หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
 
สาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่   3  
มาตรฐานการเรียนรู้สาระสังคมศึกษา

สาระที่ 1  ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม
มาตรฐาน  ส 1.1
เข้าใจประวัติ ความสำคัญ หลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ
และสามารถนำหลักธรรมของศาสนามาเป็นหลักในการอยู่รวมกัน
          มาตรฐานการเรียนรู้

  1. รู้และข้าใจประวัติความเป็นมา ความหมาย องค์ประกอบ ความสำคัญของศาสนา คัมภีร์ทางศาสนาที่ตนนับถือ
    และวิเคราะห์พระจริยวัตรของศาสดา สาวกที่สำคัญของศาสนาต่าง ๆ
  2. สามารถนำหลักธรรมในศาสนาไปใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างสันติสุข
  3. รู้และเข้าใจความหมาย ประโยชน์และกระบวนการของการฝึกบริหารจิตเจริญปัญญาและใช้ในชีวิตประจำวัน

มาตรฐาน  ส 1.2 
ยึดมั่นในศีลธรรม  การกระทำความดี มีค่านิยมที่ดีงามและศรัทธาในพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ
มาตรฐานการเรียนรู้

  1. เชื่อมั่นในการทำความดีตามหลักจริยธรรม  โดยใช้ข้อมูลสารสนเทศมาสนับสนุนเพื่อการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข
  2. ตระหนักถึงการกระทำความดีของบุคคลที่เป็นแบบอย่างทางศีลธรรมจากการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลข่าวสาร ความเป็นเหตุเป็นผลของสถานการณ์ที่ต้องเผชิญและนำเสนอเป็นทางการประพฤติปฏิบัติของตนเอง
    กลุ่มเพื่อน ชุมชนและสังคมเพื่อการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข
  3. ตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของการบริหารจิตและเจริญปัญญาและสามารถปฏิบัติได้

มาตรฐาน  ส 1.3
ประพฤติดี  ปฏิบัติตนตามหลักธรรม  และศาสนพิธีของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ  ค่านิยมที่ดีงาม
และนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตน  บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม สิ่งแวดล้อมและอยู่ด้วยกันได้อย่างสันติสุข
          มาตรฐานการเรียนรู้

  1. รู้และปฏิบัติตนตามหลักศีลธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงาม หลักธรรมทางศาสนาที่ตนนับถือ โดยนำมาประยุกต์ใช้
    ในการพัฒนาตน  สังคม  สิ่งแวดล้อมในชุมชนที่ตนเกี่ยวข้องและประเทศชาติเพื่อการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข
  2. ใช้ภาษาในคัมภีร์ที่ใช้ในศาสนาที่ตนนับถือและร่วมศาสนพิธี พิธีกรรม วันสำคัญทางศาสนาด้วยความเต็มใจและเห็นคุณค่า
  3. มีทักษะในการบริหารจิตและเจริญปัญญาและนำมาใช้ในการคิดที่ถูกวิธีเพื่อพัฒนาการเรียนรู้และแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน

สาระที่ 2  หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม
มาตรฐาน  ส 2.1
ปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี ตามกฎหมาย ประเพณีและวัฒนธรรมไทย ดำรงชีวิต 
อยู่ร่วมกันในสังคมไทยและสังคมโลกอย่างสันติสุข
           มาตรฐานการเรียนรู้

  1. ตระหนักถึงคุณค่าในความเป็นพลเมืองดีตามวิถีชีวิตประชาธิปไตยของตนเองและบุคคลอื่น    
    ที่มีศักยภาพในการทำประโยชน์ให้แก่สังคมและประชาชาติ
  2. ตระหนักถึงสถานภาพ บทบาท สิทธิ เสรีภาพและหน้าที่ในฐานะพลเมืองดีของสังคมและประเทศ
    เข้าใจความสำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชน  เพื่อคุ้มครอง ปกป้องตนเองและคนอื่นให้ดำเนินชีวิต    
    ในสังคมได้อย่างสันติสุข  ตลอดจนปฏิบัติตนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเอง ครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติ
  3. เข้าใจระบบสถาบันทางสังคม เห็นคุณค่าในภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย ปฏิบัติตน             เพื่อรักษาวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นและชนชาติรวมทั้งเปรียบเทียบความคล้ายคลึง
    และความแตกต่างของวัฒนธรรมในภาคต่าง ๆ ของไทยและประเทศเพื่อนบ้าน  เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจอันดีระหว่างกัน

                มาตรฐาน  ส 2.2  
เข้าใจระบบการเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบัน ยึดมั่น ศรัทธา และธำรงรักษาไว้ ซึ่งการปกครอง
ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
          มาตรฐานการเรียนรู้

  1. เข้าใจระบบการเมืองการปกครองแบบต่าง ๆ ที่ใช้ในปัจจุบันและวิเคราะห์ โครงสร้างระบบการเมือง
    การปกครองของไทย เพื่อให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย
    ที่ประชาชนทุกคนที่มีส่วนร่วมในการประสานประโยชน์ตามหลักการและวิถีประชาธิปไตยบนพื้นฐาน
    คุณธรรม จริยธรรมที่จะทำให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
  2. เข้าใจความเป็นมา  หลักการ  เจตนารมณ์   โครงสร้าง และสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญ     
    ฉบับปัจจุบันรวมทั้งผลของการนำรัฐธรรมนูญมาใช้ในการดำเนินชีวิตของประชาชนและตระหนักถึงความสำคัญ
    ที่จะต้องปฏิบัติตนตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ

สาระที่ 3  เศรษฐศาสตร์
มาตรฐาน  ส 3.1
เข้าใจและสามารถบริหารจัดการ ในการผลิตและการบริโภค การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และคุ้มค่า รวมทั้งเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ
          มาตรฐานการเรียนรู้

  1. เข้าใจความหมายของเศรษฐศาสตร์ ปัจจัยการตัดสินใจเลือกใช้ทรัพยากรเพื่อการผลิตโดยคำนึงถึง
    ต้นทุนและผลประโยชน์ที่จะได้รับอย่างคุ้มค่าและมีคุณธรรม
  2. รู้ความหมายความแตกต่างและวิธีการนำทรัพยากรทางเศรษฐศาสตร์มาใช้ในการผลิตสินค้าและบริการอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. สามารถตัดสินใจเลือกในฐานะผู้บริโภค โดยพิจารณาจากประโยชน์ที่ได้รับอย่างคุ้มค่า
  4. เข้าใจเกี่ยวกับระบบและวิธีการของเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้
  5. เข้าใจและสามารถดำเนินการระบบสหกรณ์

มาตรฐาน  ส 3.2 
เข้าใจระบบและสถาบันทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ความสัมพันธ์ของระบบเศรษฐกิจและความจำเป็นของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในสังคมโลก

สาระที่  4  ประวัติศาสตร์
มาตรฐาน  ส 4.1
เข้าใจความหมาย ความสำคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ 
บนพื้นฐานของความเป็นเหตุเป็นผลมาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ
          มาตรฐานการเรียนรู้

  1. เข้าใจความหมายความสำคัญของการนับเวลา  การแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์และเทียบศักราชในระบบต่าง ๆ 
    เพื่อให้สามารถเข้าใจเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง
  2. ศึกษารวบรวมข้อมูลและจัดระบบข้อมูลอย่างเป็นระบบด้วยวิธีทางประวัติศาสตร์ เพื่อใช้ในการศึกษา
    อภิปรายประวัติความเป็นมาของภูมิภาคของโลก
  3. เข้าใจวิธีทางประวัติศาสตร์เพื่อนำมาใช้ศึกษาหาข้อสรุปและนำเสนอเหตุการณ์  ทางประวัติศาสตร์ไทยและสากล
    อย่างมีวิจารณญาณและมีความเป็นกลาง เปรียบเทียบให้เห็นการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนในประเทศไทย
    กับประเทศทางซีกโลกตะวันออกและตะวันตก

มาตรฐาน   ส 4.2 
เข้าใจพัฒนาการของมนุษยชาติ จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ในแง่ความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลง ของเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง
ตระหนักถึงความสำคัญและสามารถวิเคราะห์ ผลกระทบที่เกิดขึ้น
          มาตรฐานการเรียนรู้

  1. วิเคราะห์เปรียบเทียบข้อดีและข้อจำกัดของปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่มีผลต่อพัฒนาการในการตั้งถิ่นฐาน
    และการดำรงชีวิตของประชากรในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก
  2. เข้าใจพัฒนาการของอารยธรรมตะวันออกและตะวันตกที่มีผลต่อประเทศไทยในด้านเศรษฐกิจ
    การเมือง การปกครอง สังคม ศิลปวัฒนธรรม เทคโนโลยีและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
  3. วิเคราะห์เปรียบเทียบผลงานที่เกิดจากการสร้างสรรค์อารยธรรมในแหล่งต่าง ๆ  ทั้งในโลกตะวันออก
    และโลกตะวันตกเพื่อเข้าใจภูมิปัญญาของมนุษย์ในอดีต   อันเป็นแนวทางการพัฒนาผลงานที่มีคุณค่าในอนาคต

มาตรฐาน  ส 4.3
เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย มีความภาคภูมิใจและดำรงความเป็นไทย
          มาตรฐานการเรียนรู้

  1. รู้และเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการของเศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง สังคม ศิลปวัฒนธรรมและ
    ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของรัฐไทยในดินแดนประเทศไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน   
    และเกิดความภูมิใจ    ในความเป็นไทย
  2. คิดวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและผลกระทบจากภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์  
    ภูมิปัญญาของมนุษย์ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
  3. วิเคราะห์เปรียบเทียบผลงานของบุคคลสำคัญทั้งในประเทศและต่างประเทศที่มีผลกระทบ
    ต่อเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ชาติไทยเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต

สาระที่ 5  ภูมิศาสตร์
มาตรฐาน  ส 5.1 

เข้าใจลักษณะของโลกทางกายภาพและความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งซึ่งมีผลต่อกันและกันในระบบของธรรมชาติ ใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการค้นหา วิเคราะห์ สรุปและใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด
1   ใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการรวบรวม  วิเคราะห์ และนำเสนอข้อมูลภูมิสารสนเทศอย่างมี ประสิทธิภาพ
2  วิเคราะห์อิทธิพลของสภาพภูมิศาสตร์ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาทางกายภาพหรือภัยพิบัติทางธรรมชาติในประเทศไทยและภูมิภาคต่าง ๆของโลก
3   วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากปัจจัยทางภูมิศาสตร์ในประเทศไทย และทวีปต่าง ๆ
4   ประเมินการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติในโลกว่าเป็นผลมาจากการกระทำของมนุษย์หรือธรรมชาติ

มาตรฐานที่ ส 5.2 
เข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์วัฒนธรรม มีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ตัวชี้วัด
1   วิเคราะห์สถานการณ์และวิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยและโลก
2     ระบุมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหา บทบาทขององค์การและการประสานความร่วมมือทั้งในประเทศและนอกประเทศเกี่ยวกับกฎหมายสิ่งแวดล้อม การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3   ระบุแนวทางอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคต่าง ๆของโลก
4    อธิบายการใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมในการสร้างสรรค์วัฒนธรรม อันเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นทั้งในประเทศไทยและโลก
5    มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและการดำเนินชีวิตตามแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 
 


Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoeay Khlongtoeay Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
                                                               
http://www.sainampeung.ac.th