หน้าแรก | โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ |
|
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
|
||
สารบัญ |
หน่วยที่ 2 | ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ |
||
บทที่ 4 | สัณฐานและโครงสร้างของโลก |
||
โครงสร้างแต่ละชั้นของโลกได้รับการคาดการณ์โดยทางอ้อมโดยใช้เวลาในการเดินทางของการหักเหและการสะท้อนของคลื่นแผ่นดินไหว ที่ถูกสร้างขึ้นจากการเกิดแผ่นดินไหว แกนโลกนั้นจะไม่อนุญาตให้คลื่นเฉือน shear wave เคลื่อนที่ผ่านมันไปได้ในขณะที่ความเร็วของการเดินทาง ความเร็วของคลื่นไหวสะเทือน seismic velocity จะมีความเร็วแตกต่างกันในระดับชั้นอื่น ๆ | |||
การเปลี่ยนแปลงความเร็วของคลื่นไหวสะเทือนระหว่างชั้นที่แตกต่างกันจะทำให้เกิดการหักเหของทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่นอันเนื่องมาจาก กฎของสเนลล์ Snell's law เหมือนการเบี่ยงเบนทิศทางของแสงขณะที่มันผ่านปริซึม ในทำนองเดียวกัน การสะท้อนจะเกิดจาก การเพิ่มขึ้นอย่างมากในความเร็วของคลื่นไหวสะเทือนและมีความคล้ายคลึงกับแสงสะท้อนจากกระจก | |||
1. ลักษณะโครงสร้างของโลก | |||
นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับส่วนประกอบและโครงสร้างของโลก โดยศึกษาเกี่ยวกับเศษชิ้นส่วนที่ภูเขาไฟพ่นออกมา ตลอดจนเศษชิ้นส่วนของอุกกาบาตที่อยู่ในอวกาศและตกลงมายังพื้นผิวโลก ซึ่งจากการศึกษาสรุปได้ว่า โลกมีโครงสร้างและส่วนประกอบซึ่งแบ่งได้ 3 ชั้น ได้แก่ | |||
1.1 ชั้นเปลือกโลก crust 1.2 ชั้นเนื้อโลก mantle 1.3 ชั้นแก่นโลก core |
|||
1.1 ชั้นเปลือกโลก | |||
เป็นพื้นผิวโลกที่อยู่ชั้นนอกสุด หนาประมาณ 35 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ | |||
1. ชั้นไซอัล sial layer เป็นชั้นหินสีจาง มีแร่ซิลิกาเป็นส่วนใหญ่ และมีอะลูมินาเป็นส่วนประกอบ ตัวอย่างของเปลือกโลกชั้นไซอัล ได้แก่ หินแกรนิตชนิดต่าง ๆ 2. ชั้นไซมา sima layer เป็นชั้นหินหนืดที่มีผืนหินแข็งกว่าหินเปลือกโลกชั้นไซอัล ประกอบด้วยซิลิกาและแมกนีเซียม และมีชั้นแนวแบ่งเขตมอฮอรอวีชีช mohorovicic discontinuity กั้นอยู่ ระหว่างเปลือกโลกกับเนื้อโลก |
|||
เปลือกโลก Crust อาจแบ่งเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วยเปลือกโลกที่โผล่พ้นน้ำคือเปลือกโลกทวีป Continental crust และเปลือกโลกที่อยู่ใต้มหาสมุทรคือเปลือกโลกมหาสมุทร Oceanic crust |
|||
เปลือกโลกทวีป Continental crust ส่วนใหญ่เป็นหินแกรนิต มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็น ซิลิกอน อะลูมิเนียม และออกซิเจน มีความหนาเฉลี่ย 35 กิโลเมตร ความหนาแน่น 2.7 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร เปลือกโลกมหาสมุทร Oceanic crust ส่วนใหญ่เป็นหินบะซอลต์ มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็น เหล็ก แมกนีเซียม ซิลิกอน และออกซิเจน ความหนาเฉลี่ย 5 กิโลเมตร ความหนาแน่น 3 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร มากกว่าเปลือกทวีป ดังนั้นเมื่อเปลือกโลกทั้งสองชนกัน เปลือกโลกทวีปจะถูกยกตัวขึ้น ส่วนเปลือกโลกมหาสมุทรจะจมลง และหลอมละลายเป็นหินหลอมเหลว maga (แมกมา) อีกครั้ง |
|||
1.2 ชั้นเนื้อโลก Mantle |
|||
เป็นชั้นที่สองของโครงสร้างของโลก ที่มีหินเย็นตัวแล้ว สันนิษฐานว่าชั้นนี้ประกอบด้วยหินชนิดเดียวกันตลอดชั้น เป็นส่วนที่อยู่อยู่ใต้เปลือกโลกลงไป จนถึงระดับความลึก 2,900 กิโลเมตร มีองค์ประกอบหลักเป็นซิลิคอนออกไซด์ SiO2 แมกนีเซียมออกไซด์ Magnesium oxide และเหล็กออกไซด์ Iron oxide แบ่งออกป็น 3 ชั้น ได้แก่ 1. เนื้อโลกตอนบนสุด Uppermost sphere มีสถานะเป็นของแข็ง เป็นฐานรองรับเปลือกโลกทวีป และเปลือกโลกมหาสมุทร อยู่ใต้แนวแบ่งเขตโมโฮโรวิชิก mohorovicic เรียกโดยรวมว่า ธรณีภาค Lithosphere มีความหนาโดยรวมประมาณ 30 - 100 กิโลเมตร 2. เนื้อโลกตอนบน Upper mantle หรือบางครั้งเรียกว่า ฐานธรณีภาค Asthenosphere อยู่ที่ระดับลึก 100 - 700 กิโลเมตร มีึลักษณะเป็นของแข็งเนื้ออ่อน อุณหภูมิที่สูงมากทำให้แร่บางส่วนหลอมละลายเป็นหินหนืด Magma เคลื่อนที่หมุนวนด้วยการพาความร้อน Convection 3. เนื้อโลกตอนล่าง Lower mantle มีสถานะเป็นของแข็งที่ระดับลึก 700 - 2,900 กิโลเมตร มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็น เหล็ก แมกนีเซียม และซิลิเกท |
|||
1.3 ชั้นแก่นโลก | |||
เป็นโครงสร้างชั้นในสุดของโลก แบ่งออกเป็น 2 ชั้นย่อย ได้แก่ 1. แก่นโลกชั้นนอก outer core หนาประมาณ 2,200 กิโลเมตร ประกอบด้วยหินหนืดซึ่งเป็นหินหลอมละลายที่มีอุณหภูมิสูง มีแร่หลายชนิดและแก๊สกำมะถันละลายรวมอยู่ด้วย 2. แก่นโลกชั้นใน inner core หนาประมาณ 2,500 กิโลเมตร เป็นชั้นของแข็งที่เป็นโลหะเหล็กและนิกเกิลที่อัดตัวกันแน่นภายใต้ความกดดันสูง และมีแรงดึงดูดมวลวัตถุอื่น ๆ เข้าสู่ศูนย์กลางของโลกมาก |
|||
Copyright By : Chalengsak
Chuaorrawan Sainampeung School 186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com Tel; 089-200-7752 mobile |
|
http://www.sainampeung.ac.th |