หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
 
แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการค้าระหว่างประทศ
 
หน่วยที่ 8 เศรษฐกิจระหว่างประเทศ  
  8.1 แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการค้าระหว่างประทศ  
 
 
  การค้าเสรี  Free  Trade Policy  
 

นโยบายการค้าเสรี  Free  Trade Policy  มีรากฐานมาจากาทฤษฎีต้นทุนเปรียบเทียบ (Theory of Comparative Costs)  ที่เสนอว่าแต่ละประเทศควรผลิตแต่สินค้าที่มีต้นทุนการผลิตได้ เปรียบผู้อื่น  แล้วนำสินค้าที่ผลิตไปแลกเปลี่ยนกัน  ซึ่งหลักการนี้จะอำนวยประโยชน์ทางเศรษฐกิจ แก่โลกทั้งทางด้านเศรษฐกิจสังคมและการเมือง  กล่าวคือ

 
 
 
              ด้านเศรษฐกิจจะช่วยให้มีการแบ่งแยกแรงงานระหว่างประเทศ  (Division of Labor)  โดยแต่ละประเทศจะเลือกผลิตสินค้าที่ตนผลิตแล้วมีประสิทธิภาพและช่วยให้มีการปรับประสิทธิภาพและช่วยให้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต
ของแต่ละประเทศอยู่เสมอ  อันจะช่วยให้ประชากรโลกมีโอกาสได้บริโภคสินค้าที่มีคุณภาพสูงแต่ราคาไม่แพง
            ด้านสังคม  ผลจากการแบ่งงานระหว่างประเทศทำให้ประชากรโลกมีมาตรฐานการครองชีพ สูงขึ้น  เพราะได้ทำงานที่ตนถนัด  มีรายได้ดีการเป็นอยู่จึงดีขึ้น และช่วยลดความขัดแย้งระหว่างประเทศลงได้  เพราะต่างฝ่ายก็มีความเป็นอยู่ที่ดี
            ด้านการเมือง  จากนโยบายการค้าเสรีที่ว่าไม่มีการกีดกันโดยภาษี  ไม่มีการให้สิทธิพิเศษพิเศษแก่สินค้าประเทศใดโดยเฉพาะ  หรือไม่มีข้อจำกัดทางการค้าใด ๆ ระหว่างกันจะช่วยให้ความสัมพันธ์  ระหว่างประเทศแน่นแฟ้นขึ้น  เพราะแต่ละประเทศสามารถติดต่อค้าขายกันได้  โดยปราศจากอุปสรรคใด ๆ
อย่างไรก็ตามในปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ต้องเลิกใช้นโยบายการค้าเสรี  ด้วยเหตุผลโดยสรุป คือ
 
 
 
  1.   กรณีเกิดสงคราม ทำให้ประเทศต้องผลิตสินค้าใช้เอง
 
 
 
  2.    การขาดแคลนเงินตราต่างประเทศ  ในข้อเท็จจริงบางประเทศมีข้อจำกัดของตนเองที่ไม่สามารถส่งสินค้าออกขายได้มากพอจึงขาดแคลนเงินตราต่างประเทศที่จะใช้ซื้อสินค้าจากต่างประเทศ
 
 
 
  3.   เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ  ประเทศเกษตรกรกรรมเมื่อเปรียบเทียบจะเสียเปรียบประเทศอุตสาหกรรม  จึงมักจะพยายามสร้างอุตสาหกรรมภายในของตนเองพร้อมกับให้ความคุ้มครองอุตสาหกรรมที่สร้างขึ้นนั้น ซึ่งเป็นการกีดกันหรือขัดกับนโยบายการค้าเสรี
 
 
 
  4.   สถานการณ์การเมืองของโลก  ระบบเศรษฐกิจการเมืองของโลกปัจจุบันมีระบบที่ชัดเจน 2 ระบบคือ  ระบบเสรีประชาธิปไตย  กับระบบสังคมนิยมซึ่งมีหลักการต่างกันอย่างตรงกันข้ามจึงไม่อาจค้าขายกันโดยเสรีตามที่นโยบายกล่าวไว้ได้
 
 
 
  นโยบายการค้าคุ้มกัน  (Protectionism or Protective Trade Policy) 
 
  จากเงื่อนไขและปัญหาของนโยบายการค้าเสรีที่ไม่อาจดำเนินการไปด้วยความราบรื่นดังกล่าว  รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ จึงเห็นว่าไม่ควรปล่อยให้การค้าดำเนินไปเอง  รัฐควรเข้าแทรกแซงเพื่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของตนเอง เพราะแต่ละประเทศมีความสามารถนการผลิตแตกต่างกันหากไม่เข้าไปคุ้มครองอาจมีผลเสียได้ นโยบายการค้าคุ้มกันนี้เสนอโดยกลุ่มพาณิชย์นิยม Mercantilism   ซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์กลุ่มแรกที่เสนอโดยมีหลักสำคัญว่าประเทศต่าง ๆ ควรสะสมทองคำและเงินให้มากเพราะเชื่อว่าจะทำให้ประเทศเกิดความมั่นคั่ง Wealth ได้  เนื่องจากทองคำและโลหะเงินถือเป็นโลหะมีค่า  หายาก ทุกคนย่อมอยากได้และการที่แต่ละประเทศจะมีทองคำมากได้ จะต้องทำการค้าให้มีดุลการค้าแบบได้เปรียบประเทศคู่ค้า คือ ให้มีการส่งสินค้าออกขายให้มากกว่าการสั่งสินค้าเข้า
จากหลักการตามแนวคิดดังกล่าวนี้  หากปล่อยให้การค้าดำเนินไปตามยถากรรรม  อาจไม่บรรลุ เป้าหมาย รัฐจึงควรเข้าไปแทรกแซงการค้าระหว่างประเทศ พร้อม ๆ กับให้ความคุ้มกันสินค้าที่ผลิตในประเทศให้มีคุณภาพเพื่อส่งไปขายให้ได้มาก  และกีดกันการนำเข้าเพราะจะทำให้ต้องเสียเงินตราหรือทองคำและเงินที่เก็บสะสมไว้ได้
แนวคิดของกลุ่มพาณิชย์นิยมนี้   นักเศรษฐศาสตร์สมัยต่อมาไม่เห็นด้วย  โดยเห็นว่าทองคำนั้นแท้จริงแล้วก็เป็นสินค้าชนิดหนึ่ง  หากสะสมไว้มากแต่การผลิตภายในประสิทธิภาพไม่ดีพอ  อาจทำให้ปริมาณทองคำหรือเงินตราต่างประเทศที่มีอยู่มากก่อให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อตามมาได้โดยง่าย
           
 
                 ดังนั้น ปัจจุบันประเทศต่างๆ  จึงใช้นโยบายคุ้มกันด้วยความระมัดระวังมากขึ้น  ซึ่งขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละประเทศว่าจะใช้นโยบายทางตรง  หรือ ทางอ้อม 
 
 
 
  1.  การตั้งกำแพงภาษี  Tariff  Wall  เป็นมาตรการทางอ้อม  คือ จัดเก็บภาษีจากสินค้านำเข้าในอัตราสูงสำหรับสินค้าฟุ่มเฟือย  เช่นเครื่องสำอาง  แต่ถ้าเป็นสินค้าจำเป็น เช่น สินค้าทุนที่จะใช้ช่วยเพิ่มผลผลิตในประเทศ  จะเรียกเก็บในอัตราต่ำกว่า เพื่อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจโดยส่วนรวมของประเทศ

 
 
 
  2.   การควบคุมสินค้าเข้า  Quota  เป็นมาตรการทางตรง  คือ รัฐเข้าไปควบคุมการนำสินค้าเข้า และอาจรวมถึงการส่งออกด้วยโดยมีการจำกัดโควต้าการนำเข้าหรือส่งออกให้มีจำนวนตามที่รัฐบาลเห็นสมควรเพื่อผลดีของของบริโภคในประเทศ

 
 
 
  3.  การให้การอุดหนุนแก่สินค้าออก  Subsidies เพื่อให้สินค้าที่ส่งออกสามารถแข่งขันกับ สินค้าในต่างประเทศ เช่น ให้เงินอุดหนุน  ช่วยเหลือโดยตรงหรือลดภาษีบางชนิดลง  ลดค่าขนส่งให้การสนับสนุนด้านสินเชื่อเงินทุน  ซึ่งเป็นการอุดหนุนทางอ้อมก็ได้

 
 
 
  4.  การทุ่มตลาด  Dumping  หมายถึง  การส่งสินค้าไปขายต่างประเทศ เพื่อแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ แต่ขายในราคาที่ต่ำกว่าคู่แข่งขัน  หรือต่ำกว่าราคาที่ขายภายในประเทศเอง  ซึ่งอาจทำได้ 3 ทาง คือ
         4.1 ทุ่มตลาดเฉพาะกิจ
Occasional  Dumping 
เช่น เพื่อล้างสต๊อกสินค้าเก่าล้าสมัย หรือ สินค้าที่ไม่ขายภายในประเทศ เป็นต้น
         4.2 การทุ่มตลาดชั่วคราว 
Intermittent   Dumping
เป็นการส่งสินค้าไปขายต่างประเทศในราคาต่ำกว่าต้นทุนผลิตต่ำกว่าราคาภายใน  เพื่อแสดงหาตลาดใหม่กำจัดคู่แข่งขันหรือเพื่อตอบแทนการกระทำของคู่แข่งขันรายอื่น
         4.3 การทุ่มตลาดระยะยาว 
Long-Period Dumping 
การทุ่มตลาดระยะยาวจะไม่ทุ่มในราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนส่วนเพิ่ม (Marginal Cost)  เหตุที่ทำให้ต้องทำเช่นนี้ก็เพราะประเทศสามารถเพิ่มผลผลิตได้ มากจนต้นทุนลดลง  หรืออาจได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล ตามนโยบายที่รัฐบาลได้กำหนดไว้ จึงให้ทุ่มตลาดได้ในระยะยาวจนกว่ารัฐบาล จะเปลี่ยนนโยบาย

 
 
 
  5.  ให้มีข้อตกลงทางการค้า Commercial Treaties  ซึ่งจะเกี่ยวกับด้านกงสุล ชนต่างด้าว การขนส่ง  การภาษีอากร ที่สำคัญในปัจจุบันมีองค์การระหว่างประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรคระหว่าง ประเทศโดยเฉพาะค่ายเสรี  เช่น  กองทุนการเงินระหว่างประเทศ International Monetery Fund : IMF  ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะการพัฒนา International Bank for Reconstruction and Development : IBRD  หรือ ที่เรียกสั้น ๆ ว่าธนาคารโลก World Bank
การจัดทำข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากร และการค้า
General Agreement on Tariff and Trade:GATTซึ่งมีการประชุมหาข้อตกลงกันหลายรอบมากที่สุดจนปัจจุบันได้ข้อตกลงร่วมกันและเกิดเป็นองค์การค้าระหว่างประเทศในโลกขึ้นใหม่ เรียกว่า องค์การค้าโลก  Word Trade Oganiztion – WTO

 
 
 
             6.  การควบคุมเงินตราต่างประเทศ Exchange Control  มาตรการนี้จะดำเนินการโดยธนาคารกลางของแต่ละประเทศ  ควบคุมอุปสงค์และอุปทานเงินตราต่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อเป็น
การสกัดกั้นการไหลออกของเงินตราต่างประเทศ  และพยายามดึงดูดให้เงินตราต่างประเทศไหลเข้ามามากขึ้นอันจะช่วยให้นโยบายคุ้มกันดำเนินไปด้วยดี
            อย่างไรก็ตามการดำเนินมาตรการใด ๆ เพื่อปกป้องอุตสาหกรรม ภายในประเทศก็ควรเป็นไปด้วยความระมัดระวัง มีการไตร่ตรองโดยรอบคอบเกี่ยวกับผลดีผลเสียที่อาจเกิดขึ้นตามมา ไม่ว่าจะเป็นในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของประเทศ

 
 
 
 
 

Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th