หน้าแรก | โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ |
|
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม |
||
สารบัญ | ||
โครงสร้างของเศรษฐกิจไทย |
||
หน่วยที่ 4 | เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย | |
การพัฒนาที่ยั่งยืน Sustainable Development Goals: SDGs | ||
องค์การสหประชาชาติได้มีการประชุมสุดยอดที่เรียกว่า Millennium Summit ขึ้น ในการประชุมครั้งนั้น ประเทศสมาชิกได้มีการร่วมรับรองเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ หรือ Millennium Development Goals หรือ MDGs โดยมีตั้งเป้าหมาย 8 เป้าหมาย เพื่อเสริมสร้างมาตรฐานชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน โดยตั้งเป้าว่า ในปี ค.ศ. 2015 การแก้ปัญหาจะบรรลุผลสำเร็จ อาทิ | ||
ด้านความยากจนและความอดอยาก จะลดจำนวนคนจนและจำนวนคนอดอยากหิวโหยให้ได้ครึ่งหนึ่ง | ||
ด้านการศึกษาเด็กทุกคนในโลกมีการศึกษาอย่างน้อยขั้นประถ | ||
ด้านสุขภาพการต่อสู้กับโรคระบาดจะลดจำนวนคนติดโรคเอดส์ลงครึ่งหนึ่ง เป็นต้น | ||
ผลการพัฒนาในช่วงเวลาดังกล่าวทำให้ปัญหาในแต่ละด้านมีแนวโน้มลดลง แต่ยังมิได้บรรลุเป้าหมายอย่างแท้จริง | ||
ความหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจ |
||
1. มีความเจริญทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นในระดับสูง |
||
2. ความเจริญทางเศรษฐกิจสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง | ||
3. มีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างทางสังคมที่เหมาะสม | ||
นอกจากจะพิจารณาด้านความเจริญทางเศรษฐกิจยังพิจารณาการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมด้านอื่นๆ ด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นการวิเคราะห์ในระยะยาวที่มุ่งให้อุปทานรวม (Aggregate Supply) สูงขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพื่อให้ผลผลิตในระบบเศรษฐกิจสูงขึ้น โดยมีการใช้ทรัพยากรและการจ้างงานภายในประเทศเพิ่มขึ้น เกิดความสมดุลย์ระหว่างกิจกรรมทางเศรษฐศาสตร์และทรัพยากรโดยให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ เพื่อให้มนุษย์อยู่ดีกินดีในปัจจุบันและอนาคต | ||
โครงสร้างทางเศรษฐกิจ | ||
โครงสร้างทางเศรษฐกิจ หมายถึง ส่วนประกอบที่สำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศ แบ่งได้ 3 ส่วนคือ 1. การผลิตและการบริการ 2. ตลาดสินค้าและบริการ 3. ปัจจัยการผลิตและการจำแนกแจกจ่ายผลผลิต แยกพิจารณาในแต่ละส่วนได้ดังนี้ |
||
โครงสร้างการผลิต หมายถึง การผลิตสินค้าและบริการจำแนกตามโครงสร้างการผลิตโดยใช้บัญชีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของประเทศ แบ่งได้ 11 สาขาการผลิต คือ | ||
1. สาขาเกษตรกรรม | ||
2. สาขาอุตสาหกรรมการผลิต | ||
3. สาขาเหมืองแร่ | ||
4. สาขาก่อสร้าง | ||
5. สาขาการไฟฟ้าและประปา | ||
6 สาขาการคมนาคมและขนส่ง | ||
7. สาขาค้าปลีกและค้าส่ง | ||
8. สาขาการธนาคารและประกันภัย | ||
9. สาขาที่อยู่อาศัย | ||
10. สาขาการบริหารราชการ | ||
11. สาขาบริการ | ||
โครงสร้างตลาดสินค้าและบริการ แบ่งได้ 2 ตลาดคือ ตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ ผลผลิตที่ผลิตขึ้นได้ส่วนหนึ่งใช้บริโภคภายในประเทศและที่เหลือส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม มีผลผลิตหลายชนิดที่ผลิตขึ้นมาแล้วอาศัยตลาดต่างประเทศเป็นหลัก เช่น ตลาดยุโรปเป็นตลาดหลักของผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ตลาดเอเชียเป็นตลาดข้าวที่สำคัญของไทย |
||
โครงสร้างของปัจจัยการผลิตและการจำแนกแจกจ่ายผลผลิต ประชากรไทยส่วนใหญ่อยู่ในภาคเกษตรกรรม ดังนั้น ที่ดินจึงเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญ ส่วนในสาขาอุตสาหกรรมและบริการ ปัจจัยทุนและเทคโนโลยีมีบทบาทมากขึ้น โครงสร้างรายได้นั้นแรงงานภายในประเทศมาจากค่าตอบแทนของแรงงานและการประกอบที่มิใช่นิติบุคคล |
||
ความแตกต่างระหว่างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาเศรษฐกิจ | ||
ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ หมายถึง การขยายกำลังการผลิตสินค้าและบริการโดยเพิ่มปริมาณและคุณภาพของทรัพยากร ปัจจัยการผลิต และประสิทธิภาพในการผลิตซึ่งมีผลทำให้ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น (real GNP) และรายได้ที่แท้จริงต่อบุคคล (real GNP per capita) สูงขึ้น ส่วนการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิดความจำเริญทางเศรษฐกิจโดยสม่ำเสมอและเป็นเวลานาน ทำให้รายได้ที่แท้จริงต่อบุคคลสูงขึ้นและมีการกระจายรายได้อย่างเสมอภาค ประชาชนส่วนใหญ่ได้รับประโยชน์จากรายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างเท่าเทียมกัน ดำรงชีวิตได้อย่างสบาย มีคุณค่าและอิสรภาพในด้านต่างๆ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคม ระบบการเมือง ทัศนคติ การบริหาร การศึกษาและค่านิยมทางสังคมให้เหมาะสม จะเห็นได้ว่า ความจำเริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเศรษฐกิจเท่านั้น หรืออัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GNP Growth Rate) เป็นเครื่องวัดการพัฒนาเศรษฐกิจ |
||
ความจำเป็นในการพัฒนาเศรษฐกิจ | ||
เป้าหมายในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมคือ การที่ประชาชนมีรายได้และมาตรฐานการครองชีพที่สูงขึ้น มีการกระจายรายได้ดี การมีงานทำ มีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการควบคุมการเกิดมลภาวะ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่มีคุณภาพและยั่งยืน แต่ทรัพยากรมีจำกัดต้องใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีประสิทธิภาพมากที่สุด มีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพและเพียงพอต่อพัฒนาประเทศ | ||
การเพิ่มขึ้นของประชากรในอัตราสูงไม่เป็นผลดีต่อการพัฒนาประเทศเพราะจะไม่สอดคล้องกับทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ ที่มีอยู่และเกิดการว่างงานขึ้น นอกจากนั้นผลผลิตเฉลี่ยต่อคนลดลงเพราะทรัพยากรและผลผลิตขยายตัวไม่ทัน |
||
ตัวชี้วัดการเจริญเติบโตและการพัฒนาเศรษฐกิจ | ||
การวัดการเจริญเติบโตและการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไม่มีตัวชี้วัดใดที่สมบูรณ์ ต้องใช้ตัวชี้วัดหลายชนิดร่วมกัน อาทิ ตัวชี้วัดรายได้ที่แท้จริงต่อบุคคลแสดงถึงการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและความสามารถในการผลิตของบุคคล แต่ไม่ได้แสดงถึงสภาพความเป็นอยู่ของประชาขนในด้านอื่นๆ ดังนั้น ในการพิจารณาต้องใช้ชี้วัดอื่นประกอบด้วย เช่น การค้าการลงทุน ดุลการค้าระหว่างประเทศ อัตราการเพิ่มของประชากร อัตราการไม่รู้หนังสือ การสาธารณะสุข คุณภาพประชากร ปัญหาสังคมและการเกิดอาชญากรรม เป็นต้น |
||
จุดมุ่งหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจ | ||
รัฐบาลของทุกประเทศในโลกนี้ต้องการยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้สูงขึ้น ประเทศที่พัฒนาแล้วต้องการรักษามาตรฐานการครองชีพที่ดีและความมั่งคั่งของประเทศไว้ ประเทศกำลังพัฒนาต้องการยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชาชนและเพิ่มความมั่งคั่งของประเทศให้เทียบเท่าประเทศที่พัฒนาแล้ว สามารถสรุปถึงจุดมุ่งหมายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศได้ดังนี้ | ||
เพื่อให้รายได้ประชาชาติของประเทศเพิ่มขึ้น โดยใช้มาตรการและนโยบายต่างๆ ส่งเสริมการออม การลงทุน การผลิต ซึ่งแสดงถึง สภาพความเป็นอยู่และฐานะทางเศรษฐกิจของประชาชนในประเทศที่ดีขึ้น |
||
เพื่อให้การจ้างงานอยู่ในระดับสูง การว่างงานจะเกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ดังนั้น รัฐบาลต้องหาวิธีการส่งเสริมการลงทุนในประเทศเพื่อให้เกิดการจ้างงาน ประชาชนในประเทศมีงานทำ กระตุ้นการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศ |
||
การสร้างและรักษาเสถียรภาพระดับราคาสินค้าในประเทศ หมายถึง การควบคุมภาวะเงินเฟ้อภายในประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เนื่องจากประชากรที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศขยายตัว ปริมาณเงินหมุนเวียนเพิ่มขึ้น โอกาสที่จะเกิดเงินเฟ้อภายในประเทศสูง รัฐบาลจึงต้องหาวิธีควบคุมภาวะเงินเฟ้อโดยใช้นโยบายการเงินและการคลัง |
||
กระจายรายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม เมื่อการพัฒนาเศรษฐกิจเจริญเติบโตเต็มที่แต่ผลของการพัฒนาไม่กระจายสู่คนหมู่มาก ถือว่าเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจที่ไม่สมบูรณ์ ต้องมีการกระจายรายได้ กระจายความมั่งคั่งสู่ประชาชนภายในประเทศให้เท่าเทียมกัน เพื่อให้ช่องว่างของรายได้น้อยลง | ||
Copyright By : Chalengsak
Chuaorrawan Sainampeung School 186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com Tel; 089-200-7752 mobile |
|
http://www.sainampeung.ac.th |