1. ทำไมต้องเรียนเศรษฐศาสตร์
เพราะความไม่สมดุลระหว่างทรัพยากรและความต้องการของมนุษย์
2.
ให้อธิบายคำว่า เศรษฐศาสตร์
วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการตัดสินใจเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อให้การผลิตและการแบ่งปันสินค้าและบริการ สามารถตอบสนองความต้องการของมนุษย์ให้เกิดประสิทธิภาพจนบรรลุสวัสดิการสูงสุด
3. เศรษฐทรัพย์ (economic goods) และสินค้าไร้ราคา (free goods) ต่างกันอย่างไร อธิบายพร้อมทั้ง
ยกตัวอย่าง
3.1 สินค้าไร้ราคา (free goods) หรือ ทรัพย์เสรี เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีปริมาณไม่จำกัด ไม่มีราคาเมื่อเปรียบเทียบกับความต้องการในขณะนั้น จนทำให้มามีมูลค่า สามารถบริโภคได้โอยไม่ต้องซื้อหา ได้แก่ อากาศที่เราหายใจ แสงแดด กระแสลม ฝนตามธรรมชาติ นำในแม่น้ำลำคลอง เป็นต้น
3.2 เศรษฐทรัพย์ (economic goods) หรือสินค้าเศรษฐกิจที่มนุษย์สร้างขึ้น หรือผลิตขึ้นมา โดยผ่านกระบวนการผลิตขั้นใดขั้นหนึ่ง ไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ การได้มาซี่งพรัย์จึงก่อให้เกิดต้นทุนจากากรใช้พรัยากรมาเป็นปัจจัยการผลิต ทรัพย่ยากรมีจำกัดปริมาณของทรพย์ที่ได้มาย่อมมีขีดจำกัด และมีราคา เช่น เสื้อผ้า ปากาก บ้าน การรักษาพยาบาล โทรศัพท์ การสื่อสาร คมนามคม เป็นต้น.
4. ทรัพยากรในทางเศรษฐศาสตร์ หมายถึง ทรัพยากรการผลิต (Production Resources) สิ่งที่นำมาใช้ผลิตสินค้าหรือบริการประเภทเศรษฐทรัพย์
5.
ปัจจัยในการผลิต ประกอบด้วย
5.1 ที่ดิน (Land)
5.2 แรงงาน (Labor)
5.3 ทุน (Capital)
5.4 ผู้ประกอบการ (Entrepreneur)
6.
สินค้าทางเศรษฐศาสตร์ หรือ เศรษฐทรัพย์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
6.1 สินค้าบริโภค (consumer s goods)
6.2 สินค้าเพื่อใช้ในการผลิต (producer s goods)
7.
สินค้าเพื่อการบริโภค แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ประกอบด้วย
7.1 การบริโภคที่คงทนถาวร (durable consumption)
7.2 การบริโภคที่สิ้นเปลือง (non durable consumption)
7.3 การบริโภคสินค้ากึ่งคงทนกึ่งสื้นเปลือง semi durable consumption
8. ให้นักเรียนยกตัวอย่างสินค้าที่อาจเป็นได้ทั้งสินค้าเพื่อการบริโภค หรือ สินค้าเพื่อการผลิต
ซื้อมะม่วงมารับประทาน มะม่วงเป็นสิ้นค้าบริโภค .
ซื้อมะม่วงมาดองเพื่อขาย มะม่วงเป็นสินค้าทุนหรือสินค้าเพื่อการผลิต
ซื้อรถยนต์มาขับไปทำงาน รถยนต์เป็นสินค้าบิรโภค
ซื้อรถไถมาขับไถนา รถไถเป็นสินค้าทุนหรือสินค้าเพื่อการผลิต
9.เศรษฐศาสตร์เชิงสัจจะ (Positive Economics)
หมายถึง เศรษฐศาสตร์ที่ครอบคลุมหรือเกี่ยวข้องกับเนื้อหาหรือข้อความที่อธิบายถึงปรากฏการณ์ใดๆ ที่เคยเป็น หรือกำลังเป็นอยู่ หรือจะเป็นในอนาคต ซึ่งสามารถพิสูจน์ความถูกต้องของเนื้อหาหรือข้อความนั้นได้โดยอาศัยประจักษ์พยานจากข้อเท็จจริง โดยหลักแล้วเนื้อหาหรือข้อความที่เป็นเศรษฐศาสตร์เชิงสัจจะจะต้องปราศจากซึ่งวิจารณญาณส่วนบุคคล
10. เศรษฐศาสตร์เชิงบรรทัดฐาน (Normotive economics).
หมายถึง การศึกษาวิเคราะห์และแสดงทัศนะทางเศรษฐศาสตร์ที่อิงอยู่กับบรรทัดฐานหรือวิจารณญาณส่วนบุคคล ดังนั้น สิ่งที่นำเสนอหรืออธิบายจึงมักจะเกี่ยวข้องกับการตัดสินว่าปรากฏการณ์หรือพฤติกรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่ ดีหรือไม่ดี และ ควรหรือไม่ควร
11.ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น บิดาแห่งเศรษฐศาสตร์คือ อดัม สมิท (Adam Smith)
12.ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น บิดาแห่งเศรษฐศาสตร์จุลภาคคือ อัลเฟรด มาร์แชลล์
13. ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น บิดาแห่งเศรษฐศาสตร์มหภาคคือ จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ (John Maynard Keynes)
14. ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น บิดาแห่งเศรษฐศาสตร์ไทย คือ พระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค)
15. ผู้ผลักดันให้วิชาเศรษฐศาสตร์เป็นวิชาเอกเทศ ในชื่อ Economics คือ อัลเฟรด มาร์แชลล์
16. หนังสือหรือตำราเศรษฐศาสตร์เล่มแรกของไทย คือ ทรัพยศาสตร์
17. คำนิยามของวิชาเศรษฐศาสตร์ แยกตามจุดเน้นได้ 2 ประเภท ได้แก่
17. 1. คำนิยามที่เน้นถึงสวัสดิการ
17. 2. คำนิยามที่เน้นถึง ความหามาได้ยากของทรัพยากร
18. ถ้าคำนิยามของวิชาเศรษฐศาสตร์ แยกตามจุดเน้นทั้งสองด้าน อาจนิยามวิชาเศรษฐศาสตร์ Economics หมายถึง
วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการตัดสินใจเลือกใช้ ทรัพยากร ที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อให้การผลิตและการแบ่งปัน สินค้าและบริการ สามารถตอบสนองความต้องการของมนุษย์และสังคมจนบรรลุสวัสดิการสูงสุด
19. สวัสดิการทางเศรษฐกิจ Economics Welfare คือ ความสุข ความพอใจ หรือความกินดีอยู่ดีของมนุษย์
และสังคมหรือที่เรียกว่าประโยชน์สุข
20.
ความต้องการทางเศรษฐศาสตร์ Want คือ ความปรารถนาที่จะได้มาซึ่งสิ่งที่ จะสร้างหรือเพิ่มพูน สวัสดิการให้แก่ตน ความต้องการของมนุษย์โดยทั่วไปไม่มีขีดจำกัดหรือไม่สิ้นสุด
21. สินค้าและบริการทางเศรษฐศาสตร์ Goods and Services
หมายถึง สิ่งที่จะสร้างความสุข ความพอใจ หรือ อรรถประโยชน์ (Utility) ให้แก่มนุษย์ได้ทั้งที่มีตัวตนและไม่มีตัวตน หรือ เรียกสั้นๆ ว่าทรัพย์
22. ทรัพยากร Resources ในทางเศรษฐศาสตร์ หมายถึง ทรัพยากรการผลิต (Production Resources) สิ่งที่นำมาใช้ผลิตสินค้าหรือบริการประเภทเศรษฐทรัพย
23. วิชาเศรษฐศาสตร์แยกศึกษาได้ 2 แขนงได้แก่
23.1 เศรษฐศษสตร์จุลภาค Microeconomic
23.2 เศรษฐศาสตรมหภาค Maccroeconomic
23.1 เศรษฐศาสตร์เชิงสัจจะ หรือ เศรษฐศาสตร์ปฏิฐาน (Positive Economic) What was, What is, What will be
23.2. เศรษฐศาสตร์เชิงบรรทัดฐาน หรือ เศรษฐศาสตร์ปทัฎฐาน(Normative Economic)
What ought to be
24. ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ (Basic Economic Problems) ได้แก่
24.1. จะผลิตอะไร (What to Produce
24.2. จะผลิตอย่างไร (How to Produce)
24.3. จะผลิตเพื่อใคร (Produce for Whom)
25.. การผลิต Production หมายถึง การนำเอาปัจจัยการผลิตอันได้แก่ ที่ดิน ทุน แรงงาน และความสามารถ ในการประกอบการมาผ่านกระบวนการอย่างใดอย่างหนึ่งภายใต้เทคโนโลยีระดับหนึ่ง ผสมผสานกันเพื่อให้เกิดสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์
26.ทรัพยากรการผลิต Production Resources หรือปัจจัยในการผลิต Factors of Production ประกอบด้วย
26.1. ที่ดิน Land หมายถึง ผืนแผ่นดิน และทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ทั้งที่อยู่บนดิน ใต้ดินและเหนือพื้นดิน เช่น ดิน หิน ทราย ป่าไม้ แหล่งน้ำ แร่ธาตุ ภูมิอากาศ สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ฯลฯ ผลตอบแทนสำหรับเจ้าของปัจจัยการผลิต คือ ค่าเช่า
26.2. แรงงาน Labor หมายถึง แรงกายละแรงความคิดหรือสติปัญญา ความรู้ความสามารถในการทำงานของมนุษย์ โดยที่เจ้าของปัจจัยเหล่านี้ไม่ได้เป็นผู้มีอำนวจสั่งการ หรือจัดการผลิต ปัจจัยแรงงานอาจแยกออกเป็น แรงงานฝีมือ skilled labours และแรงงานไร้ฝีมือ unskilled labours ผลตอบแทนสำหรับเจ้าของปัจจัยแรงงาน คือ ค่าจ้าง .
26.3. ทุน Capital หมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวก ในการผลิต ได้แก่ โรงงาน อาคาร เครื่องจักร เครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งแรงงานสัตว์ที่มนุษย์เอามาเลี้ยงไว้ และฝึกปรือเพื่อใช้งาน ผลตอบแทนสำหรับเจ้าของปัจจัยแรงงาน คือ ดอกเบี้ย
26.4. การประกอบการ Entrepreneur หมายถึง ผู้รวบรวมปัจจัยการผลิตประเภทต่างๆ มาดำเนินการผลิต สิ่งที่อยู่ในตัวผู้ประกอบการก็คือ ความสามารถในการประกอบการ ซึ่งจะต้องอาศัย ทั้งความรู้และประสพการณ์ในการบริหารจัดการ นอกจากนั้นผู้ประกอบการยังต้องรับผิดชอบ ในการตัดสินใจและเป็นผู้แบกรับภาระการเสี่ยงจากการดำเนินงานอีกด้วย
27. ค่าเสียโอกาส หมายถึง มูลค่าของผลตอบแทนจากกิจกรรมที่สูญเสียโอกาสไปในการเลือกทำกิจกรรม อย่างหนึ่งในเวลาเดียวกัน
28. อรรถประโยชน์ Utility หมายถึง ความพอใจที่บุคคลได้รับจากการบริโภคสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่ง ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง
29. ให้นักเรียนยกตัวอย่างการผลิตที่ทำให้เกิดอรรถประโยชน์จากการเปลี่ยนรูป form utility
การนำนำแท่งเหล็กมาตีเป็นมีด การนำดินเหนียวมาปั้นเป็น โอง ไห แจกัน หรือการนำไม้มาทำเป็นเครื่องเรือน
30.ให้นักเรียนยกตัวอย่างการผลิตที่ทำให้เกิดอรรถประโยชน์จากการเปลี่ยนสถานที่ place utility
การที่สิ่งหนึ่ง ถูกเคลื่อนย้ายจากที่หนึ่ง ไปยังอีกที่หนึ่ง สร้างความพอใจให้กับมนุษย์มากขึ้น เช่นการขนส่งสินค้าจากโรงงานไปยังตลาด การทดน้ำจากฝายไปยังไร่นา
31. ให้นักเรียนยกตัวอย่างการผลิตที่ทำให้เกิดอรรถประโยชน์จากการเปลี่ยนเวลา time utility
การเลื่อนเวลาการบริโภค ในปัจจุบันไปเป็นอนาคตอาจสร้างความพอใจได้มากขึ้น การเก็บสินค้าไว้บริโภคในยามขาดแคลน การถนอมอาหาร การทะนุบำรุงเครื่องมือ การเลี้ยงสัตว์ไว้ใช้งานได้ยืนยาว
32.. ให้ยกตัวอย่างการผลิตที่ทำให้เกิดอรรถประโยชน์จากการเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ possession utility
การเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ถือครองการเป็ฯเจ้าของหรือการครอบครองกรรมสิทธิ์ในสิ่งต่างๆ ทำให้สิ่งนั้น สร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ มากขึ้น เช่น การจำหน่ายสินค้า การขายอสังหาริมทรัพย์ การซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
33. ให้นักเรียนยกตัวอย่างการผลิตที่ทำให้เกิดอรรถประโยชน์จากการให้บริการ service utility
การให้บริการด้านต่างๆ นับเป็นการผลิตอีกรูปแบบหรือ เพราะสามารถสร้างความพึงพอใจให้มนุษย์จากกิจกรรมดังกล่าว เช่น การให้บริการรับฝากเงินและให้สินเชื่อ การรักษาพยาบาล การสอนหนังสือ การแสดงละคร การแสดงดนตรี บริการนวด ฯลฯ
34.วิชาเศรษฐศาสตร์จุลภาค Microeconomics จะศึกษาเกี่ยวกับ
พฤติกรรมและการตัดสินใจของบุคคล ครัวเรือน และบริษัท ในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด โดยเฉพาะในตลาดซึ่งมีการซื้อขายสินค้าและบริการ เศรษฐศาสตร์จุลภาคศึกษาว่าพฤติกรรมและการตัดสินใจเหล่านี้มีผลกระทบอย่างไรต่ออุปสงค์และอุปทานของสินค้าและบริการ ซึ่งเป็นตัวกำหนดราคา และในทางกลับกัน ราคากำหนดอุปสงค์และอุปทานของสินค้าและบริการอย่างไร
35.. วิชาเศรษฐศาสตร์มหภาค Macroeconomics จะศึกษาเกี่ยวกับ
เป็นการศึกษาถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจส่วนรวม เช่น ผลผลิตรวมของประเทศ การจ้างงาน การเงินและการธนาคาร การพัฒนาประเทศ การค้าระหว่างประเทศ อัตราดอกเบี้ย ซึ่งทั้งหมดนั้นเป็นปัญหาที่กว้างขวางกว่าเศรษฐศาสตร์จุลภาค เพราะว่าไม่ได้กระทบเพียงหน่วยธุรกิจเท่านั้น แต่จะกระทบถึงบุคคล หน่วยการผลิต อุตสาหกรรมทั้งหมด และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เศรษฐศาสตร์มหภาคนั้นจะมุ่งเน้นที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติเบี้องต้น(GNP) และการว่าจ้างงาน จะหาว่าอะไรเป็นสาเหตุให้ผลิตผลรวมและระดับการว่าจ้างงานมีการเคลื่อนไหวขึ้นลง เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาต่างๆได้ตรงจุด เช่น ภาวะเงินเฟ้อเงินฝืด และ ปัญหาการว่างงาน เป็นต้น
ให้นักเรียนเขียนแผนภูมิที่แสดงปัจจัยสำคัญที่กำหนดอุปสงค์ พร้อมคำอธิบาย

ปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์ของสินค้านอกจากราคาของสินค้าแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีก ดังนี้
- รายได้ของผู้บริโภค ความสัมพันธ์ระหว่างรายได้และปริมาณการเสนอซื้อสินค้าขึ้นอยู่กับชนิดของสินค้า ในกรณีสินค้าปกติ (Normal Goods) และสินค้าฟุ่มเฟือย (Superior Goods) รายได้และปริมาณการเสนอซื้อสินค้าของผู้บริโภคจะมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน ส่วนในสินค้าด้อยคุณภาพ (Inferior Goods) รายได้และปริมาณการเสนอซื้อสินค้าของผู้บริโภคจะมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม
- ระดับราคาสินค้าชนิดอื่น ปริมาณการเสนอซื้อสินค้าถูกกำหนดโดยราคาสินค้าชนิดอื่นด้วย เนื่องจากสินค้าที่ซื้อขายในตลาดมีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือ สินค้าบางชนิดสามารถใช้แทน กันได้ (Substitute goods) หรือสินค้าบางชนิดต้องใช้ร่วมกัน (complementary goods) ดังนั้น การที่ผู้บริโภคจะซื้อสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งปริมาณเท่าใดต้องพิจารณาถึงราคาของสินค้าชนิดอื่นที่สัมพันธ์กันด้วย
- รสนิยมของผู้บริโภค รสนิยมของบุคคลโดยทั่วไปจะแตกต่างกันไปตาม อายุ อาชีพ ขนบธรรมเนียมประเพณี ระดับการศึกษา และบุคลิกส่วนตัว นอกจากนี้ยังเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา ยุคสมัย นอกจากนี้ความนิยมในแต่ละสินค้ายังเปลี่ยนแปลงได้เร็วช้าแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสินค้าที่พิจารณา
- การคาดคะเนเหตุการณ์ในอนาคต การคาดคะเนเหตุการณ์ในอนาคตเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้อุปสงค์ของสินค้าเปลี่ยนแปลงไป ขึ้นอยู่กับการคาดคะเนของผู้บริโภคแต่ละคน
- ขนาดและโครงสร้างของประชากร โดยปกติถ้าจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอุปสงค์ของสินค้าแทบทุกชนิดย่อมเพิ่มขึ้น แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะโครงสร้างประชากรด้วย ลักษณะโครงสร้างประชากรมีผลให้อุปสงค์ของสินค้าบางชนิดเพิ่มขึ้นและบางชนิดลดลง
- ราคาของสินค้า สินค้าราคาถูกผู้บริโภคจะซื้อปริมาณมาก สินค้าราคาแพงผู้บริโภคจะซื้อปริมาณน้อย
- เทศกาลหรือฤดูกาล ฤดูหนาวคนบริโภคเสื้อกันหนาวเพิ่มมากขึ้น เทศกาลกินเจ คนบริโภคผักเพิ่มมากขึ้น วันวาเลนไทน์ คนซื้อ ดอกกุหลาบเพิ่มขึ้น ปีใหม่คนซื้อของขวัญเพิ่มขึ้น
- ปัจจัยอื่นๆ การที่ผู้บริโภคจะมีอุปสงค์ต่อสินค้ายังขึ้นอยู่กับอีกหลายปัจจัย เช่น อุปนิสัยในการใช้จ่าย ลักษณะการจัดเก็บภาษีของรัฐ อัตราดอกเบี้ย เป็นต้น
ให้นักเรียนเขียนแผนภูมิที่แสดงปัจจัยสำคัญที่กำหนดอุปทาน พร้อมคำอธิบาย

ปัจจัยที่กำหนดการเปลี่ยนแปลงในอุปทานได้แก่
1. ราคาของสินค้า เมื่อราคาแพงขึ้น ความต้องการขายก็มากขึ้นด้วย
2. ราคาของปัจจัยการผลิตหรือต้นทุนการผลิต เช่น หากต้นทุนค่าขนส่งแพงขึ้นเพราะราคาน้ำมันแพงขึ้น แต่ราคาสินค้าที่นำไปวางขายไม่เปลี่ยนแปลง จะทำให้ผู้ผลิตอยากขายสินค้าในปริมาณที่น้อยลง เพราะได้กำไรน้อยลง
3. ราคาสินค้าอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กรณีที่ราคาสินค้าอื่นแพงขึ้น อาจมีผลทำให้อุปทานของสินค้าชนิดที่ผลิตอยู่ลดลง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด เช่น เมื่อราคาข้าวโพดแพงขึ้น คนที่เคยปลูกมันสำปะหลังอยู่ อาจหันไปปลูกข้าวโพดแทน และลดการปลูกมันสำปะหลังลง ซึ่งผลทำให้อุปทานของมันสำปะหลังสูงขึ้น ขณะที่อุปทานของข้าวโพดลดลง เป็นต้น
4. เทคโนโลยีในการผลิตสินค้า เช่น หากมีการคิดค้นเทคโนโลยีในการผลิตให้ดีขึ้น ทำให้ผลิตได้ปริมาณสินค้ามากขึ้นด้วยต้นทุนเท่าเดิม จะทำให้ปริมาณการเสนอขายสินค้าเพิ่มขึ้นได้
5. การคาดการณ์ในอนาคต เช่น หากผู้ผลิตหรือผู้ขายคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว ก็เสนอขายสินค้าในปริมาณที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น
6. จำนวนผู้ประกอบการ ถ้าผู้ผลิตหรือผู้ขายมีจำนวนมากขึ้น จะทำให้อุปทานเพิ่มขึ้น แต่ถ้าผู้ผลิตน้อยลงจะทำให้อุปทานลดลง
7. เป้าหมายของผู้ผลิต ถ้าธุรกิจผลิตรถยนต์ ต้องการ ผลิตรถกระบะมากกว่ารถยนต์นั่งส่วนบุคคลก็จะใช้ปัจจัยการผลิตส่วนมากไปผลิตรถกระบะทำให้ปริฒาณการผลิตรถกระบะเพิ่มมากขึ้น
8. ปัจจัยอื่น เช่น ฤดูกาล ภาษีและเงินอุดหนุน จำนวนผู้ขาย และโครงสร้างตลาดสินค้า ฯลฯ |