หน้าแรก | โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ |
|
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
|
||
สารบัญ | ||
หน่วยที่ 5 | การเงินและนโยบายการเงินกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ | |
5.1 การเงินและสถาบันการเงิน | ||
เงิน (money) เป็นสิ่งที่กำหนดขึ้นเพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ โดยใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย และเป็นสิ่งที่ทุกคนในสังคมยอมรับ หรือ เงิน หมายถึง สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า เป็นสิ่งที่สามารถใช้จ่ายในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ รวมถึงใช้ในการชำระหนี้และอื่นๆ ได้ตามต้องการ |
||
ปริมาณเงิน M1 หรือปริมาณเงินตามความหมายแคบ (Narrow Money) ปริมาณเงินที่หมุนเวียนในมือประชาชน ประกอบด้วย ธนบัตร เหรียญกษาปณ์ในมือประชาชนและเงินฝากกระแสรายวันหรือเงินฝากเผื่อเรียกของประชาชนที่ระบบธนาคารออกให้เป็น(เช็ค) Cheque |
||
M1 = Money / Coins + Demanded Deposit เงินในความหมายแคบ (Narrow Money) = ธนบัตร + เหรียญกษาปณ์ + เงินฝากกระแสรายวัน |
||
ธนบัตร Paper Currency หมายถึง บัตรที่ออกใช้เป็นเงินตรา ซึ่งใช้ชําระหนี้ได้ ตามกฎหมายโดยไม่จํากัดจํานวนเงินที่เป็น ธนบัตร ออกโดย ธนาคารแห่งประเทศไทย | ||
เงินเหรียญ หรือเหรียญกษาปณ์ Coins หมายถึง เงินตราโลหะที่ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายไม่เกินจำนวนที่กำหนดโดยกฎกระทรวง เงินเหรียญ ในประเทศไทย ออกโดย กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง | ||
เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน (Circulated coins) เป็นเหรียญกษาปณ์ที่ใช้หมุนเวียนกันอยู่ทั่วไปในชีวิตประจำวัน มี 9 ชนิดราคา เรียงลำดับจากค่ามากสุดไปน้อยสุด ได้แก่
|
||
1 - 6 เป็นเงินเหรียญ ที่ใช้หมุนเวียนอยู่ในระบบเศรษฐกิจ 7 - 9 * เป็นเงินเหรียญ ที่ใช้หมุนเวียนอยู่ในระบบบัญชี |
||
เงินฝากกระแสรายวัน หมายถึง การฝากเงินเข้าบัญชี ที่จะมีการใช้ร่วมกับเช็ค ซึ่งเงินฝากประเภทนี้จะไม่ได้ดอกเบี้ย แต่จะมีข้อดีคือ จะสามารถถอนออกได้ ด้วยการสั่งจ่ายเช็ค ผู้ที่ฝากเงินประเภทนี้ มักจะมีจุดประสงค์เพื่อการค้า เพราะจะใช้เช็คในการจ่ายสินค้าได้สะดวก และปลอดภัยกว่าการจ่ายเป็นเงินสด |
||
เช็ค cheque เป็นหนังสือตราสาร ที่ใช้แทนค่าเงิน ออกโดย ธาคารพาณิชย์ ซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า "ผู้สั่งจ่าย" drawer สั่งธนาคารให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถาม ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า "ผู้รับเงิน" payee | ||
ปริมาณเงิน M2 หรือปริมาณเงินตามความหมายกว้าง (Broad Money) | ||
ปริมาณเงินที่หมุนเวียนในมือประชาชน นอกจากประกอบด้วยธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ในมือประชาชนและเงินฝากเผื่อเรียกแล้ว ยังรวม เงินฝากประจำ และ ออมทรัพย์ ที่ระบบธนาคารอีกด้วย | ||
M2 = M1 + Fixed Deposit + Saving Deposit ปริมาณเงินตามความหมายกว้าง (Broad Money) = M1 + เงินฝากประจำ + เงินฝากออมทรัพย์ |
||
ปริมาณเงิน M2a (Broad Money M2a) หมายถึง ปริมาณเงินที่อยู่ในมือประชาชนเป็นความหมายกว้างขึ้น โดยรวมปริมาณเงิน M2 และตั๋วสัญญาใช้เงินหรือนัยหนึ่งคือ เงินที่บริษัทเงินทุนฯ รับฝากจากประชาชน M2a = M2 + P/N Note |
||
ปริมาณเงิน M3 หรือ ปริมาณเงินตามความหมายที่กว้างที่สุด (Broad Money M3) ปริมาณเงินที่หมุนเวียนในมือประชาชนในรูปของเงินสด เงินฝากทุกประเภทของสถาบันการเงินที่รับฝากจากประชาชน ซึ่งรวมถึงเงินฝากในรูปของตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทเงินทุน M3 = Money / Coins + Demanded Deposit +Fixed Deposit + Saving Deposit + P/N |
||
หน้าที่ของเงิน |
||
1. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ และเป็นปัจจัยหรือตัวแปรที่สำคัญในระบบเศรษฐกิจ เนื่องจากเงินเป็นสิ่งที่ใช้จ่ายออกไปเพื่อซื้อสิ้นค้าและบริการต่างๆ จากผู้ผลิต และ ผู้ผลิตก็ใช้เงินเพื่อซื้อปัจจัยการผลิตต่างๆ จากครัวเรือน ถ้าไม่มีเงินในระบบเศรษฐกิจ จะก่อให้เกิดความยากลำบาก ในการแลกเปลี่ยนระหว่าง ความต้องการสินค้ากับความต้องการของผู้บริโภคและบริการ | ||
2. เป็นมาตรฐานในการวัดมูลค่าของสินค้าและการบริการ อาทิ บ้านหลังนี้มีมูลค่า 2,000,000.00 บาท (สองล้านบาท) รถยนต์คันนี้มีมูลค่า 850,000.00 บาท (แปดแสนห้าหมื่นบาท) เสื้อตัวนี้มีมูลค่า 450.00 บาท (สี่ร้อยห้าสิบ บาท) ก๋วยเตี๋ยวราคา 50.00 บาท (ห้าสิบบาท) บัตรชมภาพยนตร์ มีมูลค่า 200.00 บาท(สองร้อยบาท) มูลค่าหรือราคาสินค้าและบริการต่างๆ เป็นมาตรฐานในการวัด เป็นสิ่งที่บอกให้ผู้บริโภคทราบถึงจำนวนเงินที่ต้องจ่ายออกไปและช่วยในการตัดสินใจว่าจะซื้อสิ้นค้าหรือใช้บริการหรือไม่ | ||
3. เป็นเครื่องรักษามูลค่า หมายถึง การรักษาความสามารถในการซื้อสินค้าและบริการต่างๆ ที่สร้างความพอใจให้กับผู้บริโภค เพราะเก็บรักษาเงินจะเป็นหนทางที่ดีและสะดวกกว่า การเก็บรักษาผลตอบแทนในรูปของสินค้าหรือผลผลิตที่เก็บรักษายาก อาจเปลืองเนื้อที่ หรือสินค้าผลผลิตอาจเสียหายไม่คงทนถ้าจะเก็บสินค้าไว้นานๆ | ||
4. เป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการเมื่อกำหนดเป็นมูลค่า ต้องใช้เงินเป็นตัว กำหนดราคา ในการชำระค่าสินค้า อาจจะชำระเป็นงวดๆ เงินจะมีบทบาทโดยทำหน้าที่เป็นมาตรฐาน ในการชำระหนี้เพราะเป็นสิ่งที่สังคมยอมรับได้และสะดวกในการคำนวณ อัตราดอกเบี้ยเมื่อเวลาเปลี่ยนไป |
||
คุณสมบัติของเงินที่ดี เป็นที่ยอมรับของคนในสังคม มีเสถียรภาพในมูลค่า มีความคงทนถาวร แบ่งเป็นหน่วยย่อยได้และสะดวกในการเก็บรักษาและการใช้จ่าย |
||
ทฤษฏีปริมาณเงิน เป็นการอธิบายในรูปของสมการแลกเปลี่ยน เช่น ค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการเท่ากับรายรับที่ได้จาการขายสินค้าและบริการ | ||
Copyright By : Chalengsak
Chuaorrawan Sainampeung School 186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com Tel; 089-200-7752 mobile |
|
http://www.sainampeung.ac.th |