หน้าแรก | โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ |
|
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
|
||
สารบัญ | ||
การกำหนดราคาในระบบเศรษฐกิจ |
||
หน่วยที่ 2 | ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน | |
2.6 ความยืดหยุ่น Elasticity | ||
ความยืดหยุ่น Elasticity หมายถึง อัตราการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรหนึ่งที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรตัวอื่นๆ ตัวใดตัวหนึ่งหรือหลายตัวก็ได้ |
||
|
||
ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ elasticity of demand คือ อัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณสินค้าที่ผู้ซื้อ ต้องการซื้อในขณะใดขณะหนึ่งซึ่งตอบสนองต่ออัตราการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรอื่นๆ ที่เป็นตัวกำหนดปริมาณซื้อ |
||
|
||
1. ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา price elasticity of demand หมายถึง อัตราการเปลี่ยนแปลงในปริมาณเสนอซื้อสินค้าที่มีผู้ต้องการซื้อต่ออัตราการเปลี่ยนแปลงในราคาสินค้าชนิดนั้น โดยคิดอัตราการเปลี่ยนแปลงเป็นร้อยละ ลักษณะของความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา มี 5 ชนิด |
||
1.1. อุปสงค์ที่ไม่มีความยืดหยุ่นเลย ( Ed = 0 ) 1.2. อุปสงค์ที่มีความยืดหยุ่นน้อย ( 0 <Ed < 1 ) 1.3 อุปสงค์ที่มีความยืดหยุ่นเท่ากับหนึ่ง ( Ed = 1) 1.4 อุปสงค์ที่มีความยืดหยุ่นมากกว่าหนึ่ง ( Ed >1 ) 1.5 อุปสงค์ที่มีความยืดหยุ่นอย่างสมบูรณ์ ( Ed = ∞ ) |
||
ประเภทของเส้นอุปสงค์จำแนกตามความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา | ||
1.1 อุปสงค์ที่ไม่มีความยืดหยุ่นเลย ( Ed = 0 ) อุปสงค์ที่ไม่มีความยืดหยุ่นเลย (Perfectly inelastic) ค่าของความยืดหยุ่นเท่ากับศูนย์ (Ed = 0) |
||
1.2. อุปสงค์ที่มีความยืดหยุ่นน้อย ( 0 <Ed < 1 ) | ||
อุปสงค์ที่มีความยืดหยุ่นน้อยค่าของความยืดหยุ่น มากกว่า 0 แต่น้อยกว่า 1 ( 0 < Ed <1 ) |
||
1.3 อุปสงค์ที่มีความยืดหยุ่นเท่ากับหนึ่ง ( Ed = 1) | ||
อุปสงค์ที่มีความยืดหยุ่นคงที่ unitary elastic ค่าของความยืดหยุ่นเท่ากับ 1 (Ed= 1) หมายความว่า ร้อยละการเปลี่ยนแปลงของจำนวนซื้อเท่ากับร้อยละการ เปลี่ยนแปลงของราคา ในกรณีนี้เส้นอุปสงค์จะมีลักษณะเป็น rectangular hyperbola มีคุณสมบัติ 4 ประการ ดังนี้ |
||
1.3.1 ทุกๆ จุดบนเส้นอุปสงค์มีค่าความยืดหยุ่นเท่ากับ 1 | ||
1.3.2 เมื่อลากเส้นสัมผัสเส้น rectangular hyperbola ณ จุดใดจุดหนึ่งปลายบนของเส้นตรงที่ตัดกับแกนราคา จะมีค่าเป็นสองเท่าของค่าตรงจุดสัมผัสด้านแกนราคา และปลายล่างของเส้นตรงที่ตัดกับแกนปริมาณจะมีค่าเป็นสองเท่า ของค่าตรงจุดสัมผัสด้านแกนปริมาณ เช่นกัน | ||
1.3.3 ปลายทั้งสองข้างของเส้นโค้งจะมีสัดส่วนเท่ากัน โดยเส้นโค้งจะเว้าเข้าหาจุด Origin | ||
1.3.4 รูปสี่เหลี่ยมที่เกิดขึ้นภายใต้เส้น rectangular hyperbola จะมีพื้นที่เท่ากันหมด | ||
1.4 อุปสงค์ที่มีความยืดหยุ่นมากกว่าหนึ่ง ( Ed >1 ) | ||
อุปสงค์ที่มีความยืดหยุ่นมาก elastic ค่าของความยืดหยุ่นมากกว่า 1 ( Ed >1 )หมายความว่า ร้อยละการเปลี่ยนแปลงของจำนวนซื้อมากกว่าร้อยละ การเปลี่ยนแปลงของราคานั่นคือ จำนวนซื้อจะเพิ่มขึ้นมาก เมื่อราคาเปลี่ยนแปลงไป เส้นอุปสงค์จะชันน้อย |
||
1.5 อุปสงค์ที่มีความยืดหยุ่นอย่างสมบูรณ์ ( Ed = ∞ ) | ||
อุปสงค์ที่มีความยืดหยุ่นมากที่สุด perfectly elastic ค่าของความยืดหยุ่นเท่ากับอินฟินิตี้ (infinity) (Ed=∞) หมายความว่า ถ้ามีการลดลงของราคาเพียงเล็กน้อยจะทำให้จำนวนซื้อสินค้าเพิ่มขึ้นจาก 0 ไปเป็นจำนวนมากไม่มีที่สิ้นสุด แต่ถ้าหากราคาสูงกว่าราคานี้เพียงเล็กน้อยจะไม่มีผู้ซื้อสินค้านี้เลย นั่นคือ ผู้ผลิตทุกคนจะต้องขายตามราคาที่เป็นอยู่ในตลาดเส้นอุปสงค์จะมีลักษณะเป็นเส้นตรงขนานกับแกนนอน |
||
อุปสงค์จะมีลักษณะเป็นเส้นตรงขนานกับแกนนอน Ed = ∞ | ||
ตามกฎของอุปสงค์ Law of Demand จำนวนซื้อจะเปลี่ยนแปลงตรงกันข้ามกับราคาเสมอ (สำหรับสินค้าปกติและสินค้าฟุ่มเฟือย) นั่นคือ เมื่อราคาลดลงจำนวนซื้อจะมากขึ้น และในทางกลับกัน เมื่อราคาสูงขึ้นจำนวนซื้อจะลดลงเสมอ ดังนั้น เครื่องหมายการเปลี่ยนแปลงของราคาและจำนวนซื้อจะต่างกัน ค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาจึงมีค่าเป็นลบเสมอ และเป็นตัวเลขโดด ๆ ไม่มีหน่วย เพราะตัวตั้งและตัวหารมีหน่วยเป็นร้อยละเหมือนกัน |
||
ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้ income elasticity of demand | ||
อุปสงค์ต่อรายได้ หมายถึง จำนวนต่างๆ ของสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการเสนอซื้อ ณ ระดับรายได้ต่างๆ ภายในระยะเวลาหนึ่ง โดยกำหนดให้ปัจจัยอื่นๆ คงที่ ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้ (Income Elasticity of demand) หมายถึง การวัดอัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณความต้องการซื้อสินค้าเมื่อรายได้เปลี่ยนแปลง |
||
ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาสินค้าอื่น cross price elasticity of demand | ||
ลักษณะของเส้นอุปสงค์ต่อราคาสินค้าอื่นหรือความยืดหยุ่น ไขว้ 1. อุปสงค์ต่อราคาสินค้าอื่นที่มีความยืดหยุ่นเป็นบวก (EC > 0) ลักษณะของเส้น อุปสงค์มีความชันเป็นบวก แสดงถึง ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าชนิดหนึ่งจะเปลี่ยนแปลงไป ในทิศทางเดียวกับราคาสินค้าอีกชนิดหนึ่ง อุปสงค์ต่อราคาสินค้าอื่นที่มีความยืดหยุ่นเป็นบวก จัดเป็นสินค้าที่ใช้ทดแทนกัน (substitute goods) อาทิ เกลือกับน้ำปลา มะนาวกับน้ำส้มสายชู เป็นต้น |
||
2. อุปสงค์ต่อราคาสินค้าอื่นที่มีความยืดหยุ่นเป็นลบ (EC< 0) ลักษณะของเส้น อุปสงค์มีความชันเป็นลบ แสดงถึง ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าชนิดหนึ่งจะเปลี่ยนแปลงไป ในทิศทางตรงกันข้ามกับราคาสินค้าอีกชนิดหนึ่ง อุปสงค์ต่อราคาสินค้าอื่นที่มีความยืดหยุ่นเป็น ลบจัดเป็นสินค้าที่ใช้ประกอบกัน (complementary goods) อาทิ ถุงเท้ากับรองเท้า กาแฟกับ ครีมเทียม เป็นต้น | ||
3. อุปสงค์ต่อราคาสินค้าอื่นที่มีความยืดหยุ่นเท่ากับศูนย์ (EC = 0) ลักษณะของ เส้นอุปสงค์จะตั้งฉากกับแกนนอน แสดงถึง ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าชนิดหนึ่งจะไม่ เปลี่ยนแปลงถึงแม้ว่าราคาสินค้าอีกชนิดหนึ่งจะเปลี่ยนแปลงก็ตาม อุปสงค์ต่อราคาสินค้าอื่นที่มี ความยืดหยุ่นเป็นศูนย์จัดเป็นสินค้าอิสระ (independent goods) | ||
ความยืดหยุ่นของอุปทาน (Elasticity of Supply) |
||
ความยืดหยุ่นของอุปทานต่อราคา (price elasticity of supply) ความยืดหยุ่นของอุปทานต่อราคา หมายถึง อัตราการเปลี่ยนแปลงในจำนวนสินค้าที่ผู้ขายต้องการขายต่ออัตราการเปลี่ยนแปลงในราคาสินค้าชนิดนั้น โดยคิดอัตราการเปลี่ยนแปลงเป็นร้อยละ |
||
ตามกฎของอุปทาน จำนวนขายจะเปลี่ยนแปลงทางเดียวกันกับราคาสินค้าชนิดนั้นเสมอ ดังนั้น เครื่องหมายการเปลี่ยนแปลงของราคาและจำนวนขายจะเหมือนกัน ค่าความยืดหยุ่นของอุปทานจะเป็นบวกเสมอ และเป็นตัวเลขโดด ๆ ไม่มีหน่วย ในกรณีนี้ไม่จำเป็นต้องตัดเครื่องหมายทิ้งอย่างเช่นที่ทำกับค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา |
||
1. แบบจุด (point elasticity of supply) 2. แบบช่วง (arc elasticity of supply) |
||
1. สูตรความยืดหยุ่นของอุปทานแบบจุด (Point elasticity of supply) |
||
โดย Es = ค่าความยืดหยุ่นของอุปทานต่อราคา |
||
2. แบบช่วง (arc elasticity of supply) | ||
Es = สมัประสทิธคิ์วามยดืหยนุ่ ของอุปทานต่อราคา Q1 =ปริมาณการขายเดิมก่อนที่ราคาสินค้าจะเปลี่ยนแปลง Q2 = ปริมาณการขายอันใหม่เมื่อราคาสินค้าเปลี่ยนแปลงไป P1= ราคาสินค้าเดิม P2 =ราคาสินค้าใหม่ |
||
ประเภทของเส้นอุปทานจำแนกตามความยืดหยุ่นต่อราคา | ||
1. อุปทานที่ไม่มีความยืดหยุ่นเลย (prefectly inelastic supply) |
||
2. อุปทานที่มีความยืดหยุ่นน้อย (inelastic supply) ค่าความยืดหยุ่นมากกว่า 0 แต่น้อยกว่า 1 (0 < Es < 1) หมายความว่า ร้อยละของจำนวนขายจะเปลี่ยนแปลงไปน้อยกว่าร้อยละการเปลี่ยนแปลงของราคา หรือจำนวนขายมีปฏิกิริยา ตอบสนองต่ำต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาเส้นอุปทานจะค่อนข้างชัน และลากตัดแกนตั้งต่ำกว่า จุด origin | ||
3. อุปทานที่มีความยืดหยุ่นคงที่ (unitary elastic supply) |
||
ความยืดหยุ่นของอุปทานจะมีค่าเท่ากับ 1 (Es =1) หมายความว่า การเปลี่ยนแปลงของราคาจะส่งผลกระทบต่อจำนวนขายในสัดส่วนเดียวกันเสมอ เส้นอุปทานจะผ่านจุด origin พอดี (แบ่งครึ่งแกน P และ Q เป็น 45องศา) เส้นอุปทานในลักษณะนี้มีโอกาสเกิดขึ้นกับสินค้าทุกประเภท ไม่เจาะจงสินค้าประเภทใดประเภทหนึ่ง | ||
4. อุปทานที่มีความยืดหยุ่นมาก (elastic supply) ความยืดหยุ่นของอุปทานจะมีค่ามากกว่า 1 (Es > 1) หมายความว่า ร้อยละการเปลี่ยนแปลงจำนวนขายจะ มากกว่าร้อยละการเปลี่ยนแปลงของราคา หรือจำนวนขายมีปฏิกิริยาการตอบสนองสูงหรือไวต่อการเปลี่ยนแปลงของราคา เส้นอุปทานจะชันน้อย (ค่อนข้างลาด) และลากตัดแกนตั้งเหนือจุด origin |
||
5. อุปทานที่มีความยืดหยุ่นมากที่สุด (perfectly elastic supply) ความยืดหยุ่นของอุปทานจะมีค่าเท่ากับอนันต์ (Es =∞ ) หมายความว่า ถ้าราคาสินค้าอยู่ ณ ระดับเดิมจำนวนขายจะมีไม่จำกัดจำนวน ถ้าราคาต่ำกว่านี้ผู้ขายไม่ยินดีจะเสนอขายสินค้าเลย แต่ถ้าราคาสูงขึ้นกว่าเดิมเพียงเล็กน้อย จะทำให้มีจำนวนเสนอขายเพิ่มจากศูนย์ ไปเป็นจำนวนมากไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งแสดงว่าผู้ขายยินดีจะเสนอขายในจำนวนที่ไม่จำกัด ณ ระดับราคานั้น |
||
ปัจจัยกำหนดความยืดหยุ่นของอุปทานต่อราคา |
||
1 ระยะเวลา อุปทานในระยะยาวจึงมีค่าความยืดหยุ่นมากกว่าในระยะสั้น เพราะสามารถเปลี่ยนแปลงจำนวนการผลิตได้เต็มที่ตามการเปลี่ยนแปลงของราคา |
||
2 การเปลี่ยนแปลงต้นทุนการผลิต กล่าวคือ ในการขยายการผลิตสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่ง หากต้นทุนในการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแล้วทำให้ผู้ผลิตไม่อยากผลิตออกขายมาก เนื่องจากราคาที่สูงขึ้นไม่คุ้มกับต้นทุนที่สูงขึ้น ในกรณีนี้อุปทานของ สินค้าจะมีความยืดหยุ่นค่อนข้างน้อย ในทางตรงข้าม ถ้าต้นทุนเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ เมื่อผลิตเพิ่มขึ้น ผู้ขายย่อมเต็มใจที่จะผลิตและนำออกขายมากขึ้น อุปทานของสินค้าจะมีความยืดหยุ่นค่อนข้างมาก |
||
3 ความคงทนของสินค้า สินค้าซึ่งเก็บไว้ได้นานไม่เสียหาย จะมีค่าความยืดหยุ่นของอุปทานมาก |
Copyright By : Chalengsak
Chuaorrawan Sainampeung School 186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com Tel; 089-200-7752 mobile |
|
http://www.sainampeung.ac.th |