ข้อใดคือสาเหตุที่ทำให้แผ่นเปลือกโลกเคลื่อน
- การไหลวนของหินหนืดในชั้นเนื้อโลก (mantle)
- การประทุของหินแข็งในชั้นเปลือกโลก (crust)
- การเคลื่อนที่ของหินหลอมเหลวในแก่นโลกชั้นใน (inner core)
- การแทรกตัวขึ้นมาของแร่ธาตุจากแก่นโลกชั้นนอก (outer core)
เมื่อเกิดภูเขาไฟขึ้นของเหลวที่ไหลออกมาน่าจะมาจากโลกชั้นใด
- เนื้อโลก (mantle)
- แก่นโลก (core)
- เปลือกโลกชั้นบน ชั้นไซอัล (sial layer)
- เปลือกโลกชั้นล่าง ชั้นไซมา (sima layer)
การเกิดแผ่นดินไหวสอดคล้องกับบริเวณที่เป็นแนวรอยเลื่อนของแผ่นเปลือกโลกอย่างไร
- การเคลื่อนตัวในรูปแบบต่างๆ
- จุดศูนย์กลางมีแรงสั่นไหวมาก
- หินหนืดที่พุขึ้นกลายเป็นเทือกเขา
- ความสั่นไหวก่อให้เกิดระลอกคลื่น
การศึกษาเกี่ยวกับภูเขาไฟที่มีพลังในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ควรดำเนินการในประเทศใดบ้าง
- อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์
- กัมพูชา อินโดนีเซีย
- ฟิลิปปินส์ ไทย
- ไทย กัมพูชา
จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว (Epicenter) คืออะไร
- จุดบนผิวโลกที่อยู่เหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหว
- จุดที่อยู่เหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหวแต่อยู่ในชั้นเนื้อโลก (Mantle)
- จุดล่างสุดของชั้นเปลือกโลก (Crust) ที่อยู่เหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหว
- จุดในอากาศที่อยู่เหนือการเกิดแผ่นดินไหว
จุดที่คลื่นแผ่นดินไหวเคลื่อนที่ไปตั้งฉากกับผิวโลกเรียกว่าอะไร
- จุดเหนือศูนย์กำเนิด epicenter
- จุดศูนย์กำเนิด focus
- จุดประชิด Adjacent Vertices
- จุดปลาย End Point
บริเวณที่ได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหวมากที่สุดคือบริเวณใด
- จุดเหนือศูนย์กำเนิด epicenter
- จุดศูนย์กำเนิด focus
- จุดประชิด Adjacent Vertices
- จุดปลาย End Point
ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการเกิดแผ่นดินไหว
- จุดที่คลื่นแผ่นดินไหวเคลื่อนที่ไปตั้งฉากกับผิวโลกเรียกว่าศูนย์กำเนิด
- เครื่องมือที่ใช้วัดความไหวสะเทือนเรียกว่าไซสโมกราฟ (seismograph)
- การเกิดแผ่นดินไหววัดได้ 6.5 ริกเตอร์อาจจะมีผู้เสียชีวิตมากกว่า แผ่นดินไหว 7.1 ริกเตอร์
- การเกิดแผ่นดินไหวร้ายแรง อาคารมีการเสียหายแผ่นดินแยก มีการสั่นสะเทือน 7.0 ริกเตอร์ขึ้นไป
การปะทุระเบิดของภูเขาไฟก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศของอุทกภาคได้อย่างไร
- หินหนืดที่ไหลลงสู่ทะเลส่งผลให้ลักษณะชายฝั่งเกิดการเปลี่ยนแปลง
- เถ้าถ่านที่ปกคลุมท้องฟ้าทำให้แสงแดดและความร้อนไม่สามารถส่องลงมาถึงผิวน้ำได้
- แรงสั่นสะเทือนทำให้เกิดคลื่นใหญ่ซึ่งมีผลต่อแนวปะการัง
- แก๊สและควันที่พวยพุ่งจากการปะทุระเบิดทำให้สัตว์น้ำสูญพันธุ์
ข้อใดเป็นอิทธิพลที่เกิดจากภายใต้ผิวโลกที่ทำให้เปลือกโลกเปลี่ยนแปลง
- กราเบน Graben
- ลากูน Lagoon
- แอเรต (Arete)
- เซิร์ก Cirque
ข้อใดไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกที่เกิดจากความร้อนภายใต้ผิวโลก
- อัลลูเวียลแฟน alluvial fan
- แคลดีรา caldera
- ฮอสต์ horst
- กราเบน Graben
ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ภูมิประเทศที่เกิดจากการกระทำของธารน้ำแข็ง
- แอ่งไฟยุม Faiyum Depression
- เซิร์ก Cirque
- แอเรต Arete
- ฮอร์น Horn
การเคลื่อนตัวของเปลือกโลกมีสาเหตุมาจากชั้นเนื้อโลกได้รับพลังงานความร้อนจากที่ใด
- แกนโลก
- ดวงอาทิตย์
- เปลือกโลกชั้นเมนเทิล
- เปลือกโลกชั้นนอก
แผ่นดินไหวอันเนื่องมาจากการระเบิดของภูเขาไฟเป็นผลสืบเนื่องมาจากการเคลื่อนตัวของอะไร
- หินหนืด Magma ภายในชั้นเนื้อโลก
- ลาวาที่ไหลอยู่บนเปลือกโลก
- ลาวาที่ไหลอยู่บนชั้นมอฮอรอวีชีช
- หินหนืด Magma ที่ไหลอยู่ในชั้นอินเนอคอร์
ข้อใดไม่ได้อยู่ในบริเวณที่เรียกว่า "วงแหวนแห่งไฟ (ring of fire)"
- บริเวณรอยขอบของภูเขาหิมาลัย
- บริเวณประเทศเม็กซิโกและอเมริกากลาง
- ประเทศญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์และนิวซีแลนด์
- บริเวณด้านตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือ
ข้อใดกล่าวถึงลักษณะการเกิดภูเขาไฟรูปโล่(Shield Volcanoes)ได้ถูกต้อง
- เกิดจากหินหนืดที่ไหลออกมาจากปล่องมีอุณหภูมิสูงมากและมีอัตราการไหลเร็วมากจึงไหลได้ระยะไกล
- เกิดจากหินหนืดที่เย็นตัวลงผสมกับกองขี้เถ้า จากการปะทุหลายครั้ง
- เกิดจากหินหนืดที่ปะทุออกมาเย็นตัวลงอย่าง รวดเร็ว
- เกิดจากหินหนืดที่ถูกดันออกมามีความหนืดสูง
ข้อใดคือภูเขาไฟเกิดจากลาวาชนิดบะซอลท์ที่ไหลด้วยความหนืดต่ำ ลาวาที่ไหลมาจากปล่องกลางและไม่กองสูงชัน ภูเขาไฟชนิดนี้มักจะเป็นภูเขาไฟขนาดใหญ่
- ภูเขาไฟรูปโล่ (Shield Volcano)
- กรวยภูเขาไฟสลับชั้น (Composite Cone Volcano)
- ภูเขาไฟแบบกรวยสูง (Steep cone)
- กรวยกรวดภูเขาไฟ (Cinder Cone)
ข้อใดคือภูเขาไฟเกิดจากการสลับหมุนเวียนของชั้นลาวาและเศษหิน ภูเขาไฟชนิดนี้อาจจะดันลาวาไหลออกมาเป็นเวลานาน และจะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการประทุอย่างกะทันหัน
- กรวยภูเขาไฟสลับชั้น (Composite Cone Volcano)
- ภูเขาไฟแบบกรวยสูง (Steep cone)
- กรวยกรวดภูเขาไฟ (Cinder Cone)
- ภูเขาไฟรูปโล่ (Shield Volcano)
ข้อใดคือภูเขาไฟที่เกิดการระเบิดอย่างรุนแรงลาวามีความเป็นกรดรูปกรวยคว่ำเกิดจากการทับถมของลาวาที่เป็นกรด เพราะประกอบด้วยธาตุซิลิกอนมากกว่าธาตุอื่นๆ ลาวามีความข้นและเหนียว จึงไหลและเคลื่อนตัวไปอย่างช้าๆ แต่จะแข็งตัวเร็ว ทำให้ไหล่เขาชันมาก
- ภูเขาไฟแบบกรวยสูง (Steep cone)
- กรวยภูเขาไฟสลับชั้น (Composite Cone Volcano)
- กรวยกรวดภูเขาไฟ (Cinder Cone)
- ภูเขาไฟรูปโล่ (Shield Volcano)
ข้อใดคือภูเขาไฟที่เกิดจากลาวาที่พุ่งออกมาทับถมกัน ลาวาจะมีความหนืดสูง การไหลไม่ต่อเนื่อง และมีลักษณะเป็นลาวาลูกกลมๆ ที่พุ่งออกมาจากปล่องเดี่ยวและทับถมกันบริเวณรอบปล่อง
- กรวยกรวดภูเขาไฟ (Cinder Cone)
- ภูเขาไฟรูปโล่ (Shield Volcano)
- ภูเขาไฟแบบกรวยสูง (Steep cone)
- กรวยภูเขาไฟสลับชั้น (Composite Cone Volcano)
ข้อใดไม่ใช่สาเหตุของการเกิดสีนามิ
- การตกของดาวหางหรืออุกาบาตขนาดใหญ่ลงสู่พื้นทะเลทราย
- การปะทุของภูเขาไฟใต้มหาสมุทรอย่างรุ่นแรง
- แผ่นดินไหวที่มีศูนย์กลางอยู่ลึกลงไฟใต้มหาสมุทร
- การเกิดดินถล่มใต้พื้นมหาสมุทรโดยฉับพลัน
สึนามิ Tsunami มาจากภาษาญี่ปุ่น แปล่า อะไร
- คลื่นท่าเรือ
- คลื่นชายฝั่ง
- คลื่นซัดฝั่ง
- คลื่นมหาสมุทร
สึนามิ ครั้งร้ายแรงที่ประเทศไทยเคยได้รับความเสียหายอย่างมากเมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม 2547 มีต้นกำเนิดบริเวณมหาสมุทรอะไร
- มหาสมุทรอินเดีย
- มหาสมุทรแปซิฟิก
- มหาสมุทรแอตแลนติก
- มหาสมุทรอาร์กติก
สึนามิ ครั้งร้ายแรงที่ประเทศไทยเคยได้รับความเสียหายอย่างมากเมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม 2547 มีต้นกำเนิดบริเวณทะเลอะไร
- ทะเลอันดามัน
- ทะเลอาหรับ
- ทะเลอ่าวไทย
- ทะเลจีนใต้
จังหวัดในข้อใดต่อไปนี้ไม่ได้รับผลกระทบจาก “สึนามิ”เมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม 2547 ทั้งหมด
- ปัตตานี สงขลาและพัทลุง
- ระนอง พังงาและภูเก็ต
- พังงา ตรังและสตูล
- ระนอง พังงา และตรัง
ข้อใดคือกระบวนการเกิดดินถล่มมีน้ำเข้ามาเกี่ยวข้องมากที่สุด น้ำทำให้ ตะกอน มีลักษณะเป็นของไหลและเคลื่อนที่ไปบนพื้นระนาบลาดเขา
- การไหล Flows
- การร่วงหล่น Falls
- การล้มคว่ำ Topples
- การลื่นไถล Slides
ข้อใดคือ การเกิดดินถล่มชนิดมีน้ำเข้ามาเกี่ยวข้องเสมอการเคลื่อนที่ที่มีลักษณะโค้งครึ่งวงกลมคล้ายช้อน Spoon-shaped ทำให้มีการหมุนตัวของวัตถุขณะเคลื่อนที่
- การลื่นไถล Slides
- การไหล Flows
- การร่วงหล่น Falls
- การล้มคว่ำ Topples
ข้อใดคือการเกิดดินถล่มลงมาตามลาดเขามักพบว่าเกิดเชิงหน้าผาดินหรือหินที่มีรอยแตกรอยแยกมาก โดยกระบวนการเกิดดินถล่มมีน้ำเข้ามาเกี่ยวข้องน้อยหรือไม่มีน้ำเข้ามาเกี่ยวข้อง
- การล้มคว่ำ Topples
- การลื่นไถล Slides
- การไหล Flows
- การร่วงหล่น Falls
ข้อใดคือการเกิดดินถล่มด้วยการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วลงมาตามลาดเขาหรือหน้าผาสูงชัน โดยอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงของโลก อาจเกิดการตกอย่างอิสระหรือมีการกลิ้งลงมาตามลาดเขาร่วมด้วย
- การร่วงหล่น Falls
- การลื่นไถล Slides
- การไหล Flows
- การล้มคว่ำ Topples
ข้อใดไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้เกิดหลุมยุบ Sinkhole
- ลาวาในชั้นเนื้อโลกไหลออกมาบนพื้นโลกมากเกินไป
- ชั้นใต้ดินองค์ประกอบทางเคมีจำพวกคาร์บอเนตจำนวนมาก
- ชั้นใต้ดินองค์ประกอบหินปูนหรือเกลือจำนวน
- มีการสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้จำนวนมาก
สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วไม่ได้รับการแก้ไขให้ดีขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตหรือก่อให้เกิดอันตรายได้เรียกว่าอะไร
- วิกฤตการณ์
- เหตุการณ์
- ปรากฏการณ์
- สถานการณ์
วิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโลกที่เกิดขึ้นเป็นผลสืบเนื่องจากข้อใด
- การใช้ทรัพยากรธรรมชาติของมนุษย์
- การเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี
- การเปลี่ยนแปลงสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศน์
- การลดลงของจำนวนประชากรโลก
สถานการณ์ใดต่อไปนี้ ไม่ใช่วิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมของโลกในปัจจุบัน
- สงครามด้านเชื้อชาติรุนแรงขึ้น
- อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น
- พื้นที่ป่าไม้และสัตว์ป่าลดลง
- เกิดภัยธรรมชาติที่รุนแรงขึ้น
การที่อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นก่อให้เกิดสิ่งใด
- เกิดการแพร่ของแมลงและเชื้อโรคมากขึ้น
- ระดับน้ำในมหาสมุทรลดลง
- ปล่อยแก๊ส คาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศได้น้อย
- ก๊าซมีเทนถูกสกัดกั้นไม่ให้เข้าสู่บรรยากาศ
การที่เกษตรกรเผาฟางข้าว และเผาหญ้าส่งผลให้อากาศเป็นพิษเนื่องจากเกิดก๊าชในข้อใด
- คาร์บอนไดออกไซด์
- ไนตรัสออกไซด์
- มีเทน
- คลอโรฟลูออโรคาร์บอน
ปรากฏการณ์ เอลนีโญ เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในบริเวณมหาสมุทรใด
- แปซิฟิก
- อาร์กติก
- แอตแลนติก
- อินเดีย
ผลกระทบที่เกิดจากปรากฏการณ์เอลนีโญคือข้อใด
- บริเวณชายฝั่งประเทศเปรูมีฝนตกหนัก
- อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น
- ทรัพยากรทางทะเลขยายพันธุ์ได้เร็วขึ้น
- ลมพายุเปลี่ยนทิศทาง
พื้นที่ใดต่อไปนี้ได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์ลานีญา
- ชายฝั่งประเทศเปรู
- ชายฝั่งแคลิฟอร์เนีย
- ชายฝั่งทะเลอันดามันของไทย
- ชายฝั่งของประเทศเม็กซิโก
ข้อใดคือสาเหตุที่ทำให้เกิดวิกฤตการณ์พลังงาน
- การเพิ่มขึ้นของประชากรอย่างรวดเร็ว
- พลังงานที่เป็นพลังงานธรรมชาติมีน้อย
- การสะสมพลังงานของประเทศมหาอำนาจ
- พลังงานที่ใช้อยู่ไม่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม
วิกฤตการณ์พลังงานในข้อใดส่งผลกระทบต่อวิกฤตเศรษฐกิจโลก
- น้ำมัน
- ก๊าซธรรมชาติ
- นิวเคลียร์
- ถ่านหิน
ข้อใดไม่ใช่ สาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหว
- การเกิดคลื่นยักษ์สึนามิ
- การเคลื่อนตัวของเปลือกโลก
- การระเบิดของภูเขาไฟ
- การระเบิดของนิวเคลียร์
พายุเฮอริเคน เกิดบริเวณใด
- ทะเลแคริบเบียน มหาสมุทรแอตแลนติก
- ทะเลจีนใต้ มหาสมุทรแปซิฟิก
- ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มหาสมุทรแอตแลนติก
- อ่าวเบงกอล มหาสมุทรอินเดีย
พายุไต้ฝุ่น มักจะเกิดขึ้นบริเวณใด
- ทะเลจีนใต้ มหาสมุทรแปซิฟิก
- ทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย
- ทะเลติมอร์ มหาสมุทรแปซิฟิก
- อ่าวเบงกอล มหาสมุทรอินเดีย
พายุหมุนเขตร้อนที่มีความเร็วลม 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไปเรียกว่าอะไร
- ไต้ฝุ่น Typhoon
- โซนร้อน Tropical storm
- ดีเปรสชัน Depression
- วอชิงตัน Washington
พายุวิลลี - วิลลี willy-willy มักเกิดขึ้นบริเวณใด
- บริเวณทะเลติมอร์
- บริเวณทะเลแคริบเบียน
- บริเวณทะเลจีนตะวันออก
- บริเวณทะเลโบฟอร์ต
พายุหมุนเขตร้อนที่ประเทศไทยได้รับมากที่สุดส่วนใหญ่เป็นลมชนิดใด
- ดีเปรสชัน Depression
- โซนร้อน Tropical storm
- ไต้ฝุ่น Typhoon
- สลาตัน salatana
พายุหมุนเขตร้อนที่ประเทศไทยได้รับถ้ามีความเร็ว120กิโลเมตรต่อชั่วโมงเรียกว่าอะไร
- ไต้ฝุ่น Typhoon
- ดีเปรสชัน Depression
- โซนร้อน Tropical storm
- สลาตัน salatana
การเคลื่อนที่ของลมที่มีความเร็วมากกว่า 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมงบริเวณทะเลติมอร์ทางตอนเหนือของออสเตรเลีย จะเรียกว่าอะไร
- ไต้ฝุ่น Typhoon
- โซนร้อน Tropical storm
- ดีเปรสชัน Depression
- สลาตัน salatana
พายุไต้ฝุ่นบริเวณทะเลติมอร์ ทางตอนเหนือของประเทศออสเตรเลียมีชื่อเรียกว่าอะไร
- พายุวิลลี - วิลลี willy-willy
- สลาตัน salatana
- ไซโคลน cyclone
- แอนติไซโคลน anticyclone
ข้อใดกล่าวถึงพายุหมุน cyclone ในซีกโลกเหนือ
- ลมที่เคลื่อนที่จากหย่อมความกดอากาศสูงเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาเข้าหาจุดศูนย์กลาง
- ลมที่เคลื่อนที่จากหย่อมความกดอากาศสูงเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำในทิศทางตามเข็มนาฬิกาเข้าหาจุดศูนย์กลาง
- ลมที่เคลื่อนที่จากหย่อมความกดอากาศต่ำเข้าสู่หย่อมความกดอากาศสูงในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาเข้าหาจุดศูนย์กลาง
- ลมที่เคลื่อนที่จากหย่อมความกดอากาศต่ำเข้าสู่หย่อมความกดอากาศสูงนทิศทางตามเข็มนาฬิกาเข้าหาจุดศูนย์กลาง
ข้อใดคือลักษณะของพายุเฮอริเคน
- ลมที่เคลื่อนที่จากหย่อมความกดอากาศสูงเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาเข้าหาจุดศูนย์กลาง
- ลมที่เคลื่อนที่จากหย่อมความกดอากาศสูงเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำในทิศทางตามเข็มนาฬิกาเข้าหาจุดศูนย์กลาง
- ลมที่เคลื่อนที่จากหย่อมความกดอากาศต่ำเข้าสู่หย่อมความกดอากาศสูงในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาเข้าหาจุดศูนย์กลาง
- ลมที่เคลื่อนที่จากหย่อมความกดอากาศสูงเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำในทิศทางตามเข็มนาฬิกาเข้าหาจุดศูนย์กลาง
ปรากฏการณ์ช่องโหว่ของแก๊สโอโซน Ozone Hole เกิดขึ้นในบรรยากาศชั้นใด
- สเตรโตสเเฟียร์ Stratosphere
- โทรโพสเฟียร์ Troposphere
- มีโซสเฟียร์ Mesosphere
- เทอร์โมสเฟียร์ Thermosphere
ข้อใดไม่ใช่ผลจากภาวะโลกร้อน Global Warming
- น้ำทะเลลดลง
- น้ำแข็งบริเวณขั้วโลกใต้ลดน้อยลง
- น้ำในมหาสมุทรเกิดการขยายตัว
- ความเค็มของน้ำทะเลลดลง
องค์การสหประชาชาติกำหนดให้วันใดเป็น “วันสิ่งแวดล้อมโลก”
- วันที่ 5 มิถุนายน
- วันที่ 2 เมษายน
- วันที่ 10 ธันวาคม
- วันที่ 14 กุมภาพันธ์
ข้อใดมีผลต่อการเกิดแก๊สเรือนกระจกมากที่สุด
- แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
- แก๊สมีเทน
- แก๊สคลอโรฟลูออโรคาร์บอน
- แก๊สไนตรัสออกไซด์
แก๊สที่มีส่วนประกอบของคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFCs) ส่งผลให้โลกร้อนขึ้นกี่เปอร์เซ็นต์
- 25 %
- 57 %
- 12 %
- 6 %
รังสีที่ทำให้โลกร้อนขึ้นคือรังสีชนิดใด
- รังสีอินฟาเรดและรังสีอัลตราไวโอเลต
- รังสีอินฟาเรดและรังอัลฟา
- รังสียูวีและรังสีเอ็กซ์
- รังสีเอ็กซ์และรังสีแกรมมา
การเพิ่มความเค็มให้แก่ดินโดยกระบวนการธรรมชาติจะมีมากขึ้นเมื่อภาวะโลกร้อนปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นตามข้อใด
- น้ำใต้ดินละลายเกลือและซึมขึ้นสู่ดินชั้นบนอย่างต่อเนื่อง
- น้ำฝนละลายเกลือในดินแล้วไหลไปสะสมในบางที่
- น้ำบาดาลละลายเกลือแล้วไหลไปสะสมในดินบางพื้นที่
- น้ำผิวดินละลายเกลือในดินไหลกระจายไปทั้งบริเวณทำให้เกลือแพร่กระจาย
ข้อใดคือผลกระทบจากการเกิดแผ่นดินไหวในหมู่เกาะญี่ปุ่นจนทำให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิ
- เกิดน้ำท่วมฉับพลันในหมู่บ้านชายทะเล
- เกิดวาตภัยทำให้ท้องทะเลปั่นป่วน
- เกิดโคลนถล่มทับหมู่บ้านชาวประมง
- เกิดพายุฝนกระหน่ำทำให้บ้านเรือนเสียหาย
การเกิดกระแสน้ำอุ่นไหลย้อนกลับบริเวณเส้นศูนย์สูตรจากมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกไปทางมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกทำให้เกิดปรากฏการณ์ใด
- เอลนีโญ
- เฮอริเคน
- ลานีญา
- ทอนาโด
ข้อใดไม่จัดอยู่ในกลุ่มปัญหาวิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของโลกที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
- ปัญหาจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
- ปัญหาจากการทำลายระบบนิเวศ
- ปัญหาการเกิดมลภาวะหรือมลพิษต่าง ๆ
- ปัญหาการลดลงของทรัพยากรธรรมชาติ
การเพิ่มของประชากรมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญในเรื่องใด
- ทรัพยากรลดลงและเกิดมลพิษ
- สิ่งแวดล้อมเน่าเสียและเกิดมลพิษ
- เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ
- การใช้เทคโนโลยีใหม่ปรับปรุงมลภาวะ
เครื่องมือทางการตลาดที่ใช้ส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมใช้ฉลากสีอะไร
- สีเขียว
- สีดำ
- สีแดง
- สีเหลือง
ข้อใดคือทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วไม่หมดแต่จะมีการแปรสภาพ
- ทรัพยากรดิน
- ทรัพยากรป่าไม้
- ทรัพยากรก๊าซธรรมชาติ
- ทรัพยากรถ่านหิน
หน่วยงานใดต่อไปนี้ที่มีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและแนวทางในการบริหารที่ดิน
- สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
- กรมส่งเสริมคุณภาพและสิ่งแวดล้อม
- กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
ข้อใดเป็นอำนาจ หน้าที่บทบาท และภารกิจของกรมทรัพยากรธรณี
- ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยแร่ในส่วนที่เกี่ยวข้อง
- ส่งเสริม เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ด้านสิ่งแวดล้อม
- ให้ความช่วยเหลือและคำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการจัดการมลพิษ
- บริการข้อมูลสารสนเทศและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านป่าไม้
ข้อใดเกี่ยวข้องกับสนธิสัญญาให้ประเทศพัฒนาแล้วลดการปล่อยแก้สคาร์บอนใดออกไซด์ในปี2555
- พิธีสารเกียวโต Kyoto Protocol
- อนุสัญญาแรมซาร์ Ramsar Convention
- สนธิสัญญาบาเซิล Basel Convention
- อนุสัญญาไซเตส CITES
ข้อใดเป็นเรื่องการค้าระหว่างประเทศเกี่ยวกับสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธ์
- อนุสัญญาไซเตส CITES
- สนธิสัญญาบาเซิล Basel Convention
- พิธีสารเกียวโต Kyoto Protocol
- อนุสัญญาแรมซาร์ Ramsar Convention
ข้อใดไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับภาวะโลกร้อน
- สนธิสัญญาบาเซิล Basel Convention
- อนุสัญญาสหประชาชาติ UNFCCC
- พิธีสารมอนทรีออล Montreal Protocol
- พิธีสารเกียวโต Kyoto Protocol
ข้อใดมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายขยะอันตรายไปยังประเทศกำลังพัฒนาหรือด้อยพัฒนา
- สนธิสัญญาบาเซิล Basel Convention
- อนุสัญญาไซเตส CITES
- อนุสัญญาแรมซาร์ Ramsar Convention
- พิธีสารเกียวโต Kyoto Protocol
ข้อใดเกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ โดยเฉพาะถิ่นที่อยู่ของนกน้ำ
- อนุสัญญาแรมซาร์ Ramsar Convention
- พิธีสารเกียวโต Kyoto Protocol
- อนุสัญญาไซเตส CITES
- สนธิสัญญาบาเซิล Basel Convention
หน่วยงานใดเป็นองค์กรอิสระระดับโลกที่รณรงค์ป้องกันและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
- กรีนพีช GREENPEACE
- องค์การสิ่งแวดล้อมโลก UNEP
- กองทุนสัตว์ป่าแห่งโลก WWF
- มูลนิธิโลกสีเขียว GWF
การที่ผู้เรียนใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติกเป็นการกระทำตรงกับข้อใด
- อนุสัญญาเวียนนา และพิธีสารมอนทรีออล
- อนุสัญญาบาเซิล
- อนุสัญญาแรมซาร์
- อนุสัญญาไซเตส
ญี่ปุ่นส่งขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปยังประเทศกัมพูชาเป็นการละเมิดสัญญาข้อใด
- อนุสัญญาบาเซิล
- อนุสัญญาไซเตส
- อนุสัญญาแรมซาร์
- อนุสัญญาเวียนนา และพิธีสารมอนทรีออล
องค์กรในข้อใดกำหนดให้วันที่ 5 มิถุนายนของทุกปีเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก (World Environment Day)
- UNEP
- BDC
- CITES
- UNFCCC
อนุสัญญาฉบับใดเกิดขึ้นเนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับปริมาณแก๊สเรือนกระจก
- อนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาค
- อนุสัญญาบาเซิล
- อนุสัญญาไซเตส
ข้อใดเป็นอนุสัญญาที่เกิดขึ้นจากปัญหาการถ่ายเทกากของเสียอันตรายจากประเทศที่พัฒนาแล้วไปสู่ประเทศกำลังพัฒนา
- อนุสัญญาบาเซิล
- อนุสัญญาไซเตส
- อนุสัญญาเวียนนาและพิธีสารมอนทรีออล
- อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
การลักลอบซื้องาช้างจากทวีปแอฟริกาผ่านประเทศไทยถือว่าเป็นการทำผิดตามข้อใด
- อนุสัญญาไซเตส
- อนุสัญญาบาเซิล
- อนุสัญญาเวียนนาและพิธีสารมอนทรีออล
- อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
พื้นที่ดอนหอยหลอดจังหวัดสมุทรสงครามเกี่ยวข้องกับอนุสัญญาข้อใด
- Ramsar
- CITES
- UNFCCC
- Kyoto Protocal
การที่รัฐบาลไทยส่งลิงอุรังอุตังกลับคืนไปให้ประเทศอินโดนีเซียถือเป็นการปฏิบัติตามข้อตกลงตามข้อใด
- อนุสัญญาไซเตส
- อนุสัญญาเวียนนา
- พิธีสารมอนทรีออล
- พิธีสารเกียวโต