หน้าแรก | โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ |
|||||||||||||||||
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
|
||||||||||||||||||
สารบัญ | ||||||||||||||||||
สหกรณ์ cooperatives |
||||||||||||||||||
หน่วยที่ 3 | สหกรณ์และการรวมกลุ่มเพื่อการพัฒนาชุมชนของไทย | |||||||||||||||||
3.1 ความเป็นของของสหกรณ์ |
||||||||||||||||||
บุคคลแรกที่สอนให้คนทั่วไปรู้จักคำว่า สหกรณ์ คือ โรเบิร์ต โอเวน Robert Owen เป็นชาวอังกฤษซึ่งถือเป็นผู้ให้กำเนิดการสหกรณ์ขึ้น และได้รับยกย่องให้เป็นบิดาแห่งสหกรณ์ โรเบิร์ต โอเวน Robert Owen เป็นคนที่มีความเฉลียวฉลาดและรู้จักวิธีการทำมาหากิน ทำให้เขาได้เป็นผู้จัดการและมีหุ้นส่วนเป็นเจ้าของโรงงาน เขาเป็นนายจ้างที่มีความหวังดีต่อกรรมกรจึงได้ปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ทั่วไปของคนงานให้ดีขึ้น หลังจากนั้น โรเบิร์ต โอเวน ได้หาวิธีช่วยเหลือกรรมกรอื่นๆ โดยสอนให้รู้จักการช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อขจัดปัญหาและความเดือดร้อนต่างๆ ซึ่งเป็นวิธีการของระบบสหกรณ์ จากนั้น โรเบิร์ต โอเวน จึงเสนอให้จัดตั้ง ชมรมสหกรณ์ co-operative community ให้ชมรมสหกรณ์ทำการผลิตสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ใช้เอง โดยไม่ใช้เครื่องจักร ทรัพย์สินของชมซึ่งเป็นของส่วนรวม เพื่อมิให้สภาพนายทุนปะปนอยู่ในชมรม การจัดตั้งชมรมสหกรณ์นี้ จะต้องใช้เงินทุนและที่ดินเป็นจำนวนมาก โรเบิร์ต โอเวน ก็ได้พยายามเผยแพร่แผนการจัดตั้งชมรมสหกรณ์ เพื่อให้คนทั่วไปได้เข้าใจระบบสหกรณ์ ในฐานะสมาคมเพื่อเศรษฐกิจ แต่โรเบิร์ต โอเวนยังไม่สามารถ จัดตั้ง ชมรมสหกรณ์ ในประเทศอังกฤษได้ เพราะมีปัญหาเกี่ยวกับสภาพสังคมในสมัยนั้น โรเบิร์ต โอเวน จึงได้เดินทางไปประเทศสหรัฐอเมริกา ในปีพุทธศักราช 2368 แล้วพยายามตั้งสหกรณ์โดย ให้ชื่อว่า นิวฮาโมนี New Harmony แต่ได้ล้มเลิกไปในระยะเวลาต่อมา เนื่องจากไม่ได้คัดเลือกสมาชิกและไม่มีกิจกรรมเพียงพอให้คุ้มค่ากับค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ยังมีปัญหาเกี่ยวกับการปกครองและศาสนา อย่างไรก็ตามแนวความคิดของ โรเบิร์ต โอเวน ก็มีอิทธิพลต่อนักปฏิรูปทางเศรษฐกิจ เขาได้ให้แนวความคิดเกี่ยวกับ ความร่วมมือร่วมใจ ระหว่างมนุษย์ ในอันที่จะช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อยกมาตรฐานความเป็นอยู่ให้สูงขึ้น |
||||||||||||||||||
นายแพทย์วิลเลียมคิง William King ชาวอังกฤษที่อาศัยอยู่ในเมืองไบรตัน ประเทศอังกฤษ เป็นอีกท่านหนึ่งที่นิยมในความคิดทางสหกรณ์ของโรเบิร์ต โอเวน แต่เห็นว่าโครงการของ โรเบิร์ต โอเวน ต้องใช้เงินทุนจำนวนมากซึ่งจะทำให้เป็นจริงได้ยาก นายแพทย์คิงจึงเริ่มชี้แจ้งให้คนงานรวมทุนกันคนละเล็กละน้อยตั้งสมาคมการค้า Trading Association ในรูปสหกรณ์ขึ้น ในปีพุทธศักราช 2370 เป็นรูปร้านสหกรณ์จำหน่ายสินค้า ร้านสหกรณ์จำหน่ายสินค้ามีข้อแตกต่างไปจากร้านสหกรณ์ในปัจจุบันคือ กำไรที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจของร้านสหกรณ์นี้จะไม่นำมาแบ่งปันกัน แต่จะเก็บสมทบไว้เป็นทุนเพื่อใช้ขยายงานของร้านสหกรณ์ต่อไปจนสามารถจัดตั้งชมรมสหกรณ์ตามแบบโรเบิร์ต โอเวน ได้ซึ่งจากการกระทำดังกล่าวทำให้ร้านค้าแบบสหกรณ์ในรูปแบบนี้ไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากเก็บกำไรทั้งหมดไว้ไม่จ่ายคืน แก่สมาชิกทำให้สมาชิกไม่ศรัทธาสหกรณ์ อย่างไรก็ตาม กิจการของนายแพทย์คิงคล้ายกับร้านสหกรณ์ในปัจจุบัน ดังนั้นในวงการร้านสหกรณ์จึงยกย่องและให้เกียรติท่านเป็นอย่างมาก |
||||||||||||||||||
ต่อมาเมื่อมีสมาชิกเพิ่มและธุรกิจการค้าขยายใหญ่ขึ้นและมีการทำธุรกิจกับบุคคลภายนอกด้วย นักสหกรณ์ รอชเดล Coop Rochdale หรือ ที่เรียกกันว่า ผู้นำแห่งรอชเดล จึงกำหนดหลักปฏิบัติไว้ 7 ประการ ซึ่งมีสาระสำคัญหลายประการที่ยึดถือเป็นหลักสหกรณ์สากลจนมาถึงปัจจุบัน แม้เวลาจะล่วงเลยมาเป็นเวลานาน แต่ร้านสหกรณ์รอชเดลก็ยังคงอยู่และเป็นร้านที่มีขนาดใหญ่ ยิ่งกว่านั้นวิธีการร้านสหกรณ์สำหรับผู้บริโภคแบบนี้ได้แพร่หลายออกไปสู่ประชาชนกลุ่มอื่นๆ ปัจจุบันร้านสหกรณ์ที่ถือหลักการสำคัญๆ อย่างเดียวกันนี้มีอยู่ในประเทศต่างๆ เป็นจำนวนมาก ส่วนสหกรณ์ประเภทอื่นๆ เช่น สหกรณ์ที่ช่วยเหลือสมาชิกให้กู้ยืมเงินไปทำทุนหรือสหกรณ์เครติด หรือ สหกรณ์สินเชื่อ ก็เช่นเดียวกัน สหกรณ์เหล่านี้เกิดจากความขัดสนและความเดือดร้อนของเกษตรกรและกรรมกร เนื่องจากหาเงินกู้ยืมมาประกอบการทำมาหากินได้ยาก แม้ว่าจะกู้มาได้ก็ต้องเสียดอกเบี้ยแพง จนไม่สามารถหารายได้เพียงพอกับการชำระดอกเบี้ยและเงินต้น เป็นเหตุให้มีหนี้สินเพิ่มมากขึ้น |
||||||||||||||||||
ต่อมาในปีพุทธศักราช 2393 นายเฮอร์มัน ซูลซ์ Hermann Schulze เป็นผู้พิพากษาชาวเยอรมันแห่งเมืองเดลิตซ์ ได้จัดตั้งสหกรณ์ประเภทหาหุนขึ้นในหมู่ชาวเมืองช่างฝีมือและพ่อค้าขนาดเล็ก โดยรวบรวมขึ้นเป็นองค์การเพื่อจัดหาทุนให้สมาชิกกู้ยืม ต่อมาในปีพุทธศักราช 2405 นายฟริดริค วิลเฮล์ม ไรฟ์ไฟเซน Friedrich Wilhelm Raiffisen ชาวเยอรมัน ซึ่งเป็นนายกเทศมนตรี เมืองเฮดเอสดอร์ฟ ได้จัดตั้งสหกรณ์หาทุนขึ้นในหมู่ชาวชนบทซึ่งเป็นเกษตรกร โดยจัดเป็นองค์การเพื่อจัดหาทุนให้แก่สมาชิกกู้ยืมเช่นเดียวกัน ในเวลาต่อมาการรวมกันเป็นสหกรณ์ เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนก็ได้แพร่หลายไปยังประเทศต่างๆ อันเป็นประโยชน์และเป็นตัวอย่าง ในการจัดตั้งสหกรณ์มาจนถึงปัจจุบัน | ||||||||||||||||||
สหกรณ์เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทย | ||||||||||||||||||
สหกรณ์ cooperatives คือ องค์การของบรรดาบุคคลซึ่งรวมกลุ่มกันตั้งแต่10คนขึ้นไป มาทำสหกรณ์โดยความสมัครใจในการดำเนินวิสาหกิจที่พวกเขาเป็นเจ้าของร่วมกัน และควบคุมตามหลักประชาธิปไตยเพื่อสนองความต้องการ (อันจำเป็น) และความหวังร่วมกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม | ||||||||||||||||||
สหกรณ์นับว่าเป็นองค์การหนึ่งที่มนุษย์คิดค้นขึ้นมาจากผลของการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมขนานใหญ่ ในการปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยยึดหลักการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในหมู่ประชาชนที่มีความอัตคัตขัดสนและอ่อนกำลังในทางเศรษฐกิจ ดำ เนินการด้วยการช่วยเหลือตนเอง ด้วยการร่วมทุนและกำลังเงิน ด้วยความสมัครใจ ตั้งเป็นสมาคมเพื่อประกอบกิจการของตนเองโดยมิใช่การแสวงหากำไร แต่เพื่อตัดคนกลางที่ไม่จำเป็นออกไปให้สมาชิกทุกคน มีความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่ถือกำลังทรัพย์เป็นใหญ่และผลที่เกิดขึ้นก็นำมาแบ่งปันกัน โดยวิธีที่เที่ยงธรรมในระหว่างที่มีส่วนได้เสียในกิจกรรมนั้น วิธีนี้คือหลักการร่วมมือ จึงได้ชื่อว่า การสหกรณ์ | ||||||||||||||||||
พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ผู้เป็นพระบิดาของการสหกรณ์ในประเทศไทย ได้บัญญัติคำจากภาษาอังกฤษ Co-Operation เป็นศัพท์เฉพาะในภาษาไทยว่า สหกรณ์ ซึ่งมาจากคำในภาษาสันสกฤต 2 คำ คือ สห แปลว่า ร่วมกัน และ กรณ์ แปลว่าการกระทำ รวมกันแปลได้ความว่า การกระทำ ร่วมกัน หรือการร่วมมือกัน และได้ประทานคำแปลว่า สหกรณ์เป็นวิธีการจัดการรูปหนึ่งซึ่งบุคคลหลายคนเข้าร่วมกันโดยความสมัครใจของตนเอง ในฐานะที่เป็นมนุษย์เท่านั้น และโดยความมีสิทธิเสมอหน้ากันหมดเพื่อจะบำรุงตัวเองให้เกิดความจำเริญในทางทรัพย์ |
||||||||||||||||||
ซึ่งตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2493 ให้ความหมายของสหกรณ์ไว้ว่างานร่วมมือกัน วิธีการจัดการอย่างหนึ่งที่บุคคลพอใจร่วมมือ เพื่อบำรุงความเจริญในทางเศรษฐกิจโดยแบ่งกำไรเสมอกัน | ||||||||||||||||||
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงอธิบายความหมายสหกรณ์ว่า สห คือ ด้วยกัน กรณ์ คือการทำงาน สหกรณ์คือการทำงานร่วมกัน ด้วยความรู้ความสามารถ ซื้อสัตย์สุจริต เมตตากัน สหกรณ์ต้องอาศัยปัจจัยสำคัญที่สุดคือความสามัคคีและความซื่อสัตย์ |
||||||||||||||||||
ความหมายของสหกรณ์ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 มาตรา 4 ได้กำหนดให้สหกรณ์ หมายความว่า คณะบุคคลซึ่งร่วมกันดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมโดยช่วยตนเอง และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้ |
||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||
Copyright By : Chalengsak
Chuaorrawan Sainampeung School 186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com Tel; 089-200-7752 mobile |
|
http://www.sainampeung.ac.th |