หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
สาระเศรษฐศาสตร์
แบบทดสอบ
 
แบบฝึกหัด
หน่วยที่ 5 การเงินและนโยบายการเงิน  
แบบฝึกหัดเติมคำ
 
  1. หนังสือตราสารซึ่งบุคคลหนึ่ง เรียกว่า “ผู้ออกตั๋ว” ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคล อีกคนหนึ่งหรือใช้ให้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า “ผู้รับเงิน” หมายถึง     ตั๋วสัญญาใช้เงิน
  2. ตราสารที่เจ้าหน้าที่จัดทำขึ้น เพื่อสั่งให้ลูกหนี้จ่ายเงินให้แก่ตนหรือบุคคลอื่นตามมาตรา 909 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ระบุว่า ตั๋วแลกเงิน มีชื่อผู้จ่ายเงิน ชื่อผู้รับเงิน วันที่จ่ายเงิน จำนวนเงินที่จ่ายและลายมือชื่อผู้ออกตราสาร หมายถึง  ดราฟต์
  3. เงิน หมายถึง  สิ่งที่กำหนดขึ้นเพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ โดยใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย และเป็นสิ่งที่ทุกคนในสังคมยอมรับด้วย
  4. อุปทานของเงิน Supply  of  Money หมายถึง  เงินที่รัฐบาลผลิตออกมาและหมุนเวียนอยู่ในมือประชาชน เอกชน  ห้างร้านและบริษัทต่าง ๆ รวมทั้งเงินฝากกระแสรายวัน เงินฝากออมทรัพย์และเงินฝากประจำ ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง
  5. ปริมาณเงิน ในทางเศรษฐศาสตร์ เรียกว่า   อุปทานของเงิน Supply  of  Money
  6. ปริมาณเงิน ( Money Supply )  หมายถึง  จำนวนเงินที่คิดเป็นมูลค่า ที่อยู่ในระบบเศรษฐกิจ
  7. ความหมายของเงินอาจกว้างกว่านี้ โดยมีการรวมสิ่งที่ใกล้เงิน (near money หรือ quasi-money) ไว้ด้วย ได้แก่  เงินฝากออมทรัพย์ (saving deposit) เงินฝากกระแสรายวัน (demanded deposit) เงินฝากประจำ (fixed deposit)
  8. ประเภทของเงินที่เป็นสิ่งของหรือสินค้า ( Commodity Money ) ได้แก่  ขนสัตว์ หนังสัตว์ ใบชา ยาสูบ อัมพัน ฯลฯ
  9. เงินเหรียญ หรือเหรียญกษาปณ์ Coins หมายถึง  เงินตราโลหะที่ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายไม่เกินจำนวนที่กำหนดโดยกฎกระทรวง
  10. เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน (Circulated coins) เป็นเหรียญกษาปณ์ที่ใช้หมุนเวียนกันอยู่ทั่วไปในชีวิตประจำวัน มี 9 ชนิดราคา เรียงลำดับจากค่ามากสุดไปน้อยสุด ได้แก่
    1. 10 บาท  (สิบบาท)
    2. 5 บาท    (ห้าบาท)
    3. 2 บาท    (สองบาท)
    4. 1 บาท    (หนึ่งบาท)
    5. 50 สตางค์   (ห้าสิบสตางค์)
    6. 25 สตางค์   (ยี่สิบห้าสตางค์)
    7. 10 สตางค์   (สิบสตางค์) *
    8. 5 สตางค์     (ห้าสตางค์)*
    9. 1 สตางค์     (หนึ่งสตางค์) *

10.1 -  10.6        เป็นเงินเหรียญ ที่ใช้หมุนเวียนอยู่ในระบบเศรษฐกิจ
                 *        เป็นเงินเหรียญ ที่ใช้หมุนเวียนอยู่ในระบบบัญชี

11. เงินเหรียญ ในประเทศไทย ออกโดย กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง
12. ธนบัตร Paper  Currency หมายถึง  บัตรที่ออกใช้เป็นเงินตรา ซึ่งใช้ชําระหนี้ได้ ตามกฎหมายโดยไม่จํากัดจํานวน
13. เงินที่เป็น ธนบัตร ออกโดย ธนาคารแห่งประเทศไทย
14. เงินที่เป็น เงินฝากกระแสรายวัน  หมายถึง การฝากเงินเข้าบัญชี ที่จะมีการใช้ร่วมกับเช็ค ซึ่งเงินฝากประเภทนี้จะไม่ได้ดอกเบี้ย แต่จะมีข้อดีคือ จะสามารถถอนออกได้ ด้วยการสั่งจ่ายเช็ค ผู้ที่ฝากเงินประเภทนี้ มักจะมีจุดประสงค์เพื่อการค้า เพราะจะใช้เช็คในการจ่ายสินค้าได้สะดวก และปลอดภัยกว่าการจ่ายเป็นเงินสด
15. เงินที่เป็น เงินฝากกระแสรายวัน ออกโดย ธนาคารพาณิชย์
16. เงิน ทำหน้าที่ ดังนี้

  1. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ( Medium of Exchange )
  2. เป็นมาตรฐานในการวัดค่า ( Standard of Value )
  3. เป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ภายหน้า ( Standard of Deferred Payment )
  4. เป็นเครื่องเก็บรักษามูลค่า ( Store of Value )

17. ปริมาณเงินตามความหมายแคบ ( M1 ) หมายถึง ปริมาณของทรัพย์สินทางการเงินที่ใช้ในการแลกเปลี่ยน คือ ธนบัตร เหรียญในมือประชาชน (ไม่รวมธนาคารพาณิชย์) และเงินฝากกระแสรายวัน ( เงินฝากเผื่อเรียก = เช็ค) ของภาคเอกชน (ไม่รวมที่เงินที่อยู่ในมือของธนาคารกลางและกระทรวงการคลัง)
18. ตามความหมายกว้าง ( M2 ) หมายถึง ปริมาณเงินตามความหมายแคบ ( M1 ) และสินทรัพย์ทางการเงินที่ให้ผลตอบแทนเป็นเงินโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นั่นคือ เงินฝากประจำและเงินฝากออมทรัพย์ของภาคเอกชน (รวมรัฐวิสาหกิจ) ที่ฝากไว้ที่ธนาคารพาณิชย์ ที่นับรวมเพราะเบิกมาใช้เมื่อไรก็ได้
19. ปริมาณเงินตามความหมายกว้างมาก ( M3 ) หมายถึง ปริมาณเงินตามความหมายกว้าง ( M2 ) รวมกับตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทเงินทุนที่ถือโดยภาคเอกชน และเงินฝากทุกประเภทของสถาบันการเงิน
20. จากข้อ 17 ปริมาณเงิน  (M1)  =  ธนบัตร + เหรียญกษาปณ์ + เงินฝากกระแสรายวัน
21. จากข้อ 18 ปริมาณเงิน  (M2)  =  ปริมาณเงินทั้งหมดของ (M1) + เงินฝากประจำที่ธนาคารพาณิชย์ +เงินฝากออมทรัพย์ที่ธนาคารพาณิชย์
22. จากข้อ 19 ปริมาณเงิน  (M3)  =  ปริมาณเงินทั้งหมดของ (M2) + เงินฝากประจำและเงินฝากออมทรัพย์ที่สถาบันการเงินอื่นๆ + เงินฝากที่เป็นเงินตราต่างประเทศอื่นๆ
23. ตลาดการเงิน หมายถึง  ตลาดที่อำนวยความสะดวกในการโอนเงินจากหน่วยเศรษฐกิจที่มีเงินออมไปยังหน่วยเศรษฐกิจที่ต้องการเงินออมเพื่อไปลงทุนในอนาคต
24. ตลาดการเงิน แบ่งอกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  1. ตลาดเงิน
  2. ตลาดทุน


25. ตลาดเงิน คือ ตลาดที่มีการระดมทุนและการให้สินเชื่อระยะสั้นที่ไม่เกิน 1 ปี
26. ตลาดทุน คือ ตลาดที่มีการระดมเงินออมระยะยาวและให้สินเชื่อระยะยาวตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป
27. ภาวะเงินเฟ้อ  Inflation หมายถึง ภาวะที่ระดับราคาของสินค้าและบริการที่จำเป็นส่วนใหญ่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
28. ดรรชนีราคาผู้บริโภค ConSummer Price Index  หมายถึง  ตัวเลขทางสถิติที่ใช้วัดการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการที่ครอบครัวหรือผู้บริโภคซื้อหามาบริโภคเป็นประจำ ในปัจจุบันเปรียบเทียบกับราคาในปีที่กำหนดไว้เป็นปีฐาน
29. รูปแบบหรือระดับของภาวะเงินเฟ้อแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่

  1. ภาวะเงินเฟ้อระดับอ่อน Mild  Inflation
  2. ภาวะเงินเฟ้อระดับปานกลาง Moderrate  Inflation
  3. ภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง Hyper  Inflation

30. ภาวะเงินเฟ้อระดับอ่อน Mild  Inflation หมายถึง ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปสูงขึ้นไม่เกินร้อยละ 5 ต่อปี
31. ภาวะเงินเฟ้อระดับปานกลาง Moderrate  Inflation หมายถึง ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปมีราคาสูงขึ้นมากว่าร้อยละ 5 แต่ไม่เกินร้อยละ 20 ต่อปี
32. ภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง Hyper  Inflation หมายถึง ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปมีราคาสูงขึ้นมากว่าร้อยละ 20 ต่อปี
33. นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า ภาวะของเงินเฟ้อ เกิดจากสาเหตุที่สำคัญ 2 ประการ ได้แก่
       33.1 ภาวะของเงินเฟ้อเกิดจากทางด้านอุปสงค์
       33.2 ภาวะของเงินเฟ้อเกิดจากทางด้านอุปทาน

34. ภาวะเงินเฟ้อที่เกิดมาจากอุปสงค์ดึง Demand Pull Inflation หมายถึง  ภาวะเงินเฟ้อที่เกิดจากอุปสงค์มวลรวมในระบบเศรษฐกิจมีมากกว่าปริมาณการผลิตหรือด้านบริการ
35. ภาวะเงินเฟ้อที่เกิดมาจากอุปทาน Cost  Push Inflation หมายถึง  ภาวะเงินเฟ้อที่เกิดจากแรงผลักด้านต้นทุนการผลิตสินค้าหรือบริการมีราคาสูงขึ้นอันเนื่องจากปัจจัยการผลิตมีราคาสูงขึ้น
36. ภาวะเงินเฟ้อ  Inflation ในระบบเศรษฐกิจส่งผลกระทบดังนี้
      36.1 มาตรฐานการครองชีพสูงขึ้น
      36.2 ผลกระทบต่อการถือเงิน
      36.3 ผลต่อระดับการผลิตและการลงทุนของประเทศ
      36.4 ผลต่อดุลการค้า ดุลการชำระเงิน
      36.5 ผลต่อระดับการออมของประเทศ
      36.6 ผลต่อบุคคลที่มีฐานะเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้

37. ภาวะเงินฝืด  Deflation หมายถึง ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการมีการลดลงอย่างต่อเนื่องจนทำให้อำนาจซื้อของเงินเพิ่มขึ้น
38. รูปแบบหรือระดับของภาวะเงินฝืดแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่
       38.1 ภาวะเงินฝืดระดับอ่อน           Mild  Deflation
       38.2 ภาวะเงินฝืดระดับปานกลาง  Moderrate  Deflation
       38.3 ภาวะเงินฝืดอย่างรุนแรง        Hyper  Deflation
39. ภาวะเงินฝืดระดับอ่อน Mild  Deflation  หมายถึง  ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปลดลงอย่างต่อเนื่องแต่ไม่เกินร้อยละ 5 ต่อปี
40. ภาวะเงินฝืดระดับปานกลาง Moderrate  Deflation  หมายถึง  ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปมีราคาลดลงในระดับมากว่าร้อยละ 5 แต่ยังต่ำว่าร้อยละ 20 ต่อปี
41. ภาวะเงินฝืดอย่างรุนแรง  Hyper  Deflation  หมายถึง  ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปลดลงอย่างต่อเนื่องในระดับเกินกว่าร้อยละ 20 ต่อปี
42. การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงินอาจมีสาเหตุมาจาก
       42.1 การดำเนินนโยบายการคลัง
       42.2 การเปลี่ยนแปลงของดุลชำระเงินระหว่างประเทศ
      
42.3 การพัฒนาของสถาบันการเงินในประเทศ
43. ถ้าธนาคารพาณิชย์ขยายสินเชื่อในระบบเศรษฐกิจ จะส่งผลให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ เพิ่มขึ้น
44. ถ้าธนาคารพาณิชย์จำกัดการให้สินเชื่อในระบบเศรษฐกิจ จะส่งผลให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ ลดลง
45. เงินฝากประจำ   หมายถึง  การฝากเงินไว้กับธนาคาร โดยธนาคารจะคิดดอกเบี้ยให้เมื่อถึงกำหนดตามระยะเวลา 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือน 12 เดือน 24 เดือน ถ้าถอนก่อนกำหนดจะไม่ได้ดอกเบี้ย และจะเสียภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
46. เงินฝากออมทรัพย์   หมายถึง  เงินฝากประเภทที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาในการฝาก จะฝากหรือถอนเมื่อใดก็ได้ในวันและเวลาทำการ
47. บัตรATM   หมายถึง  บัตรที่สถาบันการเงินที่ออกให้ ใช้ทำธุรกรรมทางการเงินโดยใช้ผ่านเครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติ (ตู้ ATM)
48. ATM  ย่อมาจาก คำว่า Automatic teller machine  : ATM
49.บัตรเครดิต หมายถึง บัตรที่ผู้ประกอบธุรกิจออกให้แก่ผู้บริโภคตามหลักเกณฑ์ค่าบริการหรือค่าอื่นใด และวิธี การที่ผู้ประกอบธุรกิจกำหนดเพื่อใช้ชำระ ค่าสินค้า แทนการชำระด้วยเงินสดหรือเพื่อใช้เบิกถอนเงินสด แต่ไม่รวมถึงบัตรที่ได้มีการชำระค่าสินค้า ค่าบริการหรือค่าอื่นใดไว้ล่วงหน้าแล้ว
50.พันธบัตร (Bond) หมายถึง  สัญญาที่ออกโดยผู้ขอกู้ยืม โดยจะมีสัญญาข้อผูกมัดที่ว่า ผู้ออกพันธบัตร (หรือผู้ขอกู้ยืม) จะต้องจ่ายผลตอบแทน (ดอกเบี้ย) ให้กับผู้ถือพันธบัตร (ผู้ให้กู้) ตามอัตราและระยะเวลาที่กำหนดไว้ในพันธบัตร
51. พันธบัตรรัฐบาล (Government Bond) หมายถึง ตราสารหนี้ทั้งระยะสั้นและยาว ซึ่งออกโดยกระทรวงการคลังและบริหารโดยธนาคารแห่งประเทศไทย
52.หุ้นกู้  (Corporate Bond) หมายถึง   ตราสารหนี้ทั้งระยะสั้นและยาว ซึ่งออกโดยบริษัทเอกชน โดยทั่วไปจะจ่ายดอกเบี้ย 2 งวดต่อปี และไถ่ถอนคืนเมื่อถึงวันครบกำหนดไถ่ถอน
53.ตั๋วเงินคลัง (T-Bills) หมายถึง ตราสารหนี้ระยะสั้นที่ไม่มีการจ่ายดอกเบี้ย ซึ่งผลตอบแทนของตราสารหนี้ชนิดนี้จะออกมาในรูปแบบ การรับซื้อคืนในราคาที่สูงขึ้นจากราคาที่ผู้ออกขายให้ผู้ถือในตอนแรก
54.หุ้นสามัญ  หมายถึง ตราสารทุนที่บ่งชี้ถึงการมีส่วนในการเป็นเจ้าของกิจการนั้นๆ การถือหุ้นสามัญเป็นการมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของบริษัท มีสิทธิในการออกเสียงในที่ประชุม มีสิทธิในการได้รับเงินปันผลหรือประโยชน์ในรูปแบบอื่นๆ ตามที่ประชุมของผู้ถือหุ้นอนุมัติ
55. หุ้นบุริมสิทธิ (preferred stock) หมายถึง ตราสารประเภทหุ้นทุน คล้ายกับหุ้นสามัญ เพียงแต่ว่าไม่มีสิทธิออกเสียงในการบริหาร มีข้อแตกต่างจากหุ้นสามัญคือ ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับสิทธิในการชำระคืนเงินทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญในกรณีที่บริษัทเลิกกิจการ
56. ตราสารอนุพันธ์ คือ ตราสารทางการเงินประเภทหนึ่งซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาหรือข้อตกลงที่จะซื้อหรือขายสินค้าในราคา ปริมาณ และเงื่อนไขอื่นที่ตกลงกันไว้ โดยจะทำการส่งมอบสินค้ากันในอนาคต ทั้งนี้ มูลค่าของอนุพันธ์ขึ้นอยู่กับมูลค่าของสินค้าที่ตกลงซื้อขาย หากมูลค่าของสินค้านั้นเปลี่ยนแปลงไป อนุพันธ์ก็จะมีมูลค่าเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย
57.นโยบายการเงิน (Monetary Policy)  หมายถึง  การที่ธนาคารกลางกำหนดแนวทางเพื่อดูแลปริมาณเงินและสินเชื่อเพื่อให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพทั้งในด้านราคาสินค้า  การจ้างงาน การรักษาความเจริญเติมโตทางเศรษฐกิจ การรักษาดุลยภาพของดุลการชำระเงินและการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม
58.นโยบายการเงิน ของธนาคารกลาง แบ่งอกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่
      58.1 นโยบายการเงินแบบหดตัว (เข้มงวด)    (Tight Monetary Policy) (Restrictive Monetary Policy)
      58.2 นโยบายการเงินแบบขยายตัว    (Expansionary Monetary Policy)
59.ถ้ารัฐบาลต้องการใช้นโยบายการเงินแบบหดตัว ธนาคารกลางต้องจำกัดหรือลดอุปทานของเงินเพื่อทำให้เงินหายากหรือตึงตัวขึ้น โดยใช้มาตรการที่สำคัญ ได้แก่
      59.1 เปิดให้มีการขายหลักทรัพย์ (ตั๋วเงินคงคลังหรือพันธบัตร)เพื่อลดเงินสำรองของธนาคารพาณิชย์
      59.2 เพิ่มอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย เพื่อลดเงินเกินสำรองและลดค่าตัวทวีเงินฝาก
      59.3 เพิ่มอัตรารับช่วงซื้อลด เพื่อลดแรงจูงใจธนาคารพาณิชย์ในการกู้เงินธนาคารกลาง
60. ถ้ารัฐบาลต้องการใช้นโยบายการเงินแบบขยายตัว ธนาคารกลางต้องเพิ่มปริมาณเงินหรือเพิ่มอุปทาน  ของเงินเพื่อทำให้เงินหมุนเวียนสะพัดมากขึ้น โดยใช้มาตรการที่สำคัญ ได้แก่
      60.1 ซื้อหลักทรัพย์โดยเปิดเผย เพื่อทำให้เงินสำรองของธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น
      60.2 ลดอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย เพื่อทำให้ธนาคารพาณิชย์มีเงินสำรองมากขึ้นและทำให้ตัวทวีเงินฝากมีค่าสูงขึ้น
      60.3 ลดอัตรารับช่วงซื้อลด เพื่อลดแรงจูงใจธนาคารพาณิชย์มาขอกู้เงินธนาคารกลางไปปล่อยสินเชื่อให้แก่ประชาชน

 

Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th