หน้าแรก | โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ |
|
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม |
||
สารบัญ | ||
สารสนเทศภูมิศาสตร์ |
||
หน่วยที่ 1 | เครื่องมือในการศึกษาภูมิศาสตร์ | |
บทที่ 3 |
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ Geographic Information System : GIS |
|
ข้อมูลเชิงพื้นที่ Spatial data |
||
ข้อมูลเชิงพื้นที่ |
||
ข้อมูลเชิงพื้นที่ Spatial data มีส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ | ||
1. ข้อมูลเชิงภาพ Graphic data สามารถแทนได้ด้วย 2 รูปแบบพื้นฐาน ก. ข้อมูลแบบเวกเตอร์ Vector format ข. ข้อมูลแบบแรสเตอร์ Rastor format |
||
2. ข้อมูลอรรถธิบาย Attribute data เป็นข้อความอธิบายที่มีความสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงภาพเหล่านั้น เช่น ชื่อถนน, ลักษณะ พื้นผิว และจำนวนช่องทางวิ่งของเส้นถนนแต่ละเส้น เป็นต้น | ||
ลักษณะข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ | ||
โลกมีความสลับซับซ้อนมากเกินกว่าที่จะเก็บข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับโลกไว้ในรูปข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ จึงต้องเปลี่ยนปรากฏการณ์บน ผิวโลกจัดเก็บในรูปของ ตัวเลขเชิงรหัส digital form โดยแทนปรากฏการณ์เหล่านั้นด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เรียกว่า Feature (ฟีต-เชอร) |
||
ประเภทของ Feature ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เป็นตัวแทนของปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์บนโลกแผนที่กระดาษบันทึกตำแหน่งทางภูมิศาสตร์และแทนสิ่งต่างๆ บนโลกที่เป็นลายเส้นและพื้นที่ด้วยสัญลักษณ์แบบ จุด เส้น พื้นที่และตัวอักษร ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์จะใช้ feature ประเภทต่างๆ ในการแทนปรากฏการณ์โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ |
||
1. จุด Point 2. เส้น Arc 3. พื้นที่ Polygon |
||
จุด Point ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่มีตำแหน่งที่ตั้งเฉพาะเจาะจง หรือมีเพียงอย่างเดียว สามารถแทนได้ด้วยจุด Point Feature อาทิ หมุดหลักเขต จุดชมวิว บ่อน้ำ จุดความสูง ยอดเขา เสาธง โรงเรียน วัด โบสถ์ มัสยิด อาคาร ตึก สิ่งก่อสร้าง ต่างๆ ข้อพิจารณาเกี่ยวกับมาตราส่วน มาตราส่วนแผนที่จะเป็นตัวกำหนดว่าจะแทนปรากฏการณ์บนโลกด้วยจุดหรือไม่ ตัวอย่างลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เป็นจุด ตัวอย่างเช่น บนแผนที่โลก มาตราส่วนเล็กจะแทนค่าที่ตั้งของเมืองด้วยจุด แม้ว่าในความเป็นจริงเมืองนั้นจะครอบคลุมพื้นที่จำนวนหนึ่งก็ตาม ในขณะเดียวกันบนแผนที่มาตราส่วนที่ใหญ่ขึ้นเมืองดังกล่าวจะปรากฏเป็นพื้นที่และแต่ละอาคารจะถูกแทนค่าด้วยจุด |
||
ข้อมูลค่าพิกัดของจุด | ||
- ค่าพิกัด (x,y) 1 คู่ แทนตำแหน่งของจุด ไม่มีความยาวหรือพื้นที่ - เส้น Arc ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่วางตัวไปตามทางระหว่างจุด 2 จุด จะแทนด้วยเส้น Arc Feature ตัวอย่างลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เป็นเส้น แม่น้ำ ลำคลอง ถนน โครงข่ายสาธารณูปโภค เส้นชั้นความสูง contour line ข้อจำกัดเกี่ยวกับ Arc Arc 1 เส้น มี Vertex ได้ไม่เกิน 500 Vertex โดย vertex ลำดับที่ 500 จะเปลี่ยนเป็น node และเริ่มต้น เส้นใหม่ด้วยการ identifier ค่าใหม่โดยอัตโนมัติ |
||
ข้อมูลค่าพิกัดของเส้น Arc | ||
Vertex (ค่าพิกัด คู่หนึ่งบน arc) เป็นตัวกำหนดรูปร่างของเส้น arc arc หนึ่งเส้นเริ่มต้นและจบลงด้าน Node arc ที่ตัดกันจะเชื่อมต่อกันที่ Node ความยาวของ arc กำหนดโดยระบบค่าพิกัด (x, y) |
||
พื้นที่ Polygon | ||
ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่มีพื้นที่เดียวกันจะถูกล้อมรอบด้วยเส้นเพื่อแสดงขอบเขต ตัวอย่างข้อมูลที่เป็นพื้นที่ เขตตำบล อำเภอ จังหวัด ขอบเขตอุทยานแห่งชาติ เขตน้ำท่วม |
||
ข้อพิจารณาเกี่ยวกับมาตราส่วน มาตราส่วนของแหล่งที่มาของข้อมูลจะเป็นตัวกำหนดการแทนปรากฏการณ์บนโลกแห่งความเป็นจริงด้วย point หรือ polygon ตัวอย่าง อาคารบนมาตราส่วนขนาดใหญ่ 1 : 4,000 เป็น polygon ที่ถูกกำหนดขึ้น โดยขอบเขตอาคาร บนแผนที่มาตราส่วน 1 : 250,000 ที่มาตราส่วนเล็ก อาคารจะแสดงด้วยจุด point |
||
ข้อมูลค่าพิกัดของ Polygon polygon จะประกอบด้วย arc ตั้งแต่ 1 เส้นขึ้นไป แต่มี 1 Label point ใน Label point 1 point อยู่ภายในพื้นที่ปิดและใช้ในการแยกแยะแต่ละ polygon ออกจากกัน |
||
Copyright By : Chalengsak
Chuaorrawan Sainampeung School 186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com Tel; 089-200-7752 mobile |
|
http://www.sainampeung.ac.th |