หน้าแรก | โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ |
|
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม |
||
สารบัญ | ||
โครงสร้างของเศรษฐกิจไทย |
||
หน่วยที่ 4 | เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย | |
4.2 โครงสร้างเศรษฐกิจไทย | ||
ลักษณะโครงสร้างเศรษฐกิจไทยได้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมาก ตามแนวทางของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือเสรีนิยมที่เน้นเรื่องความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นหลัก รัฐบาลจึงต้องกำหนดยุทธศาสตร์ นโยบาย และมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วน | ||
ระบบเศรษฐกิจของไทยได้เน้นการเจริญเติบโตและการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นหลัก ทำให้ต้องพึ่งพาการส่งออก นำเข้า และการเงินระหว่างประเทศ เพื่อเร่งการลงทุนและการผลิตในประเทศ และใช้ปัจจัยการผลิตและทรัพยากรธรรมชาติอย่างไร้ประสิทธิภาพ โดยไม่มีการผลิตทดแทนทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนตามมา ถึงแม้ไทยจะประสบผลสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับหนึ่ง แต่ก็ประสบปัญหาการกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรม ปัญหาความยากจนของประชาชนที่ไม่ได้รับส่วนแบ่งในผลประโยชน์ของการพัฒนา รัฐบาลจึงต้องเข้ามาหาแนวทางแก้ไขปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจแบบสมดุลและยั่งยืนในระยะยาว | ||
เศรษฐกิจไทยในอดีตขยายตัวจากกระบวนการพัฒนาโครงสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยมีการจัดสรรแรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดความเชื่อมโยงในระดับกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินธุรกิจมาโดยตลอด เมื่อมองไปข้างหน้า เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญความท้าทายหลายประการ เช่น การก้าวเข้าสู่ภาวะสังคมสูงวัยที่ประชากรขยายตัวลดลงและมีผู้สูงอายุมากขึ้น จึงอาจขาดความคล่องแคล่วและปรับตัวได้ช้าลง และการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรุนแรงที่ทำให้แรงงานที่ไม่มีทักษะเพียงพอต้องได้รับผลกระทบ |
||
การปฏิรูปเฉพาะด้านโครงสร้างเศรษฐกิจแต่เพียงอย่างเดียว ยังไม่เพียงพอ ประเทศไทยยังจําเป็นต้องปฏิรูปโครงสร้างด้านสังคม การศึกษา กฎหมาย และความมั่นคง ของประเทศเพิ่ มเติมด้วย ซึ่งจะสําเร็จได้ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของไทย ทั้งจากภาครัฐและ ภาคเอกชน โดยการทําตามหน้าที่ บทบาทของตนเอง เพื่อนําพาประเทศไทยให้สามารถรองรับความเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้น และขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ "ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ได้อย่างแท้จริง | ||
การเกษตรกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง | ||
แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง มีประโยชน์ต่อเกษตรกรอย่างมาก เพราะพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานแนวคิดที่เรียกว่า "เกษตรทฤษฎีใหม่" เกี่ยวกับการจัดพื้นที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยและมีชีวิตอย่างยั่งยืน โดยมีแบ่งพื้นที่เป็นส่วน ๆ ได้แก่ พื้นที่น้ำ พื้นที่ดินเพื่อเป็นที่นาปลูกข้าวพื้นที่ดินสำหรับปลูกพืชไร่นานาพันธุ์ และที่สำหรับอยู่อาศัยและเลี้ยงสัตว์ ในอัตราส่วน 30:30:30:10 อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนดังกล่าว เป็นสูตรหรือหลักการโดยประมาณเท่านั้น สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม โดยขึ้นอยู่กับสภาพของที่ดิน ปริมาณน้ำฝนและสภาพแวดล้อม เป็นหลักการในการบริหารการจัดการที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 3 ขั้น ดังนี้ | ||
ขั้นที่ 1 ทฤษฏีใหม่ขั้นต้น : การจัดสรรพื้นที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน | ||
เป็นการผลิตแบบพึ่งตนเองด้วยวิธีง่ายๆ ค่อยเป็นค่อยไปตามกำลัง พอมีพอกินไม่อดอยาก เป็นการผลิตอาหารเพื่อการบริโภค ที่เหลือจึงเอาไว้ขาย เนื่องจากปัญหาของเกษตรกร มักเกิดจาก ภัยธรรมชาติ น้ำท่วม หรือ การขาดแคลนน้ำ เกษตรกรส่วนใหญ่อาศัยอยู่นอกเขตการชลประทาน จึงต้องอาศัยน้ำฝนจากธรรมชาติ ดังนั้น จึงต้องวางแผนแก้ปัญหา ความไม่มั่นคงทางด้านอาหารก่อนโดยเน้นให้แต่ละครอบครัวมีแหล่งอาหาร โดยเฉพาะข้าว ให้พอต่อการบริโภคก่อน แล้วจัดสรรพื้นที่ให้ทำอย่างอื่นต่อ อาทิ บ่อเลี้ยงปลา และใช้น้ำ ในการเพาะปลูก พืชสวนครัว พืชไร่ ไม้ยืนต้น เลี้ยงสัตว์ เพื่อเป็นรายได้เสริมและลดค่าใช้จ่ายของครัวเรือน | ||
ขั้นที่ 2 ทฤษฏีใหม่ขั้นกลาง | ||
เป็นการรวมกลุ่มกันของเกษตรกร ในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์ ร่วมแรง ในเรื่องของการผลิต จำหน่าย การตลาด การเป็นอยู่ สวัสดิการ การศึกษา สังคม และศาสนา จัดตั้งและบริการ ร้านค้าสหกรณ์ ช่วยกันลงทุนช่วยกันพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชนบท | ||
ขั้นที่ 3 ทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้า |
||
เป็นการร่วมลงทุนและพัฒนา ร่วมมือกับแหล่งเงินและพลังงาน ซึ่งมิใช่ทำอาชีพด้านการเกษตรเพียงอย่างเดียว อาจร่วมกับองค์กรหรือภาคเอกชนภายนอก โดยให้กลุ่ม หรือ สหกรณ์ในชุมชนติดต่อประสานงาน กับ องค์กรหรือ ภาคเอกชน หรือ สถานบันการเงิน หรือ แหล่งพลังงาน เพื่อระดมทุนขยายกิจการให้ก้าวหน้า เป็นการขายตรงสู่มือผู้บริโภคโดยไม่ผ่านคนกลาง เกษตกรสามารถซื้อเครื่องอุปโภค บริโภคได้ในราคาต่ำเพราะรวมกันซื้อครั้งละมาก ๆ รวมกันผลิตพร้อมจำหน่ายสู่ตลาดภายนอก |
||
การอุตสาหกรรมกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง | ||
การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้ ในธุรกิจภาคอุตสาหกรรมนั้น ไม่เพียงแต่ไม่ขัดกับการทำธุรกิจเพื่อการแข่งขันหรือแสวงหาผลกำไรแล้ว ยังก่อให้เกิดความเจริญอย่างมีระบบและยังยื่นในระยะยาว ที่มีความเสี่ยงอย่างมากในยุคโลกาภิวัตน์ |
||
ปัจจุบันมีการติดต่อสื่อสารที่ไร้พรมแดนพร้อมกับความเจริญทางด้านเทคโนโลยี ข่าวสารทั่วทุกมุมโลกหลั่งไหลเข้ามา ทำให้การดำเนินชีวิตของคนไทยเปลี่ยนไป ดังนั้น เราสามารถนำหลักปรัขญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ได้บนทางสายกลางอยู่ในความพอดี พอประมาณ ใช้ความรู้อย่างมีเหตุผลในการทำธุรกิจ พึ่งตนเอง มีภูมิต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลง โดยไม่เอาเปรียบสังคมดังนี้ |
||
1. ประกอบธุรกิจบนหลักการของความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ใช้ความรู้และคุณธรรม ทำธุรกิจให้มีกำไรอย่างเหมาะสม แบ่งปันผลกำไรส่วนหนึ่ง ในการพัฒนาองค์กรและบุคคลากรให้เจริญก้าวหน้า ตลอดจนการสร้างประโยชน์คืนสู่สังคมและรักษาสิ่งแวดล้อม |
||
2. ผลิตสินค้าตามกำลัง หน่วยธุรกิจต้องคำนึงถึงความเสี่ยงในการลงทุนหรือขยายกิจการ การกู้เงินจากสถาบันการเงิน ให้พิจารณาอย่างรอบคอบว่า มีความสามารถในการชำระหนี้ เพื่อให้กิจการค่อยๆ เจริญเติบโตอย่างมั่นคง |
||
3. ต้องมีวิสัยทัศน์ ติดตามข่าวสารสถานการณ์ทั้งภายในและภายนอกประเทศ เกี่ยวกับสินค้าและบริการ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจขององค์กร จะมีทิศทางอย่างไร เพื่อนำข้อมูลมาบริหารองค์กรให้มีความมั่นคง ยั่งยืนและเจริญก้าวหน้าต่อไป |
||
4. ยึดหลักคุณธรรม ผลิตสินค้าและบริการให้ได้มาตรฐาน เหมาะสมทั้งราคา ปริมาณ คุณภาพและการโฆษณา ตามที่ประกาศไว้บนฉลาก โดยการดำเนินธุรกิจภายใต้ คุณธรรม จริยธรรม บนพื้นฐานทางสังคมและสิ่งแวดล้อม |
||
5. สร้างสมดุลทางด้านเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม ภายใต้กรอบแนวคิดของการพัฒนาอย่างยั่งยืน Sustainable Development และกำหนดเป้าหมายของธุรกิจให้เป็นอุตสาหกรรมเชิงนิเวศอย่างเป็นรูปธรรม | ||
Copyright By : Chalengsak
Chuaorrawan Sainampeung School 186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com Tel; 089-200-7752 mobile |
|
http://www.sainampeung.ac.th |