หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
สารสนเทศภูมิศาสตร์
หน่วยที่ 1 เครื่องมือในการศึกษาภูมิศาสตร์
บทที่ 3

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ Geographic Information System : GIS

 

องค์ประกอบของ GIS Components of GIS

 

หน้าที่ของ GIS How GIS Works

 
 

ลักษณะข้อมูลภูมิศาสตร์ Gcographic Features

 
 

ข้อมูลเชิงพื้นที่ Spatial data

 
 

เทคนิคและวิธีการนำเข้าข้อมูล Input data

 
     
 

ข้อมูลเชิงพื้นที่

 
  ข้อมูลเชิงพื้นที่ Spatial data มีส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ  
  1. ข้อมูลเชิงภาพ Graphic data สามารถแทนได้ด้วย 2 รูปแบบพื้นฐาน
     ก. ข้อมูลแบบเวกเตอร์ Vector format
     ข. ข้อมูลแบบแรสเตอร์ Rastor format
 
  2. ข้อมูลอรรถธิบาย Attribute data เป็นข้อความอธิบายที่มีความสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงภาพเหล่านั้น เช่น ชื่อถนน, ลักษณะ พื้นผิว และจำนวนช่องทางวิ่งของเส้นถนนแต่ละเส้น เป็นต้น  
                        
  ลักษณะข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์  
 

โลกมีความสลับซับซ้อนมากเกินกว่าที่จะเก็บข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับโลกไว้ในรูปข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ จึงต้องเปลี่ยนปรากฏการณ์บน ผิวโลกจัดเก็บในรูปของ ตัวเลขเชิงรหัส digital form โดยแทนปรากฏการณ์เหล่านั้นด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เรียกว่า Feature (ฟีต-เชอร)

  ประเภทของ Feature
ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เป็นตัวแทนของปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์บนโลกแผนที่กระดาษบันทึกตำแหน่งทางภูมิศาสตร์และแทนสิ่งต่างๆ บนโลกที่เป็นลายเส้นและพื้นที่ด้วยสัญลักษณ์แบบ จุด เส้น พื้นที่และตัวอักษร ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์จะใช้ feature ประเภทต่างๆ ในการแทนปรากฏการณ์โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
 
     
  1. จุด Point
2. เส้น Arc
3. พื้นที่ Polygon
 
     
  จุด Point
ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่มีตำแหน่งที่ตั้งเฉพาะเจาะจง หรือมีเพียงอย่างเดียว สามารถแทนได้ด้วยจุด Point Feature อาทิ
     หมุดหลักเขต
     จุดชมวิว
     บ่อน้ำ
     จุดความสูง ยอดเขา
     เสาธง โรงเรียน วัด โบสถ์ มัสยิด อาคาร ตึก สิ่งก่อสร้าง ต่างๆ
ข้อพิจารณาเกี่ยวกับมาตราส่วน
มาตราส่วนแผนที่จะเป็นตัวกำหนดว่าจะแทนปรากฏการณ์บนโลกด้วยจุดหรือไม่
ตัวอย่างลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เป็นจุด
ตัวอย่างเช่น บนแผนที่โลก มาตราส่วนเล็กจะแทนค่าที่ตั้งของเมืองด้วยจุด แม้ว่าในความเป็นจริงเมืองนั้นจะครอบคลุมพื้นที่จำนวนหนึ่งก็ตาม ในขณะเดียวกันบนแผนที่มาตราส่วนที่ใหญ่ขึ้นเมืองดังกล่าวจะปรากฏเป็นพื้นที่และแต่ละอาคารจะถูกแทนค่าด้วยจุด
 
     
  ข้อมูลค่าพิกัดของจุด  
  - ค่าพิกัด (x,y) 1 คู่ แทนตำแหน่งของจุด ไม่มีความยาวหรือพื้นที่

- เส้น Arc
ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่วางตัวไปตามทางระหว่างจุด 2 จุด จะแทนด้วยเส้น Arc Feature
ตัวอย่างลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เป็นเส้น
      แม่น้ำ ลำคลอง  ถนน  โครงข่ายสาธารณูปโภค  เส้นชั้นความสูง contour line
ข้อจำกัดเกี่ยวกับ Arc
Arc 1 เส้น มี Vertex ได้ไม่เกิน 500 Vertex โดย vertex ลำดับที่ 500 จะเปลี่ยนเป็น node และเริ่มต้น เส้นใหม่ด้วยการ identifier ค่าใหม่โดยอัตโนมัติ
 
     
  ข้อมูลค่าพิกัดของเส้น  Arc  
            Vertex (ค่าพิกัด คู่หนึ่งบน arc) เป็นตัวกำหนดรูปร่างของเส้น arc
          arc หนึ่งเส้นเริ่มต้นและจบลงด้าน Node
          arc ที่ตัดกันจะเชื่อมต่อกันที่ Node
ความยาวของ arc กำหนดโดยระบบค่าพิกัด (x, y)
 
     
  พื้นที่ Polygon  
  ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่มีพื้นที่เดียวกันจะถูกล้อมรอบด้วยเส้นเพื่อแสดงขอบเขต ตัวอย่างข้อมูลที่เป็นพื้นที่
          เขตตำบล อำเภอ จังหวัด
          ขอบเขตอุทยานแห่งชาติ
          เขตน้ำท่วม
 
  ข้อพิจารณาเกี่ยวกับมาตราส่วน
มาตราส่วนของแหล่งที่มาของข้อมูลจะเป็นตัวกำหนดการแทนปรากฏการณ์บนโลกแห่งความเป็นจริงด้วย point หรือ polygon
ตัวอย่าง
อาคารบนมาตราส่วนขนาดใหญ่ 1 : 4,000 เป็น polygon ที่ถูกกำหนดขึ้น โดยขอบเขตอาคาร บนแผนที่มาตราส่วน 1 : 250,000 ที่มาตราส่วนเล็ก อาคารจะแสดงด้วยจุด point
 
     
  ข้อมูลค่าพิกัดของ Polygon
polygon จะประกอบด้วย arc ตั้งแต่ 1 เส้นขึ้นไป แต่มี 1 Label point
ใน Label point 1 point อยู่ภายในพื้นที่ปิดและใช้ในการแยกแยะแต่ละ polygon ออกจากกัน
 
     
Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th