หน้าแรก | โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ |
|
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
|
||
หน่วยที่ 2 | ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ | |
บทที่ 4 | หินเปลือกโลก Rock | |
คือมวลของแข็งที่ประกอบไปด้วยแร่ชนิดเดียวกัน หรือหลายชนิดรวมตัวกันอยู่ตามธรรมชาติ ที่เกิดจากการเกาะตัวกันแน่นของแร่ตั้งแต่ 1 ชนิดขึ้นไป หรือ เป็นสารผสมของแร่กับแก้วภูเขาไฟ หรือ แร่กับซากดึกดำบรรพ์ หรือของแข็งอื่น ๆ เนื่องจากองค์ประกอบของเปลือกโลกส่วนใหญ่เป็นสารประกอบซิลิกอนไดออกไซด์ SiO2 ดังนั้นเปลือกโลกส่วนใหญ่มักเป็น แร่ตระกูลซิลิเกต และ แร่ตระกูลคาร์บอเนต เนื่องจากบรรยากาศโลกในอดีตส่วนใหญ่เป็นคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำฝนได้ละลายคาร์บอนไดออกไซด์ ในชั้นบรรยากาศลงมาสะสมบนพื้นดินและมหาสมุทร สิ่งมีชีวิตอาศัยคาร์บอนสร้างธาตุอาหารและร่างกาย แพลงตอนบางชนิดอาศัยซิลิกาสร้างเปลือก เมื่อตายลงทับถมกันเป็นตะกอน หินส่วนใหญ่บนเปลือกโลกจึงประกอบด้วยแร่ต่างๆ อาจแบ่งเป็น 2 ตระกูลข้างต้น | ||
หินเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ศึกษาวิชาภูมิศาสตร์ โดยเฉพาะ ภูมิศาสตร์กายภาพ ควรจะมีความเข้าใจ เพราะมีพื้นที่บนผิวเปลือกโลกจำนวนไม่น้อยที่หินปรากฏให้เห็น ถึงแม้หินอาจจะอยู่ลึกลงไปในดิน แต่โครงสร้างการวางตัวของหินมีอิทธิพล ต่อสภาพภูมิประเทศยอ่างมาก อาทิ บริเวณที่มีหินโก่งตัว ภูมิประเทศจะมีลักษณะของภูเขาสลับหุบเขา หรือ ในบริเวณที่ชั้นหินวางตัวในแนวนอน และถูกกัดเซาะโดยแม่น้ำ ส่วนที่เหลืออยู่จะเป็นภูเขา ที่มียอดแบน หรืออาจเป็นที่ราบสูง ความแข็งแกร่งของหินที่ทนทานต่อความสึกกร่อน ก็มีผลต่อภูมิประเทศ อาทิ บริเวณที่เป็นหินแกร่งมักจะเป็นชะโงกเขา ส่วนที่สึกกร่้่อนงานจะเป็นแอ่งหรือหุบเขา หรือดินที่มีสินแร่เหล็กอยุ่มากมักจะเป็นดินสีแดง อย่างไรก็ตามลักษณะภูมิประเทศ อาจเกิดจากปัจจัยอื่นๆ อาทิ ลมฟ้าอากาศ การกระทำจากภายในโลก เป็นต้น | ||
แร่ประกอบหิน | ||
1. ตระกูลซิลิเกต | ||
1. เฟลด์สปาร์ Feldspar เป็นกลุ่มแร่ที่มีมากกว่าร้อยละ 50 ของเปลือกโลก ซึ่งเป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ของหินหลายชนิดในเปลือกโลก เฟลด์สปาร์มีองค์ประกอบหลักเป็นอะลูมิเนียมซิลิเกต รูปผลึกหลายชนิด เมื่อเฟลด์สปาร์ผุพังจะกลายเป็นอนุภาคดินเหนียว Clay minerals | ||
2. ควอรตซ์ Quartzite เป็นซิลิกาไดออกไซด์ SiO2 บริสุทธิ์ มีรูปผลึกทรงหกเหลี่ยมยอดแหลม มีอยู่ทั่วไปในเปลือกทวีป แต่หาได้ยากในเปลือกมหาสมุทรและแมนเทิล เมื่อ ควอรตซ์ผุพังจะกลายเป็นอนุภาคทราย Sand ควอรตซ์ มีความแข็งแรงมาก ขูดแก้วเป็นรอย | ||
3. ไมก้า Mica เป็นกลุ่มแร่ซึ่งมีรูปผลึกเป็นแผ่นบาง มีองค์ประกอบเป็นอะลูมิเนียมซิลิเกตไฮดรอกไซด์ มีอยู่ทั่วไปในเปลือกทวีป ไมก้ามีโครงสร้างเช่นเดียวกับ แร่ดินเหนียว Clay minerals ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของดิน | ||
4. แอมฟิโบล Amphibole group มีลักษณะคล้ายเฟลด์สปาร์แต่มีสีเข้ม มีองค์ประกอบเป็นอะลูมิเนียมซิลิเกตไฮดรอกไซด์ ที่มีแมกนีเซียม เหล็ก หรือ แคลเซียม เจือปนอยู่ มีอยู่แต่ในเปลือกทวีป ตัวอย่างของกลุ่มแอมฟิโบลที่พบเห็นทั่วไปคือ แร่ฮอร์นเบลนด์ ซึ่งอยู่ในหินแกรนิต | ||
5. ไพร็อกซีน Pyroxene group มีสีเข้ม มีองค์ประกอบที่เป็นแมกนีเซียมและเหล็กซิลิเกตอยู่มาก มีลักษณะคล้ายแอมฟิโบล มีอยู่แต่ในเปลือกมหาสมุทร | ||
6. โอลิวีน Olivine มีองค์ประกอบหลักเป็นแมกนีเซียมและเหล็กซิลิเกต มีอยู่น้อยมากบนเปลือกโลก กำเนิดจากแมนเทิลใต้เปลือกโลก | ||
2. ตระกูลคาร์บอเนต |
|||||
แคลไซต์ Calcite เป็นแคลเซียมคาร์บอเนต CaCO3 เป็นองค์ประกอบหลักของหินปูนและหินอ่อน โดโลไมต์ Dolomite ซึ่งเป็นแร่คาร์บอเนตอีกประเภทหนึ่ง ที่มีแมงกานีสผสมอยู่ Ca Mg(CO3)2 แร่คาร์บอเนตทำปฏิกิริยากับกรดเป็นฟองฟู่ให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา | |||||
เราสามารถจำแนกหินที่อยู่บนเปลือกโลกทางธรณีวิทยาออกได้เป็น 3 พวกใหญ่ ๆ ได้แก่ |
|||||
1. หินอัคนี Igneous rock | |||||
หินที่เกิดจากการแข็งตัวของหินหนืด magma ใต้เปลือกโลก ไม่ว่าจะแข็งตัวอยู่ภายในเปลือกโลก หรือพุพ้นเปลือกโลกออกมาแข็งตัวอยู่บนผิวเปลือกโลกก็ตาม พวกแรกนั้นเรียกว่า หินอัคนีแทรกซอน intrusive igneous rock พวกหลังเรียกว่า หินอัคนีพุ extrusive igneous rock หินอัคนีแทรกซอนนั้น หากแข็งตัวอยู่ในระดับลึกมาก เรียกว่า หินอัคนีระดับลึก plutonic rock ถ้าอยู่ในระดับใกล้ผิวโลก เรียกว่า หินอัคนีระดับตื้น hypabyssal rock |
|||||
|
|||||
กระบวนการเกิดหินอัคนี : Igneous Process | |||||
หินอัคนีเกิดจากการเย็นตัวของหินหนืดหรือลาวา ซึ่งจะเย็นตัวลงแล้วตกผลึกหินหนืดที่แข็งตัวให้เปลือกโลกในระดับที่สึกจะเป็นหินพลูโทนิค Plutonic Rock หรือเรียกว่าหินอัคนีระดับลึก จะมีเม็ดแร่ขนาดใหญ่ ลาวา หรือ หินหนืด บางส่วนที่เกิดจากการประทุของภูเขาไฟ เมื่อเย็นตัวลงบนพื้นโลกก็จะเกิดเป็นหินภูเขาไฟ Volcanic Rock จะมีเม็ดแร่ขนาดเล็กละเอียดในกรณีที่หินหนืดมีการแทรกซอนเข้าใกล้ผิวโลกแล้วเย็นตัวลง จะทำให้เกิดหินอัคนีที่มีเม็ดแร่ขนาดใหญ่ปะปนกับเม็ดแร่ขนาดเล็ก |
|||||
ลักษณะพื้นฐานของหินอัคนี | |||||
|
|||||
1. หินอัคนีแบ่งออกเป็น 2 ประเภท | |||||
1.1 หินอัคนีพุ Extrusive igneous rock 1.2 หินอัคนีแทรกซอน Intrusive igneous rock |
|||||
1.1. หินอัคนีพุ Extrusive ingneous rocks หรือ หินภูเขาไฟ เป็นหินหนืดที่เกิดจากลาวา บนพื้นผิวโลก เย็นตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้ผลึกมีขนาดเล็ก และเนื้อละเอียด ได้แก่ หินบะซอลต์ Basalt หินไรออไรต์ Rhyolite หินแอนดีไซต์ Andesite หินพัมมิซ Pumice หินเพอร์ไลต์ Perlite หินบอมบ์ภูเขาไฟ Volcanic Bomb หินออบซิเดียน Obsedian |
|||||
1.1.1 หินบะซอลต์ Basalt เป็นหินอัคนีพุ เนื้อละเอียด เกิดจากการเย็นตัวของลาวา มีสีเข้มเนื่องจากประกอบด้วยแร่ไพร็อกซีนเป็นส่วนใหญ่ อาจมีแร่โอลิวีนปนมาด้วย เนื่องจากเกิดขึ้นจากแมกมาใต้เปลือกโลก หินบะซอลต์หลายแห่งในประเทศไทยเป็นแหล่งกำเนิดของอัญมณี พลอยชนิดต่างๆ เนื่องจากแมกมาดันผลึกแร่ซึ่งอยู่ลึกใต้เปลือกโลก ให้โผล่ขึ้นมาเหนือพื้นผิว |
|||||
1.1.2 หินไรโอไลต์ Ryolite เป็นหินอัคนีพุซึ่งเกิดจากการเย็นตัวของลาวา มีเนื้อละเอียดซึ่งประกอบด้วยผลึกแร่ขนาดเล็ก มีแร่องค์ประกอบเหมือนกับหินแกรนิต แต่ทว่าผลึกเล็กมากจนไม่สามารถมองเห็นได้ ส่วนมากมีสีชมพู และสีเหลือง |
|||||
1.1.3 หินแอนดีไซต์ Andesite เป็นหินอัคนีพุซึ่งเกิดจากการเย็นตัวของลาวาในลักษณะเดียวกับหินไรโอไรต์ แต่มีองค์ประกอบของแมกนีเซียมและเหล็กมากกว่า จึงมีสีเขียวเข้ม |
|||||
1.1.4 หินพัมมิซ Pumice เป็นหินแก้วภูเขาไฟชนิดหนึ่งซึ่งมีฟองก๊าซเล็กๆ อยู่ในเนื้อมากมายจนโพรกคล้ายฟองน้ำ มีส่วนประกอบเหมือนหินไรโอไลต์ มีน้ำหนักเบา ลอยน้ำได้ ชาวบ้านเรียกว่า หินส้ม ใช้ขัดถูภาชนะทำให้มีผิววาว |
|||||
1.1.5 หินเพอร์ไลต์ Perlite มีเนื้อละเอียดเป็นแก้ว เนื่องจากเกิดจากการเย็นตัวอย่างรวดเร็วของหินหนืด เป็นแร่องค์ประกอบร่วมกับหินไรโอไลต์ เกิดในระดับตื้น และมีการเย็นตัวอย่างรวดเร็วเป็นเนื้อแก้วที่มีอยู่ในองค์ประกอบมากกว่าหินออบซิเดียน |
|||||
1.1.6 หินบอมบ์ภูเขาไฟ Volcanic Bomb เป็นหินอัคนีพุมีลักษณะของเนื้อละเอียด สีเทาแก่ถึงดำ หรือน้ำตาลแก่ ส่วนมากมีรูพรุน มีลักษณะกลมมน หรือคล้ายลูกรักบี้เกิดจากการประทุของภูเขาไฟ เป็นหินหนืดที่ถูกพ่นขึ้นไป และเย็นตัวในอากาศ แร่ที่สำคัญคือ แร่แพลจิโอเคลสเฟลด์สปาร์ และแร่สีเข้มอื่น ๆ เช่น ไพรอกซีนละเอียดมาก เฟลด์สปาร์ ฮอร์นเเบลนด์และโอลิวีนแต่ผลึกแร่เล็กละเอียดมาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นและยังไม่ทำปฏิกิริยากับกรดเกลือ |
|||||
1.1.7 หินออบซิเดียน Obsedian เป็นหินแก้วภูเขาไฟซึ่งเย็นตัวอย่างเร็วมากจนผลึกมีขนาดเล็กมาก เหมือนเนื้อแก้วสีดำ |
|||||
1.2. หินอัคนีแทรกซอน Intrusive igneous rocks หรือ หินอัคนีภายใน | |||||
เป็นหินอัคนีที่เย็นตัวลงภายใต้พื้นผิวโลก ลักษณะของเนื้อหินอัคนีประเภทนี้มีเนื้อหยาบเป็นผลมาจากการที่หินหนืดแทรกตัวขึ้นมา บนเปลือกโลกอย่างช้าๆ ทำให้ผลึกแร่ในเนื้อหินมีเวลามากพอที่จะแยกตัวตกตะกอนได้อย่างช้าๆ ผลึกของเนื้อหินจึงมีขนาดใหญ่ หินอัคนีแทรกซ้อนสามารถจำแนกออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้แก่ หินแกรนิต Granite หินแกรนิต สีชมพู Pink Granite หินเพกมาไทต์ Pegmatite หินไดออไรต์ Diorite |
|||||
หินอัคนีแทรกซ้อนสามารถจำแนกออกเป็น |
|||||
พนัง Dike คือ หินอัคนีที่แทรกตัวขวางโครงสร้างของหินเดิมบางแห่งเกิดรวมกันเป็นกลุ่ม มีความกว้างประมาณ 2 -3 เมตรและยาวประมาณ 1 -2 เมตร |
|||||
พนังแทรกชั้น Sill พบแทรกตัวอยู่ระหว่างชั้นหินและวางตัวขนานกับแนวชั้นหินเดิม มีความหนาประมาณ 5 -10 เซนติเมตรไปจนถึงหลาย ๆ ร้อยเมตร |
|||||
หินอัคนีรูปเห็ด Laccolith ลักษณะคล้ายกับพนังแต่จะมีการแทรกผนังเพดานตอนบนโก่งขึ้นมาในลักษณะคล้ายโดม ส่วนมากมักจะเป็นหินจำพวกหินแกรนิต granite |
|||||
หินอัคนีรูปฝักบัว Lopolith มีขนาดใหญ่และเกิดในระดับลึก ลักษณะจะต่างจากหินอัคนีรูปเห็ด คือ จะมีการดันผนังเพดานด้านล่างลักษณะคล้ายแอ่งแอ่นลง |
|||||
หินอัคนีมวลไพศาล Batolith มีขนาดใหญ่มากที่สุดและเกิดในระดับที่ลึกมากมักเกิดควบคู่กับภูเขาที่เกิดจากการคดโค้งของหิน ส่วนมากจะเป็นแกนของภูเขาและวางตัวตามแนวยาวขนานไปกับภูเขา | |||||
1.2.1 หินแกรนิต Granite | |||||
เป็นหินอัคนีแทรกซอนที่เย็นตัวลงภายในเปลือกโลกอย่างช้าๆ จึงมีเนื้อหยาบซึ่งประกอบด้วยผลึกขนาดใหญ่ของแร่ควอรตซ์ สีเทาใส แร่เฟลด์สปาร์สีขาวขุ่น และแร่ฮอร์นเบลนด์ หินแกรนิตแข็งแรงมาก ชาวบ้านใช้ทำครก เช่น ครกอ่างศิลา ภูเขาหินแกรนิตมักเตี้ยและมียอดมน เนื่องจากเปลือกโลกซึ่งเคยอยู่ชั้นบนสึกกร่อนผุพัง เผยให้เห็นแหล่งหินแกรนิตซึ่งอยู่เบื้องล่าง | |||||
1.2.2 หินแกรนิต สีชมพู Pink Granite เป็นหินที่มีเนื้อหยาบหรือเป็นดอกผลึกเกาะกันแน่นเห็นได้ชัด ดูโดยทั่วไปเป็นหินสีจาง เพราะมีแร่ส่วนใหญ่เป็นแร่พวกเฟลด์สปาร์สีชมพูและ ควอร์ตซ์ เมื่อทุบดูจะเห็นผิวหน้าที่ขรุขระได้ชัดเจนเกิดจากการเย็นตัวอย่างช้า ๆ ภายใต้พื้นผิวโลก แร่ที่สำคัญคือ แร่ควอร์ตซ์ประมาณ 30% กับแร่เฟลด์สปาร์ โดยเฉพาะพวกออร์โทเคลสประมาณ 60% แร่สีเข้มประมาณ 10% ได้แก่ ฮอร์นเบลนด์ ไบโอไทต์ ทัวร์มาลีน มีแทรกกระจายอยู่โดยทั่วไปในเนื้อหิน |
|||||
1.2.3 หินเพกมาไทต์ Pegmatite มีลักษณะรูปร่างแบบโครงสร้างกราฟฟิค Graphic Structure เนื้อหยาบ กระบวนการเกิดเป็นของเหลวที่เหลือจากการตกผลึกของหินหนืดในช่วงสุดท้าย เรียกว่าสารละลายไฮโดรเทอร์มอล หรือแร่ร้อน Hydrothermal Solution สารละลายไฮโดรเทอร์มอลจะตกผลึกให้แร่ซึ่งมีขนาดใหญ่มาก มีควอร์ตซ์และออร์โทเคลสเฟลด์สปาร์เป็นส่วนใหญ่ และมีไมกาบ้างเล็กน้อย บางที่ควอร์ตซ์ก็จะเกิดเป็นรูปนิ้วมืออยู่ในออร์โทเคลสเฟลด์สปาร์ แร่ที่ประกอบ เบอร์ลเลียมอะลูมินาและซิลิกา |
|||||
1.2.4 หินไดออไรต์ Diorite มีเนื้อหยาบผลึกแร่ใหญ่ค่อนข้างสม่ำเสมอ มีสีคล้ำอาจถึงดำเพราะปริมาณแร่สีเข้มมีมากขึ้น |
|||||
2. หินตะกอน Sedimentary Rocks | |||||
หินตะกอน Sedimentary rock |
|||||
1. หินดินดาน Shale เป็นหินชั้นที่ตกตะกอนจากน้ำพัดพา เนื้อหินละเอียดมากเหมือนดินเหนียวมักจะมีชิ้นบาง ๆ ในหินชนิดนี้จะมีการพบซากดึกดำบรรพ์ Fossil ชนิดต่างๆ สีจะเป็นสีแดง น้ำตาลเหลือง เทา เขียว และดำ | |||||
2.
หินปูน Limestone เป็นหินชั้นแบบตกผลึกจากสารที่ละลายอยู่ในน้ำทะเล ลักษณะของหินมีเนื้อแน่นละเอียดทึบ สีจะมีสีขาว เทา แดง ดำ อาจจะมีซากดึกดำบรรพ์ในหินชนิดนี้ได้ ประเภทซากหอย ซากปะการัง ลักษณะเด่นภูเขาหินปูนมักมียอดหยักแหลม และมีหน้าผา แร่ ประกอบด้วยแคลไซต์ |
|||||
3.
หินกรวดมน Conglomerate เป็นหินชั้นแบบตกตะกอนจากน้ำพา เนื้อหินหยาบมาก ประกอบด้วยเศษหิน หรือแร่ขนาดใหญ่ในลักษณะของกรวด กรวดมักมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 2 ซม. แร่ที่อยู่ในหินชนิดนี้เป็นแร่ ควอตซ์ |
|||||
4. หินทราย Sand stone เป็นหินชั้น แบบตกตะกอนจากน้ำพัดพา ลักษณะเนื้อหยาบ ประกอบด้วย เม็ดทราย ซึ่งเป็นแร่ควอตซ์ สีจะเป็นสีแดง น้ำตาล เทา เขียว และเหลืองอ่อน ในหินชนิดนี้มักพบซากดึกดำบรรพ์ สำหรับชนิดแร่ที่พบในหินชนิดนี้ มีแร่ควอตช์ แมกนีไทต์ และไมกา | |||||
3. หินแปร Metamorphic Rocks | |||||
หินแปร Metamorphic rock |
|||||
1. หินอ่อน Marble เป็นหินที่แปรสภาพมาจากหินปูน มีทั้งเนื้อละเอียด และเนื้อหยาบ มีสีขาวหรือสีต่างๆ นิยมใช้ทำหินประดับอาคารและนำมาแกะสลัก เป็นหินแปรที่ไม่มีรอยขนานลักษณะของหินชนิดนี้ หินอ่อนบริสุทธิ์จะมีสีขาว แต่จะเปลี่ยนสีไปเนื่องจาก มีสารอื่นปน เช่น สีแดง เหลือง น้ำตาล ที่มีสารประกอบของเหล็กปน ถ้ามีสีเทาและดำจะมีสารอินทรีย์ปน ส่วนสีเขียวเนื่องมาจากแร่เชอร์เพนทีน และคลอไรด์ แร่ที่พบในหินชนิดนี้ ได้แก่ แคลไซด์ หรือ โคโลไมต์ | |||||
2. หินควอร์ตไซต์ Quartzite เป็นหินแปร แบบไม่มีรอยขนาน มีเนื้อเป็นเม็ดละเอียด เนื้อแน่นแข็งลักษณะเป็นหินที่แปรสภาพมาจากหินทราย เนื่องจากได้รับความร้อน และความกดดันสูงวัสดุประสานและเม็ดทรายจะเชื่อมประสานกันจนแน่น ทำให้แข็ง หินชนิดที่บริสุทธิ์ จะมี SiO2 มาก แร่สำคัญ ประกอบด้วย แร่ควอตซ ์เฟลด์สปาร์ ไมกา แปรมาจากหินทราย ใช้ในการก่อสร้าง | |||||
3. หินชีสต์ Schist เป็นหินแปร แบบมีรอยขนาน เนื้อหินหยาบ มีลักษณะเป็นแผ่นแร่เรียงตัวขนานกัน หินชนิดนี้ได้เกิดขึ้นเพราะได้รับความร้อนและความกดดันสูงมาก จนทำให้แร่ไมกา เป็นแผ่นใหญ่ เห็นชัดในลักษณะของเกล็ดซ้อน ๆ กันและเรียงตัวขนานกัน ส่วนใหญ่ประกอบด้วยแร่ไมกา คลอไรต์ ฮอร์นเบลนด์ ควอตซ์ เฟลด์สปาร์ การ์เนต แปรมาจากหินฟิลไลต์ | |||||
4. หินไนส์ Gneiss เป็นหินที่แปรสภาพมาจากหินแกรนิต มีผลึกแร่เรียงตัวกันเป็นริ้วขนานเนื้อแน่น มีความแข็งและทนทานมาก ประกอบด้วยสารที่มีสีขาวขุ่น สีขาวใส และสีดำเป็นมัน เรียงกันเป็นริ้วขนาน ถ้ามีแร่ไบโอไทต์ ฮอร์นเบลนด์ จะมีสีเข้มถ้ามีแร่ควอตซ์ เฟลด์สปาร์ จะมีสีจาง นิยมใช้ทำโม่และครก ทำหินประดับ หินก่อสร้าง | |||||
5. หินชนวน Slate เป็นหินที่แปรสภาพมาจาก หินดินดาน หรือ หินทัฟฟ์ เป็นหินมีลักษณะเนื้อละเอียดมาก ผลึกแร่ตรวจไม่พบด้วยตาเปล่า แสดงแนวแตกเรียบ และกะเทาะออกเป็นแผ่นเรียบบางได้ง่าย มีหลากสีแต่มักพบ สีเทาดํา เขียวแดง เนื้อละเอียด ผิวเรียบ เป็นมัน มีเนื้อแน่น แยกจากกันได้ เรียงกันเป็นแผ่นบางๆ แข็งกว่าหินดินดาน ประกอบด้วยแร่ไมกาและควอตซ์เป็นส่วนใหญ ใช้ทำกระดานชนวน ทำหินประดับ ปูพื้น มุงหลังคา ทำแผ่นอิฐปูทางเดิน | |||||
6. หินฟิลไลต์ Phyllite มีส่วนประกอบคล้ายหินชนวน เป็นหินเม็ดละเอียดกว่าหินชีสต์ แต่หยาบกว่าหินชนวน ผิวที่แตกใหม่จะมีลักษณะวาว แบบไหมหรือเป็นมันเงา เนื่องจากมีแร่ไมกาเม็ดละเอียดอยู่ มักเปลี่ยนมาจากหินดินดาน ด้วยความดัน มหาศาลกว่าที่หินชนวน แร่ที่เกิดขึ้นมีผลึกหยาบกว่า หินชนวนที่ถูกแปรสภาพรุนแรง จะเปลี่ยนเป็นหินฟิลไลต์ เมื่อถูกความร้อนที่มากกว่า 250 – 300 องศาเซลเซียล ทำให้คลอไลต์และไมกามีขนาดผลึกใหญ่ขึ้นเกิดจาก หินตะกอน หินอัคนี และหินแปร ที่ถูกแปรสภาพด้วยความกดดัน และความร้อนแต่น้อยกว่าหินชีสต์ สารประกอบแร่ จำพวก แร่ควอร์ต แร่ออกไซด์ของเหล็ก แร่คลอไลต์ แร่มัสโคไวต์และแมกนีเซียม | |||||
7. หินแคลก์ – ซิลิเกต Cale - Silicate เกิดจากการแปรสภาพจากดินดาน และหินอัคนีที่เป็นเกรดต่ำ เนื่องจากถูกความกดดันและความร้อน หินแคลก์ซิลิเกต ส่วนประกอบทางแร่ของหินแคลก์ซิลิเกตโดยทั่วไปประกอบด้วยแคลไซต์ ควอตซ์ ทรีโมไนต์ทัลก์ไดออกไซด์ โฟลโกไปต์ ฟอร์สเตอไรต์ไอโดเครส และกรอสซูลาการ์เนต หินแคลก์ซิลิเกตมักพบว่าเกิดร่วมกับหินชีสต์ และหินไนส์ | |||||
หินที่แปรมาแล้วยังแปรต่อไปอีกชั้นหนึ่งก็ได้ เช่น หินดินดานแปรเป็นหินชนวน หินชนวนแปรต่อไปเป็นหินฟิลไลต์ หินฟิลไลต์แปรต่อไปเป็นหินซีสต์ |
|||||
พีท แปรเป็น ลิกไนท์ ลิกไนท์แปรเป็น ซับบีทูมินัส ซับบีทูมินัส แปรเป็น บีทูมินัส บีทูมินัส แปรเป็น แอนทราไซต์ | |||||
|
|||||
หินอัคนี Igneous rock | หินตะกอน Sedimentary rock |
หินแปร Metamorphic rock | |||
หินอัคนีพุ Extrusive ingneous rocks |
หินอัคนีแทรกซอน Intrusive ingneous rocks |
หินกรวดมน Conglomerate |
หินชนวน Slate |
||
หินบะซอลต์ Basalt | หินแกรนิตGranite | ศิลาแลง Laterite | หินฟิลไลต์ Phyllite | ||
หินไรออไรต์ Rhyolite | หินแกรนิต สีชมพู Pink Granite | หินกรวดเหลี่ยม Breccla | หินชีสต์ Schist | ||
หินแอนดีไซต์ Andesite | หินเพกมาไทต์ Pegmatite | หินทราย Sand stone | หินไนส์ Gneiss | ||
หินพัมมิซ Pumice | หินไดออไรต์ Diorite | หินดินดาน Shale | หินควอร์ตไซต์ Quartzite | ||
หินเพอร์ไลต์ Perlite | หินโคลน Mudstone | หินอ่อน Marble | |||
หินบอมบ์ภูเขาไฟ Volcanic Bomb | หินปูน Limestone | หินแคลก์ – ซิลิเกต Cale - Silicate |
|||
หินออบซิเดียน Obsedian | หินเชิร์ต Chert | ||||
หินปูนซากดึกดำบรรพ์ Fossil Limestone | |||||
หินไม้กลายเป็นหิน Petrified Wood | |||||
Copyright By : Chalengsak
Chuaorrawan Sainampeung School 186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com Tel; 089-200-7752 mobile |
|
http://www.sainampeung.ac.th |