หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
 
การคลัง Public Finance
 
หน่วยที่ 6 การคลังและนโยบายการคลัง การคลังกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
  6.1 การคลัง
     
             การคลัง Public Finance หมายถึง การจัดหารายได้ การใช้จ่ายและการจัดการเกี่ยวกับหนี้สินของรัฐบาล
รัฐบาลมีหน้าที่ในการบริหารกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศ ให้มีความเจริญก้าวหน้า โดยทำให้เศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างสม่ำเสมอ เมื่อเศรษฐกิจมีการขยายตัว รัฐบาลก็สามารถกระจายรายได้ให้กับประชาชนได้อย่างเป็นธรรม เพื่อที่รัฐจะมีรายได้เป็นค่าใช้จ่าย ในการพัฒนาประเทศในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมรวมทั้งการป้องกันและรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ
 
     
            การคลังสาธารณะ public finance หมายถึง กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับรายรับ และรายจ่ายของรัฐบาลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ  
     
  รายรับของรัฐบาล  
     
  รายรับของรัฐบาล government revenue รัฐบาลจำเป็นต้องมีรายได้เพื่อนำ มาใช้จ่ายในการบริหารประเทศ รัฐบาลจึงมีอำนาจในการแสวงหารายได้มาใช้จ่ายในลกัษณะต่าง ๆ รายได้ จึงมีความสำคัญต่อความเป็นไปทางเศรษฐกิจของประเทศและการดำเนินงานของรัฐบาล รายรับของ รัฐบาลจำแนกตามแหล่งที่มาเป็น 3 ประเภท  
     
  1. รายได้ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือรายได้จากภาษีอากรและรายได้ที่ไม่ใช่ภาษีอากร รายได้ จากภาษีอากรถือเป็น รายได้หลักของรัฐบาลไทย ประกอบไปด้วยภาษี ทางอ้อมที่มาจากภาษีการค้าและภาษีสรรพสามิต และจากภาษีทางตรงที่มาจากภาษีนิติบุคคลและ ภาษีบุคคลธรรมดา ส่วนรายได้ที่ไม่ใช่ภาษีอากร มาจากการขายสิ่งของหรือบริการของทางราชการ รายได้จากรัฐพาณิชย์และรายได้อื่นๆ  
     
       1.1. รายได้จากภาษีอากร   
     
              1. ภาษีทางตรง Direct Tax
ไม่สามารถผลักภาระภาษีไปให้ผู้อื่นได้ เป็นภาษีที่เก็บจากฐานรายได้และทรัพย์สิน  เช่น  ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  ภาษีเงินได้นิติบุคคล  ภาษีมรดก
 
     
             2. ภาษีทางอ้อม Indirect Tax 
สามารถผลักภาระภาษีไปให้ผู้อื่นได้  เป็นภาษีที่เก็บจากฐาน
การใช้จ่ายหรือการซื้อขาย  เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีศุลกากร ภาษาสรรพสามิต  ภาษีการค้า
 
     
  โครงสร้างอัตรภาษี  
     
  1. อัตราภาษีแบบก้าวหน้า  คือ  อัตราภาษีที่จัดเก็บหลายอัตรา โดยอัตราภาษีจะสูงขึ้นเมื่อฐานภาษีสูงขึ้น เช่น ภาษีรายได้บุคคลธรรมดา  
 

2. อัตราภาษีแบบคงที่  คือ  อัตราภาษีที่จัดเก็บเท่ากันโดยไม่คำนึงถึงขนาดของฐานภาษี เช่น ภาษีดอกเบี้ยเงินฝากประจำ

 
  3. อัตราภาษีแบบถอยหลัง  คือ  อัตราภาษีที่จัดเก็บหลายอัตรา แต่อัตราภาษีจะต่ำลงเมื่อฐานภาษีสูงขึ้น  
     
       1.2. รายได้จากการขายสิ่งของและบริการของรัฐบาล  
     
  ได้แก่  ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ค่าเช่าทรัพย์สิน ค่าขายอสังหาริมทรัพย์  ค่าขายผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ  ค่าขายหนังสือราชการ และค่าขายของกลางที่ยึดได้ในคดีอาญา  
     
       1.3. รายได้จากรัฐพาณิชย์  
     
  ได้แก่ รายได้จากผลกำไร เงินปันผลที่ได้จากองค์กรของรัฐหรือกิจการที่เป็นของรัฐ หรือมีหุ้นส่วน  
     
       1.4. รายได้อื่น ๆ  
  ได้แก่  ค่าแสตมป์และค่าปรับต่าง ๆ  
     
  2. เงินกู้ หมายถึง เงินที่รัฐบาลกู้มาใช้จ่ายในการบริหารและพัฒนาประเทศ โดยกู้จาก แหล่งภายในประเทศได้แก่ธนาคารกลาง ธนาคารออมสิน ธนาคารพาณิชย์หรือกู้จากประชาชน โดยการขายพันธบตัร เป็นต้น และแหล่งภายนอกประเทศเช่น ธนาคารโลกธนาคารพัฒนาแห่งเอเชียจากรัฐบาลต่างประเทศ หรือสถาบันการเงินจากต่างประเทศ  
     
            เงินกู้ของรัฐบาล หรือ หนี้สาธารณะ Public Debt  
     
  หนี้สาธารณะ  หมายถึง  การกู้ยืมเงินของรัฐบาล เมื่อรัฐบาลมีรายได้ไม่มีเพียงพอกับรายจ่ายจึงจำเป็นที่จะต้องกู้เงินมาเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของรัฐบาล  
     
  ประเภทของหนี้สาธารณะ      
     
  1. ตามระยะเวลาของการกู้ยืม
 
      ก. การกู้ระยะสั้น   คือ  การกู้ที่มีกำหนดการชำระคืนเงินต้นภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี  อาทิ     ตั๋วเงินคลัง  
      ข. การกู้ระยะปานกลาง   คือ  การกู้ที่มีกำหนดการชำระคืนภายในระยะเวลา 2-5 ปี อาทิ  ตั๋วกระทรวงการคลัง  
      ค. การกู้ระยะยาว   คือ  การกู้ที่มีกำหนดระยะการชำระคืนตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป  อาทิ  การขายพันธบัตรรัฐบาล  
     
  2. ตามแหล่งที่มาของเงินกู้     
     
      ก. หนี้ภายในประเทศ  
      ข. หนี้ภายนอกประเทศ   
     
  ก. หนี้ภายในประเทศ   คือ  การกู้ยืมเงินจากประชาชนและสถาบันการเงินต่าง ๆ ภายในประเทศ ในรูปของพันธบัตรรัฐบาล และหลักทรัพย์ของรัฐบาลทั้งในระยะสั้นและยาว  
     
  ข. หนี้ภายนอกประเทศ  เป็นการกู้โดยตรงของรัฐบาล หรือรัฐวิสาหกิจเป็นผู้กู้  โดยมีรัฐเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้   เช่น 
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)
ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและพัฒนา (IBRD) หรือธนาคารโลก  (World Bank)
โครงการเงินกู้ ADB หรือ ธนาคารพัฒนาเอเซีย
 
     
  3. เงินคงคลัง เป็นเงินที่เหลือจากการใช้จ่ายปีก่อน ๆ ซึ่งรัฐบาลเก็บสะสมไว้และสามารถยืมมาใช้ในปีที่รายจ่ายสูงเกินกว่ารายได้ และรัฐบาลไม่ต้องการก่อหนี้เพิ่มขึ้น แต่รัฐบาลจำเป็นต้องใช้เงินคงคลังที่ยืมมาใช้จ่ายในปีต่อไป  
     
            ดังนั้นภาครัฐจึงเป็นหน่วยเศรษฐกิจ ที่มีรายได้และรายจ่าย ประกอบกันเป็นบัญชีของหน่วยรัฐบาล ในแต่ละปีของการบริหารประเทศ รัฐบาลจะต้องวางแผนในการใช้จ่ายเงิน เรียกว่า  "งบประมาณ " การใช้จ่ายเงินของรัฐอาจมีการใช้จ่ายเงินเกินรายได้หรือน้อยกว่ารายได้ก็ได้ เราเรียก รายได้สุทธิ ซึ่งเท่ากับ  
     
  รายได้ของรัฐบาลหักด้วยรายจ่ายของรัฐบาลว่า "ดุลงบประมาณ" ซึ่งมีลักษณะดังนี้  
     
          1. ดุลงบประมาณสมดุล เกิดขึ้นเมื่อ รายได้ของรัฐบาล เท่ากับ รายจ่ายของรัฐบาล  
          2. ดุลงบประมาณเกินดุล เกิดขึ้นเมื่อ รายได้ของรัฐบาล มากกว่า รายจ่ายของรัฐบาล  
          3. ดุลงบประมาณขาดดุล เกิดขึ้นเมื่อ รายได้ของรัฐบาล น้อยกว่า รายจ่ายของรัฐบาล  
     
            ในการบริหารประเทศของรัฐบาลเกี่ยวกับงบประมาณของประเทศ ที่เกิดขึ้น อาทิ  
     
  ดุลงบประมาณขาดดุล แสดงว่ารัฐบาลมีรายจ่ายเกินรายได้ รัฐต้องหาเงิน อาจทำได้โดย รองบประมาณปีหน้า หรือ ต้องกู้เงินจากแหล่งต่างๆ เช่น กู้จากประชาชน โดยออกพันธบัตรมาขายกับประชาชน ซึ่งดุลงบประมาณที่เกิดขึ้นนี้ มีผลโดยตรงต่อหนี้รัฐบาล ซึ่งเรียกว่า หนี้สาธารณะ ถ้ารัฐบาลประสบปัญหาขาดดุลงบประมาณอยู่เรื่อยๆ หนี้สาธารณะจะเพิ่มขึ้น รัฐบาลก็ต้องหาเงินมาใช้หนี้อีกจะทำให้เกิดปัญหาในการบริหารเศรษฐกิจของประเทศ แต่ถ้ารัฐบาลมีรายจ่ายน้อยกว่ารายได้ ที่เรียกว่า ดุลงบประมาณเกินดุล รัฐบาลจะมีเงินเหลือสะสมไว้เป็นเงินออม เรียกว่า เงินคงคลัง  
     
  ในการบริหารประเทศเกี่ยวกับการใช้จ่าย เกิดหนี้สาธารณะมากเกินไปก็ไม่ดี หรือ มีเงินเหลือเก็บเข้าคงคลังมากไปก็ไม่ดีเพราะไม่ได้ใช้จ่ายเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาประเทศ  
     
  รัฐบาลมีทางเลือกอะไรบ้างเมื่อเกิดภาวะงบประมาณเกินดุลมาก  
     
        1. เพิ่มรายจ่ายเป็นงบประมาณเพิ่มเติมในปีงบประมาณถัดไป
      2. ลดภาษี เพื่อไม่ให้รายรับของรัฐมีมากเกินไป
      3. เก็บออมไว้ สำหรับใช้ในอนาคต
      4. จ่ายคืนหนี้เงินกู้ของรัฐบาล เพื่อลดภาระของประชาชนในอนาคต
 
     
  รัฐบาลมีทางเลือกอะไรบ้างเมื่อเกิดภาวะงบประมาณขาดดุลมาก  
     
        1. ชะลอการใช้จ่าย หรือลดงบประมาณรายจ่ายที่ไม่จำเป็นมากนักในปีถัดไป
      2. เพิ่มภาษี เพื่อให้รัฐมีรายได้เพียงพอกับการจ่าย
      3. นำเงินคงคลังบางส่วนมาใช้ถ้ามีความจำเป็น
      4. ก่อหนี้เพิ่ม เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ถ้าประชาชนในอนาคตมีความสามารถในการเสียภาษีสูง
 
     
     
Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th