หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
     
หน่วยที่ 2 ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์  
บทที่ 5 กระบวนการเกิดภูมิประเทศ  
 
 
     
  กระบวนการที่ทำให้เกิดลักษณะภูมิประเทศ  
             โลกของเรามีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีการปรับระดับของเปลือกโลก จากการศึกษาลักษณะของเปลือกโลกและทฤษฎีต่างๆ พบว่า ปัจจัยที่ทำให้เปลือกโลกเปลี่ยนแปลงมี 3 ประการ คือ ปัจจัยที่สืบเนื่องมาจากกระบวนการจากภายนอกโลก extraterrestrial  ปัจจัยที่สืบเนื่องมาจากพลังงานที่เกิดขึ้นภายในโลก tectonic process  process และกระบวนการปรับระดับพื้นผิวโลก gradation process  ทำให้เกิดลักษณะภูมิประเทศแบบต่างๆ ลักษณะภูมิประเทศแต่ละแบบนอกจากจะส่งผลโดยตรง ต่อการเปลี่ยนแปลงทางสภาพแวดล้อมแล้ว ยังส่งผลและมีปฏิสัมพันธ์ต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์อีกด้วย ดังนี้  
     
     1. ความสัมพันธ์ต่อวิถีชีวิตของมนุษย์ ลักษณะภูมิประเทศที่เป็นปัจจัยส่งเสริม อาทิ บริเวณที่เป็นที่ราบมนุษย์จะตั้งถิ่นฐานอยู่อย่างหนาแน่น ส่วนที่เป็นอุปสรรค อาทิ ที่ราบสูงหรือภูเขามนุษย์จะตั้งถิ่นฐานอยู่เบาบาง
   2. ความสัมพันธ์ต่อสภาพแวดล้อม ลักษณะภูมิประเทศมีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมใน 2 ลักษณะ ดังนี้
       2.1 ความสัมพันธ์ของสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติ อาทิ ภูมิประเทศแบบภูเขามักจะเป็นแหล่งที่มีทรัพยากรแร่ธาตุ มีป่าไม้ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า เป็นต้นกำเหนิดของแม่น้ำลำธาร
       2.2 ความสัมพันธ์ของสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศ อาทิ ที่ยอดเขามีระดับอุณหภูมิต่ำกว่าเชิงเขา บริเวณขั้วโลกจะมีภูมิอากาศหนาวเย็น บริเวณศูนย์สูตรมักมีภูมิกากาศร้อนชื้น
 
     
  กระบวนการสำคัญที่ส่งผลให้เกิดลักษณะภูมิประเทศของโลกทำให้พื้นผิวโลกและเปลือกโลกเปลี่ยนแปลงมีอยู่ 3 กลุ่ม ดังนี้  
     
  1. ปัจจัยที่สืบเนื่องมาจากกระบวนการจากภายนอกโลก extraterrestrial   
     
  2. ปัจจัยที่สืบเนื่องมาจากพลังงานที่เกิดขึ้นภายในโลก tectonic process    
     
  3.กระบวนการปรับระดับพื้นผิวโลก gradation process   
     
  2. ปัจจัยที่สืบเนื่องมาจากพลังงานที่เกิดขึ้นภายในโลก tectonic process    
     
  กระบวนการแปรสัณฐาน tectonic process
          เป็นกระบวนการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกอันเป็นผลจากแรงที่กระทำต่อเปลือกโลก แล้วทำให้โครงสร้างของหินที่ประกอบเป็นเปลือกโลกเกิดการแปรสภาพไปเป็นภูมิประเทศแบบต่าง ๆ เช่น มหาสมุทร ที่ราบสูง ภูเขา แอ่ง ที่ราบ ทะเลสาบ
 
     
  กระบวนการแปรสัณฐาน  tectonic  process  ส่งผลให้โครงสร้างของหินที่ประกอบอยู่ในเปลือกโลกแปรสภาพไปจากเดิมแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดคือ  
  2.1 การแปรสัณฐานเปลือกโลก diastrophism  (ไดแอสโตรฟิซึม)
2.2 ปรากฏการณ์ภูเขาไฟ vulcanism
 
     
  2.1. การแปรสัณฐานเปลือกโลก diastrophism  (ไดแอสโตรฟิซึม)  
  การแปรสัณฐานเปลือกโลก diastrophism  ส่งผลให้เกิดรูปแบบภูมิประเทศที่แตกต่างกัน 4 ประเภทได้แก่  
 
  1. การเกิดรอยคดโค้งของหินหรือชั้นหินคดโค้ง  fold
  2. การเกิดรอยเลื่อนตามแนวของเปลือกโลก  fault
  3. การเกิดแผ่นดินโก่งตัวของเปลือกโลก  warping
  4. การเกิดแนวแตกของเนื้อหิน   joint
 
     
  2.1.1 การเกิดรอยคดโค้งของหินหรือชั้นหินคดโค้ง  fold  
     
   เกิดจากแรงดันภายในเปลือกโลก ทำให้เปลือกโลกบีบอัดกันจนโค้งงอ แล้วเกิดเป็นภูเขา แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่
          1. ชั้นหินโค้งรูปประทุน anticline ชั้นหินที่อยู่บริเวณใจกลางจะมีอายุแก่ที่สุด
          2. ชั้นหินโค้งรูปประทุนหงาย syncline ชั้นหินที่อยู่บริเวณใจกลางจะมีอายุอ่อนที่สุด
 
     
   
     
  2.1.2 การเกิดรอยเลื่อนตามแนวของเปลือกโลก  fault  
     
               รอยเลื่อน หรือรอยเหลื่อม คือ รอยแตกแยกในหิน เกิดจากบริเวณเปลือกโลกที่มีความอ่อนตัว เกิดความเค้นและความเครียด จนทำให้เปลือกโลกเคลื่อนไหว และแยกออกจากกัน การเคลื่อนที่ของหินทั้งสองข้าง โดยขนานกับระนาบรอยเลื่อน  fault plane  ลักษณะของระนาบรอยเลื่อนนี้อาจเป็นระนาบที่อยู่ในแนวดิ่งไปจนถึงแนวราบได้ ถ้าระนาบของรอยแตกมีค่าเบี่ยงไปจากแนวดิ่ง ชั้นหินที่อยู่เหนือระนาบของรอยแตก เรียกว่า หินเพดาน hanging wall ส่วนหินที่อยู่ด้านล่างระนาบของรอยแตกเรียกว่า หินพื้น  foot wall
การเกิดรอยเลื่อนโดยทั่วไปมี 2 ทิศทาง ได้แก่
 
     
  2.1.2.1. การเกิดรอยเลื่อนในแนวดิ่ง มี 2 แบบ คือ
             1. รอยเลื่อนปกติ normal fault เกิดจากแรงดึงออกจากกันของหินสองฟาก ทำให้เกิดหน้าผารอยเลื่อนที่มีความสูงชัน
             2. รอยเลื่อนย้อน reverse fault เกิดจากแรงดันเข้าหากันของหินสองฟาก ทำให้เกิดหน้าผาซึ่งมักถล่มได้ง่าย
ลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากรอยเลื่อนปกติมี 2 แบบ ได้แก่ หุบเขาทรุด หรือ กราเบน graben ซึ่งมีลักษณะเป็นแอ่งราบที่เกิดจากการทรุดตัวตามแนวรอยเลื่อน ตัวอย่างภูมิประเทศ ได้แแก่ แอ่งทะเลแดง อ่าวเอเดน ทะเลสาบไบคาล รัสเซีย ทะเลสาบเดดซี ในซีเรียและพื้นที่ยกตัวขึ้นตามแนวรอยเลื่อน ซึ่งมีลักษณะเป็นภูเขาสูงที่ขนาบด้วยหน้าผารอยเลื่อนที่เรียกว่า ฮอสต์ horst หรือ ภูเขาบล็อก บริเวณที่ยกตัวสูงหากมีพื้นที่กว้างขวางเรียกว่า ที่ราบสูง plateau
ตัวอย่างภูมิประเทศลักษณะที่เป็นฮอสต์ horst หรือ ภูเขาบล็อก ได้แก่ เทือกเขาเซียร์ราเนวาดา  Sierra  Nevadaในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา เทือกเขาเซียร์ราเนวาดาในสเปน  แบล็กฟอเรสต์  Black Forest  ในบริเวณไรน์แลนด์  Rhinelandประเทศเยอรมนี เทือกเขาโวฌ Vosges Mountains ประเทศฝรั่งเศส
ตัวอย่างภูมิประเทศลักษณะที่เป็นที่ราบสูง plateau ได้แก่ ที่ราบสูงปาตาโกเนีย Patagonia ในอาร์เจนตินา -ชิลี  ที่ราบสูงเดคคาน Deccan Plateau ในอินเดีย
 
     
   
     
   
     
  2.1.2.2. การเกิดรอยเลื่อนในแนวนอน เรียกอีกอย่างว่า รอยเลื่อนแนวระดับ strike fault เกิดจากการเคลื่อนตัวไปทางด้านข้างขนาน กับ แนวระดับของชั้นหินที่เลื่อนไป เมื่อแผ่นเปลือกโลกทั้งสอง เคลื่อนที่สวนกันจะทาให้เกิดรอยเลื่อนขนาดใหญ่ขึ้น และหากแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่กระทบกันอย่างรุนแรงจะทาให้เกิดการสั่นสะเทือนและเกิดแผ่นดินไหวขึ้นได้ แต่มักจะไม่พบภูเขาไฟ  
     
   
     
  2.1.3 การเกิดแผ่นดินโก่งตัวของเปลือกโลก  warping  
     
  รอยโก่งงอ Warping มีลักษณะคล้ายรอยคดโค้ง เกิดจากการเคลื่อนที่ ของเปลือกโลกในแนวนอนบีบอัดเกิดการโก่งตัว แต่เป็นการเคลื่อนที่ที่ไม่รุนแรง ทำให้เกิดภูมิประเทศเป็นเนินและแอ่ง เกิดการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกบนพื้นที่กว้างและใช้เวลาเป็นพันๆ ปี ก่อนที่จะปรากฏผล คล้ายๆกับประทุนคว่ำ anticline ประทุนหงาย syncline  
     
   
     
  2.1.4 การเกิดแนวแตกของเนื้อหิน   joint        
     
  เกิดขึ้นจากการเย็นตัวลงของมวลหินที่ร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งลาวาที่ทำให้เกิดแนวแตกจากการเย็นตัว cooling joints ซึ่งปรกติแล้วจะเกิด
เป็นแนวแตกเสาเหลี่ยม columnar jointing ในแนวดิ่ง ระบบแนวแตกที่เกิดร่วมกับการเย็นตัวมักพบเกิดเป็นรูปหลายเหลี่ยม เพราะว่าการเย็นตัวทำให้เกิดความเค้นที่มีสภาพเหมือนกันทุกทิศทุกทางในแนวระนาบของชั้นหิน การเกิดรอยแตกของหิน ไม่ได้เกิดจากการเคลื่อนที่ไปตามแนวระนาบของรอยแตกนั้น ไม่ว่าจะขึ้น ลง หรือ ไปตามด้านข้าง ของหินด้านหนึ่งเทียบกับหินอีกด้านหนึ่ง ของแนวระนาบรอยแตกนั้นแนวแตกมักมีระยะห่างสม่ำเสมอกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของแร่ประกอบของหินหนึ่งๆหรือความหนาของชั้นหิน
ที่เกี่ยวข้อง โดยทั่วไปแนวแตกจะเกิดเป็นชุดๆ โดยชุดหนึ่งๆจะประกอบด้วยรอยแตกหลายแนวที่ขนานกันไปแนวแตก
 
 


แนวแตกเสาเหลี่ยมของหินบะซอลต์ในตุรกี


แนวแตกเสาเหลี่ยมในหินบะซอลต์ของ
 Giant's Causeway ในไอร์แลนด์

 
  2.2 ปรากฏการณ์ภูเขาไฟ vulcanism  
     
  ภูเขาไฟ   volcano
เกิดจากหินหนืด magma ถูกแรงดันผลักดันขึ้นสู่ผิวโลกด้านบน โดยมีแรงปะทุเกิดขึ้น เรียกว่า การปะทุของภูเขาไฟ หินหนืดที่พุ่งขึ้นมาจากการปะทุของภูเขาไฟสู่ผิวโลกนี้เรียกว่า ลาวา lava
       นักธรณีวิทยาจัดแบ่งภูเขาไฟตามลักษณะรูปร่างและการเกิดได้ 3 แบบ ดังนี้
          2.2.1. ภูเขาไฟแบบกรวยกรวดภูเขาไฟ cinder cone มีขนาดเล็กที่สุด ลักษณะเหมือนกรวยที่คว่ำอยู่ เกิดจากหินหนืดถูกดันปะทุออกมาทางปล่องโดยแรง ทำให้ชิ้นส่วนของหินที่ร้อนจัดลุกเป็นไฟปะทุขึ้นไปในอากาศแล้วเย็นตัวลงอย่างรวดเร็วกลายเป็นกรวดภูเขาไฟและขี้เถ้ากองทับกัน
เป็นชั้นสูงขึ้นเรื่อย ๆ
 
     
   
     
  2.2.2. ภูเขาไฟแบบกรวยภูเขาไฟสลับชั้น composite cone หรือ stratovolcano มีลักษณะคล้ายแบบแรก แต่ฐานแผ่ขยายใหญ่และลาดจากปากปล่องมาที่ฐานมากกว่า เพราะนอกจากหินหนืดจะถูกดันปะทุขึ้นไปทางปากปล่องโดยตรงแล้ว ยังถูกดันออกมาทางด้านข้างของปล่องอีกด้วย แต่เนื่องจากหินหนืดที่ไหลออกมามีความหนืดสูง จึงไหลไปไม่ไกลนัก  
     
   
     
  2.2.3. ภูเขาไฟรูปโล่ shield volcano มีลักษณะกว้างเตี้ยคล้ายรูปโล่คว่ำ เกิดจากหินหนืดที่ไหลออกมาจากปล่องมีอุณหภูมิสูงมากและมีอัตราการไหลเร็วมากจึงไหลไปได้ในระยะทางไกล จึงเป็นภูเขาไฟที่มีรูปร่างกว้างใหญ่ที่สุด บริเวณขอบทวีปที่มีการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกใต้มหาสมุทรมีโอกาสเกิดภูเขาไฟปะทุมากกว่าบริเวณอื่น ๆ เนื่องจากบริเวณที่เปลือกโลกมุดตัวลงไปจะถูกหลอมกลายเป็นหินหนืดที่มีอุณหภูมิและแรงดันสูงมาก หินหนืดนี้จะถูกแรงดันอัดให้แทรกตัวขึ้นมาตามรอยแตกแยกง่ายกว่าบริเวณอื่น ๆ
       การปะทุของภูเขาไฟที่รุนแรงมาก ๆ อาจทำให้เกิดภูมิประเทศแบบต่าง ๆ เช่น ทำให้เกิดแอ่งขนาดใหญ่ เรียกว่า แคลดีรา บางแห่งอาจมีน้ำขังจนกลายเป็นทะเลสาบ หรือบางแห่งอาจเกิดเป็นที่ราบสูงภูเขาไฟเนื่องจากลาวาที่ไหลออกมาปกคลุมพื้นที่อย่างกว้างขวาง
 
     
   
     
  3.1.4 แผ่นดินไหว earthquakes
       แผ่นดินไหวเกิดจากการคลายตัวอย่างรวดเร็วของเปลือกโลกที่มีการสะสมพลังความเค้นและความเครียด มักเกิดบริเวณเดียวกันหรือใกล้เคียงกับบริเวณที่เกิดภูเขาไฟ ผลจากการเกิดแผ่นดินไหว อาจทำให้เกิดการถล่มของแผ่นดิน เกิดรอยแตกรอยแยกบริเวณเปลือกโลก
 
     
     
     
     
Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th