หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
     
หน่วยที่ 6 การคลังและนโยบายการคลัง การคลังกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ  
  6.3 นโยบายการคลังกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย  
     
 

           หน่วยรัฐบาล มีบทบาทสำคัญต่อพัฒนาการทางเศรษฐกิจของประเทศ ดังจะเห็นได้จากประเทศต่างๆ ซึ่งภาครัฐทำหน้าที่ ในการกำหนดและดำเนินการตามยุทธศาสตร์ จัดหาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ให้บริการสาธารณะเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้คน รวมไปถึงกำหนดและรักษากฏหมายเพื่อให้ผู้คนอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขบทบาทของภาครัฐกับพัฒนาการทางเศรษฐกิจ    จึงได้รับความสนใจจากนักวิชาการอย่างกว้างขวาง โดยแนวทางหนึ่งที่งานศึกษาจำนวนมาก   ให้ความสนใจอยู่ในประเด็นของ การดำเนินนโยบายการคลังของรัฐบาลกับการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ      นโยบายการคลังนั้น หลักๆ แล้วจะเกี่ยวข้องกับการกำหนดงบประมาณ การใช้จ่าย  การจัดเก็บภาษีของรัฐบาลตลอดจนการสร้างหนี้สาธารณะ

 
     
             โดยจะให้ความสำคัญกับนโยบายของรัฐบาลเป็นหลัก เนื่องจากในมุมมองทางเศรษฐศาสตร์นั้น การทำหน้าที่ของรัฐบาลมักก่อให้เกิดความบิดเบือนซึ่งส่งผลให้เกิดความสูญเสียในแง่ของประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ ดังนั้นรัฐบาลควรจำกัดบทบาทตนเอง  ให้ทำหน้าที่เท่าที่จำเป็นเพียงเท่านั้น นั่นคือรัฐบาลควรมีนโยบายที่จำกัดเมื่อเทียบกับระดับ GDP ของประเทศ
 
     
             ถ้ารัฐบาลของประเทศใช้งบประมาณรายจ่ายที่ไม่ส่งเสริมประสิทธิภาพของภาคการผลิตในสัดส่วนที่สูงอย่างต่อเนื่องยาวนาน ก็จะส่งผลให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอยู่ในระดับต่ำกว่าประเทศอื่นๆ ได้  การเติบโตทางเศรษฐกิจศักยภาพ (potential growth) ของประเทศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการพัฒนาด้านอุปทานมากกว่าด้านอุปสงค์ นั่นคือ ประเทศจะมีการพัฒนาทางศักยภาพการผลิตทั้งสินค้าและบริการ
ถ้าหากภาคการผลิตในประเทศเก่งขึ้น มีความสามารถในการผลิตมากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าการจะทำให้ภาคการผลิตเก่งขึ้นได้
จำเป็นจะต้องทำให้ปัจจัยการผลิตรูปแบบต่างๆ อาทิ ทุนทางกายภาพ แรงงาน และเทคโนโลยีในการผลิต พัฒนาขึ้นทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพ
 
     
                ตัวชี้วัดสำคัญที่บ่งบอกถึงความสามารถของ หน่วยรัฐบาล ในการพัฒนาประเทศ คือ วินัยทางการคลัง โดยตัวชี้วัดวินัยการคลังหลักๆจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ตัวชี้วัด ได้แก่  ระดับหนี้สาธารณะของประเทศ  และ การขาดดุลงบประมาณของรัฐบาล (รายจ่ายรัฐบาลสูงกว่ารายได้ของรัฐบาลในแต่ละปี)  
     
                ถ้าหากรัฐบาลไม่รักษาวินัยทางการคลัง จะก่อให้เกิดความกังวลถึงสภาวะเศรษฐกิจในอนาคต รวมไปถึงการคาดหมายว่ารัฐบาล จะต้องปรับขึ้นการจัดเก็บภาษีและปรับลดการใช้จ่ายในที่สุดเพื่อให้งบประมาณกลับมาสู่สมดุลและหนี้สาธารณะของประเทศ
ปรับลดลง ความกังวลดังกล่าวจะก่อให้เกิดการปรับลดการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนในที่สุด
 
     
                ยิ่งถ้าหากรัฐบาลขาดดุลงบประมาณอย่างต่อเนื่อง     โดยที่ใช้จ่ายในแต่ละปีไปกับรายจ่ายที่ไม่เพิ่มประสิทธิภาพให้กับภาคการผลิต ในประเทศด้วยแล้ว ก็จะยิ่งส่งผลให้อัตราการเติบโตตามศักยภาพปรับตัวลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง  

Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th