หน้าแรก | โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ |
|
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
|
||
สารบัญ | ||
หน่วยที่ 5 | การเงินและนโยบายการเงินกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ | |
5.2 นโยบายการเงิน monetary policy | ||
การรักษาเสถียรภาพด้านราคา พันธกิจหลักของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คือ การดูแลให้ระบบเศรษฐกิจมีเสถียรภาพด้านราคา ซึ่งหมายถึง การมีอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำและไม่ผันผวน (Low and stable inflation) ซึ่งจะช่วยเอื้อต่อการตัดสินใจและวางแผนการบริโภค การผลิต การออม และการลงทุนของภาคเอกชน และช่วยสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการจ้างงานอย่างยั่งยืนในระยะยาว เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่อยู่จะระดับต่ำและไม่ผันผวนจะช่วย |
||
|
||
สร้างบรรยากาศที่ดีให้กับระบบเศรษฐกิจโดยรวม เนื่องจากช่วยลดความไม่แน่นอน ซึ่งเป็นปัจจัยลบต่อการวางแผนและตัดสินใจในการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชน |
||
นโยบายการเงิน (Monetary Policy) | ||
หมายถึง การใช้มาตรการหรือเครื่องมือทางการเงิน เพื่อควบคุมดูแลปริมาณเงิน ในระบบเศรษฐกิจของประเทศใดประเทศหนึ่ง ให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม หรือให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางและระดับที่ผู้ดำเนินนโยบายต้องการ โดยปกติทั่วไปแล้ว ผู้ดำเนินนโยบายการเงิน คือ ธนาคารกลาง Central bank ของประเทศนั้นๆ กรณีประเทศไทย ผู้ทำหน้าที่ในการดำเนินนโยบายการเงินคือธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) Bank of Thailand |
||
ประเภทของนโยบายการเงิน แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบได้แก่ | ||
1. นโยบายการเงินแบบขยายตัว expansionary monetary policy หรือ ที่เรียกว่า นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย easy monetary policyคือ แนวทางหรือมาตรการในการเพิ่มปริมาณเงิน money supply ในอันที่จะกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจให้ขยายตัว เมื่อปริมาณเงินเพิ่มขึ้น จะทำให้อัตราดอกเบี้ยลดลง ส่งผลให้การกู้ยืมในภาคเอกชนและเพิ่มการใช้จ่ายของผู้บริโภค กระตุ้นให้การผลิต ขยายตัวและ ลดอัตราการว่างงานลง นโยบายการเงิน ในรูปแบบนี้ถูกนำมาใช้โดยธนาคารกลางของหลายประเทศ นับตั้งแต่การเกิดวิกฤตทางการเงิน ใน พ.ศ. 2541 | ||
2. นโยบายการเงินแบบหดตัว contractionary monetary policy หรือ ที่เรียกอีกอย่างนึ่งว่า นโยบบายการเงินแบบเข้างวด restrictive monetary policyเป็นการใช้เครื่องมือต่างๆ ทางการเงิน เพื่อทำให้ปริมาณเงินลดลง เพื่อลดหรือชะลอการขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งมักจะใช้ในช่วงที่ระบบเศรษฐกิจมีการขยายตัวแบบร้อนแรงหรือรวดเร็วเกินไป ประชาชนมีการใช้จ่ายมากกว่าความสามารถในการผลิตของระบบเศรษฐกิจ ก่อให้เกิด ภาวะเงินเฟ้อหรือราคาสินค้าสูงขึ้นอย่างรุนแรง ดังนั้น การลดปริมาณเงินจะทำให้อัตราดอกเบี้ยโดยทั่วไปสูงขึ้น ซึ่งจะช่วยลดการกู้ยืมและการใช้จ่ายของผู้บริโภครวมทั้งธุรกิจของภาคเอกชนลง ทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลง แต่ในขณะเดียวกันก็อาจส่งผลให้การว่างงานเพิ่มขึ้น | ||
เครื่องมือนโยบายการเงิน | ||
เครื่องมือที่สำคัญที่ธนาคารกลางนำมาใช้ในการควบคุมดูแลปริมาณเงินเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงิน ได้แก่ | ||
1. อัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน Bank rate เป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ธนาคารกลางคิดจากธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินอื่น ถ้าธนาคารกลางต้องการเพิ่มปริมาณเงินหรือดำเนินนโยบายการเงินแบบขยายตัว ก็ลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานลง ในทางตรงกันข้าม ถ้าต้องการลดปริมาณเงิน ก็เพิ่มอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวให้สูงขึ้น | ||
2. อัตราเงินสดสำรองที่ต้องดำรง legal reveserve ratio คืออัตราเงินสดต่อปริมาณเงินฝากที่ธนาคารกลางกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์จะต้องสำรองไว้ตามกฎหมาย เพื่อให้เพียงพอในการใช้จ่ายหมุนเวียน ดังนั้นธนาคารพาณิชย์จะสามารถสร้างเงินฝากหรือปล่อยสินเชื่อได้มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับเงินสดสำรองส่วนเกินที่ธนาคารพาณิชย์มีอยู่ ถ้าธนาคารกลางต้องการเพิ่มปริมาณเงิน หรือดำเนินนโยบายการเงินแบบขยายตัว ก็จะลดอัตราเงินสดสำรองที่ต้องดำรงลง ในทางตรงกันข้าม ถ้าต้องการลดปริมาณเงิน ก็เพิ่มอัตราเงินสดสำรองให้สูงขึ้น | ||
3. อัตรารับช่วงซื้อลด rediscount rate คืออัตราคิดลดที่ธนาคารกำหนดในการรับซื้อเมื่อธนาคารพาณิชย์นำตั๋วเงินที่รับซื้อไปขายลดให้ กับธนาคารกลางจึงสามารถเพิ่มหรือลดอัตรารับช่วงซื้อลด เพื่อเปลี่ยนแปลงปริมาณเงินได้ ถ้าต้องการดำเนินนโยบายการเงินแบบขยายตัว ธนาคารกลางก็จะลดอัตรารับช่วงซื้อลดลง ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์สามารถกู้ยืมได้มากขึ้นและปริมาณเงินเพิ่มสูงขึ้น แต่ถ้าดำเนินนโยบายการเงินแบบหดตัวก็จะใช้เครื่งมือในทิศทางตรงกันข้าม นั่นคือ การเพิ่มอัตรารับช่วงซื้อลดซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณเงินลดลง | ||
4. การดำเนินการผ่านตลาดการเงิน openmarket operations OMOs ธนาคารกลางสามารถปรับสภาพคล่องโดยเข้าทำธุรกรรมในตลาดการเงิน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับเงินฝากของสถาบันการเงินที่ธนาคารกลาง มาตรการที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปก็คือ การซื้อขายหลักทรัพย์ หรือ พันธบัตรรัฐบาล ถ้าธนาคารกลาง ต้องการกระตุ้นให้เศรษฐกิจเติบโต หรือใช้นโยบายการเงินแบบขยายตัว ธนาคารกลางจะรับซื้อคืนหลักทรัพย์รัฐบาล ทำให้ประชาชน และ ธุรกิจเอกชนมีเงินไปจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ส่งผลให้ปริมาณเงินเพิ่มขึ้น แต่ถ้าดำเนินนโยบายการเงินแบบหดตัว ก็นำหลักทรัพย์ขายออก เมื่อประชาชนและธุรกิจเอกชนนำเงินมาซื้อหลักทรัพย์ ปริมาณเงินที่จะนำไปจับจ่ายใช้สอยจะน้อยลงส่งผลให้ปริมาณเงินลดลง |
Copyright By : Chalengsak
Chuaorrawan Sainampeung School 186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com Tel; 089-200-7752 mobile |
|
http://www.sainampeung.ac.th |