ประเทศไทยมีขนาดใกล้เคียงกับประเทศใด
- พม่า
- มาเลเซีย
- อินโดนีเซีย
- สหราชอาณาจักร
ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสามเหลี่ยมทองคำ
- จุดรวม 3 ประเทศ ไทย พม่า ลาว ตรงบริเวณแม่น้ำสาละวินกั้นไทยกับพม่า
- จุดรวม 3 ประเทศ ไทย พม่า ลาว มีแม่น้ำรวกกั้นไทยกับพม่า
- จุดรวมแม่น้ำรวกไหลมาบรรจบแม่น้ำโขงบริเวณ ประเทศ ไทย พม่า ลาว
- จุดรวม 3 ประเทศ ไทย พม่า ลาว มีแม่น้ำโขงกั้นไทยกับลาว
ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
- แคบที่สุดของประเทศไทยอยู่ในภาคใต้ ตำบลคลองวาฬ อำเถอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รวมระยะทาง 10.96 กิโลเมตร
- ส่วนที่ยาวที่สุดของไทยจากเหนือสุด อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ถึงใต้สุด คืออำเภอเบตง จังหวัดยะลา ระยะทาง 1,620 กิโลเมตร
- คอคอดกระ คือส่วนที่แคบที่สุดของคาบสมุทรมลายู อยู่ในเขตระหว่างอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร กับอำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง รวมระยะทาง 64 กิโลเมตร
- ส่วนที่กว้างที่สุดของไทยจากตะวันออก ตำลบช่องแม็ก อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ถึงตะวันตก คือ ด่านเจดีย์สามองค์ อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ระยะทาง 750 กิโลเมตร
ที่ตั้งของประเทศไทยก่อให้เกิดผลดีในด้านใด
- ภูมิอากาศและการคมนาคม
- ยุทธศาสตร์และการเมือง
- สถานที่ท่องเที่ยวและวัฒนธรรมประเพณี
- ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์และภาษาศาสตร์
ข้อใดมิใช่เกณฑ์ในการแบ่งภาคทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทย
- ลักษณะทางเชื้อชาติ
- ลักษณะทางวัฒนธรรม
- ทิศทาง
- ลักษณะภูมิประเทศ
ถ้านักอุตสาหกรรมต้องการลงทุนตั้งโรงงานปูนซีเมนต์ขนาดกลางในภาคเหนือ ควรตั้งที่ใดและเพราะเหตุใด
- อำเภอแม่เมาะ ลำปาง – มียิบซัมมาก
- อำเภอดอยเต่า เชียงใหม่ – มีแร่ฟลูออไรด์มาก
- อำเภอเมือง เชียงราย – มีกำมะถันมาก
- อำเภอฝาง เชียงใหม่ – มีน้ำมันมาก
พืชพรรณธรรมชาติแบบป่ามรสุมพบในภาคใด
- ภาคใต้
- ภาคตะวันตก
- ภาคกลาง
- ภาคเหนือ
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อยู่ในภาคใดตามเกณฑ์การแบ่งภาคภูมิศาสตร์
- ภาคตะวันตก
- ภาคตะวันออก
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- ภาคใต้
ภาคตะวันตกมีที่ราบชายฝั่งชายฝั่งทะเลอยู่ในเขตจังหวัดใด
- ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี
- เพชรบูรณ์ ราชบุรี
- ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์
- เพชรบุรี ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์
ดินในภาคใต้ขาดความอุดมสมบูรณ์ด้วยเหตุใด
- ฝนตกชุก การชะล้างหน้าดินสูง
- การทำลายป่าต้นน้ำลำธาร
- เป็นเนินที่สูงและภูเขาสูง
- การขยายพื้นที่นากุ้งชายฝั่ง
เทือกเขาในประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างของเทือกเขารูปพัดซึ่งมีจุดรวมหรือ ด้ามพัดอยู่บริเวณใด
- หยุนหนาน(ยูนาน)
- ทิเบต
- ผีปันน้ำ
- จอมทอง
"ฉนวนน่าน" คือ พรมแดนไทยที่จังหวัดน่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลกและเลย ซึ่งพื้นที่ของประเทศลาวที่ยื่นล้ำเข้ามาในดินแดนคล้ายปากนกแก้ว และมีภูเขาต่อเนื่องจากลาวเข้ามาในดินแดนไทย ลักษณะภูมิประเทศดังกล่าว ก่อให้เกิดผลต่อประเทศไทยอย่างไร
- ปัญหากระทบกระทั่งด้านชายแดน
- แนวแม่น้ำเปลี่ยนเส้นทางเดิน
- การอพยพของชาวเขา
- เกิดเขตเงาฝน
ถ้านักเรียนต้องการไปสำรวจพื้นที่ของประเทศไทยที่มีอากาศแบบป่ามรสุม (Am) คือมีฝนตกชุกเกือบตลอดทั้งปี มีฤดูแล้งสั้น ฝนตกเฉลี่ยประมาณ ๖๐ มิลลิเมตรต่อเดือน นักเรียนควรเดินทางไปจังหวัดใด
- จังหวัดภาคใต้ จันทบุรีและตราด
- ชายฝั่งด้านอ่าวไทยทั้งหมด
- ภาคเหนือ ภาคกลาง
- จันทบุรี ตราด
"เป็นแนวเทือกเขายาว ประกอบด้วยยอดเขา สูงๆ หลายดอยเป็นที่รู้จักกันดี อาทิ ดอยสุเทพ ดอยอินทนน ดอยหลวงเชียงดาว และ เป็นต้น" เทือกเขานี้มีชื่อว่าอะไร
- ถนนธงชัย
- แดนลาว
- หลวงพระบาง
- ผีปันน้ำ
มวลน้ำของลำน้ำใดไม่ได้ไหลลงสู่อ่าวไทย
- แม่น้ำกก แม่น้ำอิง
- แม่น้ำสะแกกรัง แม่น้ำลพบุรี
- แม่น้ำศรีสวัสดิ์ แม่น้ำแควน้อย
- แม่น้ำปราจีนบุรี แม่น้ำบงปะกง
ในแต่ละปี พายุหมุนชนิดใด ที่ประเทศไทยได้รับมากที่สุด
- ดีเปรสชัน Depression
- โซนร้อน Tropical storm
- ไซโคลน Cyclone
- ไต้ฝุ่น Typhoon
ลักษณะภูมิประเทศของภาคกลางข้อใด มีสภาพของดินส่วนใหญ่เป็นกรดสูง ไม่เหมาะในการเพาะปลูก
- เขตที่ราบลุ่มใกล้ชายฝั่งทะเล
- เขตลานตะพักลำน้ำ
- บริเวณที่ราบเชิงเขาและที่เนิน
- เขตภูเขาขอบที่ราบภาคกลาง
บริเวณขอบที่ราบของภาคทั้งซีกตะวันตกและซีกตะวันออก มีลักษณะภูมิประเทศแบบใดที่ส่งผล ให้พื้นที่ดังกล่าวมีความสำคัญทางเศรษฐกิจเป็นแหล่งปลูกพืชไร่ที่สำคัญของประเทศ
- ที่ราบลูกฟูก
- ที่ราบสูง
- เทือกเขาสูง
- แอ่งแผ่นดิน
อาชีพหลักที่สำคัญของประชากรส่วนใหญ่ในภาคกลางคือข้อใด
- การเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์
- การอุตสาหกรรม
- การพาณิชย์และการบริการ
- การประมงและการอุตสาหกรรม
ข้อใดหมายถึงลักษณะภูมิประเทศ ที่เรียกว่า “ฮ่อมจ๊อม”
- เสาดิน อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน
- ห้วยน้ำดัง อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
- ถ้ำเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
- เทือกเขาผีปันน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีที่ราบที่ใช้เพาะปลูกได้ถึงร้อยละ ๗๐ ของพื้นที่ภาค แต่คุณภาพความอุดมสมบูรณ์ของดินไม่ดีเท่าที่ควร ทั้งนี้เป็นเพราะสาเหตุใด
- โครงสร้างทางธรณีวิทยาของภาคเป็นหินทราย
- ดินตะกอนที่พบมีอายุมากผ่านการใช้งานมานาน
- ปริมาณฝนมีน้อยทำให้ดินแห้งแข็งขาดความชุ่มชื้น
- เกิดการชะล้างหน้าดินโดยการกระทำของฝน
ลักษณะทางธรณีวิทยาของภาคตะวันตกข้อใด เป็นผลต่อความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรแร่ธาตุ ในพื้นที่ของภาค
- หินเปลือกโลกเป็นหินชั้นและหินอัคนี
- การเคลื่อนไหวของเปลือกโลกในอดีตกาล
- หินเปลือกโลกมีอายุเก่าแก่
- เปลือกโลกมีรอยเลื่อน
หากนักเรียนต้องการไปศึกษาเรื่องการทำเหมือง แร่ดีบุกในภาคใต้ จังหวัดใดที่นักเรียนไม่ควรไป
- พัทลุง สตูล
- พังงา นครศรีธรรมราช
- สตูล สงขลา
- กระบี่ ปัตตานี
ข้อใดจับคู่ได้ถูกต้อง
- เทือกเขาแดนลาว – ไทยกับพม่า
- เทือกเขาถนนธงชัย – พม่ากับลาว
- เทือกเขาหลวงพระบาง-กัมพูชากับไทย
- เทือกเขาผีปันน้ำตะวันออก - ไทยกับลาว
ภาคตะวันออกและภาคใต้มีลักษณะสภาพแวดล้อมคล้ายกัน ยกเว้นข้อใด
- การวางตัวของทิวเขา
- ความยาวของแม่น้ำ
- คุณสมบัติของดิน
- ลักษณะชายฝั่งและเกาะ
ทิวเขาในแนวเหนือใต้หลายทิวเขาเกือบขนานกัน มีที่ราบระหว่างทิวเขา บริเวณที่ราบมีลำน้ำไหลผ่าน ลักษณะภูมิประเทศเช่นนี้ ควรจะเป็นภูมิภาคไหนของประเทศไทย
- ภาคเหนือ
- ภาคใต้
- ภาคตะวันออก
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภูมิลักษณ์ ที่เรียกว่า “แพะเมืองผี” เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากการกระทำของสิ่งใด
- น้ำกัดเซาะ
- แรงดันจากภูเขาไฟ
- เลี้ยงสัตว์มากเกินไป
- ลม
ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ในข้อใดกล่าวถูกต้อง
- น้ำค้างแข็ง – เหมยขาบ – ภาคเหนือ
- เหมยขาบ – ลูกเห็บ – ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- น้ำค้างแข็ง – แม่คะนิ้ง – ภาคเหนือ
- แม่คะนิ้ง – ลูกเห็บ – ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พรมแดนธรรมชาติที่กั้นเขตแดนระหว่างประทศไทยกับลาว
- แม่น้ำเหือง
- แม่น้ำมูล
- แม่น้ำสงคราม
- แม่น้ำชี
ข้อใดบรรยายลักษณะทางกายภาพของประเทศไทยได้ถูกต้อง
- อยู่ในเขตมรสุม เป็นส่วนที่ยกตัวสูงขึ้นจากทะเลของทวีปเอเชีย
- มีฤดูแล้งและฤดูฝนอย่างละครึ่งปี พื้นที่ลาด จากเหนือลงใต้
- พื้นที่ส่วนใหญ่แห้งแล้ง มีภูเขาในแนวเหนือ-ใต้ ตอนใต้ยื่นลงไปในทะเล
- อยู่ในเขตร้อนชื้น มีภูเขา ที่ราบ และฝั่งทะเลตามลำดับจากเหนือลงใต้
ช่วงใดประเทศไทยได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
- พฤษภาคม – ตุลาคม
- ตุลาคม – กุมภาพันธ์
- กุมภาพันธ์ – มีนาคม
- มีนาคม – พฤษภาคม
เมื่อประเทศไทยได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จะเกิดปรากฏการณ์ใด
- ภาคตะวันตกมีความกดอากาศสูง อุณหภูมิลดลง
- ภาคตะวันออกเกิดความหย่อมความกดอากาศต่ำ
- ภาคใต้ฝั่งตะวันออกเริ่มหนาว แห้งแล้ง
- ภาคเหนือมีฝนตกจากพายุดีเปรสชั่น
นักท่องเที่ยวเดินทางไปพบ "ไม้กลายเป็นหิน" ในจังหวัดนครราชสีมา หินดังกล่าวน่าจะจัดเป็นหินประเภทใด
- หินชั้น
- หินอัคนี
- หินแปร
- หินแกรนิต
ฤดูใดมีระยะสั้นที่สุดของประเทศไทย
- ฤดูหนาว
- ฤดูฝน
- ฤดูร้อน
- ฤดูแล้ง
ในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน เป็นช่วงเปลี่ยนฤดูลมมรสุม จะมีลมเย็นพัดจากตอนบน ของภาคกลางไปตามลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาจนถึงปากอ่าวไทย มีชื่อเรียกว่าอย่างไร
- ลมพัทธยา
- ลมพายุฟ้าคะนอง
- ลมมรสุม
- ลมตะเภา
ปัญหาการขาดแคลนน้ำในประเทศไทยมีสาเหตุสำคัญมาจากอะไร
- ฝนทิ้งช่วงนาน
- ฝนตกน้อย
- ไม่มีอ่างเก็บน้ำ
- ไม่มีการอนุรักษ์น้ำ
พายุหมุนเขตร้อน ที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย ส่วนใหญ่มาจากแหล่งกำเนิดใด
- ทะเลจีนใต้
- ทะเลอันดามัน
- อ่าวเบงกอล
- ทะเลจีนตะวันออก
ปัญหาความแห้งแล้งโดยทั่วไปของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งยากต่อการแก้ไข มีมูลเหตุสำคัญมาจากอะไร
- ลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยา
- หินดินดานและลักษณะหินในภูมิภาค
- ลักษณะการเป็นที่ราบสูงด้านอับลม
- ระยะทางห่างไกลจากทะเล
ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดผ่านเข้าสู่ประเทศไทยส่งผลต่อสภาพภูมิอากาศอย่างไร
- อากาศร้อนชื้น และเกิดฝนตกกระจาย
- อากาศร้อนชื้น และแห้งแล้ง
- อากาศมีอุณหภูมิต่ำ และหนาวเย็นทั่วไป
- อากาศมีอุณหภูมิสูง และแห้งแล้ง
ภูมิภาคใดของประเทศไทยได้รับขนานนามว่า “ดินแดนแห่งที่ราบสูงและทุ่งหญ้า”
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- ภาคตะวันออก
- ภาคตะวันตก
- ภาคเหนือ
ลักษณะภูมิประเทศชนิดใดเกิดจากโครงสร้างทางธรณีวิทยาแบบหินปูน
- ถ้ำ
- เกาะ
- ภูเขา
- ทะเลสาบ
พายุหมุนที่สร้างความเสียหายร้ายแรงใน ประเทศไทยส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงใด
- กันยายน - พฤศจิกายน
- ธันวาคม – กุมภาพันธ์
- มีนาคม – พฤษภาคม
- กุมภาพันธ์ – มีนาคม
ป่าไม้ชนิดใดทีมีค่าทางเศรษฐกิจมากที่สุดในประเทศไทย
- ป่าเบญจพรรณ
- ป่าแดง
- ป่าดงดิบ
- ป่าชายเลน
แม่น้ำสายหนึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำเจ้าพระยามีความยาว ๑๔๕ กิโลเมตร ไหลผ่านจังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง และพระนครศรอยุธยา มีชื่อเรียกกันหลายชื่อเช่น แควสีสุก และแควผักไห่ เป็นต้น ชื่ออย่างเป็นทางการของแม่น้ำสายนี้คืออะไร
- แม่น้ำน้อย
- แม่น้ำป่าสัก
- แม่น้ำลพบุรี
- แม่น้ำท่าจีน
เขตเงาฝน (Rain Shadow) ในพื้นที่ของภาคตะวันตก หมายถึงพื้นที่ในลักษณะใด
- พื้นที่ที่อยู่ด้านหลังเทือกเขาที่ขวางกั้นลมมรสุมพัดผ่าน
- พื้นที่ที่มีลมมรสุมพัดผ่านน้อย
- พื้นที่ที่ลมมรสุมนำปริมาณน้ำฝนพัดผ่านไปตกที่อื่น
- พื้นที่ที่สิ้นสุดของลมมรสุม
ประชากรส่วนใหญ่ของไทยประกอบอาชีพด้านใดมากที่สุด
- เกษตรกรรม
- การเงินและบริการ
- อุตสาหกรรม
- ธุรกิจค้าขาย
ข้อใด ไม่ใช่ ปัญหาชุมชนเมือง
- ขาดแคลนสาธารณูปโภค
- การจราจรติดขัด
- แหล่งเสื่อมโทรม
- ภาวะมลพิษ
ถ้าพิจารณาถึงลักษณะภูมิประเทศ การตั้งถิ่นฐานของประชากรภาคใดที่คล้ายคลึงกันมากที่สุด
- ภาคเหนือกับภาคตะวันตก
- ภาคใต้กับภาคตะวันออก
- ภาคตะวันออกกับภาคกลาง
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับภาคเหนือ
ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของลักษณะทางภูมิศาสตร์กับลักษณะทางเศรษฐกิจของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีค่อนข้างมาก แต่ดินส่วนใหญ่ไม่ค่อยอุ้มน้ำ การเพาะปลูกพืชจึงแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่
- มีความแห้งแล้ง ไม่สามารถปลูกไม้ผลเมืองหนาวได้เลยยกเว้นแอปเปิล
- มีอากาศค่อนข้างเย็นทางตอนเหนือ จึงมีการปลูกพืชเศรษฐกิจเมืองหนาว
- อิทธิพลของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือทำให้มีฝนตกชุกในช่วงปลายปี สามารถเพาะปลูกพืชที่ต้องใช้น้ำมากได้ผลผลิตดี
เทือกเขาใดไม่กั้นพรมแดนไทยกับพม่า
- เทือกเขาหลวงพระบาง
- เทือกเขาตะนาวศรี
- เทือกเขาแดนลาว
- เทือกเขาถนนธงชัย
ข้อใดไม่ใช่ภูเขาไฟที่เคยปะทุและระเบิดมาแล้วในประเทศไทย
- ภูกระดึง
- ภูกระโดง
- ภูคอก
- ภูอังคาร
ภูมิประเทศภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีลักษณะอย่างไร
- สูงทางตะวันตก เป็นแอ่งกระทะ ค่อยๆ ลาดมาทางตะวันออก
- สูงทางเหนือ ค่อยๆ ลาดมาทางตอนใต้
- สูงจากตะวันออก ค่อยๆ ลาดมาทางตะวันตก
- สูงทางใต้ ค่อยๆ ลาดมาทางเหนือ
ปัญหาความแห้งแล้งโดยทั่วไปของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งยากต่อการแก้ไข มีมูลเหตุสำคัญมาจากอะไร
- ลักษณะดินเป็นดินปนทราย
- หินดินดานและลักษณะหินในภูมิภาค
- ลักษณะการเป็นที่ราบสูงด้านอับลม
- ระยะทางห่างไกลจากทะเล
ภูมิภาคใดที่มีปริมาณฝนเฉลี่ยประจำปีต่ำที่สุดของประเทศไทย
- ภาคตะวันตก
- ภาคใต้
- ภาคตะวันออก
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พื้นที่บริเวณใดของประเทศไทยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวมากที่สุด
- ภาคเหนือ – ภาคตะวันตก
- ภาคตะวันออก – ภาคกลาง
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ – ภาคตะวันออก
- ภาคตะวันตก – ภาคใต้
จังหวัดในข้อใดมีอาณาเขตติดแม่น้ำโขงทั้งหมด
- เชียงราย เลย บึงกาฬ
- อุตรดิตถ์ อุบลราชธานี มุกดาหาร
- พะเยา พิษณุโลก นครพนม
- น่าน หนองคาย อำนาจเจริญ
ข้อใดไม่ถูกต้อง
- เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ กั้นลำน้ำป่าสัก อยู่ในจังหวัดสิงห์บุรี
- เขื่อนสิรินธร สร้างปิดกั้นแม่น้ำลำโดมน้อย ตำบลช่องเม็ก อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี
- เขื่อนวชิราลงกรณ เดิมมีชื่อว่า เขื่อนเขาแหลม สร้างปิดกั้นแม่น้ำแควน้อย อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัด
- เขื่อนสิริกิติ์ หรือ เขื่อนท่าปลา อยู่ในอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ กั้นแม่น้ำน่าน
ถ้าล่องเรือตามแม่น้ำเจ้าพระยาจะผ่านจังหวัดใดเรียงตามลำดับ
- นครสวรรค์ ชัยนาท อุทัยธานี สิงห์บุรี อ่างทอง อยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ
- นครสวรรค์ ชัยนาท อุทัยธานี สระบุรี อ่างทอง อยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ
- นครสวรรค์ ชัยนาท อุทัยธานี ลพบุรี อ่างทอง อยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ
- นครสวรรค์ ชัยนาท อุทัยธานี กาญจนบุรี อ่างทอง อยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ
การเดินทางน้ำในข้อใดไม่ถูกต้อง
- คลองแสนแสบ เป็นคลองเชื่อมระหว่างแม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำเจ้าพระยา
- คลองภาษีเจริญ เป็นคลองเชื่อมระหว่างแม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำเจ้าพระยา
- คลองมหาสวัสดิ์ เชื่อมระหว่างคลองบางกอกน้อยแม่น้ำเจ้าพระยาเดิมไปแม่น้ำท่าจีน
- คลองดำเนินสะดวก เป็นคลองเชื่อมระหว่างแม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลอง
ข้อใดกล่าวถึงลักษณะภูมิประเทศภาคกลางของประเทศไทยได้ถูกต้อง
- ที่ราบภาคกลางเป็นที่ราบตะกอนน้ำพา (alluvial plain)
- ภาคกลางจัดเป็นเนินตะกอนน้ำพารูปพัด (alluvial fan) พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล
- บริเวณภาคกลางมีภูเขาเตี้ยๆ สลับที่ราบลูกคลื่น (rolling plain) ทำให้น้ำไหลจากทิศเหนือลงสู่ทิศใต้
- เป็นที่ราบที่อยู่สูงกว่าภาคอื่นมีทิวเขาเพชรบูรณ์อยู่ทางตะวันตกเป็นขอบสูงชันที่เรียกว่า ผาตั้ง (escarpment)
หมู่หินชุดใดที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด
- หมู่หินตะรุเตา
- หมู่หินลำปาง
- หมู่หินตะนาวศรี
- หมู่หินราชบุรี
เพราะเหตุใดเขตที่ราบภาคกลางตอนล่างหรือที่เรียกว่าดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา จึงเหมาะแก่การเกษตรกรรม
- แม่น้ำพัดพาดินตะกอนมาทับถมอยู่เสมอ
- มีพื้นที่ราบที่กว้างขวาง
- มีระบบชลประทานที่ก้าวหน้า
- มีแร่ธาตุอยู่ในดินหลายชนิด
หลุมยุบ sinkhole ภาษาถิ่นภาคเหนือเรียกว่า “แอ่งสลุง” เป็นภูมิลักษณ์ซึ่งภูเขามีโครงสร้างเป็นหินอะไร
- หินปูน
- หินแกรนิต
- หินดินดาน
- หินทราย
สภาพทางกายภาพของ ชายฝั่งทะเลด้านใด ของประเทศไทยที่เหมาะสมในการสร้างท่าเรือน้ำลึก
- ฝั่งทะเลภาคตะวันออก
- ฝั่งทะเลบริเวณก้นอ่าวไทย
- ฝั่งทะเลด้านตะวันตกของภาคใต้
- ฝั่งทะเลด้านตะวันออกของภาคใต้
ประเทศใดที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทยเฉพาะด้านทิศตะวันออก
- ราชอาณาจักรกัมพูชา
- มาเลเซีย
- สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
- สหภาพเมียนมาร์
ข้อใดต่อไปนี้เป็นการประกอบอาชีพไม่ถูกหลักการใช้ทรัพยากรท้องถิ่น
- นายมั่นเป็นชาวนครศรีธรรมราชมีอาชีพตัดไม้สนสองใบและสนสามใบจากป่าสนเอามาเผาถ่านขาย
- นายเหมือนชาวอำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่านผลิตเกลือสินเธาว์จำหน่าย
- นายหมายบ้านอยู่ใกล้ปากแม่น้ำบางปะกงประกอบอาชีพทำเฟอร์นิเจอร์จากไม้โกงกาง
- นายมาชาวจังหวัดสมุทรสงคราทำฟาร์มกุ้งกุลาดำ ใกล้ชายฝั่งทะเล
อาชีพการทำนาเกลือ บริเวณภาคกลางตอนล่างและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คุณสมบัติของเกลือทั้งสองภาคนี้ มีความแตกต่างกันในข้อใด
- ปริมาณไอโอดีน
- ปริมาณของโซเดียมคลอไรด์
- ความเข้มข้นของโซเดียมคลอไรด์
- ปริมาณของสินแร่ที่ปนเปื้อน
ปัจจัยใด ทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคตะวันออก มีอากาศไม่รุนแรง
- อิทธิพลของทะเล
- อิทธิพลของลมมรสุม
- อิทธิพลของพายุดีเปรสชั่น
- ลักษณะภูมิประเทศเป็นทราบลูกฟูก
ข้อใดไม่ใช่ผลกระทบอันเกิดจากที่ตั้งของประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่ที่ละติจูด 5 องศา 37 ลิปดา ถึง 20 องศา 27 ลิปดา เหนือ
- ทำให้ทุกจังหวัดมีเวลามาตรฐานเดียวกัน
- ทำให้อุณหภูมิในเวลากลางวันและกลางคืนไม่แตกต่างกัน
- ทำให้ได้รับอิทธิพลของลมมรสุม
- ทำให้มีอากาศร้อน
ถ้าแบ่งภูมิอากาศโดยใช้อุณหภูมิตามระบบของ วราดิเมียร์ คอปเปล ประเทศไทยจะอยู่ในเขตใด
- เขตร้อนเหนือ
- เขตร้อนใต้
- เขตอบอุ่นเหนือ
- เขตอบอุ่นใต้
ชายฝั่งทะเลของไทยมีลักษณะตรงกับข้อใด
- ชายฝั่งอ่าวไทยเป็นชายฝั่งยกตัว ชายฝั่งอันดามันเป็นชายฝั่งทรุดตัว
- ชายฝั่งอ่าวไทย และชายฝั่งอันดามัน จัดเป็นชายฝั่งทรุดตัว
- ชายฝั่งอ่าวไทย และชายฝั่งอันดามัน จัดเป็นชายฝั่งยกตัว
- ชายฝั่งอ่าวไทยเป็นชายฝั่งทรุดตัว และชายฝั่งอันดามันเป็นชายฝั่งยกตัว
พื้นที่ชายฝั่งทะเลด้านใดของไทยที่เป็นชายฝั่งทะเลยุบตัว
- ชายฝั่งทะเลอันดามัน
- ชายฝั่งทะเลจีนใต้
- ชายฝั่งตะวันตกของอ่าวไทย
- ชายฝั่งตะวันออกของอ่าวไทย
น้ำในแม่น้ำสายใดที่ไม่ไหลลงสู่อ่าวไทย
- แม่น้ำตรัง.
- แม่น้ำโก-ลก
- แม่น้ำปัตตานี
- แม่น้ำแม่น้ำคีรีรัฐ
ถ้านักเรียนต้องการไปศึกษา "ลักษณะชายฝั่งชายฝั่งแบบจมตัว" ซึ่งมีที่ราบชายฝั่งแคบและมีหาดโคลน ต้องไปศึกษาในบริเวณใด
- ชายฝั่งทะเลของจังหวัดพังงา และกระบี่
- แหลมตะลุมพุก นครศรีธรรมราช
- ชายฝั่งทะเลของจังหวัดปัตตานี
- ทุ่งสุราษฎร์
การเกิดปรากฏการณ์แผ่นดินไหวในประเทศไทยค่อนข้างน้อย และผลกระทบไม่รุนแรงนั้น เนื่องจากเหตุผลในข้อใด
- ไม่ได้ตั้งอยู่บริเวณรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก
- อยู่ไกลจากมหาสมุทรแปซิฟิก
- ไม่เคยปรากฏว่าเคยมีภูเขาไฟระเบิด ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อแผ่นดินไหว
- พื้นที่ซึ่งอยู่ติดทะเลมีน้อย
ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาแข้ง อยู่ภายในเขต จังหวัดตาก อุทัยธานี นครสวรรค์และกาญจนบุรี
- ทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นที่ราบขนาดใหญ่ อยู่ในเขต จังหวัดสุรินทร์ มหาสารคาม ศรีสะเกษ ยโสธร และ ร้อยเอ็ด
- อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้าตั้งอยู่บนรอยต่อของสามจังหวัด คือ จังหวัดเลย พิษณุโลก และ เพชรบูรณ์
- อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ตั้งอยู่บนเทือกเขาดงพญาเย็นในเขตพื้นที่ จังหวัดนครราชสีม ปราจีนบุรี สระบุรีและนครนายก
ที่ราบฉนวนไทยในภาคตะวันออก หมายถึง พื้นที่ตามความหมายในข้อใด
- พื้นที่ราบของภาคตะวันออกที่ต่อเนื่องเข้ากับพื้นที่ราบของประเทศเพื่อนบ้าน
- เป็นพื้นที่ราบสูงคล้ายกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ และเป็นแหล่งเพาะปลูกสำคัญของภาคตะวันออก
- เป็นที่ที่มีภูเขาสูงขวางกั้นเป็นพรมแดนระหว่างภาคตะวันออก กับประเทศเพื่อนบ้าน
มัดคุเทศคนใดแนะนำนักท่องเที่ยว ไม่ถูกต้อง
- ทอม คุณจะไปเชียงรายให้ไปขึ้นรถไฟที่หัวลำโพง
- จอห์น คุณจะไปอุบลราชธานีนั่งรถไฟไปได้นะ
- โทมัส คุณสามารถใช้รถโดยสารไปถึงเกาะภูเก็ตโดยไม่ต้องต่อเรือ
- ไมเคิล คุณจะไปอุดรธานีต้องไปที่สนามบินกรุงเทพฯ(ดอนเมือง)
พื้นที่บริเวณใดของประเทศไทยที่มีความกว้างมากที่สุด เมื่อวัด จากตะวันตกไปตะวันออก
- ด่านเจดีย์สามองค์ จังหวัดกาญจนบุรี - ช่องเม็ก จังหวัดอุบลราชธานี
- ด่านเจดีย์สามองค์ จังหวัดกาญจนบุรี - ช่องจอม จังหวัดสุรินทร์
- อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก - อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
- อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี - อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี
ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
- เทือกเขาสันกาลาคีรีกั้นพรมแดนไทยกับมาเลเซียบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช
- เทือกเขาพนมดงรักกั้นไทยกับลาวบริเวณจังหวัดอุบลราชธานี
- เทือกเขาแดนลาวกั้นไทยกับพม่าบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน
- เทือกเขาบรรทัดกั้นพรมแดนไทยกับกัมพูชาบริเวณจังหวัดตราด