้ำทุกสายที่ไหลลงทะเลหรือทะเลสาบจะมีดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเกิดขึ้นเสมอ ที่เราเรียกกันว่า "เดลต้า" delta เพราะว่าบริเวณดังกล่าวมีรูปร่างคล้าย สามเหลี่ยม ซึ่งถึงแม้ว่าดินดอนจะไม่เป็นรูปสามเหลี่ยมนักภูมิศาสตร์โดยทั่วไปก็เรียกว่า "delta" เช่น ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระ ในประเทศไทย ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำคงคา ในอินเดียและบังคลาเทศ ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีสในอิรัก ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง เดลต้าปากแม่น้ำไนล์ ประเทศอียิปต์ | |||
2. ลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากการกระทำของลม | |||
การกระทำของลมที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบนพื้นผิวโลก ได้แก่ การกร่อน การพัดพา และการทับถม ทำให้เกิดลักษณะภูมิประเทศแบบต่าง ๆ เช่น | |||
1. แอ่งในทะเลทราย ลมจะพัดพาเอาวัตถุที่อยู่ตามพื้นผิวดินหรือทะเลทรายขึ้นมา จนทำให้เกิดแอ่งขนาดเล็ก 2. เขาโดดในทะเลทราย inselberg เกิดจากการกร่อน โดยลมกระทำต่อภูเขาที่ตั้งอยู่โดดเดี่ยวในทะเลทรายจนทำให้รูปร่างเปลี่ยนแปลงไป 3. เนินทรายหรือสันทราย sand dune เกิดจากลักษณะแผ่นดินที่ตั้งขวางทิศทางลม ทำให้ลมพัดทรายละเอียดมาทับถมกันบริเวณด้านหน้าของสิ่งที่กั้นขวาง 4. ดินเลิสส์ loess หรือ ดินลมหอบ เกิดจากลมพัดพาตะกอนดินมาจากเขตพื้นที่แห้งแล้งมาทับถมกัน |
|||
3. ลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากการกระทำของธารน้ำแข็ง | |||
ธารน้ำแข็งเกิดจากหิมะ ที่ตกทับถมและจับตัวเป็นเนื้อเดียวกัน หิมะเหล่านี้ เกิดขึ้นเนื่องจาก ไอน้ำในอากาศเปลี่ยนสถาวะเป็นผลึกน้ำแข็งเล็กๆ ในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า จุดเยือกแข็ง ตามแนวระดับต่ำสุดของพื้นที่ ทีอุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส ทำให้พื้นที่มีหิมะปกคลุมอยู่ตลอดทั้งปี หรือที่เรียกว่า เส้นขอบหิมะ SNOW LINE สามารถพบ แนวหิมะ ตามละติจู และเขตเทือกเขาสูงที่แตกต่างกัน | |||
ในเขตละติจูดสูง บริเวณขั้วโลก เส้นขอบหิมะ จะอยู่ระดับน้ำทะเล | |||
ในเขตละติจูดกลาง บริเวณใกล้ขั้วโลก เส้นขอบหิมะ จะอยู่ใกล้ระดับน้ำทะเล | |||
ในเขตละติจูดต่ำ บริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตร เส้นขอบหิมะ จะอยู่สูงขึ้นไป ประมาณ 15,000 ฟุต จากระดับน้ำทะเล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งละติจูด และ ความสูงของเทือกเขา ตลอดจนระดับขอบหิมะจะต่ำลง หรือ สูงขึ้น ขึ้นอยู่กับฤดูกาลด้วย อาทิ ในฤดูหนาว SNOW LINE จะอยู่ต่ำลงมา ส่วนฤดูร้อน SNOW LINE จะอยู่สูงขึ้นไป | |||
ธารน้ำแข็งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ | |||
1. ธารน้ำแข็งหุบเขา valley glacier | |||
2. ธารน้ำแข็งภาคพื้นทวีป continental glacier | |||
1. ธารน้ำแข็งหุบเขา valley glacier เป็นน้ำแข็งที่เกิดจากการสะสมตัวของหิมะแล้วไหลลงมาตามหุบเขา ทำให้เกิดลักษณะภูมิประเทศรูปแบบต่าง ๆ เช่น | |||
เซิร์ก cirque เป็นคำภาษาฝรั่งเศส คือลักษณะภูมิประเทศไหล่เขาชัน รูปอัฒจันทร์โค้ง หรือ แอ่งรูปครึ่งวงกลม ในบริเวณหน้าผาชัน พบบริเวณตอนยอดของธารหิมะ เกิดจากธารน้ำแข็งกัดเซาะไหล่เขาให้เป็นแอ่งลึกเข้าไป เมื่อธารน้ำแข็งละลาย บริเวณแอ่งมีน้ำขังอยู่จะมีลักษณะเป็นทะเลสาบ เรียกว่า ทาร์น tarn | |||
อาแรต arête อยู่ระหว่างแอ่งเซิร์ก 2 แห่ง มักมีลักษณะสันเขาหยักแหลม ๆ เหนือระดับหิมะเกิดขึ้นเนื่องจาก การเกิด เซิร์ก ในบริเวณใกล้เคียงพื้นที่ลาดเขา ที่มีธารน้ำแข็งกัดเซาะ จึงทำให้หินแตกพังทะลาย ขอบแอ่งมีลักษณะคล้ายสันมีด หรือ อาจเกิดจากเซิร์กหรือ แอ่ง 2 แอ่ง เกิดใกล้กัน จนขอบแอ่งหน้าผา 2 ด้านประกิบติดกัน ทำให้เกิดมีลักษณะเป็นสันขึ้นมา | |||
ฮอร์น horn คือบริเวณที่มีแอ่งเซิร์ก 3 แอ่ง หรือมากกว่านั้นหันหลังชนกัน จะเกิดยอดเขาแหลมรูปพีระมิดสูง เกิดขึ้นเนื่องจาก การกระทำของธารน้ำแข็ง เป็นจำนวนมากที่ไหลจากภูเขา และ ขูดกัด ลาดเขาให้เป็นแอ่งลึก ทำให้เหลือบริเวณ ตรงกลางและสันเขาโดยรอบสูงชัน คล้ายรูปปิรามิด ด้วยเหตุนี้ จึงอาจเรียก ได้อีกชื่อ หนึ่ง ว่า ยอดเขารูปปิรามิด ภูเขารูปทำนองนี้ มักจะมีคำว่า ฮอร์น อยู่ด้วย อาทิ เวตเตอร์ฮอร์น Weter horn ตั้งอยู่ตอนกลางของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ แมทเทอร์ฮอร์น Matterhorn หินทรงพีระมิดที่สูงเด่นเป็นสง่าท่ามกลางเทือกเขาแอลป์อันลือลั่น ด้วยความสูง 4,447 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล และรูปทรงสามเหลี่ยมพีรามิด ณ จุดบนสุดของยอดเขา | |||
หุบเขาธารน้ำแข็ง glacial trough คือบริเวณหุบเขาที่มีลักษณะลึกและกว้าง ขอบสูงชันคล้ายตัวยู U-Shape valley ถ้าหุบเขานี้ เกิดบนภูเขาที่ตั้งอยู่ติดริมฝั่งทะเล มีลักษณะเป็นหุบเขาแคบ ๆ มีหน้าผาสูงชัน พื้นที่หุบเขาอาจอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล เมื่อธารน้ำแข็งละลาย ทำให้น้ำทะเลไหลท่วมเข้าไป จึงทำให้เกิดเป็นอ่าวเล็กๆ มีลักษณะแคบและยาวลึกเข้าไป ในระหว่างหน้าผาสูงชัน ลักษณะแบบนี้เรียกว่า ฟยอร์ด fiord จะพบลักษณะภูมิประเทศแบบนี้ เช่น บริเวณชายฝั่งตะวันตกของ คาบสมุทรสแกนดิเนเวียร์ ประเทศนอร์เวย์ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะใต้ ประเทศนิวซีแลนด์ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศชิลี สก็อตแลนด์ ไอซแลนด์ เกาะกรีนแลนด์ นิวฟันด์แลนด์ คาบสมุทรลาบราดอร์ รัฐวอชิงตัน อะแลสกา บริติชโคลัมเบีย |
|||
2. ธารน้ำแข็งภาคพื้นทวีป continental glacier พบอยู่บนภาคพื้นทวีปในเขตละติจูดสูง ลักษณะภูมิประเทศที่เกิดขึ้นมักเกิดจากการกร่อน พัดพา และการทับถม | |||
ลักษณะภูมิประเทศ ที่เกิดจากการทบถมของธารน้ำแข็ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเภทธารน้ำแข็งทวีป หรือพืดน้ำแข็งมีหลายรูปแบบต่างๆกัน อาทิ | |||
ทะเลสาบธารน้ำแข็ง glacier lake เกิดจากการกัดกร่อนของธารน้ำแข็งจนทำให้เป็นหลุม เมื่อธารน้ำแข็งละลาย จึงมีน้ำขังอยู่ จึงกลายเป็นทะเลสาบ ตัวอย่าง อาทิ ทะเลสาบในประเทศฟินแลนด์ ทวีปยุโรป ทะเลสาบในประเทศแคนาดา ทวีปอเมริกาเหนือ | |||
แพเศษหินธารน้ำแข็ง Moraine คือเศษหินที่แตกหลุดออกมาจากเขาหินสองฟากฝั่งธารน้ำแข็ง ลงมาสะสมอยู่บนธารน้ำแข็งที่อยู่เบื้องล่าง เมื่อธารน้ำแข็ง เคลื่อนตัวลงสู่ที่ต่ำ ก็พาเอาเศษแพหินเล่านี้ลอยไปด้วย แพเศษหินที่เยียดยาวเป็นแนวตามขอบซ้าย ขวา ของธารน้ำแข็ง เรียกว่า แพเศษหินธารน้ำแข็งข้างธาร La-Teral Moraine ถ้าธารน้ำแข็งสองธารไหลมาบรรจบกัน แพเศษหินข้างธารของธารหนึ่งเคลื่อนมารวมเข้ากับแพเศษหินของอีกธารหนึ่ง ทำให้กลายเป็น แพเศษหินกลางธาร Medial Moraine แพเศษหินธารน้ำแข็งที่ตกจมอยู่ปลายธารน้ำแข็งซึ่งละลาย เรียกว่า สิ่งตกจมพื้นธารน้ำแข็งปลายธาร Terminal Morainr กลายเป็นที่ราบเศษหินธารน้ำแข็ง | |||
ที่ราบเศษหินธารน้ำแข็ง outwash plain เกิดจากเศษดินเศษหินที่ธารน้ำแข็งพัดพามาทับถมมักพบในบริเวณปลายธารน้ำแข็ง | |||
เนินกรวดท้ายธารน้ำแข็ง Esker คือเนินกรวดที่มีลักษณะเป็นสันซึ่งคดเคี้ยวท้ายเรียว ไปมาของทรายและกรวด เกิดขึ้นเนื่องจากตอนท้ายธารน้ำแข็ง มีน้ำแข็งละลายไหลเป็นช่องอยู่ภายใต้ และได้นำพาเอากรวดทรายไปทับถมกันเป็นชั้นตามขนาด ลักษณะเป็นแนวยาว สะสมตัว จากทางน้ำที่ไหลอยู่ในโพรง ใต้ธารน้ำแข็ง สูงประมาณ 3-15 เมตร อาจสูงได้ถึง 30 เมตรในบางครั้ง และอาจยาวได้ถึง 160 กิโลเมตร กว้างเพียง 2-3 เมตรจะปรากฏอย่างชัดเจนต่อเมื่อธารน้ำแข็งละลายไปหมดแล้ว เรียกภูมิประเทศแบบนี้ว่า เนินกรวดท้ายธารน้ำแข็ง หรือ เอสเกอร์ Esker | |||
4. ลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากการกระทำของคลื่นและกระแสน้ำ | |||
การกระทำของคลื่นและกระแสน้ำที่ก่อให้เกิดลักษณะภูมิประเทศ ได้แก่ การกร่อน การพัดพา และการทับถม ทำให้เกิดลักษณะภูมิประเทศที่สำคัญ เช่น | |||
1. แหลม cape และอ่าว bay ส่วนหินแข็งที่ยื่นออกไปในทะเล เรียกว่า แหลม ส่วนบริเวณที่ถูกกัดเซาะเว้าเข้าไปในแผ่นดิน เรียกว่า อ่าว 2. หน้าผาสูงชันริมทะเล sea cliff และโพรงหินชายฝั่ง sea cave เกิดจากการกัดเซาะของคลื่น ทำให้เกิดเป็นหน้าผาสูงชัน ถ้าบริเวณหน้าผาชายทะเลถูกคลื่นกัดเซาะบริเวณฐานของหน้าผา เรียกว่า โพรงหินชายฝั่ง 3. ซุ้มหินชายฝั่ง sea arch มักเกิดขึ้นบริเวณหัวแหลม โดยกระแสน้ำจะกัดเซาะจนทำให้เกิดเป็นโพรงหิน เมื่อโพรงนี้ทะลุจะมีเป็นลักษณะเหมือนสะพานโค้งอยู่เหนือน้ำ 4. หาดทราย beach เกิดขึ้นจากการทับถมของกรวดทรายที่คลื่นพัดพามา 5. สันดอน bar เกิดจากคลื่นและกระแสน้ำพัดพาเอากรวด ทรายมาทับถมขวางทางไว้ เมื่อนานเข้าจะปรากฏเป็นเนินสูงพ้นจากพื้นน้ำ 6. ที่ราบชายฝั่ง coastal plain เกิดจากคลื่นและกระแสน้ำพัดพาเศษวัตถุจากทะเลเข้ามาทับถมไว้ที่ชายฝั่ง ทำให้เกิดเป็นที่ราบ |
|||
Copyright By : Chalengsak
Chuaorrawan Sainampeung School 186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com Tel; 089-200-7752 mobile |
|
http://www.sainampeung.ac.th |