หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
     
หน่วยที่ 5 การเงินและนโยบายการเงินกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ  
  5.6 นโยบายการเงินกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย  
            การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้เกิดการเจริญเติบโตอย่างเหมาะสมและมีเสถียรภาพ ส่งผลให้รายได้ที่แท้จริงเฉลี่ยต่อบุคคลเพิ่มสูงขึ้น และท้ายที่สุดทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น โดยสามารถใช้นโยบายการเงิน ให้เศรษฐกิจมีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับความอยู่ดีกินดีของประชาชนดังนี้  
     
  1. การดำเนินการผ่านตลาดการเงิน  openmarket operations OMOs ธนาคารกลางสามารถปรับสภาพคล่องโดยเข้าทำธุรกรรมในตลาดการเงิน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับเงินฝากของสถาบันการเงินที่ธนาคารกลาง มาตรการที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปก็คือ การซื้อขายหลักทรัพย์ หรือ พันธบัตรรัฐบาล ถ้าธนาคารกลาง ต้องการกระตุ้นให้เศรษฐกิจเติบโต หรือใช้นโยบายการเงินแบบขยายตัว ธนาคารกลางจะรับซื้อคืนหลักทรัพย์รัฐบาล ทำให้ประชาชน และ ธุรกิจเอกชนมีเงินไปจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ส่งผลให้ปริมาณเงินเพิ่มขึ้น  
     
  2. การใช้อัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน Bank rate เป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ธนาคารกลางคิดจากธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินอื่น ถ้าธนาคารกลางต้องการเพิ่มปริมาณเงินหรือดำเนินนโยบายการเงินแบบขยายตัว ก็ลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานลง ทำให้ปริมาณเงินในระบบเพิ่มขึ้น ภาคเอกชนสามารถผลิตสินค้าและบริการได้มากขึ้นประชาชนมีงานทำก็มีรายได้ ทำให้เศรษฐกิจเจริญเติมโต   ภาครัฐต้องให้การสนับสนุนหาช่องทางส่งออกสินค้าไปขายยังต่างประเทศ  ตลอดจนสนับสนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน รายได้ประชาชาติก็จะสูงขึ้น นั่นหมายความว่าเศรษฐกิจของเราดีขึ้น รายได้ของรัฐก็เพิ่มขึ้น สามารถนำเงินมาพัฒนาประเทศให้ดีขึ้นได้  
     
  3. การใช้อัตราเงินสดสำรองที่ต้องดำรง legal reveserve ratio คืออัตราเงินสดต่อปริมาณเงินฝากที่ธนาคารกลางกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ จะต้องสำรองไว้ตามกฎหมาย เพื่อให้เพียงพอในการใช้จ่ายหมุนเวียน ดังนั้นธนาคารพาณิชย์จะสามารถสร้างเงินฝากหรือปล่อยสินเชื่อได้มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับเงินสดสำรองส่วนเกินที่ธนาคารพาณิชย์มีอยู่ ถ้าธนาคารกลางต้องการเพิ่มปริมาณเงิน หรือ ดำเนินนโยบายการเงินแบบขยายตัว ก็จะลดอัตราเงินสดสำรองที่ต้องดำรงลง  
     
  4. การใช้อัตรารับช่วงซื้อลด rediscount rate คืออัตราคิดลดที่ธนาคารกำหนดในการรับซื้อเมื่อธนาคารพาณิชย์นำตั๋วเงินที่รับซื้อไปขายลดให้ กับธนาคารกลางจึงสามารถเพิ่มหรือลดอัตรารับช่วงซื้อลด เพื่อเปลี่ยนแปลงปริมาณเงินได้ ถ้าต้องการดำเนินนโยบายการเงินแบบขยายตัว ธนาคารกลางก็จะลดอัตรารับช่วงซื้อลดลง ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์สามารถกู้ยืมได้มากขึ้นและปริมาณเงินเพิ่มสูงขึ้น ภาคเอกชนกล้าลงทุน สามารถกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์ มาดำเนินการทำธุรกิจของตนเองได้สามารถขยายกิจการได้ ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น สามารถจับจ่ายใช้สอยได้เพิ่มขึ้น กิจกรรมทางเศรษฐกิจมีปริมาณเพิ่มขึ้น ทั้งการผลิต การบริโภค การกระจายตลอดจนการแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้น นั่นหมายความวว่า การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเจริญขึ้น  
     
       จะเห็นได้ว่า เราสามารถใช้นโยบายการเงินทั้ง 4 ข้อ ทำให้ประเทศมีความเจริญเติบโตได้ ทุกหน่วยเศรษฐกิจ เริ่มจาก หน่วยธุรกิจ สามารถลงทุนผลิตสินค้าและบริการ หน่วยครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ทำให้หน่วยรัฐบาล สามารถจัดเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้น นำรายได้มาพัฒนาประเทศได้มากขึ้นประเทศก็มีการเจริญเติบโต GDP เพิ่มขึ้น ประชาชนมีการกินดีอยู่ดี นี่คือ "การใช้การเงินและนโยบายการเงินในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ"  
     

Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th