ข้อใดคือพระราชอิสริยยศของรัชกาลที่ 7 ก่อนเสวยราชสมบัติ
- พระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมารเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดช
- สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา
- กรมพระราชวังบวรมหาประชาธิปก
- สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
หน่วยงานใดในสมัยรัชกาลที่ 7 ทรงตั้งขึ้น เพื่อทำหน้าที่คล้ายกับสถาบันรัฐสภาในปัจจุบัน
- เนติสภา
- องคมนตรีสภา
- เสนาบดีสภา
- อภิรัฐมนตรีสภา
ผู้ใดทำหน้าที่เป็นประธานสภาคณะกรรมการองคมนตรี ในสมัยรัชกาลที่ 7
- กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
- กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์
- กรมพระนครสวรรค์วรพินิตฯ
- กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย
ข้อใดคือหน่วยงานที่รัชกาลที่ 7 จัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ประสานงานในราชการของกระทรวงฝ่ายทหารและพลเรือน
- สภาป้องกันพระราชอาณาจักร
- สภากรรมการองคมนตรี
- เสนาบดีสภา
- อภิรัฐมนตรีสภา
สภาใดในสมัยรัชกาลที่ 7 ประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ทั้งหมด
- อภิรัฐมนตรีสภา
- สภากรรมการองคมนตรี
- เสนาบดีสภา
- สภาการคลัง
ผู้ทำหน้าที่เป็นประธานในคณะอภิรัฐมนตรีสภาคือใคร
- รัชกาลที่ 7
- กรมพระนครสวรรค์วรพินิตฯ
- เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
- กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
คณะอภิรัฐมนตรี มีการประชุมครั้งแรก ณ ที่ใด
- พระราชวังไกลกังวล
- พระที่นั่งบรมพิมาน
- พระที่นั่งอนันตสมาคม
- พระที่นั่งพุทไธสวรรย์
หน่วยงานใดที่จัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ ปกครองดูแลท้องถิ่น ในแถบชายทะเลตั้งแต่ตำบลบ้านชะอำถึงตำบลหัวหิน
- สภาเทศบาล
- สภาบำรุงชายทะเลตะวันตก
- สภาสุขาภิบาล
- สภานครบาล
ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ส่วนภูมิภาคในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช ของรัชกาลที่ 7
- รวมมณฑลมหาราษฎร์กับมณฑลพายัพ เป็นมณฑลพายัพ
- ยุบจังหวัดสุโขทัยไปรวมกับจังหวัดนครสวรรค์
- เลิกภาคที่ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6
- ยุบจังหวัดหล่มสัก กาฬสินธ์ หลังสวน
กระทรวงธรรมการ ในสมัยรัชกาลที่ 7 เทียบได้กับกระทรวงใด ในปัจจุบัน
- กระทรวงมหาดไทย
- กระทรวงการต่างประเทศ
- กระทรวงยุติธรรม
- กระทรวงศึกษาธิการ
รัชกาลที่ 7 โปรดให้ ยกเลิก กระทรวงมุรธาธร โดยโอนงานทั้งหมดไปอยู่ ในหน่วยงานใด
- กรมการศาสนา
- กรมราชเลขาธิการ
- กระทรวงมหาดไทย
- กระทรวงการต่างประเทศ
ข้อใดไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจของไทยต้องตกต่ำลงอย่างมาก ในสมัยรัชกาลที่ 7
- ผลสะท้อนจากเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก
- การใช้จ่ายฟุ่มเฟือยอย่างมาก ในสมัยรัชกาลที่ 6
- น้ำท่วมใหญ่ในปี พ.ศ. 2460 ทำให้ไร่นาเสียหาย
- การส่งทหารเข้าร่วมรบในสงครามอินโดจีน
เสนาบดีกระทรวงกลาโหมคนใดที่ลาออกหลังจากขอขึ้นเงินเดือนให้กับทหารไม่สำเร็จในสมัยรัชกาลที่ 7
- พ.อ. พระยาพหลพลพยุหเสนา
- ร.อ. ขุนทวยหาญพิทักษ์
- พลเอกพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบวรเดช
- พระวรวงศ์เธอกรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย
รัชกาลที่ 7 ได้โปรดเกล้า ให้ใครร่างรัฐธรรมนูญ ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อ 24 มิถุนายน 2475
- ร.อ. ขุนทวยหาญพิทักษ์และพระยากัลยา ณ ไมตรี
- พระยาศรีวิศาลวาจาและนายเรย์มอนด์ บี สตีเวนส์
- พระยาศรีพิพัฒน์และนายโรลัง ยัคแมงส์
- พระยาพหลพลพยุหเสนาและนายก้อน หุตะสิงห์
เหตุใดแนวพระราชดำริของรัชกาลที่ 7 ที่เตรียมร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อพระราชทานแก่ประชาชนจึงถูกยกเลิก
- มีเสียงคัดค้านจากสภาองคมนตรี
- มีเสียงคัดค้านจากอภิรัฐมนตรีสภา
- คณะราษฎร์ไม่เห็นด้วย
- ที่ประชุมเสนาบดีสภามีมติไม่เห็นชอบเกินกึ่งหนึ่ง
รัชกาลที่ 7 มีแนวคิดที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ ให้ปวงชนชาวไทยเมื่อใด
- เมื่อ 6 เมษายน ฉลองกรุงเทพฯ ครบรอบ 150 ปี
- เมื่อ 25 พฤศจิกายน ฉลองครองราชย์ มาแล้ว 5 ปี
- เมื่อ 1 มกราคม ฉลองศักราชใหม่ ปี 2475
- เมื่อ 13 เมษายน ฉลองวันขึ้นปีใหม่ไทย
ใครเป็นผู้วางแผนยึดอำนาจการปกครองในปี พ.ศ. 2475
- พระยาทรงสุรเดช
- พระยาฤทธิอัคเนย์
- พระประศาสน์พิทยามุข
- พระยาพหลพลพยุหเสนา
ใครคือมันสมองของคณะราษฎร์
- หลวงประดิษฐ์มนูธรรม
- พระยาทรงสุรเดช
- หลวงพิบูลสงคราม
- พระยาพหลพลพยุหเสนา
พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงที่ถูกคณะราษฎร์ควบคุมไว้ เป็นตัวประกันสำหรับต่อรองกับรัชกาลที่ 7 คือใคร
- พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา
- สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมหลวงสงขลานครินทร์
- สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน
- กรมพระนครสวรรค์วรพินิตประชานาท
เจ้านายพระองค์ใดที่สามารถหลบหนีการเชิญตัวของคณะปฏิวัติ เมื่อ 24 มิถุนายน 2475 ไปแจ้งให้รัชกาลที่ 7 ทราบการปฏิวัติ
- กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
- กรมพระนริศรานุวัดติวงศ์
- กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย
- กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน
คณะราษฎร์ ได้ใช้สถานที่ใดเป็นกองบัญชาการ ของการปฏิวัติ เมื่อ 24 มิถุนายน 2475
- พระบรมมหาราชวัง
- วังบางขุนพรหม
- วังปารุสกวัน
- พระที่นั่งอนันตสมาคม
ผู้ใดเป็นผู้อ่านคำประกาศของคณะปฏิวัติ เมื่อ 24 มิถุนายน 2475
- พระยาพหลพลพยุหเสนา
- หลวงประดิษฐ์มนูธรรม
- หลวงศุภชลาศัย
- พระยาทรงสุรเดช
หลังจากที่คณะราษฎร์ ทำการยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วได้ให้ผู้ใดถือหนังสือไปแจ้งให้รัชกาลที่ 7 กลับมาปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตย
- กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน
- นายปรีดี พนมยงค์
- นายพจน์ พหลโยธิน
- หลวงศุภชลาศัย
บุคคลในข้อใดเป็นสมาชิก คณะราษฎร์ ฝ่ายพลเรือน
- นายปรีดี พนมยงค์
- นายพจน์ พหลโยธิน
- นายเทพ พันธุมเสน
- นายบุง ศุภชลาศัย
ประธานสภาผู้แทนราษฎรคนแรกคือใคร
- เจ้าพระยาภาสกรวงศ์
- เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี
- เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี
- พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
ข้อใดไม่สัมพันธ์กัน
- พระยามโนปกรณ์นิติธาดา – ก้อน หุตะสิงห์
- หลวงพิบูลสงคราม - แปลก ขิตตะสังคะ
- หลวงศุภชลาศัย – พจน์ พหลโยธิน
- หลวงประดิษฐ์มนูธรรม – ปรีดี พนมยงค์
ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
- นายก้อน หุตะสิงห์ เป็นประธานคณะกรรมการราษฎรคนแรกของไทย
- นายสนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรคนแรกของไทย
- พระยามโนปกรณ์นิติธาดาเป็นประธานร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ที่ประกาศใช้
เมื่อ 10 ธันวาคม 2475 - เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีเป็นประธานวุฒิสภา คนแรกของไทย
“คณะกรรมการราษฎร” ซึ่งระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ ฉบับแรกของไทยเทียบได้กับข้อใด
- คณะรัฐมนตรี
- วุฒิสมาชิก
- ผู้แทนราษฎร
- คณะกรรมมาธิการ
สมาชิกประเภทที่ 2 ตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2475 หมายถึงสมาชิกประเภทใด
- ผู้แทนซึ่งราษฎรเป็นผู้เลือก
- ผู้แทนซึ่งพระมหากษัตริย์เป็นผู้แต่งตั้ง
- ผู้แทนซึ่งมาจากทหาร
- ผู้แทนที่มาจากข้าราชการพลเรือน
สิ่งใดที่ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งภายในคณะราษฎร์ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475
- สมุดปกเขียว
- สมุดปกดำ
- สมุดปกขาว
- สมุดปกเหลือง
วิกฤติการณ์ทางการเมืองหลังการปฏิวัติ เมื่อ 24 มิถุนายน 2475 จนทำให้เกิดรอยร้าวในรัฐสภา เกิดจากสาเหตุใด เป็นเรื่องแรก
- การเมือง
- เศรษฐกิจ
- การศึกษา
- สังคม
เค้าโครงเศรษฐกิจที่ร่างโดยหลวงประดิษฐ์มนูธรรม เสนอต่อรัฐบาล พระยามโนปกรณ์นิติธาดา พิจารณาเห็นว่า เป็นเค้าโครงเศรษฐกิจที่ลอกเลียนแบบประเทศใด
- อังกฤษ
- ฝรั่งเศส
- รัสเซีย
- จีน
รัชกาลที่ 7 ทรงวินิจฉัย เค้าโครงเศรษฐกิจ ของนายปรีดี พนมยงค์ แล้วทรงเห็นว่าเค้าโครงเศรษฐกิจ ดังกล่าว ถอดแบบมาจากประเทศใด
- รัสเซีย
- อังกฤษ
- ฝรั่งเศส
- สหรัฐอเมริกา
โครงการนี้นั้นเป็นโครงการอันเดียวกันอย่างแน่นอนกับที่ประเทศรัสเซียใช้อยู่ ส่วนใครจะเอาอย่างใครนั้น ข้าพเจ้า ไม่ทราบ ข้าพเจ้า ในที่นี้ หมายถึงใคร
- หลวงประดิษฐ์มนูธรรม
- รัชกาลที่ 7
- พระยาพหลพลพยุหเสนา
- พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
เค้าโครงเศรษฐกิจ ในสมุดปกเหลือง กำหนดให้ บุคคลที่มีอายุระหว่างเท่าไร จะให้เป็นข้าราชการทำงาน ให้รัฐตามความสามารถและคุณวุฒิ
- 20 – 60 ปี
- 18 – 55 ปี
- 15 – 60 ปี
- 18 – 60 ปี
การประกาศใช้ พระราชบัญญัติคอมมิวนิสต์ในรัชกาลที่ 7 เป็นผลมาจากสาเหตุใด
- สมุดปกขาว
- การปฏิวัติ 2475
- สมุดปกเหลือง
- กบฎบวรเดช
หัวหน้า คณะกู้บ้านเมืองเ มื่อทำการไม่สำเร็จ ได้หลบหนีไปอยู่ที่ใด
- สาธารณรัฐประชาชนจีน
- อินโดจีน
- รัสเซีย
- ฝรั่งเศส
ใครคือหัวหน้า “คณะกู้บ้านเมือง”
- พระยาพหลพลพยุหเสนา
- พลเอกพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบวรเดช
- หลวงพิบูลสงคราม
- หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช
บุคคลใด ไม่ได้อยู่ในคณะพรรค สี่ทหารเสือ
- พระยาพหลพลพยุหเสนา
- พระยาทรงสุรเดช
- พ.ต.หลวงพิบูลสงคราม
- พระประศาสน์พิทยายุทธ
หลังจากเกิดรอยร้าวในคณะราษฎรแล้ว หลวงประดิษฐ์ มนูธรรม ได้รับคำแนะนำจากพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ให้ไปพำนัก ณ ประเทศใด
- อังกฤษ
- เยอรมัน
- รัสเซีย
- ฝรั่งเศส
คณะกู้บ้านเมือง หมายถึงบุคคลกลุ่มใด
- คณะปฏิวัติ 20 มิ.ย. 2476
- กบฏบวรเดช
- คณะราษฎร์
- กบฏแมนฮัดตัน
เพราะเหตุใดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จึงลงเอยด้วยดีไม่มีการนองเลือด
- น้ำพระทัยเป็นนักประชาธิปไตยของรัชกาลที่ 7
- ความแตกแยกภายในหมู่พระบรมวงศานุวงศ์
- การวางแผนอย่างรัดกุมของคณะราษฎร์
- ทหารทุกเหล่ามีความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
รัชกาลที่ 7 ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก ให้กับปวงชนชาวไทย ณ ที่ใด
- พระราชวังไกลกังวล
- สวนจิตรลดา
- พระบรมมหาราชวัง
- พระที่นั่งอนันตสมาคม
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทาน รัฐธรรมนูญฉบับแรกเมื่อใด
- 24 ตุลาคม 2475
- 10 ธันวาคม 2475
- 27 มิถุนายน 2475
- 24 มิถุนายน 2475
รัชกาลที่ 7 ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวร เมื่อ 10 ธันวาคม 2475 ให้ปวงชนชาวไทย ณ ที่ใด
- พระที่นั่งอนันตสมาคม
- พระบรมมหาราชวัง
- สวนจิตรลดา
- ทำเนียบรัฐบาล
ใครคือนายกรัฐมนตรีคนแรกของไทย
- จอมพล ป. พิบูลสงคราม
- นายสนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา
- นายก้อน หุตะสิงห์
- พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา
ข้อใดไม่ใช่หลักที่คณะราษฎร์นำมาใช้บริหารประเทศ
- หลักเอกราช หลักเศรษฐกิจ
- หลักเสรีภาพ หลักเสมอภาค
- หลักความปลอดภัย หลักการศึกษา
- หลักสาธารณสุข หลักสามัคคี
คณะราษฎร์ได้ดำเนินการตามนโยบายที่กำหนดไว้ แต่ไม่บรรลุผลเท่าที่ควรเนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้ ยกเว้นข้อใด
- คณะราษฎร์เกิดแย่งชิงอำนาจกัน
- คณะผู้บริหารมีความเห็นแตกแยกเกี่ยวกับโครงการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
- ประชาชนได้รับการศึกษาน้อย ยังไม่เข้าใจรูปแบบ การปกครองระบอบประชาธิปไตย
- ความพยายามสร้างชาติไทยให้ยิ่งใหญ่และปลุกความคิดเรื่องชาตินิยม
ผู้ใดเป็นหัวหน้าในการปฏิวัติรัฐประหารล้มรัฐบาลของ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา เมื่อ 20 มิถุนายน 2476
- พระองค์เจ้าบวรเดช
- หลวงพิบูลสงคราม
- นายปรีดี พนมยงค์
- นายพจน์ พหลโยธิน
ใครเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เมื่อ 12 มกราคม 2477 เมื่อครั้ง รัชกาลที่ 7 เสด็จไป รักษาพระเนตร ในต่างประเทศ
- เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต
- เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์
- กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
- กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย
เมื่อ 12 มกราคม 2477 รัชกาลที่ 7 เสด็จไป รักษาพระเนตร ณ ประเทศใด
- สหรัฐอดมริกา
- ญี่ปุ่น
- อังกฤษ
- ฝรั่งเศส
สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ เป็นอนุสรณ์สถานสำคัญที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 7 เพื่อเฉลิมฉลองกรุงเทพมหานครมีอายุครบกี่ปี
- 50 ปี
- 100 ปี
- 150 ปี
- 175 ปี
สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 7 เรารู้จักกันในนามว่า สะพาน อะไร
- สะพานพระราม 7
- สะพานพุทธยอดฟ้า
- สะพานซังฮี้
- สะพานพระปิ่นเกล้า
พระไตรปิฎกฉบับใดที่จัดทำขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 7
- พระไตรปิฎกฉบับไทยรัฐ
- พระไตรปิฎกฉบับทอง
- พระไตรปิฎกฉบับพิมพ์
- พระไตรปิฎกสยามรัฐ
พระไตรปิฎกฉบับใดได้ชื่อว่าเป็นฉบับสมบูรณ์ที่สุด ในประเทศไทย
- พระไตรปิฎกฉบับทอง
- พระไตรปิฎกฉบับพิมพ์
- พระไตรปิฎกสยามรัฐ
- พระไตรปิฎกฉบับทองชุบ
หนังสือเรื่องแรกที่ได้รับพระราชทานรางวัลในการประกวดแต่งหนังสือสอนพระพุทธศาสนาสำหรับเด็กคือเรื่องใด
- ปฐมสมโพธิกถา
- สาสนคุณ
- โคลงจินดามณี
- กฤษณาสอนน้องคำฉันท์
ข้าราชการไทยเลิกนุ่งผ้าโจงกระเบนตั้งแต่สมัยใด
- รัชกาลที่ 6
- รัชกาลที่ 7
- รัชกาลที่ 8
- รัชกาลที่ 9
พระราชพิธีใดที่ถุกยกเลิกไปหลังการปฏิวัติเปลี่ยนแปลง การปกครอง ปี 2475
- พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
- พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
- พระราชพิธีศรีสัจปานกาล
- พระราชพิธีอภิเษกสมรส
ข้อใดต่อไปนี้มิได้เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 7
- จัดการศึกษา จริยธรรมโดยอบรมให้มีศีลธรรมอันดี
- จัดการศึกษา พุทธิศึกษา ให้มีปัญญา ความรู้
- จัดการศึกษา พลศึกษา ให้เป็นผู้มีร่างกายแข็งแรง
- จัดการศึกษา หัตถศึกษา โดยใช้มือปฏิบัติงาน
ข้อใดเป็นการจัดการศึกษา ด้านสามัญศึกษา ตามแผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2475
- ชั้นประถม 1-4 มัธยมต้น 1-4 มัธยมปลาย 5-8
- ชั้นประถม 1-4 มัธยมต้น 1-4 มัธยมปลาย 5-6
- ชั้นประถม 1-7 มัธยมต้น 1-3 มัธยมปลาย 4-5
- ชั้นประถม 1-6 มัธยมต้น 1-3 มัธยมปลาย 4-6